มหาวิทยาลัยที่ยังไม่ออกนอกระบบ

    �Ѻ�����ѧ�ա��§�������� ��ж֧�ѹ����Ѱ��Ţմ��鹵�� �������Է����¢ͧ�Ѱ�ء��� ��ͧ��Ѻ����¹����ͧ������� ����Է�����㹡ӡѺ�ͧ�Ѱ ���ͷ�����¡�ѹ�������� ����Է����¹͡�к�

     ��û�Ѻ����¹�ѧ����� ���¶֧ ��÷������Է����¢ͧ�Ѱ�ء��� �е�ͧ����¹ �к���ú����� ��ШѴ������� ����Է����� �ҡ��������� �������º�Ҫ��� ����Ѱ�ѧ�Ѻ��Ѻ�ء˹����Ҫ��� ��繡�ú����èѴ��õ��ͧ ������㹡�áӡѺ�ͧ�Ѱ ������¶֧��� ����Է����¨���������ҡ��� ���㹴�ҹ��ú����úؤ�� ���������Шҡ ����º����ԡ�����Թ ��к��Ҫ���Ẻ��� ��駹������Է������������ �е�ͧ��ҧ ����Ҫ�ѭ�ѵ� �ͧ����� ������㹡�ú����� ��ШѴ��õ��ͧ ��ҹ�ҧ�������Է����� �·�ǧ����Է����� ����˹�ҷ����§�ӡѺ���� ੾�����ǹ�ͧ��º�� ���Ἱ�ҹ��ѡ ������ӹѡ�ҹ ��Ǩ�Թ�蹴Թ �繼���Ǩ�ͺ�ѭ�� ������ҳ��ҹ��
    �������������ͧ������ѧ���� �����ա�þٴ�֧����ͧ����ҡ��� �� ������ �������͹��� ����ʤ�������¹�ŧ �����Թ˹�� �����������Է����� 㹡ӡѺ�ͧ�Ѱ 㹪�ǧ���ҹ�� �ЪѴਹ��� ���ٻ�����ҡ����ش ���բ�͵�ŧ �����ҧ�Ѱ��� �Ѻ��Ҥ�þѲ������� (Asian Development Bank-ADB) ������ͧ�ա�͹ �繵�Ǽ�ѡ�ѹ
    �� ���Ҥ� ���� ����Ъ������Ѱ����� ��������繪ͺ ���͹䢡�á���Թ �ҡ��Ҥ�þѲ������� ���͹䢴ѧ����ǡ�˹������� ����Է����¢ͧ�Ѱ�ء��� ��ͧ����¹ʶҹ�Ҿ ������Է����� 㹡ӡѺ�ͧ�Ѱ ���㹻� ����
    ��ѧ�ҡ��ҧ��ѡ��� �ʹ�Ἱ ��Т�鹵͹��ô��Թ�ҹ���� �� ����Ҥ� ���� ��ǧ����Է����� �����Ǻ��� Ἱ��Ժѵԡ�÷����� �����ʹ͵�ͤ���Ѱ����� Ἱ��Ժѵԡ�ôѧ����� �繡�á�˹��������� 㹡�èѴ����ҧ����Ҫ�ѭ�ѵ� �ͧ��������Է����� ����������� ���;���������͡�͡�к� ���㹻� ����
    ������ʸ�������� ����������� �����Ң�� ��ѧ�ҡ��ҡ������Ѵ��� ���ͧ���� ��Ǵǧ�������Է������ͧ
    ����˹��������� �ҡ����Է������͡�͡�к� �з�����ú����çҹ���ͧ������ �ջ���Է���Ҿ�ҡ��� ��������§ ���������Է����� �����ʹ��ҹ�� ��й�������������� �ҧ�Ԫҡ���ҡ���� �к����
    ��з���ա���� �ͧ价�������Ҿ�ҧ�Ԫҡ�� ��С�ô�ç��� ��觻�Ѫ�Ңͧ����Է����� 㹡����ʶҺѹ �����觼�Ե�ѳ�Ե ����ըԵ�ӹ֡����ѧ�� ���͹Ӥ������ 仾Ѳ�Һ�ҹ���ͧ �繢���ѭ�Ңͧ�ѧ�� ���㹡���Ԩ�� ��м�Ե�ŧҹ�Ԫҡ�� �������ҧ��ä��ѧ������ ����ѧ������� �����ջ���Է���Ҿ ��Ф������ͧ��� 㹡�ú����èѴ��� ����Է����� �Դ������� �����繵�ͧ�͡�͡�к� ��������� ��ѡ��õ�Ҵ �����к���ú����çҹ Ẻͧ��ø�áԨ

    ��û�Ѻ����¹ �������Է����¢ͧ�Ѱ �͡�͡�к� 㹤��駹��������§ ����Է�������ҹ�� ����ͧ�Դ ��еѴ�Թ� �ҡ����⨷�� ����ѧ����ͧ���Դ�����ѹ �����ѧ�� �������Է����� ���ѧ������觫�觵ͺʹͧ ����ѧ��ä����ª�� ��觡ѹ��Сѹ��ʹ�

�����ʴ������Դ��� ʹѺʹع ���� �Ѵ��ҹ !
��ԡ�����


1. ถาม : ออกนอกระบบคืออะไร ? ตอบ : การเปลี่ยนสถานภาพมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นส่วนราชการ ไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ



2. ถาม : ทำไมจึงเรียกว่านอกระบบ ตอบ : เป็นการเรียกกันต่อๆ มา ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจผิด แต่จริงๆ แล้ว คือ นอกระบบราชการ และที่ถูกควรเรียกว่า "มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ"


3. ถาม : มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จะเป็นแบบเดียวกับมหาวิทยาลัยเอกชนใช่หรือไม่ ตอบ : ไม่ใช่มหาวิทยาลัยเอกชน มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐยังคงเป็นหน่วยงานของรัฐ


4. ถาม : มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐคืออะไร ตอบ : มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย และไม่ใช่ ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ การบริหารจัดการถือปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศที่มหาวิทยาลัยกำหนดขึ้นเอง


5. ถาม : มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแตกต่างอย่างไรกับส่วนราชการ ตอบ : ส่วนราชการต้องปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของราชการเป็นหลัก แต่มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐต้องปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศที่มหาวิทยาลัยกำหนดขึ้นเอง


6. ถาม : ทำไมมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐจึงต้องตราพระราชบัญญัติขึ้นใหม่ ตอบ : พระบัญญัติมหาวิทยาลัย (พรบ.) ฉบับปัจจุบันกำหนดโครงสร้างการบริหารงานแบบส่วนราชการไม่สอดคล้องกับการบริหารมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จึงต้องร่าง พรบ. ฉบับใหม่ที่กำหนดรูปแบบการบริหารให้มีความคล่องตัว โดยสภามหาวิทยาลัยจะมีอำนาจการตัดสินใจสูงสุด


7. ถาม : มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จะได้รับงบประมาณจากรัฐบาลเหมือนเดิมหรือไม่ ตอบ : รัฐบาลยังคงจัดสรรงบประมาณประจำปี ได้แก่ เงินเดือน ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงสวัสดิการต่างๆ ของพนักงานมหาวิทยาลัย


8. ถาม : เมื่อรัฐบาลจัดสรรประมาณให้แก่มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเป็นประจำทุกปี ยังต้องใช้ระเบียบของทางราชการที่เกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ ตอบ : รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเป็นแบบเงินอุดหนุนทั่วไป และมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบริหารงบประมาณตามข้อบังคับ ระเบียบที่มหาวิทยาลัยกำหนดขึ้น ซึ่งจะมีความคล่องตัวในการบริหารงบประมาณมากกว่าส่วนราชการ และหากมีงบประมาณคงเหลือสามารถเก็บสะสมได้


9. ถาม : มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐจะมีรายได้มาจากแหล่งใดบ้าง ตอบ : รายได้มาจาก 4 แหล่ง คือ
1) งบประมาณแผ่นดินที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปี
2) รายได้จากการดำเนินงาน
3) รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้จากทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย และ
4) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุดหนุนหรืออุทิศให้แก่มหาวิทยาลัย


10. ถาม : ถ้ารายได้ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐไม่เพียงพอ จะทำอย่างไร ตอบ : มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐอาจต้องปรับระบบการบริหารงบประมาณของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด (เพิ่มรายรับ ลดรายจ่าย) หรือขอให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณช่วยเหลือได้ตามความจำเป็น และเพียงพอ โดยระบุไว้ในกฎหมาย


11. ถาม : มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐจะต้องเอาเงินค่าหน่วยกิตนักศึกษามาจ่ายเงินเดือนให้ข้าราชการเพิ่มขึ้น ใช่หรือไม่ ตอบ : ไม่ใช่ ข้าราชการเมื่อปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยจะได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น โดยรัฐบาลออกให้ทั้งหมด


12. ถาม : ค่าเทอมการศึกษา เมื่อเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐจะมีการปรับค่าเทอมเพิ่มขึ้นหรือไม่ ตอบ : การกำหนดอัตราค่าเทอมการศึกษาเป็นอำนาจของมหาวิทยาลัย ทั้งที่เป็นส่วนราชการและมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ การจะขึ้นค่าเทอมการศึกษาไม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ แต่การจะขึ้นค่าเทอมการศึกษา มหาวิทยาลัยจะพิจารณาจากสถานการณ์เป็นช่วง ๆ ไป ถึงแม้มหาวิทยาลัยเป็นส่วนราชการก็จำเป็นที่จะต้องขึ้นค่าเทอม เพราะอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทุกปี ดังนั้น เมื่อเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ การขึ้นค่าเทอมก็จะขึ้นด้วยหลักการเดียวกันกับการเป็นส่วนราชการ คือ ขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ และค่าเทอมที่ปรับเพิ่มขึ้นจะใช้เฉพาะนักศึกษารุ่นที่เข้าศึกษาในปีที่ประกาศขึ้นไปเท่านั้น จะไม่ย้อนหลังกับนักศึกษาที่เข้าศึกษาก่อนปีที่ประกาศขึ้นค่าเทอม


13. ถาม : ยังมีทุนให้นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือไม่ ตอบ : ยังมีทุนให้นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์เหมือนเดิม และต้องกำหนดไว้ใน พรบ. มหาวิทยาลัยให้ชัดเจนว่า มหาวิทยาลัยส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์อย่างแท้จริง ให้มีโอกาสสำเร็จการศึกษา


14. ถาม : ข้าราชการทุกรายจะต้องเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยหรือไม่ ตอบ : ข้าราชการเฉพาะที่สมัครใจจะเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ต้องแสดงเจตนาเปลี่ยนสถานภาพเป็นลายลักษณ์อักษร ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ


15. ถาม : อธิการบดีต้องเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยหรือไม่ ตอบ : อธิการบดีที่เป็นข้าราชการ จะต้องแสดงเจตนาเปลี่ยนสถานภาพมาเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ


16. ถาม : แล้วผู้บริหารคนอื่น ๆ ต้องเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยหรือไม่ ตอบ : ผู้บริหารตามที่พระบัญญัติกำหนดที่เป็นข้าราชการ จะต้องแสดงเจตนาเปลี่ยนสถานภาพมาเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ


17. ถาม : ข้าราชการที่จะเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยต้องมีการประเมินหรือไม่ ตอบ : ข้าราชการที่จะเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามขอบเขตงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้ หากมีข้าราชการยื่นขอเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยและก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เกินขอบเขตงบประมาณที่ได้รับ มหาวิทยาลัยต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ


18. ถาม : เงินเดือนของข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยจะเป็นอย่างไร ตอบ : เงินเดือนจะได้รับเพิ่มขึ้นจากเงินเดือนสุดท้ายที่เปลี่ยนสถานภาพ แต่จะได้รับเพิ่มขึ้นอัตราร้อยละเท่าใดเป็นไปตามงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้ และวิธีการบริหารงบประมาณของมหาวิทยาลัย


19. ถาม : ข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยจะได้บำเหน็จบำนาญด้วยหรือไม่ ตอบ : หากมีอายุราชการ ๑๐ ปีขึ้นไป สามารถเลือกได้ว่าจะรับเป็นบำเหน็จหรือบำนาญ และถ้ารับราชการมา ๒๕ ปีขึ้นไป ก็จะได้รับเงินบำนาญ


20. ถาม : บำนาญจะได้รับเท่าไหร่ ตอบ : สูตรโดยทั่วไป คือ (เงินเดือนเดือนสุดท้าย x อายุราชการ) / ๕๐


21. ถาม : ถ้าออกจาก กบข. จะคำนวณเงินบำนาญอย่างไร ตอบ : โดยสรุปคือ
๑. กรณีที่เลือกออกจาก กบข. และขอรับบำนาญอย่างเดียว
สูตร คือ (เงินเดือนเดือนสุดท้าย x อายุราชการ) / ๕๐
๒. กรณีขอรับทั้งบำนาญ และ กบข.
สูตร คือ เงินบำนาญ = (เงินเดือนเฉลี่ย ๖๐ เดือนสุดท้าย × อายุราชการ)/๕๐ แต่จะต้องไม่เกิน ๗๐% ของเงินเดือนเฉลี่ย ๖๐ เดือนสุดท้าย
สำหรับ เงิน กบข. จะประกอบด้วยเงินประเดิม เงินชดเชย เงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ ซึ่งหากใครมีใบแจ้งยอดเงินสมาชิกของ กบข. ให้ดูบรรทัดสุดท้ายของช่องสุดท้ายจะมีตัวเลขยอดนี้อยู่


22. ถาม : ข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยแล้ว จะยังคงเป็นสมาชิก กบข. ได้หรือไม่ และผลจะเป็นอย่างไร ตอบ : เป็นสมาชิก กบข. ต่อไปได้ แต่ยังไม่ได้บำนาญ แต่ได้นับอายุราชการต่อ และจะได้รับบำนาญเมื่อเกษียณ


23. ถาม : หากข้าราชการมีอายุราชการเหลือน้อย เช่น อีก ๕ ปีเกษียณอายุ จำเป็นต้องเปลี่ยนสถานภาพหรือไม่ หรือเลือกได้ว่าคงอยู่ในราชการต่อไป ตอบ : การเปลี่ยนสภาพจากข้าราชการไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยจะขึ้นอยู่กับความสมัครใจ สามารถเป็นข้าราชการได้จนเกษียณอายุ


24. ถาม : เมื่อเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแล้ว การประเมินข้าราชการเพื่อเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ถ้าหากไม่มีการพัฒนางาน และเมื่อประเมินแล้วได้คะแนนน้อยต้องพิจารณาอย่างไร ตอบ : ขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น


25. ถาม : ข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยได้สิทธิอะไรบ้าง ตอบ : ได้สิทธิดังนี้
๑. เป็นข้าราชการบำนาญ
๒. ได้เงินบำเหน็จหรือบำนาญตามสิทธิ เว้นแต่ประสงค์จะเป็นสมาชิก กบข. ต่อ
๓. มีสวัสดิการของข้าราชการบำนาญ เช่น สิทธิในการรักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร
๔. ได้เงินเดือน และค่าตอบแทน ไม่น้อยกว่าเดิม
๕. ไม่ต้องเข้าประกันสังคม เว้นแต่สมัครใจ
ทั้งนี้ สิทธิดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ


26. ถาม : ข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยแล้ว ถ้าเป็น กบข. ต่อ จะเบิกสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลได้หรือไม่ ตอบ : ใช้สิทธิเสมือนเป็นข้าราชการบำนาญ และเบิกค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิเช่นเดิม


27. ถาม : ข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยแล้ว ยังรักษาพยาบาลตัวเอง พ่อ แม่ และลูกได้เหมือนเดิมหรือไม่ ตอบ : ได้เหมือนเดิม ใช้สิทธิในฐานะข้าราชการบำนาญ


28. ถาม : ข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยแล้ว ถ้าไม่ได้เข้าประกันสังคม จะใช้สิทธิอะไรในเรื่องการรักษาพยาบาล ตอบ : ใช้สิทธิข้าราชการบำนาญ และหากต้องการเข้าประกันสังคม ก็สมัครเข้าได้โดยสมัครใจ


29. ถาม : พนักงานมหาวิทยาลัยในตอนนี้ เมื่อมหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแล้วจะได้อะไรเพิ่มขึ้นบ้าง ตอบ : พนักงานมหาวิทยาลัยมีสถานะภาพและเงินเดือนเท่าเดิม แต่ระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดทำขึ้นจะออกมาเพื่อการบริหารพนักงานมหาวิทยาลัยเป็นหลัก


30. ถาม : กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มหาวิทยาลัยจะจัดตั้งขึ้นจะเป็นอย่างไร ตอบ : โดยสรุปคือหักเงินเดือนของพนักงานมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยจ่ายสมทบ ตามอัตราที่กำหนด สำหรับการบริหารมอบให้ผู้บริหารกองทุนที่เป็นบริษัทบริหาร


31. ถาม : เงินค่าตอบแทนตำแหน่งชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ ยังมีหรือไม่ ตอบ : มี กรณีบุคลากรยังคงสภาพเป็นข้าราชการ ก็ยังคงได้เหมือนเดิม และกรณีที่ปรับสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย สิทธิประโยชน์ที่ได้รับยังคงเดิม


32. ถาม : ข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยแล้ว จะได้ passport น้ำเงินหรือไม่ ตอบ : ได้เหมือนเดิม เพราะพนักงานมหาวิทยาลัยเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ


33. ถาม : ข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยแล้ว ใช้ตัวเองไปประกันคนอื่นเหมือนข้าราชการได้หรือไม่ ตอบ : ได้เหมือนเดิม


34. ถาม : ข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยแล้ว ต้องทำสัญญาเป็นช่วงๆ แบบเดียวกับพนักงานมหาวิทยาลัยก่อนหน้านี้หรือไม่ ตอบ : จากการศึกษา พบว่า มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐส่วนมากจะกำหนดให้ผู้ที่เปลี่ยนสถานภาพภายใน ๑ ปี ไม่ต้องทำสัญญาเป็นช่วงๆ แต่จะอยู่ได้จนถึงอายุ ๖๐ ปี


35. ถาม : ข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยแล้ว จะมีการประเมินเหมือนพนักงานหรือไม่ ตอบ : จากการศึกษา พบว่า มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐส่วนมากจะกำหนดให้มีระบบการประเมิน ทุก ๆ ๕ ปี เพื่อดูว่าผู้ที่เปลี่ยนสถานภาพแล้วเป็นอย่างไรบ้าง


36. ถาม : เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับแล้ว พนักงานมหาวิทยาลัยจะโดนกลั่นแกล้งหรือไม่ ตอบ : การบริหารยึดหลักธรรมาภิบาลเหมือนเดิม และมีระบบอุทธรณ์และร้องทุกข์ โดยมีคณะกรรมการอุทธรณ์ร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัยที่มีอิสระและเป็นกลางด้วย


37. ถาม : ภาระงานของบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนจะเป็นอย่างไร ตอบ : ขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น


38. ถาม : การขึ้นเงินเดือนจะเป็นไง ตอบ : ขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น


39. ถาม : การขอตำแหน่งทางวิชาการจะเป็นอย่างไร ตอบ : จะรวดเร็วขึ้น เพราะเมื่อเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแล้ว สามารถใช้ Reader นอกบัญชีรายชื่อของ สกอ. ได้


40. ถาม : ตำแหน่งศาสตราจารย์ยังโปรดเกล้าได้เหมือนเดิม ตอบ : เหมือนเดิม


41. ถาม : เครื่องราชฯ และสายสะพายของข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพ เป็นอย่างไร ตอบ : สิทธิประโยชน์ในด้านนี้จะลดลง อธิการบดีจะได้เครื่องราชฯ สูงสุดคือสายสะพายสาย ๑ อาจารย์ที่เป็นศาสตราจารย์จะได้เครื่องราชสูงสุด คือ สายสะพายสาย ๒ จากแต่เดิมที่ข้าราชการตั้งแต่ซี ๙ มีสิทธิได้สายสะพายถึงสาย ๔ เรื่องนี้ทาง ทปอ. กำลังขอรัฐบาลให้ใช้ระบบเหมือนเดิม


42. ถาม : ข้าราชการที่ไม่เปลี่ยนสถานภาพ ระบบบริหารบุคคลจะเป็นอย่างไร ตอบ : เหมือนเดิม คือ ยังคงใช้พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาฯ


43. ถาม : พนักงานมหาวิทยาลัยเดิมจะเป็นอย่างไร ตอบ : เหมือนเดิม


44. ถาม : ลูกจ้างชั่วคราว จะเป็นอย่างไร ตอบ : เหมือนเดิม


45. ถาม : ลูกจ้างประจำของส่วนราชการจะขอเปลี่ยนเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยได้ด้วยหรือไม่ ตอบ : ลูกจ้างประจำ หากเปลี่ยนสถานะภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย สวัสดิการต่างๆ ที่ลูกจ้างประจำเคยได้รับจะหมดไป ดังนั้น จึงต้องศึกษาก่อนกำหนดใน พรบ. และจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาล


46. ถาม : พนักงานเงินรายได้จะเปลี่ยนไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยด้วยหรือไม่ ตอบ : เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยทั้งหมด แต่ได้รับเงินจากคนละแหล่งรายได้ ทั้งนี้ เมื่อมหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เงินงบประมาณแผ่นดินที่ได้รับจัดสรรจะถือเป็นเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย


47. ถาม : พนักงานเงินรายได้เมื่อเปลี่ยนไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยจะได้เงินเดือนเท่ากับพนักงานมหาวิทยาลัยหรือไม่ ตอบ : ปัจจุบันได้รับเท่ากัน ในอนาคตก็ควรจะเท่ากัน


48. ถาม : วาระของอธิการบดีเป็นอย่างไร ตอบ : ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่จะกำหนดใน พรบ. ถ้าเหมือนเดิม คือ ๔ ปี


49. ถาม : วาระของอธิการบดีนับต่อเนื่องก่อน พรบ. ออกนอกระบบหรือไม่ ตอบ : นับต่อเนื่องกัน อธิการบดีอยู่ได้ไม่เกิน ๒ วาระ เมื่อครบวาระ อธิการบดีจะเป็นต่ออีกไม่ได้


50. ถาม : วาระของคณบดีเป็นอย่างไร ตอบ : ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่จะกำหนดใน พรบ. ถ้าเหมือนเดิม คือ ๔ ปี


51. ถาม : ระบบบริหารบุคคลของมหาวิทยาลัยจะเป็นอย่างไร ตอบ : ขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น


52. ถาม : พนักงานมหาวิทยาลัย มีตำแหน่งทางวิชาการเหมือนเดิมหรือไม่ ตอบ : เหมือนเดิม


53. ถาม : ยังใช้ตำแหน่งเป็นคำนำหน้านามได้หรือไม่ ตอบ : ยังใช้ตำแหน่งทางวิชาการเป็นคำนำหน้านามได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย


54. ถาม : พนักงานมหาวิทยาลัยประเภทสนับสนุนมีตำแหน่งชำนาญการ เชี่ยวชาญหรือไม่ ตอบ : ขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น


55. ถาม : ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นอย่างไร ตอบ : ขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น


56. ถาม : การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ที่ยังเป็นข้าราชการกับผู้ที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยเหมือนกันหรือไม่ ตอบ : เหมือนกัน


57. ถาม : ยังมีระบบการลาไปศึกษาต่อภายในประเทศหรือต่างประเทศหรือไม่ ตอบ : ขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น


58. ถาม : ค่าตอบแทน สวัสดิการ ของพนักงานมหาวิทยาลัยเป็นอย่างไร ตอบ : ขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น


59. ถาม : ในอนาคตมหาวิทยาลัยจะกู้เงินและออกพันธบัตรได้หรือไม่ ตอบ : ได้ เพราะเป็นนิติบุคคล


60. ถาม : งบประมาณที่รัฐบาลจะให้ มหาวิทยาลัยจะเป็นอย่างไร ตอบ : เป็นระบบ Block Grant คือ มหาวิทยาลัยจะได้มาเป็นก้อน แล้วมหาวิทยาลัยสามารถปรับและนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เงินเหลือสามารถสะสมได้ไม่ต้องคืนรัฐบาล


61. ถาม : จะมีการยุบเลิกคณะ สำนัก สถาบัน ใดหรือไม่ ตอบ : หน่วยงานทั้งหมดยังเหมือนเดิม เว้นแต่ในอนาคตอาจมีการปรับเปลี่ยนให้มีประสิทธิภาพโดยมติของสภามหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ขึ้นกับสภาวการณ์ในขณะนั้น


62. ถาม : การแต่งตั้ง คณบดีและระบบการสรรหาจะเป็นอย่างไร ตอบ : คณบดีได้รับการแต่งตั้งจากสภามหาวิทยาลัยเหมือนเดิม แต่หลักเกณฑ์และวิธีการขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น


63. ถาม : คณะกรรมการประจำคณะยังมีอยู่หรือไม่ ตอบ : มี คณบดีเป็นประธาน แต่หลักเกณฑ์และวิธีการขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น


64. ถาม : วาระการดำรงตำแหน่งของผู้อำนวยการสำนัก สถาบันเหมือนเดิมหรือไม่ ตอบ : ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่จะกำหนดใน พรบ. ถ้าเหมือนเดิม คือ ๔ ปี แต่หลักเกณฑ์และวิธีการขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น


65. ถาม : การสรรหาและการแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนัก/สถาบันเป็นอย่างไร ตอบ : ขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น


66. ถาม : คณะกรรมการประจำสำนัก/สถาบันยังมีอยู่หรือไม่/แตกต่างจากเดิมอย่างไร ตอบ : ขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น


67. ถาม : มหาวิทยาลัย ต้องร่างระเบียบข้อบังคับใหม่ทั้งหมดใช่หรือไม่ ตอบ : ใช่


68. ถาม : ใครเป็นผู้มีอำนาจออกข้อบังคับมหาวิทยาลัย ตอบ : สภามหาวิทยาลัย โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย


69. ถาม : ระเบียบข้อบังคับเหล่านี้ต้องทำเสร็จเมื่อไหร่ ตอบ : ข้อบังคับที่สำคัญต้องทำให้เสร็จก่อน พรบ. มีผลใช้บังคับ และต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย


70. ถาม : ในการยกร่างข้อบังคับ มหาวิทยาลัยจะมีการรับฟังความเห็นหรือจัดประชาพิจารณ์หรือไม่ ตอบ : ถ้าข้อบังคับนั้นเกี่ยวข้องกับประชาคมกลุ่มใด จะจัดให้ประชาคมกลุ่มนั้นมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างแน่นอน


71. ถาม : ในระหว่างที่ยังไม่มีระเบียบข้อบังคับใหม่จะทำอย่างไร ตอบ : ถือปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเดิม


72. ถาม : สภามหาวิทยาลัยจะมีองค์ประกอบและหน้าที่อย่างไรบ้าง ตอบ : ตามที่กำหนดใน พรบ. (อยู่ระหว่างจัดทำ)


73. ถาม : ระบบการสรรหาอธิการบดีเป็นอย่างไร ตอบ : ขึ้นอยู่กับข้อบังคับมหาวิทยาลัยที่จะจัดทำขึ้น


74. ถาม : องค์การนักศึกษาและสภานักศึกษายังคงมีอยู่หรือไม่ ตอบ : มี


75. ถาม : ครุยมหาวิทยาลัยเป็นอย่างไร ตอบ : เหมือนเดิม


76. ถาม : เปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแล้ว แล้วมหาวิทยาลัยจะเจริญก้าวหน้ากว่าแต่ก่อนหรือไม่ ตอบ : ระบบมีความคล่องตัวมากขึ้น เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาในสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับทุกภาคส่วน ผู้บริหารต้องบริหารตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรปฏิบัติตามภาระหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจในการพัฒนา มหาวิทยาลัยจะก้าวหน้าอย่างแน่นอน