การใช้โปรแกรม spss ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อการวิจัย

Show

สรุปขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรม SPSS

ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS

          การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรม SPSS เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว โดยมีลำดับขั้นตอนการวิเคราะห์ ดังนี้

          1. การเตรียมข้อมูล  ผู้วิจัยต้องเตรียมเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสมกับการวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ (ซึ่งแตกต่างจากการวิเคราะห์ด้วยมือ) โดยในแบบสอบถามนั้นจะต้องกำหนดชื่อตัวแปร (Variable Name) และค่าของตัวแปร (Value) ให้เป็นตัวเลขเท่านั้น

          2. การสร้างแฟ้มข้อมูล  ต้องกำหนดชื่อตัวแปร (Variable Name) ให้สอดล้องกับที่กำหนดไว้ในแบบสอบถาม และสร้างคู่มือลงรหัส (Code book) ที่กำหนดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดชื่อตัวแปร (Variable Name หรือ Name) ตำแหน่งทศนิยมของค่าของตัวแปร (Decimals) คำอธิบายชื่อตัวแปร (Label) ค่าของตัวแปร (Value) ความหมายของค่าของตัวแปร (Value Label) และระดับการวัดข้อมูล (Maesure)

          3. การบันทึกข้อมูลข้อมูลที่จะบันทึกต้องเป็นตัวเลขเท่านั้น โดยกำหนดค่าของตัวแปรที่เป็นตัวเลือกในแบบสอบถามให้เป็นตัวเลขเสียก่อน

          4. การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผู้วิจัยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้โดยง่าย ทั้งค่าสถิติพื้นฐานและค่าสถิติสำหรับทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้คำสั่งจาก Menu bar เลือก Analyze แล้วเลือกค่าสถิติที่ต้องการวิเคราะห์จาก Window ที่ปรากฏตามลำดับ ก็จะได้ผลการวิเคราะห์ตามต้องการ

อ้างอิง : ภัทรา นิคมานนท์. การวิจัยทางการศึกษาและสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : บริษัทอักราพิพัฒน์ จำกัด, 2544.

ที่มา ... http://learners.in.th/blog/spssnote/155634

            ตัวอย่างการใช้คำสั่งวิเคราะห์ข้อมูล

1.      หาค่าเฉลี่ย หาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของข้อคำถามรายข้อ รายด้าน และรวมทุกด้าน โดยใช้คำสั่ง Analyze > Descriptive Statistics > Descriptive > เลือกข้อมูลใส่ใน Variable ตามต้องการ > OK

2.      หาค่าสถิติการทดสอบค่าที  เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม โดยใช้คำสั่ง Analyze > Compare Means > Independent Sample T Test > เลือกตัวแปรที่ต้องการเปรียบเทียบใส่ในช่อง Grouping Variable > กำหนด define groups > นำตัวแปรตามใส่ในช่อง Test Variable(s) > OK

3.      การหา One – Way ANOVA เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 3 กลุ่ม โดยใช้คำสั่ง Analyze > Compare Means > One – Way ANOVA >  เลือกตัวแปรต้นที่แยกเป็น 3 กลุ่ม ใส่ในช่อง Factor และนำตัวแปรตามใส่ใน ช่อง Dependent > กำหนดการทดสอบความแปรปรวนใน Post Hoc โดยกำหนดช่อง Dunnet T3  และ Sheffe > Continue > OK

         

 

SPSS ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใด เพื่อการวิจัยและหาค่าทางสถิติ

SPSS ย่อมาจาก Statistical Package for the Social Science คือ โปรแกรมที่ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติให้ออกมาเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น ตาราง แผนภูมิ หรือกราฟต่างๆ สามารถบันทึกและสร้างไฟล์ข้อมูลตามความต้องการ ไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการประมวลผลข้อมูลที่แม่นยำ เรียกว่า เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ ...

โปรแกรม SPSS ใช้ทำอะไร

SPSS เป็นเครืองมือสําหรับจัดกระทําข้อมูล สามารถนําข้อมูลจาก แฟ้มข้อมูลมาประมวลผลด้วยตาราง สร้างกราฟ และวิเคราะห์ทางสถิติที หลากหลาย ถ้าผู้วิเคราะห์ต้องการใช้โปรแกรม SPSS ดําเนินการจัดการกับข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิเคราะห์จะต้องเขียน โปรแกรมคําสังเพือสังให้โปรแกรม SPSS กระทําตามทีผู้ ...

เมนูใดที่ใช้เรียกคำสั่งเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ SPSS

Analyze เป็นเมนูคำสั่งที่ประกอบด้วยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลทางสิติ เช่น การสร้างรายงาน การหาค่าสถิติเบื้องต้น การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย การหาความสัมพันธ์ของข้อมูล Graphs เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้ในการสร้างกราฟประเภทต่างๆ Utilities เป็นเมนูคำสั่งที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวแปรในไฟล์ข้อมูลที่ใช้งานอยู่

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล มีอะไรบ้าง

การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัย ประกอบด้วยการใช้สถิติ2 องค์ประกอบใหญ่ๆ ได้แก่สถิติเชิง พรรณนา (Descriptive Statistics) โดยค่าสถิติต่างๆที่คานวณได้จากข้อมูลตัวอย่างที่ศึกษา และ สถิติ เชิงอนุมาน (Inferential Statistics) โดยนาเสนอในลักษณะของช่วงเชื่อมั่น :Confidence Interval ; CI เป็นค่าการประมาณช่วงเชื่อมั่นของค่า ...