วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา ความหมาย

๒๓ . วิริยวรรค คือ หมวดเพียร

๔๑๑. กาลาคตญฺจ น หาเปติ อตฺถํ.
คนขยัน ย่อมไม่พร่าประโยชน์ซึ่งถึงตามกาล.
ขุ . ชา. ฉกฺก. ๒๗/ ๑๙๕.

๔๑๒ . วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ.
คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร .
ขุ . สุ. ๒๕/ ๓๖๑.

๔๑๓ . ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ.
คนมีธุระหมั่นทำการงานให้เหมาะเจาะ ย่อมหาทรัพย์ได้.
สํ . ส. ๑๕/ ๓๑๖. ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๖๑.

๔๑๔ . อกิลาสุ วินฺเท หทยสฺส สนฺตึ.
คนไม่เกียจคร้าน พึงได้ความสงบใจ.
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๑.

๔๑๕. น นิพฺพินฺทิยการิสฺส สมฺมทตฺโถ วิปจฺจติ.
ประโยชน์ย่อมไม่สำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยเบื่อหน่าย.
ขุ . ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/ ๕๓๓.

๔๑๖ . อนิพฺพินฺทิยการิสฺส สมฺมทตฺโถ วิปจฺจติ.
ประโยชน์ย่อมสำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยไม่เบื่อหน่าย .
ขุ . ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/ ๕๓๓.

๔๑๗ . อถ ปจฺฉา กุรุเต โยคํ กิจฺเจ อาวาสุ สีทติ.
ถ้าทำความเพียรในกิจการล้าหลัง จะจมอยู่ในวิบัติ.
ขุ . ชา. วีส. ๒๗/ ๔๓๔.

๔๑๘ . หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส ปเรติ ปริหายติ.
คนที่ผัดวันว่าพรุ่งนี้ ย่อมเสื่อม ยิ่งว่ามะรืนนี้ ก็ยิ่งเสื่อม.
ขุ . ชา. วีส. ๒๗/ ๔๖๖.

๔๑๙ . อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ.
ควรรีบทำความเพียรในวันนี้ .
ม . อุป. ๑๔/ ๓๔๘. ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๑๖๕.

๔๒๐ . วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา.
บุรุษพึงพยายามไปกว่าจะสำเร็จประโยชน์ .
สํ . ส. ๑๕/ ๓๓๐.

๔๒๑ . กเรยฺย โยคฺคํ ธุวมปฺปมตฺโต.
ผู้ไม่ประมาท ควรทำความเพียรให้แน่วแน่.
นัย - ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/ ๗๘.

๔๒๒. ยถา ยถา ยตฺถ ลเภถ อตฺถํ ตถา ตถา ตตฺถ ปรกฺกเมยฺย.
พึงได้ประโยชน์ในที่ใด ด้วยประการใดๆ ควรบากบั่นในที่นั้น ด้วยประการนั้น ๆ.
องฺ . ปญฺจก. ๒๒/ ๗๐. ขุ. ชา. ปญฺจก. ๒๗/ ๑๘๐.

อปฺปเกนปิ เมธาวี ปาภเฏน วิจกฺขโณ
สมุฏฐาเปติ อตฺตานํ อณํ อคฺคึว สนฺธมํ.
ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด ย่อมตั้งตนได้ด้วยต้นทุนแม้น้อย
เหมือนคนก่อไฟน้อยขึ้นฉะนั้น .
( พุทฺธ) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/ ๒.

อโมฆํ ทิวสํ กริรา อปฺเปน พหุเกน วา
ยํ ยํ วิวหเต รตฺติ ตทูนนฺตสฺส ชีวิตํ.
ควรทำวันคืนไม่ให้เปล่าจากประโยชน์น้อยหรือมาก
เพราะวันคืนผ่านบุคคลใดไป ชีวิตของบุคคลนั้น
ย่อมพร่องจากประโยชน์นั้น.
( สิริมณฺฑเถร) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๓๕.

 อุฏิฐาตา กมฺมเธยฺเยสุ อปฺปมตฺโต วิธานวา
สมํ กปฺเปติ ชีวิตํ สมฺภตํ อนุรกฺขติ.
ผู้ขยันในหน้าที่การงาน ไม่ประมาท เข้าใจจัดการ
เลี้ยงชีวิตพอสมควร จึงรักษาทรัพย์ที่หามาได้.
( พุทฺธ) องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/ ๒๙๘.

จกฺขุมา วิสมานีว วิชฺชมาเน ปรกฺกเม
ปณฺฑิโต ชีวโลกสฺมึ ปาปานิ ปริวชฺชเย.
เมื่อความบากบั่นมีอยู่ บัณฑิตพึงเว้นบาปในโลกนี้เสีย
เหมือนคนมีจักษุเว้นทางอันไม่เรียบร้อยฉะนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. อุ. ๒๕/ ๑๔๙.

โย จ วสฺสสตํ ชีเว กุสีโต หีนวีริโย
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย วิริยํ อารภโต ทฬฺหํ.
ผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี
ส่วนผู้ปรารภความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว
ก็ประเสริฐกว่า.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๐.

โย จ สีตญฺจ อุณฺหญฺจ ติณา ภิยฺโย น มญฺญติ
กรํ ปุริสกิจฺจานิ โส, สุขา น วิหายติ.
ผู้ไม่สำคัญความหนาวและความร้อนให้ยิ่งไปกว่าหญ้า
ทำกิจ ของบุรุษ ย่อมไม่เสื่อมจากความสุข.
( พุทฺธ) ที. ปาฏิ. ๑๑/ ๑๙๙.

โกสชฺชํ ภยโต ทิสฺวา วิริยารมฺภญฺจ เขมโต
อารทฺธวิริยา โหถ เอสา พุทฺธาสาสนี.
ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านเป็นภัย
และเห็นการปรารภความเพียรเป็นความปลอดภัย
แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นพุทธานุศาสนี.
( พุทฺธ ) ขุ. จริยา. ๒๒/ ๕๙๕.

ตุมฺเหหิ กิจฺจํ อาตปฺปํ อกฺขาตาโร ตถาคตา
ปฏิปนฺนา ปโมกฺขนฺติ ฌายิโน มารพนฺธนา.
ท่านทั้งหลายต้องทำความเพียรเอง ตถาคตเป็นแต่ผู้บอก
ผู้มีปกติเพ่งพินิจดำเนินไปแล้ว จักพ้นจากเครื่องผูกของมาร.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๕๑.

นิทฺทํ ตนฺทึ วิชิมฺหิตํ อรตึ ภตฺตสมฺมทํ
วิริเยน นํ ปณาเมตฺวา อริยมคฺโค วิสุชฺฌติ.
อริยมรรคย่อมบริสุทธิ์ เพราะขับไล่ความหลับ ความเกียจคร้าน
ความบิดขี้เกียจ ความไม่ยินดี และความเมาอาหารนั้นได้ด้วยความเพียร.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๑๐.

โย จ วสฺสสตํ ชีเว กุสีโต หีนวีริโย
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย วิริยํ อารภโต ทฬฺหํ.
ผู้ใดเกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี
แต่ผู้ปรารภความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว
ประเสริฐกว่าผู้นั้น.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๐.

สพฺพทา สีลสมฺปนฺโน ปญฺญวา สุสมาหิโต
อารทฺธวิริโย ปหิตตฺโต โอฆํ ตรติ ทุตฺตรํ.
ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้ว
ปรารภความเพียร ตั้งตนไว้ในกาลทุกเมื่อ
ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๗๔.

           แดดยามเย็นอ่อนแสงลงแล้ว งานพิธีประทานปริญญาบัตร ประจำปีของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยเสร็จสิ้นไปแล้ว ผู้คนเริ่มทยอยเดินทางกลับบ้าน พร้อมด้วยหัวใจอันเปี่ยมสุขในความสำเร็จของบัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต ทุกอย่างก็กลับคืนสู่ความเป็นปกติ อีกไม่กี่วันก็เปิดเทอมกันแล้ว เตรียมพร้อมสำหรับปีการศึกษาใหม่ งานใหม่ยังรออยู่ข้างหน้า ขอบคุณฟ้าที่ปราณีไม่หลั่งอุทกธารลงมาในท่ามกลางอากาศร้อน ทุกอย่างจึงผ่านพ้นไปด้วยดีไม่มีฝนตก

นิทานอีสป เรื่อง กากับเหยือกน้ำ
ผู้แต่ง : อีสป

วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา ความหมาย


      ในวันที่อากาศร้อนจัด เจ้ากาน้อยตัวหนึ่งกำลังกระหายน้ำอย่างมาก ปีกของมันเริ่มอ่อนแรงลงทุกที มันจึงหยุดพักใต้ต้นไม้ มันหันไปเห็นเหยือกน้ำขนาดใหญ่วางอยู่แต่ในน้ำนั้นมีอยู่แค่ก้นเหยือก ซึ่งมันไม่สามารถเอาจะงอยปากของมันลงไปกินน้ำได้ ระหว่างที่เจ้ากากำลังคิดหาวิธีที่จะกินน้ำในเหยือกนั้น สายตาของมันก็เหลือบไปเห็นก้อนกินมากมายบนพื้น มันจึงค่อย ๆ คาบก้อนหินใส่ลงไปในเหยือกน้ำ น้ำก็ค่อย ๆ สูงขึ้น ๆ จนมาถึงปากเหยือก เจ้ากาน้อยแสนฉลาดจึงได้กินน้ำอย่างง่ายดาย

:: นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ::

ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น

:: พุทธภาษิต ::

วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา.
บุรุษพึงพยายามไปกว่าจะสำเร็จประโยชน์.
สํ . ส. ๑๕/ ๓๓๐.

วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา แปลว่าอะไร

พุทธ ศาสนสุภาษิตที่จะฝากไว้สำหรับคนกำหนดเป้าหมายในปีใหม่ ก็เป็นดังที่ว่าวายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา เกิดเป็นคนต้องพยายามร่ำไป จนกว่าจะได้บรรลุสิ่งที่ตั้งเป้าหมายไว้” นี่เป็นคติสอนใจ เกิดเป็นคนต้องพยายามร่ำไป จนกว่าจะได้บรรลุสิ่งที่ตั้งเป้าหมายไว้ พุทธภาษิตต่อไปว่านิปฺผนฺนโสภิโน อตฺถา เป้าหมาย งดงาม เมื่อยาม ...

คบคนเช่นใดย่อมเป็นคนเช่นนั้นภาษาบาลี

“ อตฺตนา โจทยตฺตาน ” จงเตือนตนด้วยตนเอง “ ย เว เสวติตาทิโส ” คบคนเช่นใดย่อมเป็นคนเช่นนั้น

การกระทําในข้อใดสอดคล้องกับพุทธศาสนสุภาษิต โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ

Q. การกระทำใดสอดคล้องกับพุทธศาสนสุภาษิต "โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ" การเลือกคบมิตรที่ดี การหาสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจให้ยึดมั่นในสิ่งที่เหมาะสม

พุทธศาสนสุภาษิตข้อใดสอนให้เรารู้จักรู้จักตนเอง รู้จักพอ ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย *

อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย