วิสัย ทัศน์ ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่

แนวนโยบายการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนจะนะวิทยา 

โรงเรียนที่ตั้งอยู่ในชุมชนพหุวัฒนธรรม สองศาสนา

อ.จะนะ จ.สงขลา

             โรงเรียนจะนะวิทยาเป็นโรงเรียนมัธยมขนาดเล็กตั้งอยู่ในสังคมสองศาสนา ผู้ปกครองมีอาชีพรับจ้าง ประมง และอื่น ๆ ตามบริบทแต่ละครอบครัว ทำปาล์มน้ำมัน เป็นต้น มีฐานะยากจน ดังนั้นการจัดการศึกษาจะต้องศึกษาบริบทของชุมชนเป็นสำคัญ การพัฒนาสถานศึกษาจึงต้องใช้หลักการมีส่วนร่วมของเครือข่าย และโรงเรียนเป็นฐาน(School Baeed Management) และตามหลักการบริหารภาครัฐแนวใหม่(Planing Organizing Leader Controling :POLC จัดทำแผนแม่บทแผนกลยุทธ์(Strategy Plan)ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติและยุทธ์ศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่๑๒ แผนพัฒนาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ สืบสานพระราชปณิธานตามศาสตร์พระราชาให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่นนั้น ๆ มุ่งวางแนวการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศตามหลักธรรมาภิบาล(Good Governace) การบริหารมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ การจัดการองค์ความรู้และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และนำแผนงานโครงการสู่การปฏิบัติด้วยวงจรคุณภาพ PDCA สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้(PLC) เพื่อให้เกิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กร และการเทียบเคียงคุณภาพระหว่างองค์กร กำกับติดตามโดยใช้ KPI และ BSC เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดผลการดำเนินการของสถานศึกษาโดยดำเนินการตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ข้างต้นนี้ ที่ได้ออกแบบ เพื่อกำหนดเป้าหมาย กระบวนการและผลที่คาดว่าจะได้รับ โดยเป็นกลยุทธ์และจุดเน้นในการขับเคลื่อนการศึกษา ดังนี้  

          .๑ วิสัยทัศน์( Vision )

“ภายในปีการศึกษา ๒๕๖๕ โรงเรียน. เป็นต้นแบบการมีส่วนร่วมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับสังคมพหุวัฒนธรรม มีภูมิทัศน์สภาพแวดล้อมดี องค์กรมีการพัฒนารอบด้าน ก้าวทันเทคโนโลยีดิจิทัลในศตวรรษที่ ๒๑ ผู้เรียนสามารถในการแข่งขัน มุ่งสู่นวัตกรรมไทยแลนด์ ๔.๐ มีทักษะ ๓Rs ๘Cs บนหลักของพหุปัญญา ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ ให้ผู้เรียนเป็นคนดี เก่ง มีคุณภาพมาตรฐานสากล เป็นพลโลก เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

.๒ พันธกิจ(Mission )

   ๑. มุ่งพัฒนาองค์กร การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลให้เป็นต้นแบบของการมีส่วนร่วมในระดับต่าง ๆ พัฒนาโปรแกรมระบบเทคโนโลยีดิจิทัล บริหารจัดการสอดคล้องกันทั้งระบบ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานบนพื้นฐานสังคมพหุวัฒนธรรม ที่เป็นเลิศและยึดหลักธรรมาภิบาล

   ๒. มุ่งพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา โดยการประกันคุณภาพการศึกษา ยกระดับคะแนนเฉลี่ย O-NETและคะแนน PISAให้สูงขึ้น ให้เป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรม จริยธรรม     มีความเป็นไทย พัฒนาบุคลิกภาพผู้เรียนให้เป็นคนมีสุขภาพอนามัยดี มีอัตลักษณ์ ยิ้ม ไหว้ ทักทาย  และมีจิตอาสา และบำเพ็ญประโยชน์สร้างสำนึกพลเมือง ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีสมรรถนะ ค่านิยมและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 บรรลุวัตถุประสงค์ให้เกิด 3Rs 8Cs

   ๓. มุ่งส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ ด้านความรู้และประสบการณ์ ด้านการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตน ให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้สร้างสื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอน การจัดการเรียนการรู้โดยครูเป็นโค้ชเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญใช้กระบวนการ ACTIVE LEANNING และให้ครูเป็นนวัตกร สู่ครูมืออาชีพ และการสื่อสารได้อย่างน้อย ๒ ภาษา และภาษาที่ ๓ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ ๔.๐ และประชาคมอาเซียนอย่างต่อเนื่อง

   ๔.มุ่งพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีที่หลากหลาย และทันสมัยและลดการใช้กระดาษแต่รณรงค์การใช้ ดิจิทัล แพลตฟอร์ม สร้างสื่อ QR CORD มาใช้ในการบริหารจัดการและให้ผู้เรียนสามารถใช้ศึกษาค้นคว้าเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนอย่างกว้างขวาง รวมทั้งเตรียมด้านอาชีพ ผู้เรียนสามารถเป็นนวัตกรได้

   ๕. มุ่งพัฒนาสาระของหลักสูตรสถานศึกษา สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางปี พ.ศ. 2551 และสอดคล้องกับนโยบายสพฐ.กระทรวงศึกษาธิการและรัฐบาลตามแผนการศึกษาแห่งชาติ และยุทธศาสตร์ชาติ ให้พัฒนาการสู่ศตวรรษที่ ๒๑ และไทยแลนด์ ๔.๐ และส่งเสริมด้านSTEM ศึกษาโดยมุ่งการสร้างภาคีเครือข่ายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและความต้องการของผู้เรียนในท้องถิ่นโดยเน้นการมีอาชีพมีงานทำและหารายได้ระหว่างเรียน รวมถึงหลักสูตรอิสลามแบบเข้มทั้งระดับตอนกลางและตอนปลายและวิชาปาล์มศึกษา                 

              ๖.  มุ่งส่งเสริมการนิเทศกำกับติดตาม เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียน และพัฒนาผลงานวิชาการตามหลัก PLC เพื่อขอมีและเลื่อน วิทยฐานะของครู  ให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดให้เต็มศักยภาพ      

            ๗.  มุ่งส่งเสริมให้โรงเรียนสวยและพัฒนาอาคารสถานที่ จัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา

   ๘. มุ่งส่งเสริมการจัดสวัสดิการและเสริมสร้างสุขภาพอนามัยของผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

    ๙. มุ่งส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์และมีค่านิยมอันพึงประสงค์ สืบสานประเพณีวัฒนธรรมของชุมชนยึดหลักการพหุวัฒนธรรม โดยยึดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความตระหนักในการพอมี พอกิน พอเพียง ต่อการดำเนินชีวิตตามแนวทางทฤษฎีใหม่ และสำนึกรักษ์บ้านเกิดและการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เข้มแข็ง

   ๑๐. มุ่งสร้างความตระหนักสร้างความรักผูกพันไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างเพื่อนครูและกับผู้เรียน ให้มีมีจิตวิญญาณความเป็นครู ให้ครูรักเด็กเด็กรักครู

.๓ เป้าประสงค์ (Goals) 

   ๑. ร้อยละ ๘๐ องค์กรได้รับการพัฒนาให้เป็นต้นแบบของการมีส่วนร่วมในระดับต่าง ๆ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน บนพื้นฐานของพหุวัฒนธรรม การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลเป็นเลิศและยึดหลักธรรมาภิบาล พัฒนาโปรแกรมระบบเทคโนโลยีดิจิทัล บริหารจัดการให้สอดคล้องกันทั้งองค์กร และมีความพึงพอใจในการดำเนินการขององค์กร

   ๒. ร้อยละ ๘๐ ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา โดยมีการประกันคุณภาพการศึกษาตามตัวชี้วัด ยกระดับคะแนนเฉลี่ย O-NET และคะแนน PISAให้สูงขึ้น และบรรลุวัตถุประสงค์และเกิดผลลัพธ์ 3Rs 8Cs อย่างเป็นรูปธรรม ได้คุณภาพระดับดีมาก (A)

    ๓. ร้อยละ  ๑๐๐ ครูไดรับการพัฒนาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ ด้านความรู้และประสบการณ์ ด้านการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตน การจัดการเรียนการรู้โดยครูเป็นโค้ช เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญใช้กระบวนการ ACTIVE LEANNING

   ๔. ร้อยละ ๑๐๐ ผู้เรียนได้รับการพัฒนาและส่งเสริมระบบการดูแลช่วยเหลือให้ผู้มีความรู้          คู่คุณธรรม จริยธรรม  มีความเป็นไทย จัดสวัสดิการและพัฒนาบุคลิกภาพผู้เรียนให้เป็นคนมีสุขภาพอนามัยดี ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน มีสมรรถนะ ค่านิยมและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. ๒๕๕๑ มีอัตลักษณ์ ยิ้ม ไหว้ ทักทาย  และมีจิตอาสา และบำเพ็ญประโยชน์สร้างสำนึกพลเมืองและให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

             ๕.ร้อยละ ๘๕ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีที่หลากหลาย และทันสมัยและการลดการใช้กระดาษแต่ใช้ ดิจิทัล แพลตฟอร์ม สร้างสื่อ QR CORD มาใช้ในการบริหารจัดการและให้ผู้เรียนสามารถใช้ศึกษาค้นคว้าเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนอย่างกว้างขวาง รวมทั้งเตรียมด้านอาชีพ ผู้เรียนสามารถเป็นนวัตกรได้

   ๖.  ร้อยละ ๑๐๐ มีการพัฒนาสาระของหลักสูตรสถานศึกษาทุกกลุ่มสาระและหลักสูตรท้องถิ่น รวมทั้งหลักสูตรอิสลามแบบเข้ม สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางปี พ.ศ. ๒๕๕๑ หลักการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง โดยเน้นเทคโนโลยีสารสนเทศ  การมีอาชีพและมีงานทำ การยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้พัฒนาการสู่ศตวรรษที่ ๒๑ และไทยแลนด์ ๔.๐ และSTEM ศึกษา และความต้องการของผู้เรียนในท้องถิ่น

   ๗. ร้อยละ ๗๕ ส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้สร้างสื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอน สู่ครูมืออาชีพให้ครูเป็นโค้ชและเป็นนวัตกรในการสร้างผลิต ออกแบบสื่อ การสื่อสารได้อย่างน้อย ๒ ภาษา และภาษาที่ ๓ ด้านดิจิทัล Cording เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ ๔.๐ อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนและให้มีการขอมีและเลื่อน วิทยฐานะของครูให้สูงขึ้น

   ๘. ร้อยละของการสร้างภาคีเครือข่ายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งระบบตามแนวทางโรงเรียนประชารัฐ ทั้งในและนอกสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำระหว่างเรียนของผู้เรียน

              ๙. ร้อยละ ๑๐๐ ส่งเสริมการนิเทศกำกับติดตาม  เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียน และพัฒนาผลงานวิชาการตามหลัก PLC เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาการจัด

กิจกรรมการเรียนรู้ให้ได้อย่างต่อเนื่องทุกกลุ่มสาระรวมทั้งกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและสมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดให้เต็มศักยภาพ      

             ๑๐.  ร้อยละ ๘๐ ส่งเสริมและพัฒนาด้านอาคารสถานที่ในการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา

    ๑๑. ร้อยละ ๘๐ ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์และมีค่านิยมอันพึงประสงค์ สืบสานประเพณีวัฒนธรรมของชุมชน มีพหุวัฒนธรรมสร้างความสามัคคีปรองดองในสังคม โดยยึดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความตระหนักในการพอมี พอกิน พอเพียง ต่อการดำเนินชีวิตตามแนวทางทฤษฎีใหม่ และการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เข้มแข็ง

   ๑๒. ร้อยละ ๘๐ ผู้เรียนและครูมีความตระหนักสร้างความรักผูกพันไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างเพื่อนครูและกับผู้เรียน ให้มีมีจิตวิญญาณความเป็นครู ให้ครูรักเด็กเด็กรักครูผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจและรักโรงเรียนรักถิ่นกำเนิด และรักประเทศไทย