งาน ทัศน ศิลป์ กับ วิธีการสร้างสรรค์ ป. 5

                 เวลา5ชั่วโมง


1      มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

        ศ 1.1     ป.5/2        เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างงานทัศนศิลป์ที่สร้างสรรค์ด้วยวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการที่ต่างกัน

                            ป.5/7        บรรยายประโยชน์และคุณค่าของงานทัศนศิลป์ที่มีผลต่อชีวิตของคนในสังคม

2      สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

       งานทัศนศิลป์มีวิธีการสร้างสรรค์ผลงาน ประโยชน์และคุณค่าที่แตกต่างกันไปตามประเภทของงาน เราจึงต้องศึกษาทำความเข้าใจความแตกต่างเหล่านี้ เพื่อให้สร้างสรรค์ผลงานได้อย่างเหมาะสม สวยงาม

3      สาระการเรียนรู้

        3.1   สาระการเรียนรู้แกนกลาง

            1)  ความแตกต่างระหว่างงานทัศนศิลป์

             2)  ประโยชน์และคุณค่าของงานทัศนศิลป์

        3.2   สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

            1)  งานจิตรกรรม

             2)  งานปั้น

             3)  งานภาพพิมพ์

4      สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

       4.1   ความสามารถในการสื่อสาร

        4.2   ความสามารถในการคิด

            1)  ทักษะการเปรียบเทียบ

             2)  ทักษะการให้เหตุผล

             3)  ทักษะการนำความรู้ไปใช้

        4.3   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

5      คุณลักษณะอันพึงประสงค์

       1.   มีวินัย                            2.   ใฝ่เรียนรู้                         3.   มุ่งมั่นในการทำงาน

6      ชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

       รายงาน เรื่อง งานทัศนศิลป์กับวิธีการสร้างสรรค์

7      การวัดและการประเมินผล

        7.1   การประเมินก่อนเรียน

                -   ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง งานทัศนศิลป์กับวิธีการสร้างสรรค์

       7.2   การประเมินระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

            1)  ตรวจใบงานที่ 2.1 เรื่อง ภาพเขียน

            2)  ตรวจใบงานที่ 2.2 เรื่อง งานปั้น

            3)  ตรวจใบงานที่ 2.3 เรื่อง ภาพพิมพ์

            4)  ตรวจใบงานที่ 2.4 เรื่อง ประโยชน์และคุณค่างานทัศนศิลป์

            5)  ตรวจแบบบันทึกการอ่าน

            6)  ประเมินการนำเสนอผลงาน

            7)  สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล

            8)  สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

            9)  สังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์

        7.3   การประเมินหลังเรียน

            -   ตรวจแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง งานทัศนศิลป์กับวิธีการสร้างสรรค์

       7.4   การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

            -   ตรวจรายงาน เรื่อง งานทัศนศิลป์กับวิธีการสร้างสรรค์

8      กิจกรรมการเรียนรู้

                 นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

 

วิธีสอนโดยใช้การ  สาธิต

ขั้นที่ 1    เตรียมการสาธิต

   1. ครูนำภาพหรือตัวอย่างผลงานภาพวาดระบายสี มาให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่กำหนด

   2. ครูอธิบายให้นักเรียนฟังเกี่ยวกับลักษณะของงานจิตรกรรม หรือภาพเขียน

   3. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน คละกันตามความสามารถ แล้วให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาความรู้เรื่อง งานจิตรกรรม จากหนังสือเรียน จากนั้นร่วมกันสรุปสาระสำคัญ

   4. ครูจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการสาธิตการวาดภาพ

ขั้นที่ 2    สาธิต

   1. ครูแจ้งให้นักเรียนทราบว่า ครูจะสาธิตวิธีการวาดภาพ ให้นักเรียนดู พร้อมชี้แจงจุดประสงค์การสาธิตให้นักเรียนทราบ

   2. ครูสาธิตวิธีการวาดภาพนก ให้นักเรียนดู พร้อมอธิบายประกอบในแต่ละขั้นตอน เพื่อให้นักเรียนสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

   3. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันฝึกวาดภาพนก ตามแบบที่ครูสาธิต แล้วผลัดกันตรวจสอบความถูกต้องในการปฏิบัติ หากมีข้อสงสัยให้ศึกษาความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือเรียน หรือจากเอกสารประกอบการสอน หรือสอบถามจากครู

   4. ครูคอยสังเกตการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียนอย่างใกล้ชิด หากมีข้อบกพร่อง ครูคอยให้คำแนะนำเพื่อให้นักเรียนสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

   5. นักเรียนแต่ละคนทำใบงานที่ 2.1 เรื่อง ภาพเขียน เมื่อทำเสร็จแล้วผลัดกันอธิบายผลงานในใบงานของตนให้เพื่อนฟัง ผลัดกันแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะ

ขั้นที่ 3    สรุปการสาธิต

   1. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปวิธีการวาดภาพ

   2. ครูแนะนำให้นักเรียนหมั่นฝึกฝนการวาดภาพอย่างสม่ำเสมอ โดยนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปประยุกต์ปฏิบัติ เพื่อพัฒนาทักษะการวาดภาพของตนเองให้ดียิ่งขึ้น หากมีข้อสงสัยให้สอบถามจากครูผู้สอน

ขั้นที่ 4    วัดผลประเมินผล

       ครูวัดและประเมินผลนักเรียนจากการทำใบงานที่ 2.1

     Ÿ    ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละคนวาดภาพระบายสีสถานที่หรือทิวทัศน์ที่ประทับใจ จำนวน 1 ภาพ โดยปฏิบัติตามขั้นตอนที่ได้เรียนไป จากนั้นรวบรวมผลงานจัดทำเป็นรายงานส่งครู

เรื่องที่

2

  งานประติมากรรม

วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ :  กระบวนการปฏิบัติ

ขั้นที่ 1    สังเกต รับรู้

   1. ครูนำภาพผลงานประติมากรรมรูปแบบต่างๆ มาให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น      ในประเด็นที่กำหนด

   2. ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจลักษณะของงานประติมากรรม

   3. สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาความรู้เรื่อง งานประติมากรรม จากหนังสือเรียน จากนั้นร่วมกันสรุปสาระสำคัญ

ขั้นที่ 2    ทำตามแบบ

   1. ครูสาธิตขั้นตอนการปั้นกระต่ายจากดินน้ำมัน ให้นักเรียนดูทีละขั้นตอนอย่างช้าๆ พร้อมอธิบายประกอบ       ในแต่ละขั้นตอน

   2. นักเรียนแต่ละคนฝึกปั้นกระต่ายจากดินน้ำมัน ตามขั้นตอนที่ครูสาธิต ครูคอยสังเกตการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียนและให้คำแนะนำ

ขั้นที่ 3    ทำเองโดยไม่มีแบบ

   1. นักเรียนแต่ละคนฝึกปั้นกระต่ายจากดินน้ำมัน โดยไม่ต้องดูแบบ แล้วผลัดกันตรวจสอบความถูกต้องของการปฏิบัติกับสมาชิกในกลุ่ม

   2. ครูประเมินผลงานนักเรียนเป็นรายบุคคล และให้คำแนะนำในการปรับปรุงผลงานให้มีความสวยงามยิ่งขึ้น

ขั้นที่ 4    ฝึกทำให้ชำนาญ

   1. นักเรียนแต่ละคนทำใบงานที่ 2.2 เรื่อง งานปั้น เป็นการบ้าน เสร็จแล้วนำส่งครูตามกำหนดเวลาที่ตกลงกัน

   2. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง งานประติมากรรม

     Ÿ    ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละคนปั้นรูปสัตว์ที่ตนสนใจหรือชื่นชอบ จำนวน 1 ชิ้น โดยปฏิบัติตามขั้นตอนที่ได้เรียนไป จากนั้นรวบรวมผลงานจัดทำเป็นรายงานส่งครู

 

วิธีสอนโดยใช้การ  สาธิต

ขั้นที่ 1    เตรียมการสาธิต

   1. ครูนำภาพหรือตัวอย่างผลงานภาพพิมพ์ มาให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น            ในประเด็นที่กำหนด

   2. ครูอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนฟังเกี่ยวกับลักษณะของผลงานภาพพิมพ์

   3. นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง งานภาพพิมพ์ จากหนังสือเรียน

   4. ครูจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการสาธิตการสร้างผลงานภาพพิมพ์

ขั้นที่ 2    สาธิต

   1. ครูชี้แจงจุดประสงค์การสาธิตการสร้างผลงานภาพพิมพ์ ให้นักเรียนทราบ

   2. ครูสาธิตวิธีการสร้างผลงานภาพพิมพ์จากวัสดุธรรมชาติหรือวัสดุสังเคราะห์ พร้อมอธิบายประกอบในแต่ละขั้นตอน เพื่อให้นักเรียนสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

   3. นักเรียนแต่ละกลุ่มจับคู่กันเป็น 3 คู่ ให้แต่ละคู่ฝึกสร้างผลงานภาพพิมพ์จากวัสดุธรรมชาติหรือวัสดุสังเคราะห์ ตามแบบที่ครูสาธิต แล้วผลัดกันตรวจสอบความถูกต้องในการปฏิบัติ หากมีข้อสงสัยให้ศึกษาความรู้เพิ่มเติม จากหนังสือเรียน หรือจากเอกสารประกอบการสอน หรือสอบถามจากครู

   4. ครูคอยสังเกตการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน หากมีข้อบกพร่อง ครูคอยให้คำแนะนำเพื่อให้นักเรียนสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

   5. นักเรียนแต่ละคนทำใบงานที่ 2.3 เรื่อง ภาพพิมพ์ เป็นการบ้าน เสร็จแล้วนำส่งครูตามกำหนดเวลา               ที่ตกลงกัน

ขั้นที่ 3    สรุปการสาธิต

       นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปวิธีการสร้างผลงานภาพพิมพ์

ขั้นที่ 4    วัดผลประเมินผล

       ครูวัดและประเมินผลนักเรียนจากการทำใบงานที่ 2.3

     Ÿ    ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละคนสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์ตามจินตนาการของตนเอง จำนวน 1 ชิ้น โดยปฏิบัติตามขั้นตอนที่ได้เรียนไป จากนั้นรวบรวมผลงานจัดทำเป็นรายงานส่งครู

เรื่องที่

4

  ความแตกต่างระหว่างงานทัศนศิลป์

  แต่ละประเภท

วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ :  กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด

ขั้นที่ 1    สังเกต

   1. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับลักษณะของงานทัศนศิลป์แต่ละประเภท

   2. ครูนำภาพ 6 ภาพ มาให้นักเรียนดู เพื่อให้นักเรียนสังเกตความเหมือนและความแตกต่าง

ขั้นที่ 2    จำแนกความแตกต่าง

       นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันพิจารณาภาพทั้ง 6 ภาพ ในขั้นที่ 1 และช่วยกันบอกความแตกต่างของภาพเหล่านั้น

ขั้นที่ 3    หาลักษณะร่วม

       นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันพิจารณาภาพทั้ง 6 ภาพ ในขั้นที่ 1 และช่วยกันบอกสิ่งที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันของภาพเหล่านั้น

ขั้นที่ 4    ระบุชื่อความคิดรวบยอด

   1. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปลักษณะและความแตกต่างระหว่างงานทัศนศิลป์แต่ละประเภท

   2. ครูอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนเข้าใจลักษณะและความแตกต่างระหว่างงานทัศนศิลป์แต่ละประเภท

ขั้นที่ 5    ทดสอบและนำไปใช้

       ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง ความแตกต่างระหว่างงานทัศนศิลป์แต่ละประเภท

เรื่องที่

5

  ประโยชน์และคุณค่างานทัศนศิลป์

วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ :  กระบวนการสร้างความตระหนัก

ขั้นที่ 1    สังเกต

   1. ครูให้นักเรียนดูภาพผลงานทัศนศิลป์รูปแบบต่างๆ แล้วให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่กำหนด

   2. ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจประโยชน์และคุณค่าของงานทัศนศิลป์

ขั้นที่ 2    วิเคราะห์วิจารณ์

   1. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาความรู้เรื่อง ประโยชน์และคุณค่างานทัศนศิลป์ จากหนังสือเรียน

   2. สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์และคุณค่างานทัศนศิลป์           ในด้านต่างๆ จากนั้นสรุปเป็นแผนผังความคิดลงในใบงานที่ 2.4 เรื่อง ประโยชน์และคุณค่างานทัศนศิลป์ จากนั้นช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องและเติมเต็มคำตอบให้สมบูรณ์

   3. ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานในใบงานที่ 2.4 หน้าชั้นเรียน โดยครูเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องและอธิบายเพิ่มเติม

ขั้นที่ 3    สรุป

       นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง ประโยชน์และคุณค่างานทัศนศิลป์

     Ÿ    ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละคนรวบรวมผลงานทัศนศิลป์ (จากเรื่องที่ 1-3) มาจัดทำเป็นรายงาน เรื่อง งานทัศนศิลป์กับวิธีการสร้างสรรค์ โดยให้ครอบคลุมประเด็นตามที่กำหนด

                     นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 2

9      สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

        9.1   สื่อการเรียนรู้

            1)  หนังสือเรียน ทัศนศิลป์ ป.5

            2)  แบบวัดและบันทึกผลการเรียนรู้ ทัศนศิลป์ ป.5

            3)  บทเรียนคอมพิวเตอร์ Smart L.O. LMS Lite ทัศนศิลป์ ป.5บริษัท เพลย์เอเบิล จำกัด

            4)  วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการวาดภาพ ได้แก่ ดินสอ ยางลบ สีชนิดต่างๆ และกระดาษวาดเขียน

            5)  วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานปั้น ได้แก่ ดินน้ำมัน ไม้บรรทัด ช้อน ส้อม ขวดทรงกระบอก

                 และกระดานรองปั้น

            6)  วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานภาพพิมพ์ ได้แก่ วัสดุจากธรรมชาติ (ใบไม้ มะเฟือง ดอกไม้ เปลือกถั่ว)             วัสดุสังเคราะห์ (ฝาขวดน้ำอัดลม เชือก คลิปหนีบกระดาษ) สีน้ำหรือสีโปสเตอร์ จานสี พู่กัน

                 และกระดาษวาดเขียน)

            7)  บัตรภาพ

            8)  ใบงานที่ 2.1 เรื่อง ภาพเขียน

            9)  ใบงานที่ 2.2 เรื่อง งานปั้น

           10)  ใบงานที่ 2.3 เรื่อง ภาพพิมพ์

           11)  ใบงานที่ 2.4 เรื่อง ประโยชน์และคุณค่างานทัศนศิลป์

        9.2   แหล่งการเรียนรู้

            -   ห้องสมุด

การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

แบบประเมินรายงาน เรื่อง งานทัศนศิลป์กับวิธีการสร้างสรรค์

รายการประเมิน

คำอธิบายระดับคุณภาพ / ระดับคะแนน

ดี (3)

พอใช้ (2)

ปรับปรุง (1)

1. การสร้างสรรค์ผลงานภาพเขียน

สร้างสรรค์ผลงานภาพเขียน  ได้ถูกต้อง ตามลำดับขั้นตอน ผลงานมีความประณีต สวยงาม

สร้างสรรค์ผลงานภาพเขียน  ได้ถูกต้อง ตามลำดับขั้นตอน ผลงานค่อนข้างสวยงาม

สร้างสรรค์ผลงานภาพเขียน  ได้ตามลำดับขั้นตอน มีจุดผิดพลาดเป็นส่วนใหญ่ ผลงานไม่สวยงาม

2.  การสร้างสรรค์ผลงานปั้น

สร้างสรรค์ผลงานปั้นได้ถูกต้อง ตามลำดับขั้นตอน ผลงานมีความสวยงาม และแสดงออก ถึงความคิดสร้างสรรค์

สร้างสรรค์ผลงานปั้นได้ถูกต้อง ตามลำดับขั้นตอน ผลงานค่อนข้างสวยงาม และแสดงออก ถึงความคิดสร้างสรรค์         เป็นส่วนใหญ่

สร้างสรรค์ผลงานปั้นได้ตามลำดับขั้นตอน ผลงานไม่ค่อยสวยงาม และไม่มีความคิดสร้างสรรค์

3.  การสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์

สร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์   ได้ถูกต้อง ตามลำดับขั้นตอน ผลงานมีความสวยงาม และแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์

สร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์     ได้ถูกต้อง ตามลำดับขั้นตอน ผลงานค่อนข้างสวยงาม และแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์เป็นส่วนใหญ่

สร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์ได้ ตามลำดับขั้นตอน ผลงาน     ไม่ค่อยสวยงาม และไม่มีความคิดสร้างสรรค์

4.  การเปรียบเทียบความแตกต่างของผลงานทัศนศิลป์

เปรียบเทียบความแตกต่าง  ของงานทัศนศิลป์ทั้ง 3 ประเภท ได้ถูกต้อง ชัดเจน มีความสมเหตุสมผล

เปรียบเทียบความแตกต่างของงานทัศนศิลป์ 2 ประเภทได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่           มีความสมเหตุสมผล

เปรียบเทียบความแตกต่าง  ของงานทัศนศิลป์ 2 ประเภท          ได้ถูกต้องเป็นส่วนน้อย ไม่มีความสมเหตุสมผล

5.  การบอกประโยชน์และคุณค่าของงานทัศนศิลป์

บอกประโยชน์และคุณค่าของงานทัศนศิลป์ได้ถูกต้อง ชัดเจน 6 ข้อ พร้อมยกตัวอย่างผลงานประกอบ

บอกประโยชน์และคุณค่าของงานทัศนศิลป์ได้ถูกต้อง ชัดเจน 3-5 ข้อ พร้อมยกตัวอย่างผลงานประกอบ

บอกประโยชน์และคุณค่าของงานทัศนศิลป์ได้ถูกต้อง 1-2 ข้อ แต่ไม่มีตัวอย่างผลงานประกอบ

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน

12 - 15

8 - 11

ต่ำกว่า 8

ระดับคุณภาพ

ดี

พอใช้

ปรับปรุง