อาการน้ำในหูไม่เท่ากัน วิธีรักษา

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือ โรคความดันน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือ โรคเมเนียร์ (Meniere’s disease)

     พบมากในวัยทำงานจนถึงวัยสูงอายุ คือช่วงอายุ 30-60 ปี พบได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แต่จะพบในผู้หญิงมากกว่าเล็กน้อย โดยอาการมักจะเริ่มแสดงเมื่ออายุ 30 ปี เป็นโรคที่พบได้บ่อยๆ เกิดจากความผิดปกติของหูชั้นในซึ่งเกิดจากความดันน้ำในหูชั้นในที่เรียกว่า Endolymph มากผิดปกติ ส่งผลให้หูขั้นในที่มีหน้าที่ในการรับเสียงกับการทรงตัวไม่สามารถที่จะทำงานได้อย่างปกติ โดย Endolymph มีเกลือแร่ที่สำคัญอย่าง โปรแตสเซียม และถ้าไปปนกับน้ำส่วนอื่นๆ หูจะทำงานไม่ได้ เยื่อต่างๆ ในหูชั้นในจะแตก

สาเหตุของการเกิดโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

     ในปัจจุบันยังไม่ทราบอย่างแน่ชัด และบางครั้งอาจไม่พบว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้เกิดโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน แต่มีตัวกระตุ้นหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยภายในกับปัจจัยภายนอก ซึ่งปัจจัยภายในเกิดจากโรคทางกรรมพันธุ์ พบได้ถึง 10-20% และพบบ่อยในครอบครัวที่เป็นไมเกรน ส่วนปัจจัยภายนอกเกิดได้จากการติดเชื้อไวรัส หูชั้นกลางอักเสบ หูชั้นในอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน รวมถึงการมีประจำเดือน มีอาการปวดศีรษะไมเกรน เป็นโรคภูมิแพ้ โรคซิฟิลิสขั้นรุนแรง โรคหูน้ำหนวก อดนอน ความเครียด การสูบบุหรี่ และพฤติกรรมการทานอาหารที่มีปริมาณเกลือโซเดียมสูง อาหารรสเค็ม รวมถึงการอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีเสียงดังอึกทึกมากๆ

 อาการโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

  • หูข้างที่ผิดปกติ จะมีอาการเสียงดังในหู และมีอาการตึงๆภายในหูคล้ายกับว่ามีแรงดันเกิดขึ้นข้างในหูร่วมด้วย
  • เวียนศีรษะอย่างรุนแรง โดยมีอาการนานเป็นนาทีไปจนถึงหลายชั่วโมง ซึ่งอาการจะมาๆ หายๆ และมีความรู้สึกหมุนร่วมด้วย
  • บางครั้งจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมกับการสูญเสียสมดุลของร่างกาย ทำให้เซหรือล้มได้ง่ายๆ และมีเหงื่อออกเยอะร่วมด้วย
  • มีอาการหูอื้อ ได้ยินไม่ค่อยชัด รู้สึกแน่นในหูแบบเป็นๆหายๆ แต่ในบางครั้งการได้ยินจะดีขึ้น บางครั้งก็แย่ลง เกิดจากประสาทหูที่เสื่อม ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะประสาทการได้ยินที่ผิดปกติเรียกว่าประสาทเสียงเสีย ซึ่งอาการได้ยินไม่ค่อยชัดหรือการได้ยินลดลง มักจะพบในช่วงระยะเริ่มแรกของโรค โดยการได้ยินจะลดลงในช่วงเกิดอาการเวียนศีรษะ ซึ่งมักจะเป็นเพียงชั่วคราว และเมื่อร่างกายกลับสู่ภาวะปกติการได้ยินจะดีขึ้น แต่อาการหูอื้อในช่วงระยะหลังๆของโรคอาจจะเป็นอยู่ตลอดไป

 การรักษาโรคน้ำในหูไม่เท่ากันตามระยะของโรค

  • ระยะที่ 1 ดูแลร่างกายตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ระยะที่ 2 เป็นระยะที่ ‘หู’ เริ่มเกิดการเสื่อม ทำให้มีเสียงในหู และมีอาการเวียนศีรษะ เป็นไม่มาก แต่เป็นๆหายๆ ในระยะที่2 อาจต้องทานยาเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
  • ระยะที่ 3 กับ ระยะที่ 4 จะทำการรักษาด้วยการใช้ยาฉีดหรือผ่าตัด ซึ่งแพทย์จะทำการฉีดยาเข้าไปที่หูข้างในโดยตรง เพื่อทำลายเซลล์ที่ก่อให้เกิดอาการเวียนศีรษะ และเมื่อเซลล์ตายอาการดังกล่าวจะหายไป โดยไม่ต้องทำการผ่าตัดเพื่อรักษา

ข้อควรปฏิบัติเมื่อป่วยเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

  1. หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีรสชาติเค็มจัด ควบคุมจำกัดปริมาณเกลือไม่ให้มากเกินไป
  2. หลีกเลี่ยงช็อกโกแลต เครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และอาหารที่มีคาเฟอีนอย่าง ชากับกาแฟ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้อาการแย่ลง
  3. ทานอาหารให้ครบทุกหมู่ และถูกต้องตามหลักอนามัย
  4. พักผ่อนให้เพียงพอ โดยเฉพาะในเวลานอนหลับ หากมีเสียงรบกวนในหูมากก็จะทำให้นอนไม่หลับผู้ป่วยจึงควรเปิดเพลงอย่างเบาๆในขณะนอน เพื่อที่จะกลบเสียงที่รบกวนในหูให้หมดไป
  5. หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  6. หลีกเลี่ยงความเครียด ซึ่งเป็นปัจจัยที่กระตุ้นทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ และควบคุมอารมณ์ให้เบิกบานแจ่มใส
  7. ผู้ป่วยที่เกิดอาการเวียนศีรษะในทันทีโดยไม่มีอาการเตือน ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือการปีนป่ายที่สูง ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุหรือเสี่ยงอันตรายได้
  8. ไม่ควรออกกำลังกายอย่างหักโหม หรือทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ทำให้ร่างกายเหนื่อยอ่อนอย่างมาก
  9. บริหารระบบการทรงตัว ซึ่งเป็นการบริหารศีรษะกับการทรงตัวทำให้สมองสามารถที่จะปรับตัวได้อย่างรวดเร็วขึ้น
  • วิธีป้องกันโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

การป้องกันที่ได้ผลดีที่สุดก็คือ ลดปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรค อาทิ ลดการดื่มน้ำอัดลม ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารที่มีคาเฟอีนทุกชนิด ลดการทานเค็ม และพยายามไม่ทำให้ตัวเองเครียด ไม่หักโหมทำงานจนมากเกินไป ทำจิตใจให้ผ่องใส และพักผ่อนให้เพียงพอ

ศูนย์การได้ยิน รพ.พิษณุเวชพร้อมให้คำปรึกษา
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์การได้ยินพิษณุเวช-เดียร์เฮียร์ริ่ง
โทร 1208 หรือ 055-90-9000 ต่อ 520101 และ 520102

อาการน้ำในหูไม่เท่ากัน วิธีรักษา

อาการน้ำในหูไม่เท่ากัน วิธีรักษา

เมื่อน้ำในหูไม่เท่ากัน

“อาการบ้านหมุน” หรืออาการเวียนศีรษะอย่างรุนแรง เป็นภาวะที่มักเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งกับสมาชิก ในครอบครัวของผู้อ่านหลายๆ ท่าน ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ รวมไปถึงญาติผู้ใหญ่ในวัยสูงอายุ สําหรับสาเหตุ ของอาการบ้านหมุนนั้น หลายท่านทราบแล้วว่าตนเองเป็นโรค “น้ําในหูไม่เท่ากัน แต่ก็ยังมี อีกหลายท่านที่ยังไม่เคยเข้ารับการตรวจวินิจฉัย จึงขออาสา พามาพูดคุยกับ ศ.พญ.เสาวรส ภทรภักดิ์ หัวหน้าฝ่ายโสต ศอ นาสิกวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่จะมาบอกเล่าให้เราเข้าใจโรคนี้ รวมถึงอัพเดทเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พร้อมวินิจฉัย และให้การรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ

“โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน” เป็นชื่อที่เรียกกันโดยทั่วไปของโรคเมเนียร์ (Meniere’s disease) แม้ว่าจะยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ แต่ก็พบว่าอาการของโรคเมเนียร์ เป็นผลมาจากความผิดปกติ ของน้ำที่อยู่ภายในหูชั้นใน (Endolymp) นั้นคือ มีแรงดันของน้ำในหูมากเกินปกติ ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 30-50 ปี โดยมักพบบ่อยขึ้น เมื่อสูงอายุสําหรับอัตราการเกิดโรคในผู้ชายและผู้หญิงจะมีจํานวนใกล้เคียงกัน จากสถิติผู้ป่วยของคลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีผู้ป่วยโรคเมเนียร์มากเป็นอันดับ 2 รองจากผู้ป่วยที่มี ภาวะหินปูนหูชันในเคลื่อน ทั้งนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีความผิดปกติของน้ําในหู ข้างใดข้างหนึ่ง มีผู้ป่วยจํานวนไม่มากนักที่จะเป็นโรค เมเนียร์ของหูทั้งสองข้าง (ประมาณร้อยละ 15 ของจํานวนผู้ป่วยทั้งหมด)

อาการหลักที่เป็นปัญหา และบั่นทอนคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยโรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติ คือ อาการเวียนศีรษะอย่างรุนแรง และมีความรู้สึกบ้านหมุนร่วมด้วย บางครั้งผู้ป่วยอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมกับ การสูญเสียการทรงตัว ซึ่งอาจทําให้ล้มได้ง่าย สําหรับอาการอื่นๆ ที่พบร่วมด้วย ได้แก่ ภาวะการได้ยินลดลง อาการเสียง รบกวนในหู และอาการหูอื้อ อาการเหล่านี้มักพบในช่วงระยะแรก ของโรคซึ่งเกิดขึ้นแบบชั่วคราว แต่หากปล่อยให้โรคทวีความรุนแรงขึ้น ก็จะส่งผลให้สมรรถภาพ การได้ยินเสื่อมลง สําหรับปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้อาการของโรคน้ําในหูไม่เท่ากัน มีความรุนแรงมากขึ้น ได้แก่ อาหารรสเค็มจัด ซึ่งมีปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูง จะส่งผลให้แรงดันน้ําในหูมากขึ้น อีกทั้ง เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีปริมาณคาเฟอีนสูง รวมไปถึงความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นปัจจัยให้เกิดอาการมากขึ้น

ศ.พญ.เสาวรส กล่าวถึงการวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยที่มีความผิด ปกติของน้ําในหูชั้นในว่า แพทย์จะตรวจดูระบบสมดุลของร่างกาย ซึ่ง เป็นปัจจัยที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของน้ําในหูชั้นใน เริ่มต้นจากการ ตรวจร่างกาย, ตรวจการได้ยิน (Audiometry) ตรวจประสาทการทรงตัว ผ่านการเคลื่อนไหวของลูกตาด้วยการใช้ Videonystagmography (VNG)การใช้ Rotatory Chair Test โดยให้ผู้ป่วยนั่งบนเก้าอี้หมุน เพื่อตรวจการทํางานของหูชั้นในจากการเคลื่อนไหวของลูกตา อีกทั้ง การตรวจวัดการทรงตัวด้วยเครื่อง Posturography และการตรวจแรงดันของน้ําในหูชั้นใน จากการวัดคลื่นหูชั้นใน (SP / AP Ratio) ด้วย Electrocochleography Test (ECOG)

สําหรับวิธีการรักษาโรคเมเนียร์ หรือโรคน้ําในหูไม่เท่ากัน ศ.พญ.เสาวรส เล่าให้ฟังว่า การรักษาโรคนี้จะเริ่มจาก การรักษาตามอาการ ลดปัจจัยเสี่ยงตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น และการใช้ยาซึ่งเป็นการรักษาโรค ที่เกิดขึ้นระยะแรก สําหรับผู้ป่วยในระยะที่มีอาการรุนแรงมากขึ้น ก็จะมีวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัด (Endolymphatic Sac Surgery) 1 เพื่อระบายน้ําในหูชั้นใน ข้อดีของการรักษาด้วยวิธีนี้คือ สามารถควบคุม อาการเวียนศีรษะได้พร้อมกับการรักษาระดับการได้ยินได้ดีเช่นเดิม แต่ในผู้ป่วยบางรายก็ไม่สามารถรักษา ให้หายขาดได้ด้วยวิธีนี้ และการฉีดยาเข้าหูชั้นในผ่านทางแก้วหู (Intratympanic Injections) เพื่อควบคุมแรงดันน้ำ ซึ่งเป็นวิธีการรักษาแบบใหม่ในปัจจุบัน ทําได้ง่าย ได้ผลการรักษาค่อนข้างดี และได้รับความนิยมมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่ก็อาจทําให้การได้ยิน เสื่อมลงจากเดิมบ้าง ซึ่งแพทย์ก็จะต้องพิจารณาเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม ให้กับผู้ป่วยที่มีลักษณะอาการต่างกัน ในแต่ละรายนั่นเอง

สําหรับผู้ที่สนใจเข้ารับการตรวจวินิจฉัย สําหรับผู้ที่สนใจเข้ารับการตรวจวินิจฉัยที่มีความละเอียดแม่นยําด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มี ประสิทธิภาพสูง พร้อมรับคําปรึกษาและการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สามารถเข้ารับบริการได้ทุกวัน ในเวลาราชการ ที่คลินิกหู คอ จมูก ชั้น 10 อาคาร ภปร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (สําหรับคลินิกเฉพาะทางด้านหู จะเปิดให้บริการทุกวันอังคารและพฤหัสบดี ในเวลาราชการ)

โรคน้ําในหูไม่เท่ากันรักษาหายไหม

โรคนี้โดยทั่วไปถือว่าไม่หายขาด แต่การใช้ยาจะสามารถควบคุมอาการเวียนศีรษะ ทำให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้ตามเป็นปกติ

ทำยังไงให้น้ำในหูเท่ากัน

การรักษา การให้ยาบรรเทาอาการ การรับประทานยาขับปัสสาวะ อาจจะทำให้น้ำคั่งในหูชั้นในน้อยลง ผู้ป่วยอาจมีอาการดีขึ้นหลังได้รับประทานยาบรรเทาอาการเวียนศีรษะ หรือคลื่นไส้ อาเจียน การรับประทานยาขยายหลอดเลือด(ฮิสตะมีน)จะช่วยให้การไหลเวียนของน้ำในหูดีขึ้น

โรคน้ำในหูไม่เท่ากันเป็นยังไง

“โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน” เป็นชื่อที่เรียกกันโดยทั่วไปของโรคเมเนียร์ (Meniere's disease) แม้ว่าจะยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ แต่ก็พบว่าอาการของโรคเมเนียร์ เป็นผลมาจากความผิดปกติ ของน้ำที่อยู่ภายในหูชั้นใน (Endolymp) นั้นคือ มีแรงดันของน้ำในหูมากเกินปกติ ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 30-50 ปี โดยมักพบบ่อยขึ้น เมื่อ ...

ตรวจน้ำในหูยังไง

การวินิจฉัยน้ำในหูไม่เท่ากัน การตรวจการทำงานของอวัยวะทรงตัวในหูชั้นใน (Videonystagmography: VNG) เซนเซอร์ที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัวจะอยู่ภายในหูชั้นในซึ่งจะเชื่อมต่อกับกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของลูกตา ซึ่งจะทดสอบโดยให้ผู้ป่วยมองที่จุดใดจุดหนึ่งแล้วโยกศีรษะไปในทิศทางต่าง ๆ