ลายสือไทยดัดแปลงมาจากอักษรใด

            พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1826 โดยทรงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัดและอักษรไทยเดิม ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมอญและคิดอักษรไทยขึ้นใหม่ให้มีสระ  และวรรณยุกต์ให้พอใช้กับภาษาไทย และทรงเรียกอักษรดังกล่าว ลายสือไทย ดังมีกล่าวในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงตอนหนึ่งว่า

        "เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี 1205 ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึงมีพ่อขุนรามคำแหงผู้นั้นใส่ไว้…" (ปี 1205 เป็นมหาศักราชตรงกับพุทธศักราช 1826)

ลักษณะอักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหง

        1.อักษรสมัยพ่อขุนรามคำแหงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัด มีดังนี้คือ ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ญ ฎ ฐ ณ ต ถ ท ธ น ป ผ พ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห และได้เพิ่มพยัญชนะและวรรณยุกต์ให้พอกับภาษาไทยในสมัยนั้น ได้แก่ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ และวรรณยุกต์เอก และโท
         2.สระและพยัญชนะเขียนเรียงอยู่ในบรรทัดเดียวกัน และสูงเสมอกัน เขียนสระไว้หน้าพยัญชนะ ยกเว้นสระอะ   สระอาเขียนอยู่ข้างหลัง ส่วนวรรณยุกต์เขียนไว้ข้างบน
         3.สระอะเมื่อมีตัวสะกด ใช้พยัญชนะซ้อนกัน เช่น น่งง (นั่ง) ขบบ (ขับ)
         4.สระเอีย ใช้ ย แทน เช่น สยง (เสียง) ถ้าไม่มีตัวสะกดใช้สระอี   โดยไม่มีไม้หน้า
         5.สระอัว ที่ไม่มีตัวสะกด ใช้ วว เช่น ตวว (ตัว)
         6.สระอือและสระออที่ไม่มีตัวสะกด ไม่ใช้ อ เช่น ชี่ (ชื่อ) พ่ (พ่อ)
         7 สระอึ ใช้สระอิและสระอีแทน เช่น ขิ๋น (ขึ้น) จี่ง (จึ่ง)
         8.ตัว ม ที่เป็นตัวสะกดใช้นฤคหิต เช่น กลํ (กลม)
                                         ฯลฯ

ลายสือไทยดัดแปลงมาจากอักษรใด

                                     http://www4.sac.or.th/jaruk/script_table/table19_1.jpg

          อักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหง  ใช้แพร่หลายในเขตล้านนา ล้านช้าง และกรุงศรีอยุธยา  ต่อมาชาวล้านนาและชาวล้านช้างเลิกใช้อักษรไทยสมัยกรุงสุโขทัยและใช้อักษรของพวกลื้อ ซึ่งเป็นอักษรไทยพวกหนึ่งแทน     ส่วนกรุงศรีอยุธยายังคงใช้อักษรไทยและดัดแปลงแก้ไขมาเป็นระยะ ๆ จนเป็นเช่นอักษรไทยปัจจุบัน

อักษรไทยในปัจจุบัน

พยัญชนะ

 พยัญชนะไทยมี 44 รูป สามารถแบ่งตามฐานที่ใช้ในการออกเสียงเป็นวรรค ดังเช่นในภาษาบาลีและสันสกฤต พร้อมแสดงชื่อเรียกในปัจจุบัน

วรรค กะ - ไก่ ไข่ ขวด* ควาย คน* ระฆัง งู
วรรค จะ - จาน ฉิ่ง ช้าง โซ่ เฌอ หญิง
วรรค ฏะ - ชฎา ปฏัก ฐาน มณโฑ ผู้เฒ่า เณร
วรรค ตะ - เด็ก เต่า ถุง ทหาร ธง หนู
วรรค ปะ - ใบไม้ ปลา ผึ้ง ฝา พาน ฟัน สำเภา ม้า
เศษวรรค - ยักษ์ เรือ ลิง แหวน ศาลา ฤๅษี เสือ หีบ จุฬา อ่าง นกฮูก

* เนื่องจาก ฃ และ ฅ ปัจจุบันไม่พบการใช้งาน จึงอนุโลมใช้ ข และ ค แทนในการสะกด

พยัญชนะไทยยังแบ่งออกเป็น 3 หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ประกอบด้วย

  • อักษรสูง 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
  • อักษรกลาง 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
  • อักษรต่ำ 24 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ

สระ

สระในภาษาไทยมี 21 รูป ซึ่งรูปสระเหล่านี้จะนำไปประกอบเป็นรูปสระที่ใช้จริงอีกต่อหนึ่ง

  • วิสรรชนีย์ นมนางทั้งคู่
  •  ั ไม้หันอากาศ หางกังหัน ไม้ผัด
  •  ็ ไม้ไต่คู้ ไม้ตายคู้
  • ลากข้าง
  •  ิ พินทุ์อิ
  •  ่ ฝนทอง
  •  ํ นิคหิต นฤคหิต หยาดน้ำค้าง
  • " ฟันหนู, มูสิกทันต์
  •  ุ ตีนเหยียด ลากตีน
  •  ู ตีนคู้
  • ไม้หน้า
  • ไม้ม้วน
  • ไม้มลาย
  • ไม้โอ
  • ตัวออ
  • ตัวยอ
  • ตัววอ
  • ตัวรึ
  • ฤๅ ตัวรือ
  • ตัวลึ
  • ฦๅ ตัวลือ

วรรณยุกต์

วรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 4 รูป 5 เสียง  คำทุกคำในภาษาไทยจะมีเสียงวรรณยุกต์เสมอ แม้ว่าจะไม่มีรูปวรรณยุกต์แสดงให้เห็นก็ตาม

รูปวรรณยุกต์

  •  ่ ไม้เอก
  •  ้ ไม้โท
  •  ๊ ไม้ตรี
  •  ๋ ไม้จัตวา 

 เสียงวรรณยุกต์

  • เสียงสามัญ
  • เสียงเอก
  • เสียงโท
  • เสียงตรี
  • เสียงจัตวา

คลิกเพื่อศึกษาเพิ่มเติม 

คลิกเพื่อทำแบบทดสอบ

แหล่งอ้างอิง
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/trang/rootjarin_ch/sec02p01.html
http://th.wikipedia.org/wiki/

ลายสือไทยดัดแปลงจากภาษาอะไร

ราว พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์อักษรไทยที่เรียกกันว่า "ลายสือไทย" ขึ้น ซึ่งได้เค้ารูปมาจากอักษรมอญและอักษรเขมรที่มีอยู่เดิม ทำให้อักษรไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับอักษรทั้งสอง แม้บางตัวจะไม่คล้ายกัน แต่ก็สามารถรู้ได้ว่าดัดแปลงมาจากอักษรตัวไหน

พ่อขุนรามคําแหงประดิษฐ์อักษรไทยเพื่ออะไร

ท่านผู้รู้นักประวัติศาสตร์หลายท่าน คาดกันว่า เริ่มจากแบบอักษรคฤนถ์ของอินเดียใต้ ได้ถูกนำมาดัดแปลงเป็นอักษรขอม อักษรขอมนี้นำมาเขียนภาษาบาลี สันสกฤตได้สะดวก แต่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเห็นว่าการนำมาเขียนเป็นภาษาไทยนั้นไม่สะดวก เพราะไม่มีวรรณยุกต์เป็นเครื่องหมายกำหนดเสียงสูงต่ำและมีสระน้อย ไม่เพียงพอจะเขียนภาษาไทยได้ตาม ...

การประดิษฐ์ตัวอักษรไทยหรือลายสือไทยเกิดขึ้นเมื่อใด

ลายสือไทย คือ รูปแบบอักษรที่ปรากฏในจารึกพ่อขุนรามคําแหงมหาราช หรือจารึกสุโขทัย หลักที่ 1 ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 1826 (มหาศักราช 1205) ข้อมูลนี้ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 4 บรรทัดที่ 8-11 ว่า

อักษรเดิมก่อนพ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ขึ้นคืออักษรใด

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1826 โดยทรงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัดและอักษรไทยเดิม ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมอญและคิดอักษรไทยขึ้นใหม่ให้มีสระ และวรรณยุกต์ให้พอใช้กับภาษาไทย และทรงเรียกอักษรดังกล่าว ลายสือไทย ดังมีกล่าวในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงตอนหนึ่งว่า