ทักษะด้าน content เป็นสมรรถนะของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 ด้านใด

ทักษะด้าน content เป็นสมรรถนะของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 ด้านใด

             ศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19 ระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง ความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21  ในการเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับชีวิตในศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องสำคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill)                                                                                  ในประเทศสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่อง "ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยภาคส่วนที่เกิดจากวงการนอกการศึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ รวมตัวและก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 

                                                                                                                                ภาพ :แนวคิดหลัก

(Partnership for 21st Century Skills) หรือเรียกย่อๆว่า เครือข่าย P21 หน่วยงานเหล่านี้มีความกังวลและเห็นความจำเป็นที่เยาวชนจะต้องมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ขึ้น ทักษะสำคัญที่เด็กและเยาวชนควรมีได้ว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R  และ 4C ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้

  • 3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ        
  • 4 C (Critical Thinking - การคิดวิเคราะห์, Communication- การสื่อสาร Collaboration-การร่วมมือ และ Creativity-ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่ 

          ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) วิจารณ์ พานิช (2555: 16-21) ได้กล่าวถึงทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนี้ สาระวิชาก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้ 

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

  • ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness
  • ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics,      Businessand Entrepreneurial Literacy)
  • ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)
  • ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)
  • ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)

สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วย 

  • ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก
  • ศิลปะ
  • คณิตศาสตร์
  • การปกครองและหน้าที่พลเมือง
  • เศรษฐศาสตร์
  • วิทยาศาสตร์
  • ภูมิศาสตร์
  • ประวัติศาสตร์

      โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้

1.ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่

  • ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
  • การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
  • การสื่อสารและการร่วมมือ

2.ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้

  • ความรู้ด้านสารสนเทศ
  • ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
  • ความรู้ด้านเทคโนโลยี

3.ด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้

  •  ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
  •  การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
  •  ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
  •  การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
  •  ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility) 

ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C

    3R คือ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้), และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น) 7C ได้แก่ 

  •  Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
  •  Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
  •  Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
  •  Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
  •  Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
  •  Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
  •  Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)

ภาพ : แนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21

อ้างอิงจาก

http://www.escd.or.th/main/index.php/knowledge/31-21

http://www.vcharkarn.com/varticle/60454

สมรรถนะ ของครูในศตวรรษที่ 21 มี อะไร บ้าง

สมรรถนะครูในศตวรรษที่21 (SEAMEO INNOTECH, 2010) 1. การเตรียมแผนการสอนที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และพันธกิจของโรงเรียน 2. การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 3. การพัฒนา และใช้ทรัพยากรสาหรับการเรียนการสอน 4. การพัฒนาทักษะการจัดลาดับความคิดระดับสูง 5. การอานวยความสะดวกในการเรียนรู้ 6. การส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ 7. ส่งเสริมการ ...

ครูผู้สอนควรมีสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 อย่างไรบ้าง

ทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital Skill) ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการค้นคว้า การเรียนรู้ การแลกเปลี่ยน และการแบ่งปันความรู้ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถคัดกรองข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินข้อมูลได้อย่างเหมาะสม สามารถแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ...

ทักษะใดสำคัญที่สุดสำหรับครูในศตวรรษที่ 21 *

1. สร้างและบูรณาการความรู้ได้ ครูจะต้องสามารถบูรณาการความรู้ต่างๆที่มี มาใช้ในการสร้างสรรค์และพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ 2. มีความคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ ครูจะต้องสอนให้เด็กมีทักษะกระบวนการคิด โดยสามารถคิดวิเคราะห์ในเรื่องต่างๆ และมีความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์

สมรรถนะของครูมีกี่ด้าน

0.934 ประกอบด้วย 5 สมรรถนะ คือ 1) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน 2) ด้านการบริการที่ดี 3) การพัฒนาตนเอง 4) ด้านการทำงานเป็นทีม5) ด้านจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย( X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)