Creative network มีอะไรบ้าง

Social Network คืออะไร

โซเชียลเน็ตเวิร์ค หรือ Social Network คือเครือข่ายสังคมออนไลน์  หรือการที่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตคนหนึ่ง เชื่อมโยงกับเพื่อนอีกนับสิบ รวมไปถึงเพื่อนของเพื่อนอีกนับร้อย  ผ่านผู้ให้บริการด้านโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) บนอินเตอร์เน็ต เช่น Facebook, Blogger, Hi5, Twitter หรือ Tagged เป็นต้น (บางเว็บไซต์ที่กล่าวถึงในตัวอย่าง ปัจจุบันนี้ได้เสื่อมความนิยมแล้ว)  การเชื่อมโยงดังกล่าว ทำให้เกิดเครือข่ายขึ้น เช่น เราสามารถรู้จักเพื่อนของเพื่อนเราได้  เป็นทอดๆ ต่อไปเรื่อย  ทำให้เกิดสังคมเสมือนจริงขึ้นมา  สามารถสร้างคอนเน็คชั่นใหม่ๆ ได้ง่าย  และเมื่อเราแชร์ (Share) ข้อความหรืออะไรก็ตามลงไปในเครือข่าย  ทุกคนในเครือข่ายก็สามารถรับรู้ได้พร้อมกัน  และสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เราแชร์ได้  เช่น  แสดงความคิดเห็น (Comment)  กดไลค์ (Like) ซึ่งอาจจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละผู้ให้บริการ  ความโดดเด่นในเรื่องความง่ายของโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ทำให้ธุรกิจ และนักการตลาดสนใจที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์สินค้า และบริการ

โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

การจัดประเภทของโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) นั้นสามารถแยกได้ตามรูปแบบ และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน

โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ตามรูปแบบ แบ่งได้เป็น

1. Blog หรือ บล็อก คือเว็บไซต์รูปแบบหนึ่ง มาจากคำว่า Weblog (Website + Log) ซึ่งคำว่า Log ในที่นี้หมายถึง “ปูม” ดังนั้น Blog จึงมีลักษณะเป็นเว็บไซต์ที่จัดเก็บข้อมูลด้วยวิธีเดียวกับปูม  มีการเรียงลำดับตามวันที่บันทึก  ข้อมูลใหม่ที่ Post จะอยู่บนสุด  ส่วนข้อมูลเก่าจะอยู่ล่างสุด  โดยบล็อกสมัยนี้ไม่ได้อยู่ลำพังเดี่ยวๆ แต่มีลักษณะเป็น Community ที่รวบรวม Blog หลายๆ Blog เข้าไว้ด้วยกัน  สามารถเชื่อมโยงผู้เขียน (Blogger) ได้เป็นสังคมขนาดใหญ่  ในขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงผู้อ่านไว้กับผู้เขียนได้  โดยสามารถคอมเม้นต์บทความ  ติดตาม  หรือกดโหวตได้ เช่น Blogger เป็นต้น

2. ไมโครบล็อก (Microblog) เป็นเว็บไซต์ขนาดเล็ก ใช้สำหรับส่งข้อความสั้นๆ ไม่กี่ประโยค เพื่อบอกถึงสถานการณ์ และความเป็นไป ไมโครบล็อกที่มีผู้นิยมใช้บริการ เช่น Twitter

3. โซเชียลเน็ตเวิร์คเว็บไซต์ (Social Network Website) คือเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสังคมออนไลน์โดยเฉพาะ เช่น Facebook, Linkedin, Myspace, Hi5 เป็นต้น เว็บพวกนี้มีจุดเด่นที่การแชร์คอนเท้นต์ ทั้งข้อความ รูปภาพ และวีดีโอ บางเว็บรวมไปถึงบทความ เพลง และลิ้งค์  นอกจากนั้นยังมีฟังก์ชั่นในการแสดงความรู้สึก หรือมีส่วนร่วม เช่น การกดไลค์ (Like) การโหวต การอภิปราย (Discuss) และการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น

4. เว็บโซเชียลบุ๊คมาร์ค (Bookmark Social Site) เป็นเว็บที่ให้เราเก็บหน้าเว็บ หรือเว็บไซต์ที่เราชื่นชอบ เพื่อเอาไว้เข้าชมทีหลัง แต่พอมาเป็นโซเชียลไซต์ เราจะสามารถแชร์ URL ของหน้าเว็บเหล่านั้น รวมถึงดูว่าคนอื่นเก็บหน้าเว็บอะไรไว้บ้าง เข้าชม และแสดงความคิดเห็นต่อหน้าเว็บต่างๆ ได้

โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน แบ่งได้เป็น

1. เผยแพร่ตัวตน (Identity Network) เป็นเว็บไซต์โซเชียลที่มุ่งเน้นการนำเสนอตัวตนของผู้ใช้งาน เรื่องราวของตัวเอง ภาพถ่ายของตัวเอง สิ่งที่ตัวเองชอบ หรือว่าสนใจ ความคิดเห็น ความรู้สึกที่มีต่อสิ่งต่างๆ เว็บที่มีลักษณะดังกล่าว ได้แก่ Facebook, Myspace เป็นต้น

2. เผยแพร่ผลงาน (Creative Network) เป็นเว็บไซต์ที่เน้นไปที่ผลงานของเจ้าของเว็บ มากกว่าตัวตนของเจ้าของผลงาน  ส่วนมากเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์คประเภทนี้  มักรวมผู้ที่ทำงานประเภทเดียวกันไว้ด้วยกัน  เช่น  เว็บรวมนักเขียนนิยาย  เว็บรวมคนรักการถ่ายภาพ  เว็บรวมนักออกแบบกราฟิก ฯลฯ  ซึ่งการสร้างเครือข่ายลักษณะนี้มักใช้ในการหาลูกค้า หรือเพื่อนร่วมอาชีพเป็นสำคัญ เช่น Coroflot, flickr, Multiply, DevianART เป็นต้น

3. ความสนใจตรงกัน (Interested Network)  เว็บไซต์ประเภทนี้คล้ายๆ กับเว็บเผยแพร่ผลงาน  คือ รวบรวมผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกันมาไว้ด้วยกัน แต่ต่างกันที่ Interested Network เจ้าของเว็บไม่ต้องเป็นเจ้าของผลงาน แค่แชร์ลิ้งค์ หรือเว็บที่ตัวเองสนใจ เช่น Pinterest, del.licio.us, Digg, Zickr เป็นต้น

4. โลกเสมือน (Virtual life / Game online) เป็นลักษณะการจำลองตัวของผู้ใช้งานเป็นตัวละครตัวหนึ่งในเกม หรือสถานการณ์สมมุติ โดยมีเรื่องราว หรือภาระกิจให้ปฏิบัติ โดยอาจจะปฏิบัติโดยลำพังแข่งกับผู้เล่นคนอื่น หรือร่วมกันเป็นทีมก็ได้  โดยในระหว่างเล่นสามารถพูดคุย หรือสื่อสารกับผู้เล่นอื่นๆ ได้ ทำให้มีลักษณะเป็น Social Network แบบหนึ่ง  เช่น Second Life, The SIM เป็นต้น

Creative network มีอะไรบ้าง

ความหมายของเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network)

เครือข่ายสังคมออนไลน์ หมายถึง สังคมออนไลน์ที่มีการเชื่อมโยงกันเพื่อสร้างเครือข่ายในการตอบสนองความต้องการทางสังคมที่มุ่งเน้นในการสร้างและสะท้อนให้เห็นถึงเครือข่าย หรือความสัมพันธ์ทางสังคม ในกลุ่มคนที่มีความสนใจหรือมีกิจกรรมร่วมกัน บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จะให้บริการผ่านหน้าเว็บ และให้มีการตอบโต้กันระหว่างผู้ใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต

Creative network มีอะไรบ้าง

ประเภทเครือข่ายสังคมออนไลน์

1.ประเภทเผยแพร่ตัวตน  (Identity Network)

เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทนี้ใช้สำหรับให้ผู้เข้าใช้งานได้มีพื้นที่ในการสร้างตัวตนขึ้นมาบนเว็บไซต์ และสามารถที่จะเผยแพร่เรื่องราวของตนผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยลักษณะของ การเผยแพร่อาจจะเป็นรูปภาพ วิดีโอ การเขียนข้อความลงในบล็อก อีกทั้งยังเป็นเว็บที่เน้นการหาเพื่อนใหม่ หรือการค้นหาเพื่อนเก่าที่ขาดการติดต่อ การเขียนบทความได้อย่างเสรี เช่น Facebook, Hi5, My Space เป็นต้น

Creative network มีอะไรบ้าง
Creative network มีอะไรบ้าง
Creative network มีอะไรบ้าง

2.ประเภทเผยแพร่ผลงาน  (Creative Network)

เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทนี้ เป็นสังคมสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการแสดงออกและนำเสนอผลงานของตัวเอง สามารถแสดงผลงานได้จากทั่วทุกมุมโลก จึงมีเว็บไซต์ที่ให้บริการพื้นที่เสมือนเป็นแกลเลอรี่ (Gallery) ที่ใช้จัดโชว์ผลงานของตัวเองไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ รูปภาพ เพลง อีกทั้งยังมีจุดประสงค์หลักเพื่อแชร์เนื้อหาระหว่างผู้ใช้เว็บที่ใช้ฝากหรือแบ่งปัน โดยใช้วิธีเดียวกันแบบเว็บฝากภาพ แต่เว็บนี้เน้นเฉพาะไฟล์ที่เป็นมัลติมีเดีย ซึ่งผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ประเภทนี้ ได้แก่ YouTube, Flickr, Multiply, Photobucket และ Slideshare เป็นต้น

Creative network มีอะไรบ้าง
Creative network มีอะไรบ้าง

3.ประเภทความสนใจตรงกัน (Interested Network)

เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ทำหน้าที่เก็บในสิ่งที่ชอบไว้บนเครือข่าย เป็นการสร้าง ที่คั่นหนังสือออนไลน์ (Online Bookmarking) มีแนวคิดเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเก็บหน้าเว็บเพจที่คั่นไว้ในเครื่องคนเดียวก็นำมาเก็บไว้บนเว็บไซต์ได้ เพื่อที่จะได้เป็นการแบ่งปันให้กับคนที่มีความชอบในเรื่องเดียวกัน สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการเข้าไปหาข้อมูลได้ และนอกจากนี้ยังสามารถโหวตเพื่อให้คะแนนกับที่คั่นหนังสือออนไลน์ที่ผู้ใช้คิดว่ามีประโยชน์และเป็นที่นิยม ซึ่งผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ได้แก่ Digg, Zickr, Ning, del.icio.us และ Reddit เป็นต้น

4.ประเภทร่วมกันทำงาน (Collaboration Network)

เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ต้องการความคิด ความรู้ และการต่อยอดจากผู้ใช้ที่เป็นผู้มีความรู้ เพื่อให้ความรู้ที่ได้ออกมามีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเกิดการพัฒนาในที่สุด ซึ่งหากลองมองจากแรงจูงใจที่เกิดขึ้นแล้ว คนที่เข้ามาในสังคมนี้มักจะเป็นคนที่มีความภูมิใจที่ได้เผยแพร่สิ่งที่ตนเองรู้ และทำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เพื่อรวบรวมข้อมูลความรู้ในเรื่องต่างๆ ในลักษณะเนื้อหา ทั้งวิชาการ ภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ สินค้า หรือบริการ โดยส่วนใหญ่มักเป็นนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญ ผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ในลักษณะเวทีทำงานร่วมกัน ในลักษณะเวทีทำงานร่วมกัน เช่น Wikipedia, Google earth และ Google Maps เป็นต้น

Creative network มีอะไรบ้าง
Creative network มีอะไรบ้าง

5.ประเภท Peer to Peer (P2P)

เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์แห่งการเชื่อมต่อกันระหว่างเครื่องผู้ใช้ด้วยกันเองโดยตรง จึงทำให้เกิดการสื่อสารหรือแบ่งปันข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และตรงถึงผู้ใช้ทันที ซึ่งผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ประเภทนี้ ได้แก่ Skype และ BitTorrent เป็นต้น

6.ประเภทโลกเสมือน (Gaming / Virtual Reality)

เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการงาน โดยจะเป็นการนำประโยชน์จากเครือข่ายสังคมออนไลน์มาใช้ในการเผยแพร่ประวัติผลงานของตนเอง และสร้างเครือข่ายเข้ากับผู้อื่น นอกจากนี้บริษัทที่ต้องการคนมาร่วมงาน สามารถเข้ามาหาจากประวัติของผู้ใช้ที่อยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์นี้ได้

ประโยชน์เครือข่ายสังคมออนไลน์

ข้อดีของสื่อออนไลน์

  • สามารถเผยแผ่ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ที่ต้องการได้ทันท่วงที
  • ไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าลงโฆษณาทางทีวี วิทยุ หรือโปสเตอร์ต่างๆตามที่สาธาณะ
  • เข้าถึงกลุ่มผู้รับเป้าหมายง่ายกว่า
  • สะดวก รวดเร็ว ไม่ว่าจะอยู่ที่แห่งไหน ก็สามารถใช้งานได้ทุกเมื่อที่ต้องการ
  • ไม่มีวันหยุด
  • สร้างความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร
  • ทำให้ผู้ใช้ระบบสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น อาทิเช่น การตัดสินใจเลือกซื้อรถ ผู้ซื้อย่อมต้องเข้ามาทำการศึกษาผ่าน สื่อออนไลน์ จากนั้นเป็นการเปรียบเทียบราคางบประมาณที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับครอบครัว พร้อมทั้งข้อดีและข้อเสียที่ต้องเรียบรู้เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องยนต์

ข้อเสียของสื่อออนไลน์

  • ทำให้ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ทอยู่ในโลกความเป็นส่วนตัวมากเกินไป (ถึงแม้จะมี facebook แต่ในโลกความเป็นจริงแล้วทำให้คุศูนย์เสียเวลาความเป้นส่วนตัวไปแบบเปล่าประโยชน์)
  • ผิดศีลธรรม เพราะบางคนเลือกที่จะโพสหรือหาเว็บอนาจารเพื่อความบรรเทิง
  • เป็นช่องทางของมิจฉาชีพ ที่ทำการแฮกข้อมูลความเป็นส่วนตัว สำหรับทำสิ่งผิดกฎหมาย

แนวโน้มการใช้สื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์

แนวโน้มที่สำคัญของเครือข่ายสังคมออนไลน์ ก็คือการปรับเปลี่ยนจากการเป็นเพียงแค่สถานที่ในการแสดงความคิดเห็น ระบายความในใจ หรือปรับทุกข์ เป็นช่องทางที่ผู้บริหารในระดับต่างๆ จะใช้ในการสื่อสารกับทั้งพนักงานและลูกค้า ที่สำคัญ ก็คือช่องทางในการสื่อสารดังกล่าวจะทำให้เปลี่ยนจากการสื่อสารทางเดียวเป็นการสื่อสารแบบสองทางซึ่งเปิดโอกาสให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับพนักงาน หรือลูกค้าได้มากขึ้น

จากสถิติพบว่าปัจจุบันมีคนกว่า 600 ล้านคนทั่วโลกที่ใช้ Facebook เป็นประจำ และกว่า 300 ล้านคนที่ใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงต่อวัน อยู่บน Facebook นอกจากนี้ อีกแนวโน้มหนึ่งที่น่าสนใจก็คือกลุ่มประชากรที่อายุเกิน 40 ปีเริ่มใช้ Facebook กันอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น นอกจาก Facebook แล้ว อีกประมาณ 200 ล้านคนที่ใช้ Twitter อยู่เป็นประจำ และอีกประมาณ 100 ล้านคนที่ใช้ LinkedIn (เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่จับกลุ่มคนทำงานเป็นหลักครับ)

แนวโน้มสำคัญที่พบในปีที่ผ่านมา คือบรรดาผู้นำต่างๆ ทั้งผู้นำระดับประเทศ (เห็นได้จากบรรดานักการเมืองต่างๆ ของไทย) และผู้นำองค์กรชั้นนำของโลก ไม่ว่าจะเป็น IBM, PepsiCo, Apple, Microsoft หรือแม้กระทั่งคณบดีของ Harvard Business School ต่างก็ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์กันอยู่เป็นประจำ โดยการใช้ประโยชน์หลักๆ นั้นคงหนีไม่พ้นเรื่องของการสื่อสาร การส่งข่าวคราวต่างๆ ครับ เนื่องจากปัจจุบันทุกคนสามารถโพสต์ข้อความลงบนเครือข่ายเหล่านี้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ และสามารถแบ่งปันข้อความ หรือสารเหล่านี้ให้กับทั้งพนักงาน และลูกค้าได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านสื่อสารมวลชนใดๆ รวมทั้งผู้รับเองก็เกิดความรู้สึกที่ดีเนื่องจากได้รับสารโดยตรงจากผู้ส่งสาร

นอกจากนี้ในเชิงของการบริหารองค์กร เครือข่ายสังคมออนไลน์ยังช่วยทำให้องค์กรมีลักษณะที่แบนราบลงอีกด้วย เนื่องจากในสังคมออนไลน์นั้นทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ หรือแบ่งตามตำแหน่งแต่ประการใด ซึ่งผู้ที่อาจจะได้รับผลกระทบมากที่สุดในองค์กรจากเครือข่ายสังคมออนไลน์จะหนีไม่พ้นกลุ่มผู้บริหารระดับกลางครับ

เนื่องจากในหลายๆ องค์กรผู้บริหารระดับกลางมักจะทำหน้าที่ในการส่งสาร หรือสื่อสารจากผู้บริหารระดับสูงไปยังระดับต้น หรือจากระดับต้นไปยังระดับสูง ดังนั้น เมื่อมีเครือข่ายสังคมออนไลน์เกิดขึ้น ผู้บริหารและบุคลากรในแต่ละระดับสามารถที่จะสื่อสารถึงกันได้ตรงและเร็วขึ้น ทำให้ผู้บริหารระดับกลางต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเองไปให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมในการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป

นอกเหนือจากเรื่องของการบริหารจัดการแล้ว เครือข่ายของสังคมออนไลน์ยังทำให้รูปแบบของการทำการตลาดเปลี่ยนไป ท่านผู้อ่านลองสำรวจชั้นหนังสือทางด้านการจัดการต่างๆ แล้วจะพบว่าปัจจุบันหนังสือการทำการตลาดผ่านทางเครือข่ายเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็น Facebook หรือ Twitter ผุดขึ้นมายังกับดอกเห็ด บริษัทจำนวนมากที่ปรับกิจกรรมและงบประมาณทางด้านการตลาด จากการทำการตลาดรูปแบบเดิมสู่การทำการตลาดผ่านทางสังคมออนไลน์มากขึ้น

ล่าสุดมีการจัดอันดับแบรนด์ที่ถือว่ามีพลังมากที่สุดบน Facebook กันด้วยครับ โดยวัดจากจำนวนคนที่มากดเป็น Fan ในหน้าของแต่ละแบรนด์ โดยในปีที่ผ่านมาแบรนด์อันดับต้นๆ ได้แก่ Facebook, YouTube, Coca-Cola, Starbucks, Oreo, Disney, Skittles, RedBull, MTV และ Converse สำหรับของเมืองไทยนั้นยังไม่ได้มีการสำรวจดูนะครับ ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการใดที่มี fan ใน Facebook มากที่สุด แต่กรณีของต่างประเทศที่ผมนำมาเสนอนั้นเป็นหลัก 20-30 ล้านเลยครับ

คราวนี้ลองมาดูสถิติต่างๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์กันบ้างนะครับ ในรอบปีที่ผ่านมามีการส่งข้อความผ่านทาง Tweeter 50 ล้านข้อความต่อวัน ในขณะที่ในแต่ละเดือนจะมีการใช้เวลาอยู่บน Facebook รวมแล้ว 700 Billion นาที เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง Facebook กับ Google แล้ว พบว่าจำนวนคนที่เข้าเว็บ Facebook ในปีที่ผ่านมาเริ่มจะมากกว่า Google ในขณะที่กว่าร้อยละ 95 ของบริษัทต่างๆ ที่ใช้ LinkedIn ในการรับสมัครและสรรหาพนักงานใหม่ และการเข้าบรรดาเว็บเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ โดยผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วไม่รู้กี่เท่าต่อกี่เท่า

แนวโน้มที่สำคัญสำหรับเรื่องของ Social Media ในปีหน้านั้น ก็คงจะหนีไม่พ้นการมุ่งเน้นและบูรณาการของ Social Media ในด้านต่างๆ มากขึ้น บริษัทต่างๆ ที่ใช้ Social Media เพื่อการประชาสัมพันธ์นั้น ในปีหน้าคงจะไม่ได้ทำเพื่อการประชาสัมพันธ์เพียงอย่างเดียว แต่คงจะมีการบูรณาการให้เข้ากับการทำงานในทุกๆ ด้าน

นอกจากนี้จากพัฒนาการของ Tablet ที่มีรุ่นใหม่ๆ ออกมามากขึ้น ก็จะยิ่งทำให้การเชื่อมต่อกับทางสังคมเครือข่ายออนไลน์เป็นแบบตลอดเวลาและสะดวกยิ่งขึ้น อีกแนวโน้มที่สำคัญ คือเรื่องของ Location-Based Networking ที่ในปีที่ผ่านมาทาง Foursquare ได้สร้างปรากฎการณ์ในเรื่องนี้ขึ้นมาอย่างโดดเด่น ในปีนี้คงจะเห็นการเข้ามาเล่นในเรื่องนี้อย่างเต็มตัวจากทางฝั่ง Facebook เองมากขึ้น

เว็บไซต์ที่ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์

เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะประกอบไปด้วย การแช็ต ส่งข้อความ ส่งอีเมล วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป บล็อก การทำงานคือ คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลพวกนี้ไว้ในรูปฐานข้อมูลส่วนตัว video หรือ รูปภาพ อาจเก็บเป็น ไฟล์ก็ได้ บริการเครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมได้แก่ ไฮไฟฟ์ มายสเปซ เฟซบุ๊ก ออร์กัต มัลติพลาย โดยเว็บเหล่านี้มีผู้ใช้มากมาย เช่น เฟสบุ๊คเป็นเว็บไซต์ที่คนไทยใช้มากที่สุด ในขณะที่ออร์กัตเป็นที่นิยมมากที่สุดในประเทศอินเดีย ปัจจุบัน บริการเครือข่ายสังคม มีผลประโยชน์คือหาเงินจากการโฆษณา การเล่นเกมโดยใช้บัตรเติมเงิน

Creative network มีอะไรบ้าง

ภัยจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์

  1. หลอกว่ามาดีแต่จริงๆประสงค์ร้าย (Social Engineering Attack on Social Network)
    การโจมตีแบบนี้ เป็นหนึ่งในวิธีการที่นิยมใช้เป็นอย่างมาก เน้นการโจมตีที่ตัวบุคคล โดยผู้ใช้งานมักจะคาดไม่ถึง และ ตกเป็น เหยื่อในที่สุด ส่วนมากจะมาในรูปแบบของ แอพพลิเคชั่นบนFacebook หรือการเล่นเกมเพื่อแลกของรางวัล เมื่อผู้ใช้งานคลิกเข้าไปใช้ งานแอพพลิเคชั่นหรือร่วมเล่นเกมดังกล่าว ก็จะตกเป็นเหยื่อของพวกอาชญากรโดยไม่ทันตั้งตัว2. ล่อเหยื่อตกปลาออนไลน์ (Phishing Attack)
    ในอดีต เป็นเทคนิคการล่อลวงที่มักจะส่ง URL Link ที่ล่อให้ไปเข้าเว็บไซด์ปลอม ที่ส่งมาทางอีเมล โดยอาชญากร จะหลอกให้ผู้ใช้งานคลิก URL Link ที่อยู่ในอีเมล แต่ปัจจุบันอาชญากรจะส่ง URL Link ที่ย่อให้สั้นลง (URL Shorten) เช่น คลิปวิดีโอหรือไฟล์ของรูปภาพ และนำไปสู่เว็บไซด์ปลอม เพื่อดักขโมยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ผ่านทางสังคมออนไลน์มากยิ่งขึ้น

    3. โค้ดร้ายฝังลึก (Cross Site Scripting Attack)
    เป็นเทคนิคการโจมตีผู้ใช้งาน Facebook โดยอาชญากรจะทำการฝังโค้ด หรือสคริปต์การทำงานของตนเองเข้าไปบนหน้าเว็บไซด์ที่มีช่องโหว่ ซึ่งข้อมูลสำคัญของผู้ใช้ Facebook เช่นUsername และ Password จะถูกส่งกลับมาให้อาชญากร แทนที่จะผ่านเข้าไปในเว็บไซด์ที่ผู้ใช้Facebook กำลังเยี่ยมชมอยู่

    4. ถูกสวมรอยง่ายๆ แค่เล่น Facebook อย่างไม่ระวัง (Cross Site Request Forgery Attack)
    เป็นวิธีการที่อาชญากรใช้ในการโจมตีผู้ใช้ Facebook หรือ Internet Banking โดยการแอบขโมยสิทธิ หรือ Credential ที่ผู้ใช้ได้ล็อกอินเว็บไซด์ ค้างไว้ ซึ่งอาชญากรอาจนำ Credentialของเราไปใช้งานต่อ เช่น ทำการโอนเงินออก จากบัญชีของผู้ใช้งานระบบ Internet Banking โดยผู้ใช้ไม่รู้ตัว เป็นต้น

    5.หลอกให้คลิกแต่แอบซ่อนมีดไว้รอเชือด (Clickjacking or UI Redressing Attack)
    เป็นเทคนิคการโจมตีผู้ใช้งาน โดยหลอกให้คลิกรูป ที่ดูล่อตาล่อใจบนเว็บไซด์ ซึ่งอาชญากรจะแอบซ่อน Invisible frame ไว้หลังรูป เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างที่เหยื่อไม่รู้ตัวเลยว่ามีScript มุ่งร้ายแอบซ่อนอยู่

    6. โดนหลอกล่อให้ไปเจอ Link ที่อาชญากร รออยู่ (Drive-by Download Attack)
    ผู้ใช้งาน Facebook อาจถูกโจมตี ด้วยโปรแกรมประสงค์ร้าย ที่สามารถทำการติดตั้งลงบนเครื่อง ของผู้ใช้งาน Facebook เพียงแค่ผู้ใช้งานเข้าไปเยี่ยมเว็บไซด์ ที่อาชญากรโพสต์ เป็น Linkล่อเหยื่อไว้บน Facebook Page และผู้ใช้งาน เผลอดาวน์โหลดโดยไม่รู้ตัว

    7. เทคนิคการโจรกรรมข้อมูลขั้นสูงแบบต่อเนื่อง
    APT (Advance Persistent Threat) and MitB (Man-In-The-Browser Attack)
    เป็นเทคนิคการโจมตีขั้นสูงที่มุ่งเน้นเป้าหมายผู้ใช้งาน Internet Banking ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับองค์กร หรือ รัฐบาล โดยอาชญากรสามารถฝังโปรแกรมมุ่งร้าย เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของเป้าหมาย เพื่อแอบโจรกรรมข้อมูลลับ อย่างต่อ เนื่อง เป็นระยะเวลานาน ซึ่งยากต่อการตรวจสอบด้วยโปรแกรมAnti-virus ทั่วไป

    8. โดนดักข้อมูลลับระหว่างทาง (Indentity Theft)
    เป็นเทคนิคการโจมตีผู้ใช้งาน Facebook โดยอาชญากรจะทำการดักจับข้อมูลที่ส่งไปมาระหว่างผู้ใช้งาน Facebook กับ http://www.facebook.com แบบเงียบ เพื่อขโมย Username และ Passwordของผู้ใช้ และอาจลุกลามไปถึง E-mail Account ด้วย ถ้าใช้ Username และ Password เดียวกัน กับFacebook

    9. บอกเพื่อนว่าเราอยู่ไหน (บอกโจรว่าเราไม่อยู่บ้าน) (Your GPS Location Exposed)
    การใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง Facebook หรือ Twitter นั้น อาจทำให้ข้อมูลตำแหน่งที่อยู่ปัจจุบัน (GPS Location) ของผู้ใช้งาน Facebook หรือ Twitter สามารถถูกเปิดเผยสู่สาธารณะได้ โดยที่เราไม่รู้ตัว จากการใช้งานโปรแกรม ประเภท Foursquare, Google Latitude และ Facebook Place

    10. ระวังข้อมูลส่วนตัวหลุดรั่วขณะเล่น Facebook เพลินๆ (Your Privacy Exposed)
    ข้อมูลส่วนต้วของผู้ใช้ Facebook อาจถูกเปิดเผยสู่สาธารณะได้ ถ้าผู้ใช้งาน Facebook ไม่ได้ปรับแก้การตั้งค่าแบบ Default ให้เป็นแบบที่ปลอดภัยมากขึ้น