นักศึกษาทำงานพาร์ทไทม์อะไรดี

เวลาพูดถึงนักศึกษาที่ทำงาน Part-time คนก็มักจะติดภาพเด็กที่มีฐานะยากจน ต้องหาเงินส่งตัวเองเรียน และนักศึกษาหลายคนก็มักจะคิดว่าตัวเองไม่ได้เดือดร้อนเรื่องเงินซักหน่อย ทำไมจะต้องเหนื่อยทำงานพิเศษด้วย แต่สิ่งที่หลายคนมองข้ามไปก็คือ การทำงานพาร์ทไทม์นั้นให้อะไรมากกว่านั้น ซึ่งอาจจะมีประโยชน์ไม่น้อยเลยด้วยเมื่อถึงเวลาต้องสมัครงานหลังเรียนจบ ส่วนจะมีอะไรบ้าง อ่านกันต่อด้านล่างเลย

  • มีรายได้พิเศษ ซึ่งสามารถช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในครอบครัว หรือใช้สำหรับซื้อสิ่งของต่าง ๆ โดยไม่ต้องรบกวนเงินจากทางบ้าน หรือในบางแห่งก็อาจจะมีสิทธิพิเศษให้สำหรับพนักงานด้วย
  • การมีประสบการณ์การทำงานพาร์ทไทม์จะเป็นประโยชน์มากเมื่อถึงเวลาที่เรียนจบและต้องสมัครงานจริง ๆ เพราะประสบการณ์จะทำให้เราได้เปรียบนักศึกษาจบใหม่คนอื่น ๆ
  • มีความรับผิดชอบมากขึ้น เพราะจะต้องทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย ซึ่งจะช่วยให้สามารถรับมือกับภาระงานที่มากขึ้นในอนาคตได้
  • ได้เรียนรู้ทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นในการทำงาน ซึ่งไม่สามารถเรียนรู้ได้ในห้องเรียน
  • ได้รู้จักคนที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งอาจจะมีประโยชน์เมื่อถึงเวลาที่เราต้องหางาน พวกเขาอาจจะแนะนำงาน หรือเป็นบุคคลอ้างอิงให้กับเราได้
     

1. รายได้และสิทธิพิเศษจากบริษัท

สิ่งที่จะได้แน่ ๆ อย่างแรกก็คือเงิน ซึ่งไม่ใช่แค่นักศึกษาที่ฐานะทางบ้านไม่ดี ต้องหาเงินเรียนเอง หรืออยากแบ่งเบาภาระที่บ้านเท่านั้น แต่บางครั้งวัยรุ่นก็ต้องการที่จะใช้เงินเพื่อซื้อเสื้อผ้า สิ่งของ หรือใช้กับเรื่องบันเทิงต่าง ๆ บ้าง ซึ่งเงินค่าขนมที่ได้จากทางบ้านอาจจะพอสำหรับการใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ไม่ใช่ทุกบ้านที่สามารถให้เงินเพิ่มสำหรับเรื่องพวกนี้ได้ การทำงานพาร์ทไทม์ก็เลยเป็นทางออกที่จะทำให้สามารถหาเงินเพิ่มเติม และยังจะทำให้เราภูมิใจกับของที่ได้มาจากน้ำพักน้ำแรงตัวเองอีกด้วย

นอกจากนั้นบางที่จะมีสิทธิพิเศษสำหรับพนักงานพาร์ทไทม์ด้วย เช่น การได้ส่วนลดในการซื้อสินค้า อาหาร และใช้บริการต่าง ๆ จากที่ที่เราทำงาน หรือสิทธิ์ในการรักษาพยาบาล

2. ประสบการณ์อันมีค่า ที่จะทำให้ได้เปรียบเมื่อเรียนจบ

การมีประสบการณ์การทำงานขณะเรียน คือข้อได้เปรียบที่จะเอาไปสู้กับนักศึกษาจบใหม่คนอื่น ๆ ได้ เมื่อต้องสมัครงานหลังเรียนจบ การผ่านการทำงานมาบ้างแล้วจะเป็นประโยชน์อย่างมากเมื่อต้องทำงานจริง เพราะถึงงานพาร์ทไทม์ที่ทำอาจจะไม่ได้เกี่ยวข้อง หรือใช้ความรู้ความสามารถเดียวกับงานที่สมัคร แต่สิ่งที่จะเอามาใช้กับการทำงานจริงได้แน่ ๆ ก็คือประสบการณ์ในสังคมของการทำงาน

3. มีความรับผิดชอบที่มากกว่าแค่เรื่องเรียน

การเป็นนักเรียนที่ดีนั้นใช้ความรับผิดชอบมากแค่ไหน การเรียนไปด้วยทำงานไปด้วยโดยที่ทั้งสองอย่างไม่ส่งผลกระทบต่อกันนั้นทำให้เราต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้นเป็นสองเท่า เมื่อเราก้าวเข้าสู่โลกการทำงานและโตขึ้น ความรับผิดชอบของเราจะมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ดังนั้นถ้าเราเรียนรู้ที่จะรับผิดชอบหน้าที่อะไรหลาย ๆ อย่างตั้งแต่อายุยังน้อย มันก็เหมือนเราได้ฝึกเตรียมตัวสำหรับการที่จะต้องรับผิดชอบสิ่งต่าง ๆ ที่จะเข้ามาในอนาคต

4. ทักษะที่หาไม่ได้ถ้านั่งเรียนแค่ในห้อง

ในห้องเรียนเราจะได้ความรู้ที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่ออาชีพที่เราจะทำในอนาคต แต่การทำงานพาร์ทไทม์จะทำให้เราได้ทักษะที่หนังสือเรียนสอนเราไม่ได้ นั่นก็คือ Soft Skills ต่าง ๆ เช่น  ทักษะการบริหารเวลา การแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม หรือการสื่อสาร ซึ่งทักษะพวกนี้เป็นสิ่งที่องค์กรต้องการเป็นอย่างมากจากพนักงาน เพราะจะช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

5. มี Connection ที่กว้าง และสังคมที่หลากหลาย

การใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยเราก็จะรู้จักแค่เพื่อนร่วมมหาวิทยาลัย หรืออาจารย์ แต่การที่เราไปทำงานพาร์ทไทม์จะทำให้เราได้เจอสังคมใหม่ ๆ และมี Connection ที่กว้างขึ้น ซึ่งในอนาคตคนเหล่านั้นอาจจะมีประโยชน์กับเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น เป็นบุคคลอ้างให้เมื่อเราต้องสมัครงาน ที่การันตีความสามารถในการทำงานของเราได้ หรือไม่แน่เราอาจจะได้งานประจำจากการทำงานพาร์ทไทม์ของเราเลยก็ได้

JobThai มี Line แล้วนะคะ

ติดตามสาระความรู้สำหรับคนทำงาน ที่ย่อยง่าย อ่านสนุก และพูดคุยทุกแง่มุมเกี่ยวกับการทำงานอย่างใกล้ชิดที่

นักศึกษาทำงานพาร์ทไทม์อะไรดี

ที่มา:

ecampustours.com
education-portal.com
universityparent.com

tags : ทำงาน, เคล็ดลับการทำงาน, part-time, งานพิเศษ, งานพาร์ทไทม์, นักศึกษา, freshgrad, career & tips, เด็กจบใหม่, นักศึกษาจบใหม่, เทคนิคสำหรับเด็กจบใหม่, คนทำงาน, แนวคิดในการทำงาน

     ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เรื่องเงิน เป็นเรื่องที่สำคัญเรื่องหนึ่งในชีวิตของทุกๆ คน ไม่ว่าจะวัยไหนๆ ก็ต้องใช้เงินจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันกันทั้งนั้น ซึ่งเด็กๆ ทั้งหลาย ยังได้รับค่าขนมจากคุณพ่อคุณแม่กันอยู่ และเมื่อมีของที่อยากได้ หรือจำเป็นต้องใช้เกินกว่ารายรับที่มี ก็มักจะไม่กล้าขอ หรือขอแล้วไม่ได้ ก็เลยมองหาวิธีการที่จะมีเงินเพิ่ม โดยเฉพาะน้องๆ นิสิตนักศึกษา ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ก็อยากจะหารายได้เป็นของตัวเอง
 

นักศึกษาทำงานพาร์ทไทม์อะไรดี

 

     วิธีที่น้องๆ นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่ทำกัน ก็คือ การทำงานพิเศษ หรือการทำงาน Part-time นั่นเอง ซึ่งก็จะมีทั้งเรียนไปทำไป ไปทำหลังเลิกเรียน หรือเลือกทำเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ หรือเวลาว่าง หรือไปทำงานตอนปิดเทอม ไม่มีเรียน โดยมีสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป เช่น ต้องการแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง หรือมีรายจ่ายมาก เงินไม่พอใช้ หรืออยากออมเงินเก็บเงิน หรือบางคนอาจจะต้องการฝึกประสบการณ์ เรียนรู้การทำงานเพิ่มเติมค่ะ
 

     จากที่พี่แนนนี่ได้สำรวจความคิดเห็นของบรรดานิสิตนักศึกษา ก็พบว่า มี 10 งานพิเศษ ที่น้องๆ เลือกที่จะไปทำระหว่างเรียนมหาวิทยาลัยกันค่ะ
 

1) ติวเตอร์ ครูสอนพิเศษ

     เป็นงานพิเศษยอดฮิตของบรรดานิสิตนักศึกษาเลยค่ะ น้องๆ จะนำความรู้ความสามารถที่ถนัด หรือสะสมมา หรืออาจจะนำความรู้จากสาขาวิชาที่กำลังศึกษาโดยตรง มาส่งต่อ สอนรุ่นน้องให้เข้าใจ ทั้งทางด้านวิชาการ รับสอนในวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ สังคมศึกษาฯ ด้านดนตรี และด้านกีฬา ตามทักษะของแต่ละบุคคล โดยจะมีรูปแบบในการสอนหลายลักษณะ เช่น สอนในสถาบัน รับสอนตามบ้านนักเรียน รับตามสถานที่ต่างๆ (ร้านกาแฟ ศูนย์อาหาร co-working space) สอนผ่านการโทรวิดีโอ เป็นต้น

     ส่วนค่าตอบแทนที่จะได้รับ ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการสอน และการตกลงกันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน อาจจะได้รับเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายเดือน หรือตามคอร์สที่สอน รวมๆ แล้ว เดือนนึง น้องๆ ก็จะมีตั้งแต่หลักร้อย จนถึงหลักพันกันเลยค่ะ
 

2) รับเขียนบทความ เขียนคอลัมน์ เขียนนิยาย

      เป็นอีกหนึ่งงานที่น้องๆ หลายคนเลือกที่จะรับงานเขียนต่างๆ เป็นงานพิเศษ เช่น คอลัมน์ท่องเที่ยว คอลัมน์ความสวยความงาม คอลัมน์อาหาร คอลัมน์สาระความรู้ เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นนิสิตนักศึกษาจากคณะสายศิลป์ อย่าง อักษรศาสตร์ มนุษยศาสตร์ หรือจากสายวิทย์ อย่างวิทยาศาสตร์ หรือแพทยศาสตร์ ก็เปิดรับงานเหล่านี้ได้ รูปแบบงานอาจจะให้เขียนตามหัวข้อที่กำหนดไว้ หรือรับงานที่น้องเขียนขึ้นมาเอง ซึ่งจะสามารถส่งไปตามสำนักพิมพ์ กองบรรณาธิการของเว็บไซต์ออนไลน์ หรือกองบรรณาธิการหนังสือ กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ เป็นต้น

     ส่วนค่าตอบแทน ก็ขึ้นอยู่กับที่ตกลงกันระหว่างนายจ้างกับน้องๆ อาจจะได้เป็นราคาต่อหน้า หรือต่อตัวอักษร ซึ่งก็จะตั้งแต่หลักร้อย จนถึงหลักพันเช่นกันค่ะ  บางคนอาจจะเป็นงานฟรีแลนซ์ไปเลยก็ได้ค่า
 

3) พ่อค้า แม่ค้าขายของ
 

นักศึกษาทำงานพาร์ทไทม์อะไรดี

 

     ปัจจุบันพี่แนนนี่เห็นน้องๆ จำนวนมากที่หันมาทำธุรกิจค้าขาย ไม่ว่าจะเป็นการขายของแบบเปิดร้านขายตามสถานที่ต่างๆ หรือขายของบนโลกออนไลน์ ทั้งแบบทำเองขายเอง ซื้อมาจำหน่าย และเป็นตัวแทนจำหน่ายให้ร้านใดร้านหนึ่ง ส่วนสินค้ายอดฮิต ก็จะเป็นสิ่งที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า ของกิ๊ฟช็อป เคสโทรศัพท์ เครื่องสำอาง ครีม สบู่ รวมไปถึง การทำอาหาร หรือขนมที่ตอนเองถนัดขายด้วย แต่งานในลักษณะนี้ น้องๆ ต้องศึกษาตลาดและรายละเอียดต่างๆ ให้ดี เนื่องจากมีการลงทุน มีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ก็ต้องระมัดระวังให้ดี
 

     ส่วนค่าตอบแทน ก็จะขึ้นอยู่กับสินค้าที่ขาย กระแสนิยมในขณะนั้น และปัจจัยอื่นๆ อีก ซึ่งน้องๆ ควรจะคำนวณ หักลบต้นทุนให้รอบคอบถูกต้อง
 

4) พนักงานเสิร์ฟ

นักศึกษาทำงานพาร์ทไทม์อะไรดี

Cr: pixabay
 

     ช่วงเวลาอาหารเย็น หรือวันเสาร์-อาทิตย์ เราจะเห็นน้องๆ ใส่ชุดนักเรียนนักศึกษา คอยบริการลูกค้าในร้านอาหารต่างๆ ค่อนข้างมาก เรียกได้ว่าทีแทบทุกร้านเลยก็ว่าได้ หลายคนเลือกจะไปทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟ ทั้งในร้านอาหาร ร้านขนม ร้านเบเกอรี่ ร้านกาแฟ หรือคาเฟ่ต่างๆ ส่วนค่าตอบแทน ปกติแล้วจะนับกันเป็นรายชั่วโมง เริ่มตั้งแต่ชั่วโมงละ 40-50 บาท และอาจจะกำหนดชั่วโมงในการทำงานต่อวันด้วย
 

5) Blogger/Youtuber
 

นักศึกษาทำงานพาร์ทไทม์อะไรดี

 

     ยุคดิจิทัลแบบนี้ ผู้คนอาศัยอยู่ในโลกออนไลน์ และใช้โซเชี่ยลมีเดียกันค่อนข้างมาก ทั้ง Facebook, Twitter, Instagram และ Youtube ซึ่งเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารที่เติบโตอย่างรวดเร็วช่องทางนึง ทำให้เกิดลักษณะงานที่อาศัยโลกออนไลน์เหล่านี้ค่อนข้างมาก ส่วนงานที่น้องๆ นิสิตนักศึกษานิยมทำบนโลกออนไลน์อีกงานนึง (นอกจากจะสอนหนังสือและขายของ) นั่นก็คือ การเป็น Blogger ทำแฟนเฟจ หรือทำ blog ของตนเอง คอยเขียนเล่าเรื่องราว รีวิว แนะนำสินค้า สถานที่ สถานการณ์ หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมไปถึงการถ่ายภาพ ตัดต่อวิดีโอเพื่อโฆษณา

     ส่วนค่าตอบแทน ก็ขึ้นอยู่กับเนื้องานและความนิยม เพราะถ้าหากพึ่งเริ่ม อาจจะเป็นเพียงความสนุก หรือความชื่นชอบ แต่หลังจากที่มีคนติดตาม อาจจะมีโฆษณา หรือคนว่าจ้างเข้ามาเพิ่มมากขึ้น และสามารถเรียกค่าตอบแทนได้ตามความเหมาะสม
 

6) พนักงานโรงภาพยนตร์
 

     อาจจะเป็นหนึ่งงานที่ใครหลายคนคาดไม่ถึง แต่ในขณะเดียวกันก็มีหลายคนเลือกที่จะมาทำงานที่โรงภาพยนตร์ พี่แนนนี่จะชวนน้องๆ ลองสังเกตดีดี อาจจะมีเพื่อนคนใดคนหนึ่งไปทำงานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นคนให้บริการลูกค้า ดูแลความเรียบร้อยภายในโรง คนขายตั๋ว ขายป๊อปคอร์น เครื่องดื่ม หรือแม้แต่คนตรวจตั๋ว ฉีกตั๋วหน้าโรง โดยงานประเภทนี้ มักจะมีเงื่อนไขว่า ใน 1 วัน จะต้องมาทำงานกี่ชั่วโมง และใน 1 สัปดาห์จะต้องมาทำงานกี่วัน ซึ่งน้องๆ จะต้องตรวจสอบดูอีกครั้งนะคะ ส่วนค่าตอบแทน ก็จะคิดเป็นรายชั่วโมงเหมือนกับทำงานที่ร้านอาหาร
 

7) พนักงานร้านหนังสือ

     สำหรับใครที่เป็นหนอนหนังสือ หรือชื่นชอบในการอ่านหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือประเภทใดก็ตาม การทำงานพิเศษในร้านหนังสือคงจะทำให้มีความสุข เพราะได้สูดดมกลิ่นอายของกระดาษตลอดเวลา ซึ่งๆ น้องก็สามารถเป็นได้ทั้งคนจัดเรียงหนังสือ ห่อปกหนังสือ และดูแลความเรียบร้อยภายในร้าน เช่น ร้านนายอินทร์ รานซีเอ็ด ร้าน B2S เป็นต้น ส่วนค่าตอบแทน ก็จะมีการคิดเป็นรายชั่วโมงและรายวัน ขึ้นอยู่กับร้านด้วยค่า
 

8) รับจ้างคีย์ข้อมูล-นับ Stock
 

นักศึกษาทำงานพาร์ทไทม์อะไรดี

 

      นับเป็นอีกงานที่น้องๆ มักทำกันในเวลาว่าง หรือปิดเทอม ด้วยการไปรับงานด้านข้อมูลเอกสารของบริษัทต่างๆ เช่น ธนาคาร บริษัทเอกชนทั้งใหญ่-เล็ก เป็นต้น ซึ่งงานโดยทั่วไปจะเป็นในลักษณะของทำตามที่นายจ้างกำหนด เช่น การพิมพ์เอกสารตามข้อมูลที่ได้รับ หรือการนับสินค้า จดเลขสินค้าใน Stock เป็นต้น ส่วนค่าตอบแทน มีทั้งคิดเป็นหน้าเอกสาร จำนวนตัวอักษร หรือเหมารายชั่วโมง รายวันค่ะ
 

9) ช่างภาพ

      อาชีพหลักของน้องๆ ที่มีกล้อง ชื่นชอบในการถ่ายรูปเลยล่ะค่ะ ไม่ว่าจะงานรับปริญญา ถ่ายนอกรอบ-ในรอบ งานแต่งงาน Pre-Wedding งานวันเกิด ถ่ายภาพครอบครัว รวมไปถึงถ่ายแบบเสื้อผ้า สินค้า ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ก็เป็นที่นิยมของน้องๆ นิสิตนักศึกษากันค่ะ เพราะสามารถเลือกรับงานเป็นงานๆ ในเวลาที่ว่างกันได้ หรืออาจจะเป็นไปทำงานอยู่ในบริษัท ในสตูดิโอก็ได้ค่ะ แต่เมื่อมีกล้องถ่ายภาพได้ ก็จะต้องแอบมีสกิล มีความสามารถในการตกแต่งภาพ หรือใช้โปรแกรมต่างๆ อยู่บ้าง ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงมือโปรขั้นเทพเลย แต่ก็ต้องยอมรับด้วยว่าค่าตอบแทนส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับฝีมือในการถ่ายภาพ การตกแต่งภาพด้วย ซึ่งก็สามารถตกลงกับผู้จ้างได้ ยิ่งใครมีความสามารถ ผลงานออกมาเลิศเลอ ก็จะสามารถเรียกราคาได้สูงขึ้นอีกค่ะ
 

10) เล่นหุ้น
 

นักศึกษาทำงานพาร์ทไทม์อะไรดี

 

      แอบนึกไม่ถึงเหมือนกันค่ะ ว่าน้องๆ นิสิตนักศึกษาจะหันมาเริ่มลงทุนกับการเล่นหุ้นกันมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่เรียนด้านบริหารธุรกิจ หรือเศรษฐศาสตร์ ซึ่งก็มีจำนวนไม่น้อยเลยค่ะ ที่สามารถทำกำไร มีรายได้จากการเล่นหุ้นต่อเดือนค่อนข้างสูง และก็มีบางคนที่บอบช้ำกับการลงทุน แน่นอนค่ะว่า การลงทุนแบบนี้ มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง พี่แนนนี่แนะนำให้น้องๆ ศึกษารายละเอียดอย่างรอบคอบ และตรวจสอบกำลังในการลงทุนของตนเอง มีมากก็สามารถลงทุนมาก มีน้อยๆ ก็ค่อยๆ สะสมกันไปนะคะ จะได้ไม่เดือนร้อนทั้งตนเอง ผู้ปกครอง และผู้อื่นค่ะ
 

     นอกจากนี้พี่แนนนี่มีโอกาสสัมภาษณ์ พี่ยูกิ ทาคาฮาชิ บัณฑิตป้ายแดงจากคณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เรียนไปด้วย สอนพิเศษไปด้วย จนตอนนี้ก็ได้ทำงานที่ตัวเองรักอยู่ด้วยค่ะ
 

Q: ได้ข่าวว่าตอนเรียนยูกิ เป็นคุณครู รับสอนพิเศษ เล่าให้ฟังหน่อยค่ะ ว่าสอนอะไรยังไงบ้าง

A: สอนวิชาภาษาอังกฤษ ก็จะมีสอน 2 แบบ จะมีสอนที่สถาบัน (ในเชียงใหม่) ทุกวันอาทิตย์ และรับสอนเอง 2ครั้งต่อสัปดาห์ ในช่วงที่ว่าง ปกติจะเป็นช่วงเย็น หลังเลิกเรียนค่ะ ส่วนค่าตอบแทนก็ของสถาบันจะได้รับเป็นรายเดือน ไม่มากเท่าไหร่ ถ้าเทียบกับรับสอนเอง จะได้เงินเยอะกว่า
 

Q: คิดว่าการที่ได้ออกไปทำงานพิเศษ ได้เรียนรู้อะไรบ้าง แล้วส่งผลต่อการสมัครงานบ้างไหมคะ

A: ก็ทำให้มีประสบการณ์ เวลามาทำงานจริงก็จะไม่เกร็งเท่าไหร่ค่ะ ประสบการณ์มันสำคัญมากๆ และมันมีผลต่อการสมัครงานจริงๆ อย่างเราอยากเป็นครู แต่เราไม่ได้จบครูมา เราเลยอาศัยประสบการณ์ที่ได้สอนพิเศษ ตอนเรียนอยู่มหาวิทยาลัยเนี่ยแหละ มาช่วยในการสมัครงานและทำงาน
 

Q: ฝากถึงน้องๆ ที่อยากทำงานไปด้วย เรียนไปด้วยหน่อยค่ะ

A: เชียร์เต็มที่เลย อยากให้เก็บเกี่ยวประสบการณ์เยอะๆ ตอนเรียน เพราะมันมีผลต่อการสมัครงาน ถึงแม้ว่าตอนทำงานจริง จะต้องเรียนรู้อะไรอีกมากมาย แต่การที่มีประสบการณ์บ้าง จะทำให้เราเรียนรู้งานได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น ไม่รู้สึกเกร็ง และที่สำคัญสุดคือ เราจะได้ค้นพบตัวเองว่าเราชอบอะไร จะได้ไม่ต้องเสียเวลาค้นหาตัวเองตอนเรียนจบจ้า
 

นักศึกษาทำงานพาร์ทไทม์อะไรดี

 

     พี่แนนนี่เห็นด้วยกับพี่ยูกินะคะ สนับสนุนให้น้องๆ เก็บประสบการณ์จากการทำงานพิเศษดูบ้าง เพราะหลายๆ ครั้งพี่เองก็ได้นำความรู้ที่ได้จากการทำงานพิเศษมาประยุกต์ในงานปัจจุบันเหมือนกันค่ะ
 

     จริงๆ แล้วการทำงานพิเศษ หรือ Part-time ก็ไม่ได้มีเพียง 10 อย่างที่นำเสนอไปเท่านั้นนะคะ ยังมีอีกหลายงาน ที่น้องๆ สามารถเลือกทำได้ แต่ขอให้เป็นงานที่สุจริต และถูกต้องทางกฎหมายนะคะและที่สำคัญ น้องๆ ห้ามทิ้งการเรียนเด็ดขาดนะคะ ทำงานไปเรียนไปด้วย อาจจะหนักหน่อย แต่ถ้าแบ่งเวลาได้ ก็สบายเลยค่ะ แล้วพี่แนนนี่ก็เชื่อว่า ไม่ยากเกินความสามารถของน้องๆ ชาว Dek-D แน่นอนค่ะ พี่ๆ น้องๆ คนไหน มีประสบการณ์การทำงานพิเศษระหว่างเรียน ลองมาแลกเปลี่ยนเป็นความรู้ให้กับเพื่อนๆ น้องๆ กันค่ะ