ไล เคน คืออะไร มีประโยชน์ อย่างไร

เวลาไปเดินเที่ยวตามสวนป่าหรือบริเวณที่มีต้นไม้หนาแน่น อย่างเขตอุทยาน หรือแหล่งธรรมชาติที่อยู่ไกลออกไปจากชุมชนเมือง ไกลจากแหล่งอุตสาหกรรม เคยรู้สึกบ้างหรือไม่ว่า อากาศที่เราหายใจเข้าไปมีความสะอาดเพียงใด หากแต่ว่าร่างกายของหลายคนอาจจะไม่สามารถสัมผัสได้ จึงอยากจะแนะนำวิธีสังเกตความบริสุทธิ์ของคุณภาพอากาศด้วยวิธีการสังเกตธรรมชาติจากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่มองเห็นง่าย ๆ ด้วยตาเปล่า

สิ่งมีชีวิตชนิดนี้ มีรูปร่างที่แตกต่างกันออกไป บ้างเป็นแผ่นคล้าย ๆ เชื้อรา บ้างคล้ายใบไม้ ไม่ติดแน่น จะเกาะอยู่ตามลำต้นของต้นไม้ ซึ่งถือกำเนิดขึ้นมาจากการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยของเห็ดราและสาหร่าย มีชื่อเรียกว่า ไลเคน (Lichen) ที่ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน เพราะหากแยกกันอยู่จะไม่สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ โดยเห็ดราดำรงชีวิตอยู่ได้เพราะอาศัยความชื้นและก๊าซออกซิเจนจากสาหร่าย และสาหร่ายใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเห็ดราในการสังเคราะห์ ทำให้เห็ดราได้รับอาหารและออกซิเจนจากสาหร่าย จึงเห็นได้ชัดว่า “ไลเคน” เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพของอากาศได้เป็นอย่างดี

ไลเคน มีคุณสมบัติในการชี้วัดคุณภาพอากาศได้ 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 เจริญเติบโตได้ในคุณภาพอากาศดีเท่านั้น ได้แก่ ฟรูติโคส (Fruticose) ลักษณะเป็นเส้นสาย มีลักษณะคล้ายหนวดเครา มีลักษณะห้อยลงมาอ่อนไหวมากชอบอากาศบริสุทธิ์ ความชื้นสูง และโฟลิโอส (Foliose) ลักษณะคล้ายใบไม้ ไม่ติดแน่น อ่อนไหวชอบอากาศดี มีความชื้น จัดเป็นกลุ่มไลเคนอากาศดี

ส่วนกลุ่มที่ 2 มีความทนทานต่อมลภาวะทางอากาศ ได้แก่ สแควมูโลส (Squamulose) ลักษณะเป็นเม็ดคล้ายลูกหินติดแน่นอยู่กับต้นไม้ ทนทานต่อความแห้งแล้ง มลภาวะ จัดเป็นกลุ่มไลเคนทนทาน

กลุ่มที่ 3 ไลเคนที่มีทนทานสูง อยู่และเติบโตได้ทั้ง ๆ ที่อากาศเต็มไปด้วยมลพิษ ได้แก่ ครัสโตส (Crustose) ลักษณะเป็นแผ่นแข็งติดอยู่บนต้นไม้ ทนทานสูงต่อความแห้งแล้ง มลภาวะ จัดอยู่ในกลุ่มไลเคนทนทานสูง

คุณค่าของไลเคนไม่ใช่เพียงเป็นดัชนชี้วัดคุณภาพอากาศเท่านั้น แต่ยังนำมาใช้เป็นยาพื้นบ้าน ลดไข้ รักษาโรคผิวหนัง แผลติดเชื้อ บรรเทาอาการท้องเสีย จนถึงขั้นนำมาผลิตเป็นน้ำหอมกันเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังนำมาสกัดสีสำหรับย้อมผ้าและใส่ในเครื่องดื่ม และวิทยาการในยุค 4.0 ยังนำสมบัติของไลเคนในด้านการดูดซับแสง UVB และมีสารต้านอนุมูลอิสระ มาใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางอีกด้วย

ปัจจุบันนี้ ไม่สามารถพบ ไลเคนชนิดอากาศดี ในเมืองใหญ่และเขตอุตสาหกรรม รวมถึงกรุงเทพมหานคร แต่กลับพบว่ามีไลเคนชนิดทนทาน-ทนทานสูงต่อมลภาวะอากาศเสียส่วนใหญ่ แม้ถูกจัดให้เป็นเพียงพืชชั้นต่ำ แต่กลับสร้างคณูปการให้กับโลกใบนี้ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ถึงเวลาแล้วที่เราต้องช่วยกันดูแล รับผิดชอบใส่ใจคุณภาพอากาศให้สะอาดสดใสเพื่ออีกหลายชีวิตที่ต้องดำรงอยู่ต่อไปอีกยาว ๆ

#คุณภาพสิ่งแวดล้อมคือคุณภาพชีวิต

หมายเหตุ ข้อเขียนดังกล่าวถูกเผยแพร่ในเฟซบุ๊ก "กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม" สำนักข่าว ThaiQuote มองว่ามีประโยชน์อย่างมาก จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อผู้อ่าน

ไล เคน คืออะไร มีประโยชน์ อย่างไร


ข่าวอื่นที่น่าสนใจ

  • 51 องศาสู่อากาศติดลบ "หิมะในแบกแดด" 100 ปีเพิ่งเกิดอีกครั้ง
  • เต่าทะเลของไทย ผงาดในซัปโปโร "ที่ 1" งานแกะสลักน้ำแข็งโลก
  • โดนอีก! หนุ่มแกร็บฟู้ดสุดเซ็ง ลูกค้ายกเลิกออร์เดอร์พิซซ่า พ้อ! เงินไม่ใช่น้อยๆ
  • Parasite ผงาดเวทีออสการ์ Joker ไม่พลิกนำชาย แบรด พิตต์ ซิวสมทบ

“สิ่งสำคัญไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตา”

ประโยคคลาสสิกที่เจ้าชายน้อยกล่าวไว้นี้ อาจหมายความรวมถึงจุลินทรีย์ด้วยก็เป็นได้

คำว่าจุลินทรีย์หรือจุลชีพ คือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจิ๋วที่หลายชนิดเรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ตั้งแต่แบคทีเรียไปจนถึงเห็ดรา ซึ่งแม้จะมองไม่เห็น แต่สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นล้วนมีบทบาทสำคัญต่อเราและโลก

ในกิจกรรม Earth Appreciation ลำดับที่ 9 นี้ เราจะพาไปสำรวจจักรวาลมหัศจรรย์ของสิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วเหล่านี้กัน ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นกิจกรรมลำดับสุดท้ายของซีรีส์เรียนรู้ธรรมชาติผ่านสวนเบญจกิติที่ The Cloud ร่วมกับ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ OKMD ในการจัดกิจกรรมพิเศษ 5 ครั้ง เพื่อชวนคนเมืองละสายตาจากหน้าจอมือถือ มาสัมผัสและเรียนรู้ธรรมชาติในสวนแนวคิดใหม่กลางเมือง 

รู้จักไลเคนหลายสายพันธุ์ในสวนเบญจกิติ สิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วที่บอกคุณภาพอากาศในเมือง

บุคคลสำคัญที่ช่วยออกแบบกิจกรรมทั้ง 5 ครั้ง และมาเป็นวิทยากรของเราวันนี้ ก็คือนักสื่อสารเรื่องราวธรรมชาติคนสำคัญของประเทศไทย นั่นคือ ดร.สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ หรือ ดร.อ้อย อดีตประธานมูลนิธิโลกสีเขียว เจ้าของพื้นที่ชุ่มน้ำนูนีนอย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ที่เธอได้ฟื้นฟูไว้เพื่อให้เป็นบ้านของสิ่งมีชีวิตต่างๆ มากมาย อีกทั้งยังเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมธรรมชาติศึกษาสำหรับเด็ก ๆ ที่ยังใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นนักสืบสายลม นักสืบสายน้ำ นักสืบชายหาด

และวันนี้ เราจะมาเรียนรู้หนึ่งในกิจกรรมเหล่านั้น นั่นก็คือ นักสืบสายลม

ตรวจสุขภาพปอดของเมือง

หากเดินไปถามผู้คนตามท้องถนน คงมีคนไม่มากนักที่จะรู้จักคำว่า ‘ไลเคน’

“ไลเคนคือรากับสาหร่ายที่มาอาศัยอยู่ร่วมกัน เป็นเหมือนหุ้นส่วนธุรกิจ สาหร่ายมีคลอโรฟิลล์สังเคราะห์แสงได้ ก็ทำหน้าที่เหมือนแม่ครัวสร้างอาหารและแบ่งให้รา ส่วนราคือเจ้าของบ้าน มีเส้นใยถักทอห่อหุ้มสาหร่าย ปกป้องสาหร่ายจากสารพัดอย่าง ทำให้ไลเคนขึ้นได้ทุกหนทุกแห่ง ตั้งแต่ป่าเขตร้อนแถบเส้นศูนย์สูตร เขตทุนดราใกล้ขั้วโลก ไปจนถึงทะเลทราย ไลเคนทนความแห้งแล้งได้ แต่อย่างเดียวที่มันไม่ทนก็คือมลภาวะ” ดร.อ้อย แนะนำให้ทุกคนรู้จักสิ่งมีชีวิตสุดพิเศษที่ชื่อไลเคน  

รู้จักไลเคนหลายสายพันธุ์ในสวนเบญจกิติ สิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วที่บอกคุณภาพอากาศในเมืองไลเคนชื่อ ร้อยเหรียญ

ด้วยความที่ไลเคนไม่ทนมลภาวะนี้เอง ทำให้สิ่งมีชีวิตชนิดนี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือบ่งชี้คุณภาพอากาศ เพราะไลเคนแต่ละชนิดมีความทนทานต่อมลพิษในระดับต่างกัน บางชนิดมีความอ่อนไหวสูง เจอมลพิษแค่นิดเดียวก็อยู่ไม่ได้แล้ว ทำให้ถ้าเจอไลเคนกลุ่มนี้ที่ไหน ก็ดีใจได้ว่าที่นั่นมีอากาศที่บริสุทธิ์ บางชนิดค่อนข้างทนทาน ทนมลพิษได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งถ้าเจอไลเคนกลุ่มนี้เป็นหลักก็แปลว่าคุณภาพอากาศอยู่ในระดับพอใช้ แต่ถ้าที่ไหนเจอไลเคนกลุ่มที่ทนทานสูงเป็นหลัก ก็แปลได้ว่าคุณภาพอากาศเข้าขั้นน่าเป็นห่วง ยิ่งถ้าไม่เจอไลเคนสักชนิด ก็อาจแปลได้ว่าสุขภาพปอดของเมืองควรพบคุณหมอได้แล้ว  

ในคู่มือ ‘นักสืบสายลม’ ซึ่งจัดทำโดยมูลนิธิโลกสีเขียว ได้แบ่งไลเคนตามระดับความทนทานต่อมลพิษเป็น 4 ระดับ คือ กลุ่มทนทานสูง (อากาศแย่) กลุ่มทนทานปานกลาง (อากาศพอใช้) กลุ่มอ่อนไหว (อากาศดี) และกลุ่มอ่อนไหวมาก (อากาศบริสุทธิ์ดีมาก) ซึ่งกลุ่มหลังนี้พบเฉพาะในเขตป่าเขาเท่านั้น  

รู้จักไลเคนหลายสายพันธุ์ในสวนเบญจกิติ สิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วที่บอกคุณภาพอากาศในเมือง

ความสนุกของการดูไลเคนก็คือ นอกจากเราจะได้เล่นบทนักสืบแล้ว ยังทำให้เราได้มองโลกในมุมที่ต่างออกไป เป็นการมองโลกในรายละเอียด มองให้เห็นความสวยงามของสิ่งเล็ก ๆ ที่ก่อนหน้านี้เราอาจเคยมองข้าม เพียงแค่ต้นไม้ต้นเดียวก็อาจมีอะไรให้ดูได้เป็นชั่วโมง ซึ่ง ดร.อ้อย เปรียบว่า เหมือนการดำน้ำดูปะการังบนผิวของต้นไม้

“หน้าตาของไลเคนมีหลากหลายมาก บางชนิดเหมือนคุกกี้ทาร์ตที่มีแยมตรงกลาง บางชนิดเหมือนลิปสติก บางชนิดก็เหมือนถ้วยแชมเปญ” ดร.อ้อย แสดงภาพไลเคนอันหลากหลายให้ดู ซึ่งทั่วโลกมีรวมแล้วหลายหมื่นชนิด มีทั้งขึ้นบนก้อนหิน กำแพง หลังคาบ้าน แม้แต่บนถนน แต่ที่เห็นได้ง่ายที่สุดและเป็นที่ที่เราจะตามหากันวันนี้ ก็คือไลเคนที่ขึ้นบนต้นไม้   

รู้จักไลเคนหลายสายพันธุ์ในสวนเบญจกิติ สิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วที่บอกคุณภาพอากาศในเมืองความหลากหลายของไลเคนทั่วโลก

ทีมงานเริ่มแจกคู่มือนักสืบสายลม ที่เป็นคู่มือการจำแนกไลเคนในเมืองแบบง่าย ๆ เพื่อใช้ตรวจสอบคุณภาพอากาศ พร้อมอุปกรณ์สำคัญของการสำรวจที่ ดร.อ้อย เรียกว่า ‘ตาวิเศษ’ นั่นก็คือแว่นขยาย

รู้จักไลเคนหลายสายพันธุ์ในสวนเบญจกิติ สิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วที่บอกคุณภาพอากาศในเมือง

“การจำแนกไลเคน เราจะเริ่มจากดูลักษณะรวม ๆ ก่อนว่า รูปร่างของมันเป็นแบบไหน เป็นผืนเป็นดวง เป็นใบ หรือเป็นพุ่ม” ดร.อ้อย ชวนให้เราเปิดหน้าแรกของคู่มือ ซึ่งมีภาพของไลเคนกลุ่มต่าง ๆ อยู่ ซึ่งแต่ละภาพก็จะมีเลขหน้าเพื่อให้เราเข้าไปดูรายละเอียด โดยจะบอกจุดเด่นรวมถึงคู่แฝดที่หน้าตาคล้ายกันเอาไว้

รู้จักไลเคนหลายสายพันธุ์ในสวนเบญจกิติ สิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วที่บอกคุณภาพอากาศในเมือง

แต่ก่อนที่เราจะจำแนกไลเคนได้ ต้องรู้ก่อนว่าอะไรที่ไม่ใช่ไลเคน อย่างแรกก็คือรา วิธีแยกความแตกต่างทำได้ง่าย ๆ โดยใช้เล็บขูดเบา ๆ เป็นบริเวณเล็ก ๆ ถ้าเห็นสีเขียวข้างใต้ แปลว่านั่นคือไลเคน เพราะมีสาหร่ายอยู่ร่วมด้วย ถ้าไม่มีก็แปลว่าเป็นแค่ราอย่างเดียว สิ่งมีชีวิตต่อมาที่อาจดูคล้ายไลเคนก็คือสาหร่ายหรือตะไคร่ ถ้าใช้แว่นขยายส่องดูใกล้ ๆ จะเห็นเป็นเส้นสายสีเขียว ส่วนพืชจิ๋วอย่างมอส เราจะเห็นเป็นใบเล็ก ๆ มีเส้นกลางใบ ส่วนลิเวอร์เวิร์ตจะเป็นแผ่นหยัก ถ้าใช้แว่นขยายส่องจะเห็นเป็นจุดพรุน

การสำรวจวันนี้เราแบ่งเป็น 10 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะสำรวจไลเคนบนต้นไม้ 1 ต้น พร้อมจดบันทึกชนิดไลเคนที่เจอบนต้นนั้น ซึ่งเราสำรวจในสวนเฟสเก่า เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่อยู่มานาน ทำให้เป็นไลเคนที่บ่งบอกคุณภาพอากาศของที่นี่ได้ ขณะที่ต้นไม้ที่เพิ่งปลูกในสวนเฟสใหม่ อาจเป็นไลเคนที่ติดมาตั้งแต่อยู่ที่โรงเพาะชำต่างจังหวัด

รู้จักไลเคนหลายสายพันธุ์ในสวนเบญจกิติ สิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วที่บอกคุณภาพอากาศในเมือง

เมื่อปฏิบัติการนักสืบสายลมเริ่มขึ้น เด็ก ๆ ก็วิ่งนำไปส่องไลเคนก่อนใคร ความท้าทายของการจำแนกก็คือ การต้องสังเกตรายละเอียด เพราะหลายชนิดมีคู่แฝดที่หน้าตาคล้ายกัน เช่น ไลเคนกลุ่มที่เป็นผืนสีเขียวมีใบ ถ้าขอบใบเผยอขึ้น ก็คือ ‘สาวน้อยกระโปรงบานบางกอก’ แต่ถ้าขอบใบแนบชิดไปกับลำต้น ก็ต้องสังเกตต่อว่า แผ่นใบแผ่ออกแบน ๆ หรือเบียดชิดเป็นลอนนูน ถ้าเป็นแบบแรกก็คือ ‘หัตถ์ทศกัณฑ์กุมน้ำแข็ง’ แต่ถ้าเป็นแบบหลังก็คือ ‘ริ้วแพร’ ซึ่ง ดร.อ้อย บอกว่าให้นึกถึงผ้าแพรที่มีรอยจีบซ้อนกันเป็นริ้ว

รู้จักไลเคนหลายสายพันธุ์ในสวนเบญจกิติ สิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วที่บอกคุณภาพอากาศในเมืองชื่อไลเคนจากซ้ายไปขวา : สาวน้อยกระโปรงบานบางกอก – หัตถ์ทศกัณฑ์กุมน้ำแข็ง – ริ้วแพร

ส่วนกลุ่มไลเคนที่เป็นก้อนนูนสีเหลือง เมื่อส่องดูจะเห็นว่ามีรูเล็ก ๆ มากมาย ดร.อ้อย ชวนให้สังเกตว่า ถ้าเป็น ‘หนึ่งผลหนึ่งรู’ ที่ดูเหมือนปากปล่องภูเขาไฟหรือไหกระเทียมดอง นั่นก็คือ ‘ไหทองโรยขมิ้น’ ส่วน ‘ผลรวม- 1 ก้อนหลายรู’ เป็นไลเคนที่ชื่อว่า ‘ร้อยรู’

“คำว่า ‘ผล’ ก็คืออับสปอร์ของมัน ไลเคนขยายพันธุ์ด้วยสปอร์และการแตกหน่อ ซึ่งลักษณะของหน่อก็จะใช้จำแนกได้ด้วย บางชนิดแตกหน่อเป็นแท่งยาว ๆ บางชนิดเป็นแท่งสั้น ๆ บางชนิดเป็นเหมือนผงแป้ง บางชนิดเป็นกิ่ง”

ส่วนลักษณะของผลหรืออับสปอร์ก็มีหลากหลาย บางชนิดเหมือนปากปล่องภูเขาไฟ เช่น พริกไทยร้อยเม็ด บางชนิดเหมือนจานขนม เช่น ร้อยเหรียญ บางชนิดเป็นลายเส้น เช่น หลังตุ๊กแก แม้แต่ระดับความจมความลอยของผลก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือจำแนกได้ เช่น ถ้าเป็นผลสีดำและกึ่ง ๆ จมอยู่ในผืนไลเคนสีเทาก็คือ ‘สิวหัวช้างจิ๋ว’ แต่ถ้าเป็นผลสีดำบนผืนไลเคนสีเขียว ลอยอยู่เหมือนมีใครเอาผลไปแปะไว้ ก็คือ ‘ไฝพระอินทร์’

รู้จักไลเคนหลายสายพันธุ์ในสวนเบญจกิติ สิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วที่บอกคุณภาพอากาศในเมืองแถวบนจากซ้ายไปขวา : ไหทองโรยขมิ้น – ร้อยรู แถวล่าง : พริกไทยร้อยเม็ด – สาคูถั่วดำ

 หลายคนประทับใจกับชื่อภาษาไทยของไลเคน ซึ่งในยุคแรกตั้งโดยภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ชอบตั้งชื่อตามตัวละครในวรรณคดี จากนั้นเมื่อทีมมูลนิธิโลกสีเขียวมาพัฒนาคู่มือนักสืบสายลมจึงมีการตั้งชื่อเพิ่มเติม ซึ่งทีมนี้เป็นสายขนม ชื่อไลเคนจึงมีทั้งสาคูถั่วดำ โดรายากิ ไปจนถึงซ่าหริ่มน้ำกะทิ (ที่ตั้งมาตั้งแต่ก่อนยุคการเมืองแบ่งขั้ว)

 “ชื่อโดรายากิเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างรุ่น ตอนแรกก่อนจะเป็นชื่อนี้ เราเสนอชื่อขนมโบราณไป เด็ก ๆ รุ่นใหม่ก็ไม่รู้จัก พอน้อง ๆ เขาเสนอชื่อมาบ้าง ก็เป็นขนมที่เราไม่รู้จัก เลยได้มาเป็นโดรายากิของโดราเอมอนที่เป็นจุดเชื่อมต่อของคน 2 รุ่น” ดร.อ้อย เล่าเกร็ดสนุก ๆ ของการตั้งชื่อ  

 เมื่อทุกทีมสำรวจเสร็จสิ้น ทีมงานก็จดบันทึกข้อมูลชนิดไลเคนที่พบในตารางแบบฟอร์ม โดยไลเคน 1 ชนิดที่แต่ละกลุ่มพบจะนับเป็น 1 ครั้ง ซึ่งได้ผลสรุปว่า พบกลุ่มทนทานสูง 20 ครั้ง กลุ่มทนทานปานกลาง 31 ครั้ง จากไลเคนทั้งหมด 12 ชนิด ทำให้ได้ข้อสรุปว่า ที่นี่มีอากาศพอใช้

 “เราไม่เคยสำรวจเจอไลเคนกลุ่มอากาศดีในกรุงเทพฯ เลย แต่เราก็ใส่ไว้ในคู่มือ เพราะหวังว่าสักวันเราจะไปถึงจุดที่มีไลเคนกลุ่มนี้ในเมืองได้” ดร.อ้อย เล่าจากประสบการณ์ที่ทีมมูลนิธิโลกสีเขียวสำรวจไลเคนในเมืองกรุงมานับสิบปี

บนแผนที่ที่ ดร.อ้อย แสดงให้ดู คือผลการสำรวจไลเคนที่สวนลุมพินีในปีต่าง ๆ ซึ่งจะเห็นว่า สิ่งที่เหมือนกันของผลสำรวจในทุกปีก็คือ ตรงใจกลางของสวนมีคุณภาพอากาศดีกว่าริมขอบสวนที่ติดถนน และฝั่งที่ติดถนนวิทยุมีคุณภาพอากาศดีกว่าฝั่งที่ติดถนนพระราม 4 ซึ่งเป็นข้อยืนยันว่า ต้นไม้ริมถนนช่วยดูดซับมลพิษได้

รู้จักไลเคนหลายสายพันธุ์ในสวนเบญจกิติ สิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วที่บอกคุณภาพอากาศในเมือง

“ที่น่าสนใจคือที่แคว้นเวเนโต ประเทศอิตาลี มีงานวิจัยหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก เขาสำรวจไลเคนคล้าย ๆ กับที่เราทำนี่แหละ และแสดงออกมาเป็นแผนที่ สีเขียวคือกลุ่มอากาศดี สีเหลืองคือพอใช้ สีแดงคืออากาศแย่ แล้วก็เอามาเปรียบเทียบกับแผนที่แสดงจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปอด สีแดงคือจำนวนผู้ป่วยเยอะ สีเขียวคือผู้ป่วยน้อย ซึ่งถ้าดูเผิน ๆ มันเหมือนแผนที่เดียวกันเลย” ดร.อ้อย แสดงภาพแผนที่ 2 ภาพให้ดู ซึ่งทำให้เห็นชัดเจนว่า คุณภาพอากาศคือสิ่งที่สัมพันธ์โดยตรงกับสุขภาพของเรา และไลเคนก็คือเครื่องมือง่ายที่สุดที่จะตรวจวัดสิ่งนี้

 แม้ปัจจุบันเราจะมีเครื่องมือเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศมากมายที่วัดได้ทั้งค่า PM 2.5 หรือสารพิษอื่น ๆ แต่ ดร.อ้อย บอกว่าการใช้ไลเคนก็ยังมีความสำคัญและมีข้อดีที่แตกต่างออกไป

 “อย่างแรกคือเรื่องราคา ถ้าซื้อเครื่องตรวจเล็ก ๆ ราคา 6,000 กว่าบาทแล้ว แต่ถ้าใช้ไลเคน ก็แค่คู่มือนี้เล่มเดียว ซึ่งทุกคนเข้าถึงได้ ข้อดีของเครื่องวัดที่ใช้วิธีตรวจทางเคมีคือการวัดตัวเลขได้เป๊ะ ๆ บอกได้ว่ามีสารอะไรบ้าง แต่ข้อจำกัดคือวัดได้เฉพาะขณะนั้น แค่ลมพัดมาค่าก็เปลี่ยน แต่ขณะที่ไลเคนคือการวัดผลกระทบทางชีวภาพซึ่งจะอยู่ยาว บอกได้ว่าในช่วงที่ผ่านมาคุณภาพอากาศของพื้นที่ตรงนั้นเป็นยังไง”

หลายคนคงจำได้ว่าในช่วง PM 2.5 สูง ๆ เราจะเห็นข่าวการฉีดน้ำไล่ฝุ่นแถว ๆ เครื่องตรวจวัด ซึ่งอาจหลอกเครื่องตรวจวัดได้ แต่หลอกไลเคนไม่ได้

“เราหวังว่าในอนาคตของกรุงเทพฯ จะไม่ได้มีไลเคนแค่กลางสวน แต่จะมีอยู่ริมถนนที่เราสัญจรด้วย ซึ่งที่สิงคโปร์มีนะคะ ขนาดต้นไม้ริมถนนก็มีไลเคนกลุ่มทนทานปานกลาง ส่วนในสวนพฤกศาสตร์ก็มีกลุ่มอากาศดีเลย”

ความสำคัญของไลเคนไม่ได้เป็นแค่ตัวชี้วัดคุณภาพอากาศเท่านั้น แต่ในธรรมชาติ ไลเคนมีบทบาทสำคัญในการสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้โลก ดร.อ้อย เล่าว่า เวลาที่มีเกาะภูเขาไฟเกิดใหม่กลางมหาสมุทร ไลเคนคือสิ่งมีชีวิตกลุ่มแรก ๆ ที่ขึ้นไปบุกเบิกพื้นที่ โดยราในไลเคนจะปล่อยสารเคมีออกมาเพื่อย่อยสลายหินและดูดซึมแร่ธาตุ ราแต่ละชนิดก็จะปล่อยสารเคมีที่ต่างกันไป ทำให้จากดินแดนอันแห้งแล้งที่มีแต่ก้อนหิน ก็เริ่มมีดินและความอุดมสมบูรณ์เกิดขึ้น ไลเคนจึงเป็นเหมือนผู้ปรับสภาพพื้นที่ที่ทำให้ดินแดนใหม่กลายเป็นบ้านของสิ่งมีชีวิตมากมาย

รู้จักไลเคนหลายสายพันธุ์ในสวนเบญจกิติ สิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วที่บอกคุณภาพอากาศในเมือง

จักรวาลใหญ่ใต้ฝ่าเท้า

สิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋วที่มีความสำคัญต่อชีวิตเราไม่ได้มีเพียงแค่ไลเคนเท่านั้น แต่ในผืนดินใต้ฝ่าเท้าของเราลงไป ยังมีจุลินทรีย์อีกมากมายที่ล้วนทำหน้าที่สำคัญ ยิ่งถ้าเป็นในป่าที่สมบูรณ์ เพียงแค่หยิบดินมาหนึ่งกำมือ ก็อาจมีจำนวนชนิดของจุลินทรีย์มากกว่าชนิดของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั่วทวีปอเมริกาเหนือเสียอีก ซึ่งจักรวาลใต้ดินนี้เป็นเหมือนพรมแดนใหม่ที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังสนใจศึกษา

“ในธรรมชาติ ต้นไม้ที่เราเห็นบนดินเป็นชีวิตแค่ครึ่งเดียว แต่อีกครึ่งหนึ่งอยู่ใต้ดิน ซึ่งเป็นครึ่งที่สนับสนุนชีวิตข้างบน หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า Wood Wide Web ที่ต้นไม้ทั้งป่ามีระบบรากเชื่อมโยงกันด้วยโครงข่ายเส้นใยของรา เป็นเหมือนโครงข่ายอินเทอร์เน็ตของต้นไม้” ดร.อ้อย เล่าถึงอีกหนึ่งความมหัศจรรย์ของโลกธรรมชาติที่ตามองไม่เห็น

เส้นใยของราใต้ดินนี้ มีความสัมพันธ์กับรากต้นไม้อย่างแนบแน่น ไม่ต่างจากความสัมพันธ์ระหว่างรากับสาหร่ายในไลเคน ซึ่งในระบบใต้ดินนี้ ราจะทำหน้าที่ดูดซึมธาตุอาหารในดินและส่งให้ต้นไม้ ในขณะที่ต้นไม้ก็จะส่งผลผลิตจากการสังเคราะห์แสง เช่น น้ำตาล ไปให้ราเป็นของตอบแทน

“เรารู้กันว่าต้นไม้สร้างอาหารเองได้จากการสังเคราะห์แสง แต่แค่นั้นยังไม่พอต่อการเติบโต ต้นไม้ยังต้องการแร่ธาตุอื่น ๆ เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แม้ว่าในอากาศจะเต็มไปด้วยก๊าซไนโตรเจนหรือ N2 แต่ไนโตรเจนในรูปนี้ พืชยังดึงมาใช้ไม่ได้ จึงจำเป็นต้องอาศัยราที่จะช่วยเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนให้อยู่ในรูปอื่น ๆ เช่น ไนเตรตที่ละลายน้ำและพืชดูดซึมไปใช้ได้ ทำให้รากับต้นไม้กลายเป็นหุ้นส่วนกัน เส้นใยราหลอมรวมกับรากไม้ ราช่วยต้นไม้ดูดซึมแร่ธาตุจากดิน ต้นไม้ก็แบ่งน้ำตาลให้รา จุลชีพอื่น ๆ ในดิน ก็มารวมกันอยู่ที่รากไม้ เป็นเหมือนโลกซาฟารีใต้ดิน”

รับบทนักสืบสายลม เดินสำรวจพันธุ์ไลเคนในสวนเบญจกิติ และจักรวาลจิ๋วที่มีบทบาทมหึมา ในกิจกรรม Earth Appreciation

บทบาทของเส้นใยราไม่ได้มีเพียงแค่การดูดซึมสารอาหารและส่งให้พืชเท่านั้น แต่ยังเป็นเหมือนโครงข่ายอินเทอร์เน็ตที่ต้นไม้ใช้ส่งข้อมูลหากันด้วย เช่น เมื่อมีฝูงแมลงศัตรูพืชโจมตีที่ต้นไม้ต้นหนึ่ง ต้นไม้ที่อยู่ใกล้ ๆ ก็รับรู้ได้ ทำให้ปล่อยสารเคมีออกมาที่ใบเพื่อป้องกันตัว อีกทั้งเส้นใยโครงข่ายนี้ยังเป็นเหมือนทางด่วนเพื่อเดลิเวอรี่อาหารจากต้นหนึ่งไปสู่อีกต้น เช่น ต้นแม่ส่งอาหารให้ต้นลูกที่อยู่ภายใต้ร่มเงาและได้รับแสงแดดน้อย 

“แม้แต่หนอนที่จะมาไชรากต้นไม้ ก็เคยมีการค้นพบว่า เส้นใยราจะช่วยทำบ่วงเกี่ยวรัดหนอนไว้ไม่ให้เข้าถึงรากไม้ ซึ่งทุกวันนี้ นักวิจัยก็กำลังพยายามแกะรหัสภาษาที่ต้นไม้ส่งหากันผ่านโครงข่ายนี้ เป็นเหมือนพรมแดนใหม่ที่น่าตื่นเต้นมาก”

รับบทนักสืบสายลม เดินสำรวจพันธุ์ไลเคนในสวนเบญจกิติ และจักรวาลจิ๋วที่มีบทบาทมหึมา ในกิจกรรม Earth Appreciation

เมื่อ ดร.อ้อย เล่าจบ ผู้ร่วมงานคนหนึ่งก็บอกว่า ฟังแล้วนึกถึงหนังเรื่อง Avatar ที่ต้นไม้ในป่ามีเครือข่ายเส้นใยที่เชื่อมต่อถึงกัน

เช่นเดียวกับในหนัง ทุกวันนี้ความสัมพันธ์สุดมหัศจรรย์นี้กำลังถูกทำลายลงด้วยการกระทำของมนุษย์ ซึ่งหนึ่งในตัวการที่หลายคนอาจคิดไม่ถึงก็คือปุ๋ยเคมี

 “พอเราใส่ปุ๋ยเคมีให้พืช ต้นไม้ก็เลยเสียนิสัย กลายเป็นต้นไม้ติดยา กินแต่อาหารสำเร็จรูป จู่ ๆ ได้ของฟรี ก็หยุดแบ่งน้ำตาลให้รา พอไม่มีรา ดินก็เลยตาย กลายเป็นดินแข็ง ๆ ต้นไม้ตอนนี้ก็ไม่มีเพื่อนใต้ดินแล้ว เพราะต้นไม้ไม่แบ่งอะไรให้เลย แมลงมาก็ไม่มีใครเตือนหรือป้องกัน แล้วพอฝนตก ดินก็ถูกชะลงไป เพราะไม่มีใครช่วยดูดซับปุ๋ยที่มันมากเกิน ไนโตรเจนจากปุ๋ยก็ไหลลงไปในแม่น้ำลำคลอง ไปจนทะเล เกิดเป็นแดนมรณะหรือ Dead Zone ในทะเล เป็นบ่อเกิดของวิกฤตการสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งถ้าเล่าแล้วจะยาวมาก”

ดร.อ้อย เล่าถึงการเชื่อมโยงของสรรพสิ่งในธรรมชาติ ตั้งแต่มนุษย์ ท้องไร่ท้องนา ผืนป่า ไปจนถึงมหาสมุทร ซึ่งทุกวันนี้ความไม่เข้าใจธรรมชาติของผู้คนกำลังทำลายสายใยอันซับซ้อนนี้ ซึ่งที่สุดแล้วก็จะเป็นการทำลายตัวเอง ดังนั้น ก่อนที่โลกจะเดินไปถึงจุดนั้น เราทุกคนจึงควรต้องมาฟื้นสัมพันธ์กับธรรมชาติอีกครั้ง เพื่อจะได้เข้าใจและรักษาระบบที่โอบอุ้มชีวิตของพวกเราไว้

Reconnect with Nature

ประโยคที่ว่า “เราทุกคนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ” อาจมีความหมายลึกซึ้งกว่าที่เราเคยคิด

“ร่างกายของเรา เป็นเซลล์ของเราจริง ๆ แค่ส่วนเดียวเท่านั้น อีกส่วนหนึ่งคือจุลชีพมากมายที่อาศัยอยู่ร่วมกับเรา ทั้งในลำไส้ บนผิวหนัง และแทบทุกที่ บางชนิดช่วยเราย่อยอาหาร บางชนิดช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน สุขภาพเราขึ้นกับจุลชีพเหล่านี้ เพราะเราวิวัฒนาการมาด้วยกัน” ดร.อ้อย เล่าถึงอีกหนึ่งความสำคัญของเหล่าตัวจิ๋วที่มีนามว่าแบคทีเรีย

รับบทนักสืบสายลม เดินสำรวจพันธุ์ไลเคนในสวนเบญจกิติ และจักรวาลจิ๋วที่มีบทบาทมหึมา ในกิจกรรม Earth Appreciation

แต่ทุกวันนี้ด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป หลายคนพึ่งพาอาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋องที่ผ่านการฆ่าเชื้อ ใช้ชีวิตอยู่ในตึกสูง ห้องแอร์ โดยที่วัน ๆ เท้าแทบไม่เปื้อนดิน ทำให้เราห่างเหินกับจุลินทรีย์ที่ดีมากมายที่มีอยู่ในธรรมชาติ

“มีงานวิจัยพบว่า คนที่สุขภาพดีมีจุลินทรีย์ในร่างกายที่หลากหลาย เปรียบได้กับระบบนิเวศป่าเขตร้อน ในขณะที่คนสุขภาพไม่ดี ความหลากหลายของจุลินทรีย์จะน้อยกว่า เหมือนอยู่ในระบบนิเวศทะเลทราย ทำให้การแพทย์ยุคนี้มีการสกัดจุลชีพจากอุจจาระคนที่สุขภาพดี มาเป็นยาให้คนสุขภาพไม่ดี”

แต่แทนที่เราจะต้องไปรับจุลินทรีย์ที่ดีด้วยวิธีนั้น ดร.อ้อย บอกว่ามีวิธีที่ง่ายกว่า นั่นก็คือการพาตัวเองไปอยู่ในพื้นที่ธรรมชาติ

“มีการพบว่าเวลาเราออกไปอยู่ในพื้นที่ธรรมชาติ เพียงแค่ 3 ชั่วโมง ระบบภูมิคุ้มกันก็ดีขึ้นแล้ว แล้วถ้าเราลองถอดรองเท้าและใช้เท้าเปล่าสัมผัสดิน ประจุไฟฟ้าที่เราสะสมมาทั้งวันจากการเผาผลาญที่เกิดเป็นอนุมูลอิสระ ก็จะถูกแลกเปลี่ยนกับพื้นดินที่เป็นประจุลบ”

ปัจจุบันมีงานวิจัยหลายชิ้นพูดถึงเรื่องประจุลบกับสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเพิ่มการไหลเวียนของออกซิเจนในสมองหรือการช่วยให้ผ่อนคลาย ซึ่งแหล่งที่ดีมากของประจุลบนอกจากผืนดินแล้วก็คือแหล่งน้ำ เคยมีงานวิจัยว่า ในพื้นที่ธรรมชาติ เช่น ป่าเขาหรือทะเล มีประจุลบมากกว่าในเมืองคอนกรีตหลายเท่า

“นอกจากนั้น ในดินทั่วโลกจะมีแบคทีเรียตัวหนึ่งที่ชื่อ Mycobacterium vaccae ที่จะกระตุ้นให้สมองเราหลังสารเซโรโทนินหรือสารเคมีแฮปปี้ ทำให้กิจกรรมบำบัดจิตใจหลายแห่งใช้วิธีให้คนทำสวน แล้วอีกอย่างก็คือน้ำมันหอมระเหยจากพืชที่จะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของเรา ทำให้ที่ญี่ปุ่นมีกิจกรรมที่เรียกว่า การอาบป่า คือพาตัวเองเข้าไปอยู่ในธรรมชาติ เพื่อรับจุลชีพ รับประจุลบ รับน้ำมันหอมระเหยจากพืช”

และนั่นเป็นเหตุผลของการที่เรามักจะรู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย สบายใจ เมื่อได้เข้าไปสู่พื้นที่ธรรมชาติ ได้เห็นต้นไม้ เห็นทะเล เห็นน้ำตก เห็นดอกไม้ ไม่ต่างจากท่อนหนึ่งในบทเพลงที่ว่า “ถ้าเราเหนื่อยล้า จงเดินเข้าป่า”

แม้กรุงเทพฯ จะไม่เหลือป่าแล้ว แต่อย่างน้อยการมีพื้นที่สีเขียวในรูปแบบสวนป่าและพื้นที่ชุ่มน้ำกลางเมืองแบบนี้ ก็คือสิ่งสำคัญที่ช่วยให้คนเมืองได้สัมผัสธรรมชาติ ซึ่งมีความสำคัญต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ

รับบทนักสืบสายลม เดินสำรวจพันธุ์ไลเคนในสวนเบญจกิติ และจักรวาลจิ๋วที่มีบทบาทมหึมา ในกิจกรรม Earth Appreciation

และวันนี้ หลังจากที่เราได้สำรวจไลเคนกันเสร็จแล้ว ก็ได้เวลาที่ ดร.อ้อย จะพาเราไปอาบป่ากลางเมืองกัน

ระหว่างทาง เราได้หยุดดูนกเค้าจุดที่ตำแหน่งประจำ ซึ่งวันนี้อยู่กันถึง 4 ตัว จากนั้นทีมงานของสวนเบญจกิติก็เปิดเส้นทางพิเศษให้ได้เดินเยี่ยมชมสวนในโซนที่ยังไม่เปิดให้คนทั่วไป ได้เดินผ่านบ่อน้ำบ่อที่ 1 ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการบำบัดน้ำจากคลองไผ่สิงโตด้วยวิธีธรรมชาติบำบัด ซึ่งระหว่างทาง ดร.อ้อย ชวนดูพืชพรรณท้องถิ่นหลายชนิด หนึ่งในนั้นคือต้นแขมที่ขึ้นอยู่ข้าง ๆ ดงธูปฤาษี ซึ่งเธอบอกว่าอยากให้มีต้นแขมมากกว่านี้ เพราะเป็นพืชท้องถิ่นและนกมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าธูปฤาษีที่เป็นพืชต่างถิ่น ส่วนตรงพืชบกที่ขึ้นเองอยู่ตามสองข้างทาง เธอก็ชี้ชวนให้ดูพืชหลายชนิดที่กินได้ ไม่ว่าจะเป็น กะทกรก โทงเทง ผักโขม ที่หากคนไม่รู้จักก็จะนึกว่าเป็นวัชพืช

“พื้นที่ชุ่มน้ำเป็นระบบนิเวศที่มีฟังก์ชันเยอะมาก เป็นถิ่นอาศัยให้สัตว์หลายชนิด กักเก็บคาร์บอนได้มหาศาล แล้วอาหารก็เยอะมาก เป็นเหมือนซูเปอร์มาร์เก็ต ของกินเต็มไปหมด และสำคัญที่สุดคือเป็นฟองน้ำรองรับน้ำเวลาฝนตกหนัก ๆ ถ้าเรารักษาพื้นที่ชุ่มน้ำในกรุงเทพฯ ไว้ได้ เราก็จะมีฟองน้ำที่ช่วยป้องกันน้ำท่วมเมือง แล้วพืชน้ำก็ยังช่วยบำบัดสารพิษ คือมีบริการทางนิเวศเยอะมาก”

ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำแบบนี้ ก็คือหน้าตาของกรุงเทพฯ ในอดีต ก่อนที่เราจะถมคูคลอง สร้างถนน สร้างตึกสูง จนทำให้น้ำไม่มีที่ไปและท่วมเมืองอยู่บ่อยครั้ง

“ถ้าเราจะทำกรุงเทพฯ ให้ยั่งยืน เราต้องออกแบบให้อยู่ร่วมกับระบบนิเวศดั้งเดิมคือพื้นที่ชุ่มน้ำ เราจะได้ไม่ต้องไปต้านกับแรงธรรมชาติ กรุงเทพฯ สมัยก่อน เรามีหนองสลับกับโคก อย่างแถวสุวรรณภูมิ แต่ก่อนเรียกหนองงูเห่า ส่วนดอนเมืองเป็นที่ดอน เขาเรียกทุ่งเหยี่ยว เพราะมีเหยี่ยวและแร้งเยอะ” ดร.อ้อย เล่าถึงภาพในอดีตของบางกอก ซึ่งเคยเต็มไปด้วยสัตว์มากมาย รวมถึงแรดและสมัน ซึ่งเป็นกวางที่มีเขาอลังการและพบที่เดียวในโลกคือลุ่มน้ำเจ้าพระยา แต่พวกเราก็ทำให้มันสูญพันธุ์

“การได้เห็นพื้นที่แบบนี้เกิดขึ้นในเมืองเป็นเรื่องที่น่าดีใจมาก เพราะในยุคหนึ่ง พื้นที่บึงหรือหนองแบบนี้จะถูกมองว่าเป็นบึงเน่า ๆ ถ้าจะพัฒนาต้องถมเรียบ เป็นสนามกอล์ฟ เป็นสิ่งปลูกสร้าง แต่น่าดีใจที่วันนี้เราพัฒนากลับมาในรูปแบบนี้”

ทีมงานของสวนเบญจกิติบอกว่า วันที่กรุงเทพฯ ฝนตกหนักและน้ำท่วมเมืองเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ที่นี่น้ำไม่ท่วม เพราะมีบ่อมากมายไว้รองรับน้ำ ส่วนตำแหน่งอื่น ๆ น้ำก็ซึมลงใต้ดินได้ ซึ่งก็ทำให้เราจินตนาการว่า หากกรุงเทพฯ มีพื้นที่แบบนี้มากขึ้น ฝนตกมา น้ำก็จะมีที่ไป ไม่ต้องไหลมาท่วมบ้านอย่างทุกวันนี้

รับบทนักสืบสายลม เดินสำรวจพันธุ์ไลเคนในสวนเบญจกิติ และจักรวาลจิ๋วที่มีบทบาทมหึมา ในกิจกรรม Earth Appreciation

“สิ่งที่อยากเห็นก็คือ อยากให้ที่นี่พัฒนาไปในทิศทางที่มีความเป็นธรรมชาติมากขึ้น มีพืชพื้นถิ่นที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งก็น่ารอดูว่าจะมีสัตว์อะไรกลับมาบ้าง”

หนึ่งในสัตว์ที่หลายคนอยากให้กลับมาก็คือหิ่งห้อย ซึ่ง ดร.อ้อย ได้บอกในสิ่งเดียวกับที่ ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์ พูดไว้ในกิจกรรมครั้งแรกว่า ข้อจำกัดสำคัญของหิ่งห้อยคือมลภาวะทางแสง เพราะหิ่งห้อยสื่อสารกันด้วยการกะพริบแสง หากแสงไฟยามค่ำคืนยังเจิดจ้า หิ่งห้อยก็จะอยู่ไม่ได้ แต่สิ่งที่เราพอช่วยได้คือการปรับรูปแบบโคมไฟ โดยอาจหาที่ครอบหลอดไฟไม่ให้แสงฟุ้งกระจายขึ้นฟ้า ซึ่งประหยัดพลังงานได้ด้วย โดยอาจใช้หลอดไฟที่วัตต์ต่ำกว่า แต่ยังได้ความสว่างที่ทางเดินเท่าเดิม

“มลภาวะแสงส่งผลกระทบต่อคนและสัตว์พอ ๆ กับมลพิษแบบอื่นเลย ที่อเมริกามีนกเป็นล้าน ๆ ตัวตายเพราะชนกระจกเพราะโดนแสงล่อ ส่วนค้างคาวหรือผีเสื้อกลางคืนก็ได้ผลกระทบ แม้แต่คนเราก็เช่นกัน มีการพบว่าแสงที่ฟุ้งกระจายมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านม แต่ไม่ได้แปลว่าเราต้องอยู่กับความมืด เราแค่ควบคุมทิศทางแสงให้ส่องเฉพาะในที่ที่เราต้องการ การปล่อยแสงฟุ้งกระจายขึ้นฟ้าก็เหมือนปล่อยให้ท่อน้ำรั่ว”

เธอบอกว่าถ้าจัดการให้ดีก็ยังมีความหวัง โดยยกตัวอย่างบ้านของเธอที่เชียงดาวว่า ในค่ำคืนที่ฟ้าเปิด จะได้เห็นทั้งดาวบนฟ้าและดาวบนดิน (หรือหิ่งห้อย) ซึ่งไม่มีอะไรที่จะวิเศษไปกว่านั้นอีกแล้ว

เราก็หวังว่าสักวันกรุงเทพฯ จะเดินไปถึงจุดนั้น วันที่ริมถนนใหญ่มีไลเคนบ่งบอกว่าคุณภาพอากาศดี มีพื้นที่ชุ่มน้ำหลายแห่งไว้รองรับน้ำยามฝนตกหนักและเป็นบ้านให้สรรพสัตว์ได้มาพักอาศัย มีการควบคุมมลภาวะทางแสงที่ดีจนหิ่งห้อยกลับมา มีพื้นที่สีเขียวที่เดินถึงได้ภายใน 15 นาที

และเมื่อวันนั้นมาถึง กรุงเทพฯ ก็อาจใช้คำว่า ‘ชีวิตดี ๆ ที่ลงตัว’ ได้อย่างเต็มปาก

รับบทนักสืบสายลม เดินสำรวจพันธุ์ไลเคนในสวนเบญจกิติ และจักรวาลจิ๋วที่มีบทบาทมหึมา ในกิจกรรม Earth Appreciation

ข้อใดเป็นประโยชน์ของไลเคน

นอกจากเป็นอาหารของสัตว์แล้วไลเคนยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพอากาศได้อีกด้วย เพราะนักวิทยาศาสตร์พบว่าไลเคนมีความอ่อนไหวต่อมลพิษในอากาศมาก ไลเคนแตละชนิดมีความจำเพาะกับลักษณะอากาศแต่ละประเภทและยังทนทานมลพิษได้แตกต่างกันจึงนำไลเคนมาใช้บ่งชี้สภาพอากาศของพื้นที่นั้น ๆ ได้

ไลเคนส์คืออะไร

ไลเคน (Lichen) จัดเป็นพืชโบราณที่ถือกำเนิดขึ้นมาก่อนพืชชั้นสูงหรือพืชมีดอก เกิดจากการรวมตัวของ “รา (Fungi)” และ “สาหร่าย (Algae)” อยู่ร่วมกันแบบเอื้อประโยชน์ต่อกันทั้งสองฝ่าย (Mutualism)

ไลเคนมีอะไร

ไลเคน (lichen) คือ สิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ซึ่งได้แก่ราและสาหร่าย โดยมีการอยู่ร่วมกันแบบ พึ่งพาอาศัยกัน ราจะได้รับความชื้นและก๊าซออกซิเจนจากสาหร่าย ส่วนสาหร่ายก็จะได้รับก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงจากรา

ไลเคนคือสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะพิเศษอย่างไร

ไลเคนเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการดำรงชีวิตแบบภาวะพึ่งพากันระหว่างสาหร่ายสีเขียวและไซยาโนแบคทีเรียกับฟังไจ (fungi) โดยที่เรียกสาหร่ายสีเขียวหรือไซยาโนแบคทีเรียในไลเคนว่า โฟโตไบออนท์ (photobiont) และเรียกฟังไจว่าไมคอไบออนท์ (mycobiont) ฟังไจในไลเคนส่วนมากอยู่ในไฟลัมแอสโคไมโคตาและมีบางชนิดเป็นฟังไจในไฟลัมเบสิดิโอไมโคตาบ้าง ...