สิทธิด้านการศึกษามีอะไรบ้าง

สิทธิในการได้รับการศึกษาเป็นเพียงหนึ่งในสิทธิหลายประการที่เด็กทุกคนควรได้รับในฐานะมนุษย์ สิทธิเหล่านั้นถูกเรียกโดยรวมว่า ‘สิทธิมนุษยชน’ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข 

สำหรับเด็กในช่วงปฐมวัย โรงเรียนหรือสถานศึกษาถือเป็นสถาบันที่มีความสำคัญอย่างมากในการหล่อหลอมความรู้ความเข้าใจเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชนเมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ทว่าเรากลับยังคงพบเห็นปัญหาการละเมิดสิทธิในรั้วโรงเรียนบ่อยครั้งจนถูกมองเป็นเรื่องปกติ

ปัญหาการกลั่นแกล้งในโรงเรียนเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่า แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเท่าที่ควร ผลการสำรวจในปี 2563 พบว่า เด็กร้อยละ 91 เคยถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียนในรูปแบบต่างๆ ทั้งทางวาจาและการกระทำ และเด็กร้อยละ 42 ต้องการโต้ตอบเพื่อเอาคืน สาเหตุหนึ่งที่ปัญหาเหล่านี้ยังคงเกิดขึ้นเป็นเพราะการปล่อยผ่านของผู้ใหญ่ และมองว่าเป็นการแกล้งกันธรรมดาในหมู่เด็กด้วยกัน ทั้งที่การกลั่นแกล้งถือเป็นความรุนแรงและเป็นการละเมิดสิทธิในเนื้อตัวร่างกายอย่างหนึ่ง ยิ่งในปัจจุบันแพลตฟอร์มบนโซเชียลมีเดียทำให้เกิดการกลั่นแกล้งกันได้ง่ายยิ่งขึ้น หากปัญหาดังกล่าวถูกละเลยจะส่งผลให้เกิดปัญหาความรุนแรงที่ใหญ่ขึ้นได้

สิทธิด้านการศึกษามีอะไรบ้าง

โรงเรียนจึงควรเป็นสถานที่ปลอดภัยที่มีการปลูกฝังแนวคิดการเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานให้กับเด็กทุกคน เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมการเคารพซึ่งกันและกัน ทั้งระหว่างนักเรียนด้วยกัน และครูกับนักเรียน นอกจากนี้ โรงเรียนควรสนับสนุนให้นักเรียนมีโอกาสแสดงออกทางความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของสังคม ภายใต้กรอบของการเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นเช่นกัน เนื่องจากเด็กถือเป็นพลเมืองของสังคมไม่ต่างจากพลเมืองในวัยอื่นๆ เด็กจึงควรเรียนรู้ที่จะรักษาสิทธิและรู้บทบาทของตนเองในฐานะพลเมืองคนหนึ่งของสังคมด้วย

นอกเหนือจากการเคารพสิทธิพื้นฐานซึ่งกันและกันแล้ว การเรียนรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนยังมีส่วนสำคัญต่อการมองเห็นปัญหาของสังคมอีกด้วย โดยเฉพาะเด็กกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงในการถูกละเมิดสิทธิมากกว่าเด็กกลุ่มอื่นๆ เช่น เด็กกลุ่มชาติพันธุ์ในครอบครัวแรงงานข้ามชาติ ดังนั้นการสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนให้แก่เด็กกลุ่มเปราะบางจึงมีส่วนช่วยให้เด็กตระหนักถึงสิทธิของตนเองได้ดียิ่งขึ้น

บทความเรื่อง ‘ถอดบทเรียนการพัฒนา สื่อการเรียนการสอน สิทธิมนุษยชนในโรงเรียน: กรณีศึกษาการพัฒนา สื่อการเรียนการสอน เรื่องการค้ามนุษย์’ ของ นภารัตน์ กรรณรัตนสูตร และ พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ ปี 2561 สะท้อนปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนกับประชากรกลุ่มเปราะบางที่ไม่ค่อยได้รับความสำคัญมากนัก เช่น การอุ้มหาย การตรวจค้นและถ่ายภาพเด็กในโรงเรียนสอนศาสนาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ปัญหาการค้ามนุษย์ในธุรกิจประมง เป็นต้น โดยกลุ่มแรงงานอพยพและผู้ลี้ภัยชาวต่างชาติเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง บทความดังกล่าวจึงเสนอการวิจัยเพื่อการพัฒนาสื่อการสอนเรื่องสิทธิมนุษยชนผ่านประเด็นปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์ โดยใช้ห้องเรียนพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครในการทดลองเชิงปฏิบัติการ 

ผลการวิจัยพบว่า การเรียนการสอนมีข้อจำกัดด้านเวลาและภาษา เนื่องจากเด็กมาจากครอบครัวแรงงานชาวต่างชาติ อีกทั้งปัญหาการค้ามนุษย์และสิทธิมนุษยชนเป็นประเด็นที่ค่อนข้างซับซ้อนสำหรับเด็ก ครูผู้สอนจึงต้องมีคู่มือและวิธีการใช้ภาษาที่ทำให้เด็กเข้าใจได้ง่าย เพื่อให้เด็กเรียนรู้วิธีการป้องกันตนเองจากสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงได้ นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังเห็นว่าหลักสูตรการศึกษาแกนกลางควรมีการสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ เพื่อสร้างความตระหนักและความรู้เท่าทันแก่นักเรียนทั่วไปด้วย

จะเห็นได้ว่าสิทธิมนุษยชนเกี่ยวพันกับชีวิตของนักเรียนในระบบการศึกษา ตั้งแต่เรื่องใกล้ตัว ไปจนถึงปัญหาสังคมที่ร้ายแรง เช่น การค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นประเด็นที่ทั่วโลกตระหนัก การปลูกฝังให้เด็กรู้จักเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่นตั้งแต่ในโรงเรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างพลเมืองคุณภาพ อีกทั้งโรงเรียนต้องเป็นสถานที่ที่เอื้ออำนวยต่อวัฒนธรรมการเคารพสิทธิมนุษยชนด้วย

สิทธิเด็กในประเทศไทย มีระบุไว้เป็นบทบัญญัติในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๖๐  พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ และ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒  ซึ่งสิทธิเหล่านี้ของเด็กนักเรียนไม่ควรต้องถูกละทิ้งไว้ ณ ประตูโรงเรียน โรงเรียนควรสอนเด็ก ๆ ถึงสิทธิของพวกเขา รวมทั้งให้ความเคารพ และเน้นย้ำถึงสิทธิของเด็ก

สิทธิในโรงเรียนในโรงเรียนเป็นอย่างไร

  • เด็กทุกคนในโรงเรียน รวมทั้งเด็กที่มีความพิการ เด็กชาติพันธุ์ เด็กไร้รัฐไร้สัญชาติ และเด็กชนกลุ่มน้อย มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโรงเรียน
  • สนับสนุนการเคารพซึ่งกันและกัน และการไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม และสถานะทางเพศในหมู่นักเรียน ครู พ่อแม่ผู้ปกครอง และในสังคมในวงกว้าง
  • นักเรียนเรียนรู้เรื่องการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิทธิเด็กทั้งในหลักสูตรการเรียนและกิจกรรมนอกเวลา
  • โรงเรียนเป็นสถานที่ปลอดภัย เหมาะสมกับทุก ๆ คน และมีวัฒนธรรมการพัฒนาเรื่องสิทธิมนุษยชน

สำหรับนักเรียนในประเทศไทย: พึงรักษาสิทธิของตนเองในโรงเรียน 

การศึกษาเล่าเรียนไม่ใช่เรื่องของตำราเรียนและผลการเรียนเท่านั้น แต่หมายถึงว่าเด็ก ๆ ได้เรียนรู้เรื่องการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในสังคม การที่จะทำเช่นนั้นได้ นักเรียนจำเป็นต้องรู้ถึงสิทธิของตน ซึ่งต้องมีการเคารพสิทธิต่าง ๆ เหล่านี้โดยปราศจากเงื่อนไข  และจะเป็นการดีหากเด็ก ๆ เข้าใจถึงสถานการณ์ต่าง ๆ ที่พวกเขาจะต้องได้รับการคุ้มครอง

  • นักเรียนมีสิทธิที่จะแสดงออกในโรงเรียน และมีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นในโลกโซเชียลมีเดีย ตราบเท่าที่การกระทำนั้น ๆ  ไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่น หรือขัดแย้งกับกฎระเบียบของโรงเรียน ซึ่งเป็นไปตามกฎของกระทรวงศึกษาธิการ 
  • นักเรียนสามารถเข้าร่วมการชุมนุมอย่างสันติที่จัดขึ้นนอกสถานศึกษาได้เช่นเดียวกับพลเมืองคนอื่น ๆ ทั่วไป ทั้งนี้ โรงเรียนสามารถทำโทษทางวินัยนักเรียนได้หากมีการขาดเรียน เช่นเดียวกับการขาดเรียนปกติ แต่โรงเรียนไม่สามารถทำโทษนักเรียนเนื่องจากข้อความ หรือพฤติกรรมใดที่เกี่ยวข้องการเมืองได้ 
  • หากนักเรียนเป็นผู้ประสบ หรือเป็นผู้พบเห็นการใช้ความรุนแรงในโรงเรียน ให้รายงานต่อพ่อแม่ หรือบุคลากรโรงเรียนที่ดูแลเรื่องการคุ้มครองเด็กทันที โดยให้รักษาเป็นความลับและมีความรับผิดชอบ โรงเรียนควรจะต้องติดตามดำเนินการอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตามกฎระเบียบของโรงเรียน และแนะนำช่องทางเข้าถึงบริการเยียวยาทางร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ นักเรียนยังสามารถติดต่อหมายเลขศูนย์ประชาบดีโทร 1300 สายด่วน 24 ชั่วโมง เพื่อรายงานเรื่องความรุนแรงต่อเด็กได้ หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชันคุ้มครองเด็ก ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่มีทั้งระบบปฏิบัติการไอโอเอส และ แอนดรอยด์  
  • นักเรียนสามารถปกป้องสิทธิและความสนใจของตนเองได้ด้วยการเข้าร่วมหรือปรึกษาสภานักเรียนในโรงเรียน ซึ่งมีหน้าที่แจ้งความเห็นและความกังวลใจต่าง ๆ ต่อครูและผู้บริหารโรงเรียน ระดมทุนเพื่องานโรงเรียน โครงการ และงานการกุศลของโรงเรียน รวมทั้งมีส่วนร่วมในการปฏิรูปโรงเรียน ทั้งนี้ การใช้สิทธิและความสามารถของตนในฐานะนักเรียนไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเท่านั้น แต่ยังสามารถรวมถึงเรื่องอื่น ๆ อย่างการเป็นอาสาสมัคร ไปจนถึงเรื่องการสร้างนวัตกรรมทางสังคมด้วย

สำหรับคุณครู และผู้บริหารโรงเรียนในประเทศไทย: สอนนักเรียนเรื่องสิทธิมนุษยชน ด้วยวิธีการด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อนำไปสู่สิทธิมนุษยชนในโรงเรียน

การตระหนักถึงสิทธิของนักเรียนในโรงเรียน ดำเนินการเพื่อประโยชน์สูงสุดของนักเรียน และให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของนักเรียนเป็นความรับผิดชอบหลักของเจ้าหน้าที่ในโรงเรียนทุกคนในฐานะที่เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ แทนที่จะบูรณาการเรื่องสิทธิเด็กเข้ากับกิจกรรมเพียงบางกิจกรรมในห้องเรียนแล้ว ควรมีแนวทางเรื่องสิทธิเด็กที่ปรับใช้กับทุกอย่างในโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียนทุกคนรู้สึกปลอดภัย ได้รับการสนับสนุน มีส่วนร่วม และได้เชื่อมั่นว่าพวกเขาได้รับการรับฟัง

  • จัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เรียนรู้ถึงสิทธิทั้งหมดของตน ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง รวมทั้งการเคารพสิทธิของผู้อื่นด้วย โดยให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม และเหมาะสมกับกลุ่มอายุของนักเรียน
  • ปฏิบัติต่อนักเรียนในฐานะที่เป็นพลเมือง ซึ่งมีบทบาทและสิทธิตั้งแต่บัดนี้ ไม่ใช่เพียงแค่ในฐานะพลเมืองในอนาคต
  • เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นักเรียน ด้วยการแสดงความเคารพต่อสิทธิของผู้อื่น
  • สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นในโรงเรียน ตลอดจนมีกลไกสำหรับสะท้อนความคิดเห็นเหล่านั้นของนักเรียนให้ผู้ใหญ่ได้รับทราบ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้แนะนำให้ทุกโรงเรียนส่งเสริมเรื่องเสรีภาพการแสดงออก
  • ไม่จำกัดหรือทำโทษนักเรียนในการแสดงความคิดเห็น แต่ให้นำความเห็นต่างมาเป็นตัวอย่างในการสอนนักเรียน ผ่านการสร้างวินัยเชิงบวก 
  • โรงเรียนมีหน้าที่เข้ามาดูแลเมื่อพบว่านักเรียนใช้ประทุษวาจา ข่มเหงรังแก ว่ากล่าวให้ร้ายกันทำให้เกิดความอับอาย หรือล่วงละเมิด ทั้งนี้มาตรการดำเนินการจะขึ้นอยู่กับโรงเรียน และหน่วยงานการศึกษาที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยไม่ใช้วิธีการลงโทษทางร่างกายต่อนักเรียนซึ่งเป็นการผิดกฎหมายประเทศไทยโดยเด็ดขาด รวมถึงการไม่ใช้วิธีข่มขู่นักเรียน
  • ความรุนแรงทุกรูปแบบในโรงเรียน เป็นเรื่องที่ควรถูกกล่าวโทษ โดยมีมาตรการรับมือและป้องกันการใช้ความรุนแรงอย่างทันทีในทุกกรณี ต้องมีการใช้นโยบายคุ้มครองเด็กอย่างยุติธรรม ซึ่งรวมถึงการร้องเรียนโดยช่องทางที่ไม่เก็บรักษาข้อมูลเป็นความลับ และมีการส่งต่อนักเรียนให้เข้าถึงบริการให้คำปรึกษา บริการคุ้มครองเด็กและบริการอื่น ๆ รวมทั้งมีระบบรองรับในการเยียวยาผู้ได้รับความรุนแรง และดำเนินการอย่างเหมาะสมต่อผู้ก่อเหตุและทันท่วงที 

หากท่านคิดว่าโรงเรียนของท่านจำกัดสิทธิเด็กอยู่ แต่ยังไม่แน่ใจ ท่านสามารถติดต่อศูนย์คุ้มครองเฉพาะกิจและช่วยเหลือเด็กนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โทร. 02-288-5795 หรือติดต่อสายด่วนกระทรวงศึกษาธิการ โทร. 1579

อะไรบ้างที่เป็นสิทธิของนักเรียน

4 สิทธิเด็กที่ทุกคนได้รับมาตั้งแต่เกิด.
1. สิทธิที่จะมีชีวิตรอด (Right of Survival) ... .
2. สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา (Right of Development) ... .
3. สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง (Right of Protection) ... .
4. สิทธิที่จะมีส่วนร่วม (Right of Participation).

การศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชนมีประโยชน์อย่างไร

ได้ตระหนักและเข้าใจแง่มุมทางสิทธิมนุษยชนทั้งในและต่างประเทศมากขึ้น ได้ฝึกคิดหาทางสร้างสังคมที่ปราศจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน ยุติธรรม และเท่าเทียม ได้เสริมสร้างศักยภาพและยึดมั่นในคุณค่าความเป็นมนุษย์ทั้งของตนเองและผู้อื่น

การศึกษามีความสําคัญอย่างไร

“การศึกษาเป็นปัจจัยสาคัญที่สุดอย่างหนึ่งของชีวิต เพราะเป็นรากฐานสาหรับช่วยให้บุคคล สามารถก้าวไปถึงความสุขความเจริญทั้งปวง ทั้งของตนเองและส่วนรวม ผู้ที่เป็นครูจะต้องถือเป็น หน้าที่อันดับแรกที่จะต้องให้การศึกษา คืออบรมสั่งสอนอนุชนให้ได้ผลแท้จริงทั้งในด้านวิชา ความรู้ทั้งในด้านจิตใจและความประพฤติทั้งต้องคิดว่าที่แต่ละคนกา ...

สิทธิมีด้านใดบ้าง

อ้างในการ dies Page 16 มุมมองสิทธิมนุษยชน มุมมองสิทธิมนุษยชน มีมุมมอง 5 ด้าน คือ ด้านกฎหมาย ๒. ด้านการเมือง ๓. ด้านวัฒนธรรม ๔. ด้านศีลธรรม ๕. ด้านพันธกรณีระหว่างประเทศ 5. ด้านเศรษฐกิจ