ข้อคิดที่ได้จากเรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิงมีอะไรบ้าง

เรื่องย่ออิเหนา  ( ตอนศึกกะหมังกุหนิง )

1)            ท้าวกะหมังกุหนิง กับ ประไหมสุหรี  มีโอรสชื่อ  วิหยาสะกำ  ในคราวที่วิหยาสะกำออกประพาสป่า

2)            องค์ปะตาระกาหลาได้แปลงร่างเป็นกวางทองเพื่อล่อวิหยาสะกำมายังต้นไทรที่พระองค์ซ่อนรูปวาดบุษบาไว้  เมื่อวิหยาสะกำเห็นรูปวาดของบุษบาก็หลงรักนางจนคลั่ง   ท้าวกะหมังกุหนิงสืบทราบว่านางในรูปวาด คือ บุษบา 

3)            บุษบา ธิดา ท้าวดาหา ที่ตอนนี้เป็นคู่หมั้นของจรกาแล้ว   แต่ด้วยความรักและสงสารลูกจึงส่งทูตไปสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำ  แต่เมื่อท้าวดาหาปฏิเสธ   ท้าวกะหมังกุหนิงจึงสั่งยกทัพมาตีเมืองดาหาเพื่อจะชิงตัวบุษบา                   

4)            ท้าวดาหา ส่งพระราชสาส์น  ไปขอความช่วยเหลือจากท้าวกุเรปัน (พี่ชาย)  ท้าวกาหลัง และ ท้าวสิงหัดส่าหรี (น้องชาย)  และจรกา ให้ยกทัพมาช่วยกันรบป้องกันเมืองดาหา                          

5)            ท้าวกุเรปัน ได้รับข่าว จึงให้ทหารนำจดหมายไปให้อิเหนาที่อยู่เมืองหมันหยา  (เมืองจินตหรา) อิเหนาไม่อยากไปแต่กลัวพ่อโกรธเลยต้องไป  ในที่สุดอิเหนาก็ยกทัพมากับกะหรัดตะปาตี (พี่ชายคนละแม่)  ทำให้ท้าวดาหาดีใจมากเพราะเชื่อมั่นว่าอิเหนาต้องรบชนะ  ด้วยความที่อิเหนาเคยทำให้ท้าวดาหาโกรธเรื่องปฏิเสธการแต่งงานกับบุษบาจนทำให้เกิดเรื่องขึ้นมา อิเหนาจึงตัดสินใจสู้รบให้ชนะก่อนแล้วค่อยเข้าไปท้าวดาหา                    

6)            ท้าวกะหมังกุหนิง ยกทัพมาดาหา ต่อสู้กับกองทัพของอิเหนา 

7)            สังคามาระตา ฆ่า วิหยาสะกำ  ส่วนอิเหนา ฆ่า ท้าวกะหมังกุหนิง ตายในสนามรบด้วยกริชเทวา

8)            ท้าวปาหยัน และ ท้าวประหมัน (พี่และน้องชายของท้าวกะหมังกุหนิง) ยอมแพ้  อิเหนาจึงอนุญาตให้ระตูนำพระศพของทั้งสองกลับไปทำพิธีตามพระราชประเพณี

ลักษณะนิสัยของตัวละคร               

1.             อิเหนา หรือ ระเด่นมนตรี เป็นโอรสของ ท้าวกุเรปัน และ ประไหมสุหรีนิหลาอระตา แห่งเมืองกุเรปัน อิเหนาเป็นชายรูปงามมีเสน่ห์ เจรจาอ่อนหวาน นิสัยเจ้าชู้ มีความเชี่ยวชาญในการใช้กริชและกระบี่เป็นอาวุธ    ท้าวกุเรปันได้สู่ขอบุษบาหนึ่งหรัดธิดาของท้าวดาหาเป็นคู่ตุนาหงันของอิเหนาตั้งแต่เด็ก   ครั้นอิเหนาโตเป็นหนุ่มได้พบจินตะหราวาตีและหลงใหลนางมาก จึงปฏิเสธไม่ยอมแต่งงานกับบุษบา  แต่พอได้พบกับบุษบาก็หลงรักนาง จนกระทั่งลักพาตัวบุษบาไปขณะที่นางกำลังจะเข้าพิธีวิวาห์กับระตูจรกา   ทำให้องค์ปะตาระกาหลาโกรธอิเหนาจึงบันดาลให้ลมหอบบุษบาไปเสีย  

อิเหนาปลอมตัวเป็นโจรป่าชื่อ มิสารปันหยี ออกติดตามหานางจนทั่วแผ่นดินชวาก็ไม่พบ จึงตัดสินใจบวชเป็นฤาษี ใช้ชื่อว่า กัศมาหรา ได้รับความทุกข์ทรมานใจแสนสาหัสกว่าจะได้พบนางบุษบาอีกครั้ง ภายหลังอิเหนาได้เป็นกษัตริย์ครองเมืองกุเรปันมีมเหสีถึง ๑๐ องค์ได้แก่

จินตะหราวาตี เป็น ประไหมสุหรีฝ่ายขวา                 บุษบาหนึ่งหรัด เป็น ประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย
สะการะวาตี เป็น มะเดหวีฝ่ายขวา                             มาหยารัศมี เป็นมะเดหวีฝ่ายซ้าย
บุษบาวิศ เป็น มะโตฝ่ายขวา                                      บุษบากันจะหนา เป็น มะโตฝ่ายซ้าย
ระหนาระกะติกา เป็น ลิกูฝ่ายขวา                             อรสา เป็น ลิกูฝ่ายซ้าย
สุหรันกันจาส่าหรี เป็น เหมาหลาหงีฝ่ายขวา             หงยาหยา เป็น เหมาหลาหงีฝ่ายซ้าย    

2.             บุษบาหรึ่งหรัด หรือ บุษบา  เป็นธิดาของท้าวดาหา และ ประไหมสุหรีตาหราวาตี แห่งเมืองดาหา เมื่อตอนประสูติมีเหตุอัศจรรย์คือ  มีกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่วทั้งวัง ดนตรี แตรสังข์ ก็ดังขึ้นเองโดยไม่มีผู้บรรเลง ประสูติได้ไม่นาน ท้าวกุเรปันก็ขอตุนาหงัน(หมั้น) ให้กับอิเหนา   บุษบาเป็นหญิงที่งามล้ำเลิศกว่านางใดในแผ่นดินชวา กิริยามารยาทเรียบร้อย คารมคมคาย เฉลียวฉลาดทันคน ใจกว้างและมี เหตุผล จึงผูกใจให้อิเหนารักใคร่ ให้หลงนางยิ่งกว่าหญิงอื่นนอกจากนั้นบุษบายังเป็นลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพระบิดาพระมารดา ยอมแต่งงานกับระตูจรกา แม้ว่าจะไม่พอใจในความขี้ริ้วขี้เหร่ของระตูจรกาก็ตาม

3.             ท้าวกะหมังกุหนิง ผู้ครองเมืองกะหมังกุหนิง มีน้องชายสองคนคือ ระตูปาหยัง กับ ระตูประหมัน และมีโอรสชื่อวิหยาสะกำ ซึ่งพระองค์และมเหสีรักราวกับแก้วตา เมื่อท้าวกะหมังกุหนิงทราบว่าวิหยาสะกำ คลั่งไคล้ใหลหลงบุษบา ธิดาของท้าวดาหาซึ่งเพียงแต่เห็นรูปวาดเท่านั้น  พระองค์ก็แต่งทูตไปสู่ขอนางทันที   ครั้นถูกปฎิเสธเพราะท้าวดาหายกบุษบาให้เป็นคู่หมั้นของระตูจรกาไปแล้ว   ท้าวกะหมังกุหนิงก็โกรธมาก  ยกทัพไปตีกรุงดาหาเพื่อแย่งบุษบามาให้วิหยาสะกำ   แม้ว่าน้องทั้งสองจะพยายามพูดทัดทานไว้ ท้าวกะหมังกุหนิงก็ไม่ยอมเปลี่ยนความคิด โดยประกาศว่าจะยอมตายเพื่อลูก และเมื่อยกทัพไปถึงกรุงดาหา วิหยาสะกำถูกสังคามาระตาฆ่าตาย  ทำให้ท้าวกะหมังกุหนิงแค้นมาก ขับม้าแกว่งหอกเข้ารุกไล่สังคามาระตาทันที แต่อิเหนาเข้าขวางไว้ และต่อสู้กับอิเหนา ในที่สุดท้าวกะหมังกุหนิงก็ถูกอิเหนาแทงด้วยกริชถึงแก่ความตาย

4.             สังคามาระตา เป็นโอรสของ ระตูปักมาหงัน มีพี่สาวโฉมงามชื่อ มาหยารัศมี ซึ่งภายหลังได้เป็นมเหสีองค์หนึ่งของ อิเหนา  สังคามาระตาเป็นชายรูปงาม มีความเฉลียวฉลาดรอบคอบ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เก่ง มีความซื่อสัตย์และกล้าหาญ ชำนาญในการใช้ทวนเป็นอาวุธ เป็นคู่คิดคู่ปรึกษาและช่วยเตือนสติอิเหนาหลายครั้ง ระตูปักมาหงัน นำ    สังคามาระตา กับ มาหยารัศมีมาถวายให้อิเหนา   อิเหนานึกรักและเอ็นดูสังคามาระตาจึงรับเป็นน้อง ตั้งแต่นั้นสังคามาระตาก็ติดตามไปทุกหนทุกแห่งจนเติบโตเป็นหนุ่ม  

-ครั้งที่อิเหนาปลอมตัวเป็นโจรป่า มิสารปันหยี  สังคามาระตาก็ปลอมตัวเช่นกัน โดยใช้ชื่อว่า จะหรังวิสังกา

-ครั้นอิเหนาบวชเป็นฤาษีชื่อว่า กัศมาหรา   สังคามาระตาก็บวชและเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า ยาหยัง

-สังคามาระตาเป็นผู้เดียวที่นึกสงสัยอยู่ตลอดเวลาว่า อุณากรรณ คือ บุษบาปลอมตัวมา จนวางแผนให้ ยาหงู ทหารคนสนิทไปแอบดูตอนอุณากรรณอาบน้ำ

-คราวที่ สียะตรา ปลอมตัวเป็นชาวป่าชื่อ ย่าหรันมาอยู่ในกรุงกาหลัง สังคามาระตาก็จำได้และยังช่วยเหลือให้สียะตราได้เกนหลงหนึ่งหรัด (วิยะดา) เป็นภรรยาด้วย

– ภายหลังเมื่ออิเหนากลับไปครองกรุงกุเรปันแล้ว ก็ได้ส่ง สังคามาระตา กับ มเหสี คือ กุสุมา ไปครองเมืองปักมาหงันแทนบิดาซึ่งชรามากแล้ว 

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง 

1. การใช้อารมณ์ ในชีวิตของมนุษย์ทุกคนนั้น ย่อมต้องประสบพบกับเรื่องที่ทำให้เราโมโห หรือทำให้อารมณ์ไม่ดี ซึ่งเมื่อเป็นดังนั้น เราควรจะต้องรู้จักควบคุมตนเอง เพราะเมื่อเวลาเราโมโห เราจะขาดสติยั้งคิด เราอาจทำอะไรตามใจตัวเองซึ่งอาจผิดพลาด และพลอยทำให้เกิดปัญหาตามมาอีก ฉะนั้นเราจึงต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง และเมื่อเรามีสติแล้วจึงจะมาคิดหาวิธีแก้ปัญหาต่อไป ซึ่งภายในเรื่องอิเหนาเราจะเห็นได้จากการที่ท้าวดาหาได้ประกาศยกบุษบาให้ใครก็ตามที่มาสู่ขอ โดยจะยกให้ทันที เพราะว่าทรงกริ้วอิเหนาที่ไม่ยอมกลับมาแต่งงานกลับบุษบาตามที่ได้หมั้นหมายกันไว้ การกระทำของท้าวดาหานี้ได้ก่อให้เกิดปัญหาและความวุ่นวายหลายอย่างตามมา และท้าวดาหานั้นยังกระทำเช่นนี้โดยมิได้สนใจว่าบุตรสาวของตนจะรู้สึกเช่นไร หรือจะได้รับความสุขหรือความทุกข์หรือไม่

                    2. การใช้กำลังในการแก้ปัญหา โดยปกติแล้ว เวลาที่เรามีปัญหาเราควรจะใช้เหตุผลในการแก้การปัญหานั้น ซึ่งถ้าเราใช้กำลังในการแก้ปัญหา นั้นเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมา และอาจเป็นการทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนไปด้วย ตัวอย่างเช่น ท้าวกะหมังกุหนิงที่ได้ส่งสารมาสู่ขอบุษบาให้กับวิหยาสะกำบุตรของตน เมื่อทราบเรื่องจากท้าวดาหาว่าได้ยกบุษบาให้กับจรกาไปแล้ว ก็ยกทัพจะมาตีเมืองดาหาเพื่อแย่งชิงบุษบา ซึ่งการกระทำที่ใช้กำลังเข้าแก้ปัญหานี้ก็ให้เกิดผลเสียหลายประการ ทั้งทหารที่ต้องมาต่อสู้แล้วพากันล้มตายเป็นจำนวนมาก สูญเสียบุตรชาย และในท้ายที่สุดตนก็มาเสียชีวิต เพียงเพราะต้องการบุษบามาให้บุตรของตน            

               3. การทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด หรือคำนึงถึงผลที่จะตามมา การจะทำอะไรลงไป เราควรจะคิดทบทวนหรือ ชั่งใจเสียก่อนว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องหรือไม่ ทำแล้วเกิดผลอะไรบ้าง แล้วผลที่เกิดขึ้นนั้นก่อความเดือดร้อนให้ผู้อื่นหรือไม่ เกิดอย่างไรบ้าง เมื่อเรารู้จักคิดทบทวนก่อนจะกระทำอะไรนั้น จะทำให้เราสามารถลดการเกิดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น หรือสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที ถ้าเราทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด ก็มีแต่จะเกิดปัญหาตามมามากมาย เราจะเห็นตัวอย่างได้จากเรื่องอิเหนาในตอนที่อิเหนาได้ไปร่วมพิธีศพของพระอัยกีแทนพระมารดาที่เมืองหมันหยา หลังจากที่อิเหนาได้พบกับจินตะหราวาตี ก็หลงรักมากจนเป็นทุกข์ ไม่ยอมกลับบ้านเมืองของตน ไม่สนใจพระบิดาและพระมารดา ไม่สนใจว่าตนนั้นมีคู่หมั้นอยู่แล้ว ซึ่งมิได้คำนึงถึงผลที่จะตามมาจากปัญหาที่ตนได้ก่อขึ้น จากการกระทำของอิเหนาในครั้งนี้ก็ได้ทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา

ประโยชน์และคุณค่าที่ได้รับจากเรื่อง 

1.             คุณค่าในด้านเนื้อเรื่อง – บทละครเรื่องอิเหนา มีโครงเรื่องและเนื้อเรื่องที่สนุก โครงเรื่องสำคัญเป็นเรื่องการชิงบุษบาระหว่างอิเหนากับจรกา เรื่องความรักระหว่างอิเหนากับบุษบา เนื้อเรื่องสำคัญก็คือ อิเหนาไปหลงรักจินตะหรา ทั้งที่มีคู่หมั้นอยู่แล้วซึ่งก็คือบุษบา ทำให้เกิดปมปัญหาต่างๆ

                2.    คุณค่าในด้านวรรณศิลป์

                     2.1   ความเหมาะสมของเนื้อเรื่องและรูปแบบ – บทละครอิเหนาเป็นบทละครใน มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับกษัตริย์ กลวิธีการดำเนินเรื่องจึงยึดรูปแบบอย่างเคร่งครัด อากัปกิริยาของตัวละครต้องมีสง่า มีลีลางดงามตามแบบแผนของละครใน โดยเฉพาะการแสดงศิลปะการร่ายรำจะต้องมีความงดงาม ภาษาที่ใช้เหมาะสมกับตัวละคร จะใช้ถ้อยคำไพเราะ แสดงออกถึงอารมณ์ของตัวละคร ไม่ว่าจะเป็นความอาลัยอาวรณ์ ความโกรธ ความรัก การประชดประชัน กระบวนกลอนตลอดจนเพลงขับร้องและเพลงหน้าพาทย์มีความไพเราะอย่างยิ่ง ซึ่งถือว่าเป็นบทละครในที่เพียบพร้อมด้วยรูปแบบของการละครอย่างครบถ้วน

                     2.2   การบรรยายและการพรรณนามีความละเอียดชัดเจน ทำให้เกิดจินตภาพ – ไม่ว่าจะเป็นฉาก เหตุการณ์ สภาพบ้านเมือง ภูมิประเทศ รวมทั้งอารมณ์และความรู้สึกของตัวละคร ผู้อ่านเกิดความรู้สึกและความเกิดความเข้าใจในบทละครเป็นอย่างดี เนื่องจากการใช้โวหารเรียบเรียงอย่างประณีต เรียบง่าย และชัดเจน

                     2.3   การเลือกใช้ถ้อยคำดีเด่นและไพเราะกินใจ –  การใช้ถ้อยคำง่าย แสดงความหมายลึกซึ้ง กระบวนกลอนมีความไพเราะ เข้ากับบทบาทของตัวละคร โดยใช้กลวิธีต่างๆ ในการแต่ง

                     2.4   การใช้ถ้อยคำให้เกิดเสียงเสนาะ คำสัมผัสในบทกลอนทำให้เกิดเสียงเสนาะ  มีทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร ทำให้กลอนเกิดความไพเราะ

                 3. คุณค่าในด้านความรู้

                     3.1   สังคมและวัฒนธรรมไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงสร้างฉากและบรรยากาศในเรื่องให้เป็นสังคม วัฒนธรรม และบ้านเมืองของคนไทย แม้ว่าบทละครเรื่องอิเหนาจะได้เค้าเรื่องเดิมมาจากชวา ทำให้ผู้อ่านเข้าใจสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีไทยในพระราชสำนักและของชาวบ้านหลายประการ

               4.   คุณค่าทางด้านการละครและศิลปกรรม

                 4.1   การละคร บทละครเรื่องอิเหนาเป็นยอดของละครรำ เพราะใช้คำประณีต ไพเราะ เครื่องแต่งตัวละครงดงาม ท่ารำงาม บทเพลงขับร้องและเพลงหน้าพาทย์กลมกลืนกับเนื้อเรื่องและท่ารำ จึงนับว่าดีเด่นในศิลปะการแสดงละคร

                4.2   การขับร้องและดนตรี วงดนตรีไทยนิยมนำกลอนจากวรรณคดีเรื่องอิเหนาไปขับร้องกันมาก เช่น ตอนบุษบาเสี่ยงเทียน และตอนประสันตาต่อนก เป็นต้น

               4.3   การช่างของไทย ผู้อ่านจะได้เห็นศิลปะการแกะสลักลวดลายการปิดทองล่องชาด และลวดลายกระหนกที่งดงามอันเป็นความงามของศิลปะไทย ซึ่งจะทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ

คำศัพท์

กระยาหงัน         สวรรค์

ตุนาหงัน               หมั้น

กิริณี                 ช้าง

จตุรงค์              กองทัพ4 เหล่า คือ ช้าง ม้า รถ และพลเดินเท้า

กั้นหยั่น                 อาวุธสำหรับเหน็บติดตัว มีคมทั้ง 2 ข้าง

พหลพลขันธ์        กองทัพใหญ่

ดัสกร                ศัตรู

ตุนาหงัน            หมั้นหมาย

สามนต์              เจ้าเมืองที่เป็นเมืองขึ้น

อัปรา                ยอมแพ้

อึงอุตม์              เสียงดังมาก

ย่างทีสะเทิน       การเดินอย่างเร็วของช้าง 

ระตู                        เป็นคำเรียกเจ้าเมืองที่ไม่ใช้วงค์เทวี  (เจ้าเมืองเล็กๆ)

ระเด่น                    โอรส/ธิดา ของเจ้าเมืองใหญ่

อะหนะ                 ลูก  บุตร

กิดาหยัน                มหาดเล็ก  เสนารับใช้ใกล้ชิดกษัตริย์

มานะ                     ในเรื่องหมายถึง การถือตนว่าสำคัญและมีศักดิ์ศรี ไม่อาจให้ใครมาลบหลู่ได้  

กระทรวง                                      หมู่

กระยาหงัน                                    สวรรค์

กราย                                 เคลื่อนไหวอย่างมีท่าที หรือลีลาในการใช้อาวุธ

กลับกลอก                        พลิกไปพลิกมา   ที่นี้หมายถึงขยับอาวุธ

กล่าว                                            ที่นี้หมายถึงสู่ขอ

กะระตะ                            กระตุ้นให้ม้าเดินหรือวิ่ง

กั้นหยั่น                                        อาวุธสำหรับเหน็บติดตัว

กัลเม็ด                                          ปุ่มที่ฝักอาวุธ

กิริณี                                            ช้าง

แก้วพุกาม                                     แก้วมีค่าจากเมืองพุกามในพม่า

เขนงปืน                           เขาสัตว์ที่ใช้ใส่ดินปืน

โขลนทวาร                      ประตูป่า

งาแซง                              ไม้เสี้ยมปลายแหลม สำหรับวางเรียงป้องกันข้าศึก

จตุรงค์                              กอทัพสี่เหล่า คือ ช้าง  ม้า  รถ และพลเดินเท้า

ชักปีกกา                                        จัดกองทัพเป็นรูปปีกกา

ชีพ่อ                                            นักบวช/พราหมณ์

ดวงยิหวา                                       ผู้เป็นที่รักยิ่ง

ดะหมัง                             ตำแหน่งขุนนางผู้ใหญ่ในชวา มี ๔  ตำแหน่ง คือ ยาสา  ตำมะหงง  ปูนตา  และดะหมัง

ดัสกร                                ศัตรู

ดูผี                                     เยี่ยมเคารพศพ

ตุนาหงัน                           หมั้นหมาย

ถอดโกลน                                     ชักเท้าจากโกลน (ห่วงที่ห้อยลงมาจากอานม้า)

ไถ้                                     ถุงสำหรับใส่เงินและสิ่งของ  มักคาดไว้ที่เอว

นามครุฑ                           การตั้งค่ายเป็นรูปครุฑ

บุหรง                                นก  บางครั้งหมายถึง  นกยูง

ประเจียด                          ผ้าที่ใช้ลงอาคม  ใช้ในการป้องกันอันตรายในการสู้รบ

ประเสบัน                         ตำหนัก

ป่วยขา                              บาดเจ็บที่ขา

ปักมาหงัน                         ชื่อเมืองของระตูผู้เป็นบิดาของสังคามาระตา

พหลพลขันธ์                 กองทัพใหญ่

ฟันไม้ข่มนาม                                พิธีที่ทำก่อนออกรบเพื่อเป็นการบำรุงขวัญทหาร   โดยนำเอาต้นไม้ที่มีชื่อร่วม

                                         ตัวอักษรกับชื่อข้าศึกมาฟันให้ขาดประหนึ่งว่า ได้ฟันข้าศึก

ม่านสองไข                     ม่าน ๒ ชาย ที่แหวกกลางไปรวบไว้ที่ด้านข้าง

มุรธาวารีภิเษก                  น้ำที่ผ่านพิธีกรรมเพื่อทำให้ศักดิ์สิทธิ์

ย่างทีสะเทิน                     การเดินอย่างเร็วของช้าง

ระเด่นมนตรี                     คำเรียก อิเหนา

ระตู                                   คำเรียก เจ้าเมืองที่ไม่ใช่วงศ์เทวัญ

ล่าสำ                                 ระตูผู้เป็นพี่ชายของจรกา

เลี้ยง                                            ที่นี้หมายถึงรับเป็นภรรยา

วงศ์เทวัญอสัญหยา         เชื้อสายกษัตริย์ที่สืบมาจากเทวดา

วิหลั่น                               ค่ายที่ขยับเข้าใกล้ข้าศึกทีละนิด

ศรีปัตหรา                        กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ ที่นี้คือ ท้าวดาหา

ศัสตรา                           อาวุธ

ส่งสการ                        พิธีกรรมเกี่ยวกับการปลงศพ

สามนต์                                         เจ้าเมืองที่เป็นเมืองขึ้น

เสาตะลุง                       เสาใหญ่สำหรับผูกช้าง

อะหนะ                                         ลูก

อัธยา                                             อัธยาศัย/ความประสงค์

อัปรา                                            ยอมแพ้

อาสัตย์                           ไม่ซื่อตรง

อึงอุตม์                                          เสียงดังมาก

ตำแหน่งมเหสี  ๕  พระองค์

                ประไหมสุหรี                       มะเดหวี                                มะโต                      ลิกู                          เหมาหลาหงี

หมายเหตุ   มิสศรีบังอร จุ้ยศิริ  ม.4 ที่น่ารักของเราได้สรุปเนื้อหาสอบไว้ที่ http://accom.assumption.ac.th/thai4/

                    ต้องขอขอบคุณมิสมาครับ  AC127

นักเรียนสามารถนำข้อคิดที่ได้จากเรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิงไปเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างไร

๑. ความกล้าหาญ ไม่หวาดหวั่นพรั่นพรึงต่อข้าศึกศัตรู.
๒. ความรักในศักดิ์ศรี.
๓. รักษาคำสัตย์.
๔. การรู้จักให้อภัย.
๕. ควรรู้จักแยกแยะให้ออกระหว่างความรักกับความหลงใหล.

ข้อใดเป็นแนวคิดสำคัญของเรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

๑.๑) แนวคิดของเรื่อง เรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูก รักและตามใจลูกทุกอย่าง แม้กระทั่งตัวตายก็ยอม

เรื่องอิเหนาให้ข้อคิดอะไร

๑. การเอาแต่ใจตนเอง อยากได้อะไรเป็นต้องได้ จากในวรรณคดีเรื่องอิเหนานั้น เราได้ข้อคิดเกี่ยวกับการเอาแต่ใจตนเอง อยากได้อะไรเป็นต้องได้ ไม่รู้จักระงับความอยากของตน หรือพอใจในสิ่งที่ตนมีแล้ว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ทำให้เกิดปัญหามากมายตามมา และคนอื่นๆ ก็พลอยเดือดร้อนไปด้วย ดังเช่นในตอนที่อิเหนาได้เห็นนางบุษบาแล้วเกิดหลงรัก อยาก ...

เรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิงมีรูปแบบอย่างไร

ลักษณะคำประพันธ์ กลอนบทละคร ซึ่งเป็นกลอนประเภทกลอนขับร้องที่มีการบังคับคำนำเช่นเดียวกับกลอนเสภา กลอนสักวา กลอนดอกสร้อย แต่กลอนบทละครบังคับคำนำที่นับเป็น 1 วรรคได้ คณะ วรรคนี่งมี ๖ – ๘ คำ แบ่งเป็น ๔ วรรค และบังคับเสียงวรรณยุกต์ในวรรคเพื่อความไพเราะในการแต่งและอ่านทำนองเสนาะดังนี้