ประติมากรรมสมัยสุโขทัย มีอะไรบ้าง

ประติมากรรมไทยสมัยสุโขทัย, ประติมากรรมไทยสมัยสุโขทัย หมายถึง, ประติมากรรมไทยสมัยสุโขทัย คือ, ประติมากรรมไทยสมัยสุโขทัย ความหมาย, ประติมากรรมไทยสมัยสุโขทัย คืออะไร

ประติมากรรมสมัยสุโขทัย มีอะไรบ้าง

਴���ç�������ǺԳ��Ẻ��⢷���� ����Ѵ��Ҹҵ� �ѧ��Ѵ��⢷��

��е��ҡ��� ��оط��ٻ���ٻ��ҧ�ѡɳз�觴��� ��Ǵ�ç�����ҷ�ҷҧ��͹����������ͧ��дѺ���觴��ª�ҷ�觴��� ���ᵡ��ҧ�ҡ�ؤ�������� ���ҧ�Ѵਹ ��੾�о���Ȩ��������������͡�ѡɳ�

ประติมากรรมสมัยสุโขทัย มีอะไรบ้าง

��оط��ٻ��зѺ�׹�����������͹����Ẻ���ҧ��Ż���⢷��

�Եá��� ���Ҿ���ͧ�������鹺����Թ��ǹ����Ѵ��ժ�� �ѧ��Ѵ��⢷�� ����Ҿ��¹��Ẻ�͡ç�� �������-ᴧ ����Ѵ਴������� ���������Ѫ����� �ѧ��Ѵ��⢷��

พระพุทธรูปสมัยนี้ เป็นฝีมือช่างไทยสมัยเมื่อกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี หรือสมัยราชวงศ์พระร่วงครองกรุงสุโขทัย ในสมัยนี้ได้รับพระพุทธศาสนาอย่างลังกาวงศ์เข้ามาประพฤติปฏิบัติในประเทศนี้ เพราะเวลานั้นพระพุทธศาสนาในลังกาทวีปกำลังเจริญรุ่งเรือง พระสงฆ์ลังกาในครั้งนั้นทรงพระธรรมวินัยรอบรู้พุทธวจนะวิเศษกว่าพระสงฆ์ประเทศอื่นๆ เป็นเหตุให้พระสงฆ์ไทย มอญ พม่า และเขมร พากันไปศึกษาพระศาสนาในลังกาทวีปเป็นอันมาก เมื่อพระสงฆ์ไทยกลับมายังได้ชักชวนพระสงฆ์ชาวลังกามาอยู่ในประเทศนี้ด้วย ชั้นแรกมาอยู่ทางเมืองนครศรีธรรมราช แล้วภายหลังขึ้นไปตั้งสำนักอยู่ในกรุงสุโขทัย และต่อไปจนถึงเชียงใหม่ ชาวประเทศนี้จึงได้รับแบบอย่างเจดีย์ลังกามาสร้างกันแพร่หลายตั้งแต่สมัยนั้น รวมทั้งแบบอย่างพระพุทธรูปด้วย ข้อนี้มีหลักฐาน ด้วยพระพุทธรูปโบราณในประเทศนี้ ตั้งแต่ก่อนลังกาวงศ์เข้ามา ไม่มีทำเกตุมาลายาวเป็นเปลวเลย เพิ่งมีขึ้นในสมัยนี้เป็นครั้งแรก พระพุทธรูปที่มีเกตุมาลาเป็นเปลวนั้น เป็นแบบอย่างช่างลังกาเป็นผู้คิดขึ้นก่อน แปลกกว่าแบบอย่างพระพุทธรูปในประเทศอื่น

พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ทำเป็น ๓ ยุค

ยุคแรก มักทำวงพระพักตร์กลมตามแบบพระพุทธรูปลังกา เช่นพระอัฏฐารสในวิหารวัดสระเกศบัดนี้ ซึ่งนำมาจากวัดวิหารทอง จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น

ยุคกลาง เมื่อฝีมือช่างเชี่ยวชาญขึ้น คิดแบบขึ้นใหม่ทำวงพระพักตร์ยาว พระหนุเสี้ยม เช่น พระร่วงที่พระปฐมเจดีย์และพระสุรภีพุทธพิมพ์ในพระอุโบสถวัดปรินายก พระพุทธรูปตามแบบยุคที่ ๒ นี้มีมากกว่ายุคแรก

ยุคที่ ๓ หรือยุคหลังเห็นจะเป็นในรัชกาลพระมหาธรรมราชาลิไทย ซึ่งในตำนานกล่าวว่าเอาเป็นพระธุระบำรุงกิจในพระพุทธศาสนายิ่งกว่ารัชกาลก่อนๆให้เสาะหาช่างที่ฝีมือดี ทั้งในฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้มาประชุมปรึกษากัน ทรงสอบสวนหาหลักฐานพุทธลักษณะในคัมภีร์พระไตรปิฎกประกอบ คิดสร้างพระพุทธรูปเพื่อจะให้วิเศษที่สุดที่จะทำได้ จึงเกิดพระพุทธรูปแบบสุโขทัยขึ้นอีกอย่างหนึ่ง เช่น พระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ ทำวงพระพักตร์รูปไข่ หรือทำนองผลมะตูมคล้ายแบบอินเดียเดิมแต่งามยิ่งนัก และแก้ไขพุทธลักษณะที่แห่งอื่นไปตามตำรา เช่นทำปลายนิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกันทั้ง ๔ นิ้วเป็นต้น พระพุทธรูปแบบนี้ทำกันแพร่หลายขึ้นไปจนข้างเหนือและลงมาข้างใต้ แต่ที่ทำได้งามเหมือนพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ซึ่งเป็นต้นตำรานั้นมีน้อย

ลักษณะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย

พระพุทธรูปสมัยนี้ทำเกตุมาลายาว เส้นพระศกขมวดก้นหอย โดยมากไม่มีไรพระศก พระโขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระหนุเสี้ยม หัวพระถันโปน สังฆาฏิยาว มักมีปลายเป็น ๒ แฉกย่น ขัดสมาธิราบ ฐานเป็นฐานหน้ากระดานเกลี้ยงเป็นพื้น ตอนกลางแอ่นเข้าไปข้างใน ผิดกับฐานเชียงแสนซึ่งโค้งออกมาข้างนอก ไม่ใคร่ทำบัว ถ้ามีบัวก็เป็นบัวหงายบัวคว่ำชนิดบัวฐานพระพุทธชินราช ทำเป็นปางต่างๆตามพระอิริยาบถ คือ

ประติมากรรมในสมัยสุโขทัยนิยมสร้างด้วยอะไร

วัสดุที่นำมาสร้างประติมากรรม มีปูนเพชร (ปูนขาวแช่น้ำจนจืด ผสมกับทรายที่ร่อนละเอียด ยางไม้ และน้ำอ้อย นำมาโขลกให้เหนียว แล้วนำมาปั้น เมื่อแห้งจะแข็ง และทนทานต่อดินฟ้าอากาศมาก) ดินเผา ไม้ โลหะสำริด และทองคำ แบ่งประติมากรรมสมัยสุโขทัย เป็น 3 ยุค คือ

ศิลปะสมัยสุโขทัย มีอะไรบ้าง

นอกจากการสร้างพระพุทธรูปแล้วสมัยสุโขทัยยังนิยมทำภาพปูนปั้นเพื่อประกอบงานสถาปัตยกรรมและงานอื่นๆ จำนวนมาก โดยทำขึ้นหลายรูปแบบทั้งสวยงาม แปลกประหลาดและตลกขบขัน ตัวอย่างลวดลายปูนปั้นที่งดงามมีอยู่มากมาย เช่น ลายปูนปั้นที่วัดมหาธาตุ อำเภอเมืองสุโขทัย เป็นเรื่องพุทธประวัติแสดงปางประสูติ ปรินิพพาน

สถาปัตยกรรมในสมัยสุโขทัยมีอะไรบ้าง

พระเจดีย์ทรงดอกบัวตูม พระเจดีย์แบบนี้มียอดเป็นรูปดอกบัวตูม หรือเรียกกันว่า ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือทรงทนาฬ ... .
เจดีย์ทรงระฆัง หรือดอกบัวคว่ำ ... .
เจดีย์ทรงพระปรางค์ ... .
เจดีย์บุษบก หรือเจดีย์ทรงวิมาน ... .
เจดีย์จอมแห ... .
เจดีย์ทรงปราสาท.

งานประติมากรรมที่ทรงคุณค่าในสมัยสุโขทัย คือข้อใด

พระพุทธชินราชศิลปะสมัยสุโขทัย ได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดของประติมากรรมไทย