การศึกษา พุทธ ประวัติ มี ประโยชน์ อย่างไร ใน การนำ ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

1. ขอบเขตเนื้อสาระ    

       ศึกษาประวัติของศาสดา โดยใช้การ วิเคราะห์อย่างมีเหตุผลนั้น ทาให้ได้ข้อคิดที่ สาคัญ ซึ่งสามารถเตือนสติและเป็นหลักในการกำรประพฤติในสังคมได้อย่ำงเหมำะสม

2. วัตถุประสงค์ (K-S-A)

        2.1ความรู้ (K)

การอธิบายพุทธประวัติ ตอน การตรัสรู้

        2.2 ทักษะ (S)

การวิเคราะห์ข้อคิดสาคัญ จากพุทธประวัติตอนตรัสรู้

        2.3 คุณธรรม (A)

การยกตัวอย่างแนวทางการนำข้อคิดจากพุทธประวัติ ตอนการตรัสรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

3.การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

        3.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

       1.ครูให้นักเรียนดูวีติทัศน์ เรื่อง พระพุทธเจ้า ตอนตรัสรู้ (youtu.be/5IntPTVDpD4) โดยให้นักเรียนเขียนสรุปใจความสำคัญลงในสมุด

       3.2 ขั้นกิจกรรม

       2.ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น ๕ กลุ่ม กลุ่มละเท่ากัน เพื่อระดมความคิดเกี่ยวกับประโยชน์และข้อคิดที่ได้จากการชมวีดิทัศน์ เรื่อง พระพุทธเจ้า ตอนตรัสรู้ โดยครูแจกกระดาษพลิปชาร์ทให้กับนักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนผังความคิดเกี่ยวกับประโยชน์และข้อคิดสำคัญจากพุทธประวัติ ตอนตรัสรู้

       3.ครูสุ่มนักเรียน ๑-๒กลุ่ม ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน โดยครูให้นักเรียนกลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่ได้นำเสนอได้แสดงคว ามคิดเห็นที่แตกต่าง หรือชักถามหากมีข้อสงสัย

        3.3 ขั้นสรุป

       ขั้นสรุป

       4.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้รับจากพุทธประวัติ ตอนตรัสรู้

       5.นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและสรุปบทเรียนเกี่ยวกับพุทธประวัติตอน การตรัสรู้

4.สื่อ/อุปกรณ์

   1.วีดิทัศน์ เรื่อง พระพุทธเจ้า ตอนตรัสรู้ 2.กระดาษ A4

5.การประเมินผล

   ตอบคำถามได้ถูกต้อง สมเหตุสมผลมากกว่า ร้อยละ 80

 หลักธรรมสำหรับนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

                ศาสนาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับใช้ประกอบในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะศาสนามีคุณค่ามากมายต่อมนุษย์ในด้านจิตใจซึ่งถือว่าสูงกว่าคุณค่าทางวัตถุ เป็นที่พึ่งทางใจทำให้มนุษย์ไม่อ้างว้างเวลาประสบปัญหาในชีวิต ผู้มีปัญหาย่อมสามารถนำหลักธรรมคำสอนของศาสนาซึ่งตนนับถือและเลื่อมใสศรัทธานำพาชีวิตให้ไปสู่เป้าหมาย ที่ตนได้ตั้งไว้ ศาสนิกชนทุกศาสนาคงไม่ตกเป็นเครื่องมือของอำนาจใฝ่ต่ำ เพราะคำสอนทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี สอนให้มนุษย์ละเว้นจากความชั่วทั้งปวง เป็นเครื่องแยกมนุษย์ออกจากสัตว์ ศาสนาจึงเป็นเหมือนประทีปส่องโลกเราให้สว่างไสวด้วยความรู้แจ้ง และยังสอนให้มนุษย์รักสามัคคี มีความยุติธรรมต้องการปฏิบัติแต่สิ่งที่ถูกต้อง รักความเมตตากรุณา ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอกว่า ไม่อิจฉาริษยาพยาบาทต่อกัน เมื่อพิจารณาหลักธรรมของศาสนาต่างๆ จะเห็นว่ามีความสอดคล้องกันในการปลูกฝังความเป็นคนดี และศาสนิกชนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ คือ

                1. เว้นจากการทำชั่วและมุ่งทำความดี ทุกศาสนาสอนให้ละเว้นการกระทำความชั่วและทำแต่ความดีทั้งสิ้น เพื่อให้ศาสนิกชนทั้งหลายเป็นคนดีนั่นเอง ถึงแม้แนวทางปฏิบัติของแต่ละศาสนาอาจมีข้อแตกต่างกันไป เช่น พระพุทธศาสนามีศีล คือ ข้อห้าม และธรรมะ คือหลักสำหรับเป็นข้อปฏิบัติ ศาสนาคริสต์มีบัญญัติ 10 ประการ ศาสนาอิสลามสอนให้ยึดหลักศรัทธา ประการ และหลักปฏิบัติ ประการ เป็นต้น

                2. ความรัก ความเมตตา แต่ละศาสนากล่าวถึงความรักความเมตตาไว้มากมายทั้งหลักธรรมคำสอนในคัมภีร์ และคำสอนแทรกไว้ในแต่ละตอนของคำสอนนั้นๆ บางครั้งก็มีคำสอนทำนองภาษิตเตือนใจ เช่น พระพุทธศาสนามีคติธรรมที่ยึดถือ เช่น เมตตาธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนโลกและพึงเอาชนะความชั่วด้วยความดี ในศาสนาคริสต์พระเยซูทรงสอนว่า จงรักพระเจ้าอย่างสุดใจสุดความคิด และสุดกำลัง และจงรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตัวเอง ศาสนาอิสลาม ศาสดามูฮัมหมัดก็ทรงกล่าว ผู้ใดขาดความเมตตาเพื่อนมนุษย์ผู้นั้นไม่ได้รับเมตตาจิตเช่นกัน ดังนั้นทุกศาสนาจึงเน้นเรื่องความรัก  ความเมตตา  เพราะหากมนุษย์ทุกคนมีความรักความเมตตาอยู่ในใจแล้ว ก็จะไม่มีการเบียดเบียนกัน ต่างให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

                3. การเสียสละหรือการสังคมสงเคราะห์ เมื่อมนุษย์มีความรักความเมตตาแล้ว ก็จะมีความเสียสละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และให้การสงเคราะห์ซึงกันและกัน ศาสนาต่างๆ จึงสอนให้สงเคราะห์กันด้วยความเมตตากรุณาไม่ใช่หวังผลตอบแทน แต่เน้นการเสียสละด้วยความบริสุทธิ์ใจ เช่น พระพุทธศาสนามีหลักธรรมที่เรียกว่า สังคหวัตถุ 4  ซึ่งได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตตา ศาสนาอิสลามได้มีการกำหนดหลักการให้ชาวมุสลิมมีการบริจาคทาน (ซากาด) แก่ผู้ยากจนหรือสมควรได้รับความช่วยเหลือในอัตราร้อยละ 2.5 ของรายได้ ศาสนาคริสต์จะเน้นให้มนุษย์เสียสละ ให้อภัย เอื้อเฟื้อ โดยไม่หวังผลตอบแทน

                4. ความอุตสาหะและพัฒนาตนเอง ศาสนาต่างๆ สอนให้คนมีความเพียร อดทน ขยันขันแข็ง และมีความอุตสาหะ มีความพยายาม อันจะช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จและรู้จักพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เช่น พระพุทธศาสนาสอนให้คนเคารพในการศึกษา สรรเสริญความเจริญก้าวหน้า มีหลักคำสอน อิทธิบาท อันได้แก่  ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา มีคติเตือนใจ เช่น ความเพียรอยู่ในความสำเร็จอยู่ที่นั่น ศาสนาอิสลามสอนให้คนใฝ่หาความรู้ตั้งแต่เกิดจนตายและมีคำสอนว่า ผู้ใดมีความพยายาม ผู้นั้นจะได้รับผลสำเร็จ หรือคำสอนในศาสนาคริสต์ก็มีกล่าวไว้ว่า เราทั้งหลายภูมิใจความยากลำบาก เพราะรู้ว่าความยากลำบากนั้นทำให้เกิดความอดทนและความอดทนนั้นทำให้เกิดอุปนิสัยที่ดี เป็นต้น

                 5. ความยุติธรรม คำสอนทุกศาสนาเน้นเรื่องความยุติธรรม เพราะการที่สังคมจะอยู่ร่วมกันโดยสันติสุขนั้น จำเป็นต้องมีหลักแห่งความยุติธรรมเป็นแกนกลาง พระพุทธศาสนาสอนไม่ให้อยู่ภายใต้อคติ 4 ประการ คือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ศาสนาคริสต์มุ่งเน้นในการรักษาความยุติธรรมในสังคมว่า เจ้าทั้งหลายอย่าเห็นแก่หน้าผู้ใดในการพิพากษา จงฟังท่าน ผู้ใหญ่ ผู้น้อย เหมือนกัน เจ้าทั้งหลายอย่ากลัวผู้ใด เพราะการพิพากษานั้นเป็นการตัดสินของพระเจ้า หรือศาสนาอิสลามสอนให้คำรงความยุติธรรม แม้จะกระทบกระเทือนต่อตัวเจ้าของ ต่อมารดา บิดาหรือญาติ ไม่ว่าเขาจะเป็นคนมีหรือคนจน และอย่าถือตามอารมณ์ใคร่ในการรักษาความยุติธรรม เป็นต้น

                เมื่อศาสนิกชนทุกคนยึดมั่นในหลักธรรมในศาสนาแล้ว ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็จะแก้ไขได้ ปัญหาต่างๆ จะลดน้อยลงและไม่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขัดแย้งจนลุกลามเป็นสงครามหรือข้อพิพาทระหว่างสังคม ไม่เกิดการเอาเปรียบในสังคม ไม่เกิดการทำร้ายร่างกายจิตใจซึ่งกันและกัน ไม่มีปัญหาการทำลายสภาพแวดล้อมหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ จนทำให้สังคมที่ตนอยู่อ่อนแอลง