การใช้คำสุภาพมีผลดีอย่างไร

และถ้าจะเอางานวิจัยมาหนุนอีก มันก็มีงานวิจัยออกมาชัดเจนว่าคนที่บ่นด้วยคำหยาบบ้างในชีวิตการทำงานนั้นจะถูกมองว่าเป็นคนที่จริงใจต่อผู้อื่นและงานตัวเอง มากกว่าคนที่จะไม่ใช้คำหยาบใดๆ เลย ซึ่งประเด็นนี้น่าจะเข้าใจได้ไม่ยากนัก

ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องไม่ลืมเช่นกันก็คือ การใช้คำหยาบนั้น มันก็ต้องถูกที่ถูกเวลา เช่นการสบถว่าเหี้ย’ ตอนที่เกิดอุบัติเหตุจนงานพังเละเทะ นั้นก็ดูจะเป็นการบรรยายความรู้สึกร่วมของทีมได้ดี แต่นั่นก็ต่างจากการไปด่าเพื่อนร่วมงานหรือกระทั่งเจ้านายว่าเหี้ย’ ในขณะประชุม

ดังนั้นโดยสรุป ไกด์ไลน์ทั่วไป เราก็ยังต้องสุภาพไว้ก่อนน่ะแหละ ประเด็นคือ การพูดคำหยาบบ้างตามความเหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์’ ก็เป็นสิ่งที่ดีเช่นกัน ไม่ใช่ห้ามใช้โดยสิ้นเชิงเลย

แต่ที่น่าจะสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดก็คือการหมั่นสังเกตปฏิกิริยาและความรู้สึกของผู้อื่น ว่าพูดออกไปแล้วมันเป็นอย่างไร ทำให้สถานการณ์ผ่อนคลายขึ้นหรือตึงเครียดขึ้น

เพราะการสังเกตปฏิกิริยาผู้อื่นและปรับการสื่อสารอย่างเหมาะสม น่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการสื่อสารใดๆ กับเพื่อนร่วมงาน

มนุษย์จำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึกให้ผู้อื่นรับรู้ ทักษะหนึ่งที่ใช้ในการสื่อสาร คือ การพูด ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต และสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน จึงจำเป็นต้องอาศัยจรรยามารยาท และคุณธรรมในการพูด การพูดโดยมีจรรยามารยาทและคุณธรรมในการพูด จึงเป็นการจรรโลงสังคมได้อีกทางหนึ่ง         มารยาทในการพูด หมายถึง ผู้พูดที่มีกิริยาวาจาเรียบร้อย ท่าทางสง่างาม อ่อนโยนสุภาพ หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ไมใช้ท่าทางประกอบคำพูดให้มากจนเกินไป ย่อมช่วยเสริมสร้างให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือเลื่อมใสผู้พูดได้เป็นอันมาก  การฝึกฝนให้มีมารยาทในการพูดที่พึงปฏิบัติมีดังต่อไปนี้           ๑ ) ต้องรู้จักกล่าวคำทักทาย เมื่อมีผู้แนะนำให้ขึ้นไปพูด ควรลุกขึ้นอย่างกระฉับกระเฉงแต่เรียบร้อย เดินไปยังที่พูด หยุดเว้นระยะเล็กน้อย แล้วจึงกล่าวคำทักทายหรือคำปฏิสันถารที่เหมาะสม          ๒ ) ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี ผู้พูดที่ดีต้องเป็นคู่สนทนาที่ดี ให้เกียรติและรับฟังผู้อื่นด้วย กรณีพูดในที่ประชุมเมื่อมีเสียงปรบมือหรือเสียงหัวเราะขณะพูดควรหยุดพูดชั่วคราว รอให้เสียงนั้นเบาลงหรือหยุดจึงค่อยพูดต่อไป ถ้าเป็นระหว่างการสนทนาควรหยุดพูดตามความเหมาะสม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้สนทนาบ้าง เมื่อพูดจบแล้วหยุดเว้นระยะเล็กน้อย ก้มศีรษะให้แก่ผู้ฟังแล้วกลับไปยังที่นั่ง          ๓ ) ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์และน้ำเสียง เมื่อมีผู้ฟังบางคนโห่ร้องหรือล้อเลียนระหว่างพูด อาจทำให้อารมณ์เสียได้ ผู้พูดต้องใจเย็นและควบคุมน้ำเสียงตลอดจนกิริยาวาจาของตนไว้ให้สุภาพเรียบร้อยอยู่เสมอ ทั้งต้องไม่พูดดัดเสียงให้ผิดปกติไปจากน้ำเสียงที่เคยพูดตามปกติในชีวิตประจำวัน         ๔ ) ต้องไม่พูดจาดูถูกหรือข่มขู่ผู้ฟัง เมื่อพูดต่อหน้าที่ประชุมไม่ควรพูดอวดตนหรืออวดภูมิ รวมทั้งไม่ควรใช้กิริยาวาจาเชิงดูถูก ก้าวร้าว หรือข่มขู่ผู้ฟังแต่อย่างใด         ๕ ) ต้องรู้จักใช้คำสุภาพ เมื่อมีความคิดเห็นไม่ตรงกับผู้อื่นระหว่างการสนทนา ไม่ควรพูดจาหยาบคาย รุนแรง แต่ควรรู้จักกล่าวคำขอบคุณ ขอโทษ หรือเสียใจในโอกาสอันเหมาะสม

วาจาอันใดที่ไพเราะอ่อนหวานไม่รำคาญแก่โสต เป็นประโยชน์ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า วาจานั้นชื่อว่า วาจาสุภาษิต

วาจาสุภาษิตประกอบด้วยองค์ 5 ประการ และเว้นจากองค์ 4 ประการ ที่ว่าประกอบด้วยองค์ 5 ประการ คือ

องค์ประกอบของวาจาสุภาษิต

๑. ต้องเป็นคำจริง ไม่ใช่คำพูดที่ปั้นแต่งขึ้น เป็นคำพูดที่ไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่บิดเบือนจากความจริง ไม่เสริมความ ไม่อำความ ต้องเป็นเรื่องจริง ๒. ต้องเป็นคำสุภาพ เป็นคำพูดไพเราะ ที่กลั่นออกมาจากน้ำใจที่ บริสุทธิ์ ไม่เป็นคำหยาบ คำด่า คำประชดประชัน คำเสียดสี คำหยาบนั้นฟังก็ ระคายหู แค่คิดถึงก็ระคายใจ

๓. พูดแล้วก่อให้เกิดประโยชน์ เกิดผลดีทั้งแก่คนพูดและคนฟัง ถึงแม้คำพูดนั้นจะจริงและเป็นคำสุภาพ แต่ถ้าพูดแล้วไม่เกิดประโยชน์อะไร กลับจะทำให้เกิดโทษ ก็ไม่ควรพูด

๔. พูดด้วยจิตเมตตา พูดด้วยความปรารถนาดี อยากให้คนฟังมี ความสุข มีความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ในข้อนี้หมายถึงว่า แม้จะพูดจริง เป็นคำ สุภาพ พูดแล้วเกิดประโยชน์ แต่ถ้าจิตยังคิดโกรธมีความริษยาก็ยังไม่สมควรพูด เพราะผู้ฟังอาจรับไม่ได้ ถ้วยคำที่กล่าวด้วยจิตขุนมัว แม้เพียงประโยคเดียวอาจก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงอย่างไม่อาจประมาณได้

๕. พูดถูกกาลเทศะ แม้ใช้คำพูดที่ดี เป็นคำจริง เป็นคำสุภาพ เป็นคำพูดที่มีประโยชน์ และพูดด้วยจิตที่เมตตา แต่ถ้าผิดจังหวะ ไม่ถูกกาลเทศะ ผู้ฟังยังไม่พร้อมที่จะรับแล้ว จะก่อให้เกิดผลเสียได้ เช่น จะกลายเป็นประจานหรือจับผิดกันไป

- พูดถูกเวลา (กาล) คือรู้ว่าเวลาไหนควรพูด เวลาไหนยังไม่ควรพูด ควรพูดนานเท่าไร ต้องคาดผลที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย

- พูดถูกสถานที่ (เทศะ) คือรู้ว่าในสถานที่เช่นไร เหตุการณ์แวดล้อม เช่นไรจึงสมควรที่จะพูด หากพูดออกไปแล้วจะมีผลดีหรือผลเสียอย่างไร

เช่น มีความหวังดีอยากเตือนเพื่อนไม่ให้ดื่มเหล้า แต่ไปเตือนขณะเพื่อนกำลังเมาอยู่ในหมู่เพื่อนฝูงทำให้เขาเสียหน้า อย่างนี้นอกจากเขาจะไม่ฟังแล้ว เราเองอาจเจ็บตัวได้

“คนฉลาดไม่ใช่เป็นแต่พูดเท่านั้น ต้องนิ่งเป็นด้วย

คนที่พูดเป็นนั้น ต้องรู้ในสิ่งที่ไม่ควรพูดให้ยิ่งกว่าสิ่งที่ควรพูด”

สำหรับคำที่ว่าวาจาสุภาษิตนั้นเว้นจากองค์ 4 ก็คือ

1. มุสาวาท คือการกล่าวคำเท็จ หลอกลวง ล่อลวง ด้วยเรื่องไม่จริง ทำให้ผู้ฟังต้องเสียหายจากประโยชน์ต่าง ๆ

2. ปิสุณาวาท หรือ เปสุญญวาท คือการกล่าวถ้อยคำส่อเสียดยุยงให้คนแตกกัน ให้คนทะเลาะกัน ให้คนผิดใจกัน ให้คนแตกความสามัคคีกัน ให้คนกลายจากมิตรเป็นศัตรูซึ่งกันและกัน