ลักษณะของภาษีอากรที่ดีมีอะไรบ้าง

การเก็บภาษีอากร นอกจากมีวัตถุประสงค์ในการหารายได้เพื่อให้พอกับค่าใช้จ่ายของรัฐบาลแล้ว ในปัจจุบันภาษีอากรยังเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการกระจายรายได้ ส่งเสริมความเจริญเติบโตธุรกิจการค้า รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ช่วยควบคุมการบริโภคของประชาชน หรือเพื่อสนองนโยบายบางประการของรัฐบาล (เช่น การศึกษา การสวัสดิการสังคม นโยบายประชากร) ด้วย

ลักษณะของภาษีอากรที่ดีมีอะไรบ้าง

รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับมักมีบัญญัติให้ประชาชนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมายบัญญัติในการบัญญัติ กฎหมายภาษีอากรที่ดีนั้น มีหลักการบ่งประการที่ควรคำนึงถึง เพื่อประชาชนมีความสมัครใจในการเสียภาษีอากร และให้กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษีอากรที่ดีมีลักษณะดังนี้
- มีความเป็นธรรม ประชาชนควรมีหน้าที่เสียภาษีอากรให้แก่รัฐบาล โดยพิจารณาถึงความสามารถในการเสียภาษีอากรของประชาชนแต่ละคน ประกอบกับการพิจารณาถึงผลประโยชน์ที่ประชาชนแต่ละคนได้รับเนื่องจากการดูแลคุ้มครองของรัฐบาล
- มีความแน่นอนและชัดเจน ประชาชนสามารถเข้าใจความหมายได้โดยง่าย และเป็นการป้องกัน มิให้เจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
- มีความสะดวก วิธีการกำหนดเวลาในการเสียภาษีอากรควรต้องคำนึงถึง ความสะดวกของผู้เสียภาษีอากร
- มีประสิทธิภาพ ประหยัดรายจ่ายผู้จัดเก็บและผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรทำให้จัดเก็บภาษีอากรได้มากโดยมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บน้อยที่สุด
- มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ พยายามไม่ให้การเก็บภาษีอากรมีผลกระทบ ต่อการทำงานของกลไกตลาด หรือมีผลกระทบน้อยที่สุด
- มีความยืดหยุ่น สามารถปรับปรุงเพิ่มหรือลดจำนวนภาษีอากรให้เหมาะกันสถานการณ์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

ลักษณะของภาษีอากรที่ดีมีอะไรบ้าง

การจำแนกประเภทภาษีอากร โดยพิจารณาจากลักษณะการรับภาระภาษีอากรนี้ แบ่งภาษีอากรออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทที่หนึ่ง
- ภาษีทางตรง ได้แก่ ภาษีที่ชำระภาษีตกแก่บุคคลที่กฎหมายประสงค์จะให้รับภาระ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งผู้เสียภาษีผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ยาก เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ประเภทที่สอง ภาษีทางอ้อม ได้แก่ ภาษีภาระภาษีไม่แน่ว่าจะตกแก่บุคคลที่กฎหมายประสงค์จะให้รับภาระหรือไม่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ผู้เสียภาษีผลักภาระไปให้ผู้อื่นได้ง่าย เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต

ลักษณะของภาษีอากรที่ดีมีอะไรบ้าง

   https://www.gotoknow.org/posts/300089

ลักษณะของภาษีอากรที่ดีมีอะไรบ้าง

จากประสบการณ์โดยตรงของผู้เขียน พบว่าบุคคลส่วนมากมักจะมีคำกล่าวว่า ระบบภาษีอากรของประเทศไทยนั้น ไม่มีความยุติธรรมและความเป็นธรรมเท่าไรนัก ถึงแม้ว่าคำกล่าวนี้ถึงจะดูมีเหตุผลบ้างในบางครั้งบางคราวก็ตาม แต่ผู้เขียนก็มักจะย้ำกับบุคคลเหล่านั้นเสมอว่า หน้าที่ของการเสียภาษีได้มีการบัญญัติลงในรัฐธรรมนูญ ซึ่งแปลว่าประชาชนทุกคนมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนได้พยายามศึกษาแนวคิตของหลักการกฎหมายภาษีอากรที่ดีนั้น ว่าควรจะประกอบด้วยหลักการอะไรบ้าง เพื่อให้เกิดความสมัครใจในการเสียภาษีของประชาชน และยังสามารถใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  โดยสามารถอ้างอิงจากลักษณะของภาษีอากรที่ดีของ Adam Smith นักเศรษฐศาสตร์ผู้มีชื่อเสียง และแม้ว่าเวลาจะล่วงเลยมานานแต่ก็เป็นที่ยอมรับกันมาจนถึงปัจจุบันว่า หลักการจัดเก็บภาษีอากรที่ดีนั้นจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1. หลักความเป็นธรรม ต้องให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษีและมีวิธีการที่เป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี ซึ่งมีอยู่ 2 หลัก คือ

– หลักความสามารถในการเสียภาษีอากรของประชาชน (Ability to pay) โดยจะต้องยึดหลักว่าผู้ที่มีรายได้มากควรจะต้องเสียภาษีมาก คนมีรายได้น้อยควรเสียภาษีน้อยตามกำลังความสามารถในการชำระภาษีของแต่ละคน ซึ่งหลักการนี้ทำให้เราต้องเสียภาษีใน อัตราก้าวหน้า นั่นเอง
– หลักผลประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ ซึ่งผลประโยชน์ที่ประชาชนแต่ละคนได้รับก็จะมาจากการดูแลคุ้มครองของรัฐบาล หลักนี้นำไปสู่อัตราที่เรียกว่า อัตราคงที่ เพราะทุกคนได้รับเท่ากัน เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (อัตราเท่ากัน) เพราะจ่ายภาษีในอัตราที่เท่ากันไม่ว่าจะจ่ายมากหรือน้อย

2. หลักความแน่นอนและชัดเจน ประชาชนผู้ต้องเสียภาษีต้องสามารถเข้าใจได้โดยง่ายเกี่ยวกับวิธีการทางภาษีที่ใช้เก็บ ต้องมีความชัดเจนทั้งทางกฎหมายและแนวปฏิบัติ นอกจากนั้นต้องป้องกันมิให้เจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบอีกด้วย

3. หลักความสะดวก วิธีการและกำหนดเวลาในการเสียภาษีอากรควรต้องคำนึงถึงความสะดวกของผู้เสียภาษีอากร เช่น ควรกำหนดช่วงเวลาในการชำระภาษีให้นานพอสมควร รวมถึงวิธีการชำระที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เพื่อมิให้ผู้เสียภาษีเกิดความเบื่อหน่ายจนพาดจะไม่ชำระเอาง่ายๆ หรือสามารถผ่อนชำระได้ ซึ่งในปัจจุบันเราจะเห็นว่า ผู้เสียภาษีสามารถจ่ายได้หลายทาง โดยสามารถจ่ายภาษีได้หลายทาง เช่น ATM ไปรษณีย์ หรือแม้กระทั่งผ่าน Internet

4. มีประสิทธิภาพ รัฐต้องสามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้จัดเก็บภาษีอากรได้มาก โดยมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บน้อยที่สุด ตัวอย่างเช่น การถือหลักจัดเก็บในอัตราต่ำแต่เก็บได้มากและทั่วถึง ดีกว่าที่จะเก็บในอัตราสูงแต่เก็บได้น้อย เนื่องจากเก็บแต่เฉพาะคนที่มีรายได้มาก นอกจากนั้นแล้วยังควรสร้างความเป็นกลางทางภาษี ไม่ว่าจะเป็น ความเท่าเทียมกันในโอกาสและความเป็นธรรมในการจัดเก็บ

Adam Smith นักเศรษฐศาสตร์ผู้มีชื่อเสียง ชาวอังกฤษ ซึ่งถือเป็นบิดาแห่งการภาษีอากรได้
กล่าวไว้ในหนังสือ The Wealth of Nation เมื่อปี ค.ศ. 1776 ว่าหลักการจัดเก็บภาษีอากรที่ดีนั้นจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 4 ประการ หรือที่เรียกว่า Adam Smith’s Canons ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
          1. ต้องให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี โดยจะต้องยึดหลักว่าผู้ที่มีรายได้มากควร จะต้องเสียภาษีมาก คนมีรายได้น้อยควรเสียภาษีน้อยตามกำลังความสามารถในการชำระภาษี(Ability to Pay) ของแต่ละคน
          2. ต้องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บให้รัดกุมและแน่นอน เช่น ผู้เสียภาษีจะต้อง ชำระภาษีเมื่อใด ที่ไหน ถ้าผู้ใดละเลย หลีกเลี่ยง หรือล่าช้า จะต้องได้รับโทษอย่างไร เป็นต้น
         3. ต้องอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษีมากที่สุด เช่น ควรกำหนดช่วงเวลาในการชำระ ภาษีให้นานพอสมควร เพื่อให้โอกาสแก่ผู้เสียภาษี และควรใช้วิธีการที่ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน เพื่อมิ ให้ผู้เสียภาษีเกิดความเบื่อหน่าย หรือให้ผ่อนชำระได้ในกรณีที่ต้องเสียภาษีเป็นจำนวนมาก เป็นต้น
         4. ต้องถือหลักจัดเก็บในอัตราต่ำแต่เก็บได้มากและทั่วถึง ดีกว่าที่จะเก็บในอัตราสูงแต่เก็บได้น้อยเนื่องจากเก็บแต่เฉพาะคนที่มีรายได้มาก อีกประการหนึ่งก็คือ การเรียกเก็บภาษีในอัตราสูง ย่อมเป็นการยั่วยุให้ผู้เสียภาษีเกิดความรู้สึกเสียดายเงินและพยายามหลีกเลี่ยงภาษี 

                 โดยสรุปแล้วการจัดเก็บภาษีอากรที่ดีต้องอาศัยหลักการต่อไปนี้

        1. หลักความยุติธรรม
การเสียภาษีอากรควรคำนึงถึงความสามารถหรือรายได้ของผู้ประกอบการและประชาชนผู้เสียภาษีเป็นหลักเช่น คนที่มีรายได้มากก็เสียภาษีมากคนที่มีรายได้น้อยก็อาจเสียภาษีน้อยหรือไม่เก็บเลย คนที่มีรายได้เท่าเทียมกัน ก็ควรเสียเท่ากัน
        2. หลักความแน่นอน
เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่การเก็บภาษีจะต้องมีความแน่นอน เพราะผู้ประกอบการและประชาชนผู้เสียภาษีจะได้ใช้ในการวางแผนเกี่ยวกับภาษีของตนเอง ความแน่นอนนั้นต้องแน่นอนในเรื่องดังต่อไปนี้
      2.1     เวลาที่ต้องเสียภาษี หมายความว่าการเสียภาษีอากรจะต้องมีกำหนดเวลาที่
แน่นอนว่าต้องชำระเมื่อไร เช่น ต้องยื่นแบบแสดงรายการค้าภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายให้นำส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอหรือเขตท้องที่ภายใน 7 วันนับตั้งแต่วันสิ้นเดือน เป็นต้น
      2.2     วิธีการเสียภาษี ควรกำหนดให้ผู้เสียภาษีทราบว่าได้เงินประเภทใด เสียภาษีอย่างไร
      2.3     จำนวนภาษี ควรกำหนดอัตราภาษีที่จะต้องเสียให้แน่นอน เงินรายได้เท่าใดอยู่ใน เกณฑ์จะต้องเสียภาษีเงินได้ หรืออยู่เกณฑ์จะต้องเสียในอัตราเท่าใด หรือจะต้องเสียอย่างน้อยอย่างมากเป็นจำนวนเท่าใด
        3.     หลักความสะดวก ภาษีทุกชนิดควรให้ความสะดวกแก่ผู้เสียภาษี ทั้งวิธีการ เวลา และสถานที่ที่ต้องเสียภาษีเช่น สามารถยื่นแบบรายการผ่านอินเตอร์เนต สามารถชำระภาษีได้ผ่านที่ทำการไปรษณีย์ ธนาคาร หรือร้านสะดวกซื้อเป็นต้น
        4.     หลักความประหยัดและมีประสิทธิภาพ
ภาษีอากรที่ดีต้องพิจารณาค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีให้น้อยที่สุดโดยพิจารณาทั้งผู้จัดเก็บภาษีและผู้เสียภาษี
        5.     หลักการอำนวยรายได้  (Productivity)  การเก็บภาษีอากรจากประชาชนควรเก็บเฉพาะประเภทที่สามารถทำรายได้ได้ดีไม่ควรจัดเก็บภาษีหลายประเภทมากเกินไป  การที่ภาษีอากรจะผลิตรายได้ให้มากน้อยเพียงใด นอกจากอัตราภาษีแล้วยังขึ้นอยู่กับเงื่อนไข 2 ประการคือ

         1.ลักษณะของฐานภาษี   ได้แก่
               ฐานกว้าง  คือภาษีอากรที่จัดเก็บครอบคลุมถึงผู้เสียภาษีอากรจำนวนมากหรือมีกิจการที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีจำนวนมาก ย่อมสามารถจัดเก็บได้มากกว่าภาษีอากรที่มีฐานแคบ
            2.ขนาดของฐานภาษี    ได้แก่การที่เก็บภาษีจากฐานที่มีขนาดใหญ่คือเก็บได้เป็นจำนวนมากจากผู้เสียภาษีแต่ละราย แม้ผู้เสียภาษีดังกล่าวจะมีจำนวนน้อย ก็สามารถเก็บภาษีได้มาก
        6.     หลักความยึดหยุ่น  การเก็บภาษีอากรควรมีความยึดหยุ่นตามสภาพภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่เปลี่ยนไป เช่นเมื่อเศรษฐกิจของประเทศดีประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นรัฐอาจเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เป็น 10% เป็นต้น
        7.     หลักการยอมรับของประชาชน  การเก็บภาษีอากรที่ดีนั้น ประชาชนจะยอมรับและยินดีที่จะได้เสียภาษีมากกว่าการหลีกเลี่ยง
        8.     หลักการบริหารที่ดี   วิธีการในการจัดเก็บภาษีอากรนั้น ควรจัดเก็บอย่างมีหลักเกณฑ์ที่รัดกุม มีประสิทธิภาพในการจัดเก็บ และสามารถควบคุมการหลีกเลี่ยงภาษีอากรได้อย่างดี

ลักษณะของ ภาษี อากร มี อะไร บาง

ภาษีอากร คือ เงินที่รัฐจัดเก็บจากบุคคล เพื่อนาไปใช้จ่ายในการบริหารประเทศเป็นรายได้ที่สาคัญ ที่สุดของรัฐ ภาษีอากรที่รัฐจัดเก็บมีทั้งภาษีทางตรง และภาษีทางอ้อม แยกออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. ภาษีเงินได้และภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีที่เก็บจากเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้นิติบุคคล ภาษี การค้า และอากรแสตมป์ 2. ภาษีสรรพสามิต เป็น ...

ข้อใดคือหลักความแน่นอนในเรื่องลักษณะของภาษีที่ดี

2. หลักความแน่นอน (Certainty) ภาษีที่ประชาชนแต่ละคนจะต้องเสียนั้น จะต้องมีความแน่นอนและชัดเจน ลักษณะและรูปแบบของภาษีตลอดจนจำนวนภาษี ลักษณะและรูปแบบของภาษีตลอดจนจำนวนภาษี อัตราภาษี ฐานภาษี เวลา หรือสถานที่ชำระภาษี และหรือการกำหนดตัวผู้มีหน้าที่เสียภาษี จะต้องชัดแจ้งแก่ผู้เสียภาษีทุกคน

ลักษณะภาษีอากรที่ดีตามหลักของ อดัม สมิทธ (Adam Smith) ได้แก่ข้อใด

ภาษีที่แต่ละคนต้องจ่ายพึงมีความแน่นอน ไม่ใช่กำหนดตามอำเภอใจ กำหนดเวลาชำระ วิธีชำระ และจำนวนที่ต้องชำระพึงมีความชัดเจน เข้าใจง่ายสำหรับผู้ชำระและทุกราย พึงเก็บภาษีทุกชนิดในเวลาหรือโดยวิธีที่น่าจะสะดวกที่สุดสำหรับผู้จ่าย

ลักษณะในการจัดเก็บภาษีที่ดีของอดัม สมิธ คืออะไร

จากหนังสือเรื่อง The Wealth of Nation (1776) ของ Adam Smith ได้อธิบายหลักการภาษีอากรที่ดีไว้ 4. ประการ คือ 1) ความเป็นธรรม (equity) Fuente. 2) ความแน่นอน (certainty) 3) ความสะดวก (convenience of payment) 4) ความประหยัด (economy of collection) สำหรับแนวคิดสมัยใหม่ของการปฏิรูปภาษีอากร ซึ่งนักวิชาการนำมาใช้กับประเทศต่างๆ