ลักษณะของวัฒนธรรมที่ทำให้องค์การเกิดประสิทธิผลเป็นอย่างไร

วัฒนธรรมองค์กรหมายถึงอะไร? มีลักษณะสำคัญอย่างไร?

ความหมายของ “วัฒนธรรมองค์กร”

วัฒนธรรมองค์กร หรือวัฒนธรรมบริษัท (อังกฤษ: Organizational culture หรือบางท่านเรียกว่า Corporate culture) เป็นวิถีชีวิตการทำงาน ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาของกลุ่มคนภายในองค์กร จนกลายเป็นความเคยชิน กลายเป็นนิสัย กลายเป็นขนบธรรมเนียมประเพณี กลายเป็นวิธีปฏิบัติ กลายเป็นความเชื่อ กลายเป็นค่านิยม โดยแต่ละองค์กรจะมีวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างกันออกไป โดยที่วัฒนธรรมองค์กรจะเป็นตัวชี้นำให้เกิดพฤติกรรมของบุคลากรภายในองค์กร ระบบและระเบียบในการอยู่ร่วมกัน อันจะส่งผลโดยตรงต่อการบรรลุเป้าหมายสูงสุดขององค์กร

จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ได้มีผู้รู้หลายท่าน ได้กรุณาให้ความหมายของวัฒนธรรมองค์กร เอาไว้มากมาย ดังนี้

วิรัช สงวนวงศ์วาน (2547): กล่าวว่า วัฒนธรรมองค์การ คือค่านิยม และความเชื่อ ที่มีร่วมกันอย่างเป็นระบบ ที่เกิดขึ้นในองค์กร และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดพฤติกรรมของคนในองค์กรนั้น วัฒนธรรมองค์การ จึงเป็นเสมือน “บุคลิกภาพ” หรือ “จิตวิญญาณ” ขององค์กร

สุนทร วงศ์ไวศยวรรณ (2540): กล่าวว่า วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง สิ่งต่างๆ อันประกอบด้วย สิ่งประดิษฐ์ แบบแผนพฤติกรรม บรรทัดฐาน ความเชื่อ ค่านิยม อุดมการณ์ ความเข้าใจ และข้อสมมุติพื้นฐาน ของคนจำนวนหนึ่ง หรือส่วนใหญ่ ภายในองค์กร

ขจิตรพร คมขำ (2554): วัฒนธรรมองค์กร เป็นระบบของการมีส่วนร่วมที่เกิดจากการกระทำค่านิยมและความเชื่อ ของสมาขิกในองค์กร รวมถึงพฤติกรรมที่มีการปฏิบัติกันอย่างสม่ำเสมอ เป็นบรรทัดฐานของกลุ่มที่คาดหวัง หรือสนับสนุนให้สมาชิกปฏิบัติตาม และเป็นสิ่งที่ทำให้องค์กรหนึ่ง แตกต่างจากองค์กรอื่นๆ

โยษิตา กฤตพรพินิต (2557): วัฒนธรรมองค์กร เป็นความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ปทัสถาน ความคาดหวังที่องค์กรกำหนดขึ้นมา เพื่อใช้เป็นแบบแผนสำหรับปฏิบัติร่วมกันในองค์กร โดยแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมสำหรับตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมขององค์กร ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้องค์กรสามารถอยู่รอด หรือประสบผลสำเร็จ ซึ่งวัฒนธรรมองค์กรมีลักษณะเป็นรูปธรรม สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน และนามธรรมที่ฝังลึก แล้วแสดงเป็นพฤติกรรมโดยไม่รู้ตัว วัฒนธรรมองค์กรสามารถ่ายทอดไปยังบุคคลรุ่นต่อๆ ไปในองค์กรได้ มีความมั่นคงยาวนาน แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

วิไลวรรณ บ้านกรด (2558): วัฒนธรรมองค์กร เป็นวิธีชีวิต เป็นแนวทางในการดำเนินปฏิบัติชีวิตในองค์กร ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากกลุ่มคนภายในองค์กรที่ได้ปฏิบัติมา อาจเกิดจากพฤติกรรมของคนเพียงบางกลุ่ม จนแปลงเปลี่ยนเป็นความเคยชิน จากความเคยชินนั้น จึงนำมาปฏิบัติจนติดเป็นนิสัย และเป็นประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม ที่สืบต่อกันมา โดยแต่ละองค์กร จะมีวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างกันไป โดยวัฒนธรรมองค์กร จะเป็นตัวที่กำหนด หรือทำให้บุคลากรภายในองค์กรณ์ สามารถอยู่ร่วมกัน ปฏิบัติงานร่วมกัน ได้อย่างมีระบบระเบียบ

กาญจนาพร พันธ์เทศ (2560): วัฒนธรรมองค์กร เป็นค่านิยม ความเชื่อที่ดีงาม ของบุคคลในองค์กร ที่ได้เรียนรู้ และปฏิบัติตาม จนเกิดเป็นพฤติกรรมขององค์กร ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร และส่งผลให้พนักงานปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ธนภรณ์ รุ่งวิไลเจริญ (2560): วัฒนธรรมองค์กร เป็นค่านิยม ความเชื่อ ความเข้าใจ พฤติกรรม ของสมาชิกภายในองค์กร ที่ยึดถือปฏิบัติร่วมกัน และมีการถ่ายทอดสู่สมาชิกใหม่ขององค์กร

(Moorherad & Griffin 1995): วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง การแสดงให้เห็นถึงค่านิยม ความรู้ ความคิด ศีลธรรม ประเพณี เทคโนโลยี ตลอดจนสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ความเชื่อและศรัทธาร่วมกันของบรรดาสมาชิกภายในองค์กรนั้นๆ และทั้งแสดงให้เห็นถึงสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ปรัชญา ตำนาน นิยาย เรื่องราว และภาษาพิเศษ ฯลฯ

Hoy and Miskel (2001 อ้างถึงใน ภัคพร เจริญลักษณ์ 2561): วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง วัฒนธรรมองค์กรเป็นกระบวนการปรับตัวของบุคลากรในองค์กร ที่มีการปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน ส่งผลให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ขององค์กร ที่มีความโดดเด่น

Cameron and Quinn Hoy and Miskel (2001 อ้างถึงใน ภัคพร เจริญลักษณ์ 2561): วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงคุณค่า รูปแบบการบริหารองค์กร การสื่อสาร สัญลักษณ์ กฎระเบียบ แนวทางการปฏิบัติงาน และความสำเร็จด้านต่างๆ ที่สร้างเอกลักษณ์ให้กับองค์กรมีความโดดเด่นแตกต่างจากองค์กรอื่น

Cummings & Worley (2009 อ้างถึงใน ปิยะ ละมูลมอญ 2556): วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง แบบแผนของสิ่งประดิษฐ์ บรรทัดฐาน ค่านิยม และข้อสมมุติพื้นฐานเกี่ยวกับการแก้ปัญหา ที่ใช้การได้ดีเพียงพอที่จะนำมาสอนให้แก่ผู้อื่น วัฒนธรรม เป็นกระบวนการเรียนรู้ทางสังคม ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่มาจากทางเลือก และประสบการณ์ จากการใช้กลยุทธ์ และการออกแบบองค์กร

ลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมองค์กร

Segiovanni (1988 อ้างถึงใน ภัคพร เจริญลักษณ์ 2561): กล่าวว่า ในทุกๆ องค์กร ย่อมมีหลักประพฤติปฏิบัติที่พึงสังเกตได้ ซึ่งกำหนดขึ้นโดยกฎเกณฑ์ของการอยู่ร่วมกัน จนกลายเป็นบรรทัดฐาน ที่บ่งชี้ว่า พฤติกรรมใดเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ และยอมรับได้ สิ่งใดเป็นสิ่งที่พึงประสงค์ และบรรทัดฐานของการแสดงออกซึ่งค่านิยม ความเชื่อในกลุ่มของผู้ร่วมงาน

Alvesson (2000 อ้างถึงใน ภัคพร เจริญลักษณ์ 2561): กล่าวว่า วัฒนธรรมองค์กร มีลักษณะที่สำคัญดังนี้

1. เป็นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้อย่างสม่ำเสมอ (Observed behavioral regularities) เช่น การใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสาร พิธีการต่างๆ และรูปแบบของพฤติกรรม ที่บุคคลในองค์กรยอมรับ

2. มีบรรทัดฐาน (Norms) ซึ่งยึดถือเป็นมาตรฐานของพฤติกรรม และแนวทางในการปฏิบัติงานร่วมกัน ว่าสิ่งใดจะต้องทำมากน้อยแค่ไหน ในการปฏิบัติงาน

3. ค่านิยมที่มีลักษณะเด่น (Dominant values) เป็นค่านิยมที่บุคคลในองค์กรยอมรับ ให้การสนับสนุน และคาดหวังในการปฏิบัติงานร่วมกัน

4. มีปรัชญาขององค์กร (Philosophy) เป็นความเชื่อขององค์กร เกี่ยวกับการปฏิบัติ และการให้บริการ

5. มีกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ เป็นระเบียบแบบแผน เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติงาน ซึ่งสมาชิกจะต้องเรียนรู้ เพื่อประสิทธิภาพของกลุ่ม

6. มีบรรยากาศองค์กร (Organizational climate) เป็นสิ่งที่สมาชิกขององค์กร กำหนดขึ้นจากการปฏิสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร และนอกองค์กรด้วย

Robbins (1994): ได้กล่าวว่า วัฒนธรรมองค์กร เป็นสิ่งที่พนักงานในองค์กรยึดถือ ซึ่งจะแสดงให้เห็นได้จากคุณลักษณะสำคัญ 10 ประการ

1. การริเริ่มส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับของความรับผิดชอบ อิสรภาพทางความคิดของแต่ละคน และมีโอกาสในการแสดงความคิดสร้างสรรค์

2. การยอมรับในเรื่องความเสี่ยง ได้แก่ ระดับที่พนักงานสามารถอดทนต่อความไม่แน่นอน และการเปลี่ยนแปลงได้ กล้ายอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น รวมถึงการแสวงหาโอกาส และทดลองสิ่งใหม่ๆ พนักงานรู้สึกว่ามีการกระทำในสิ่งที่ท้าทายอย่างเหมาะสม

3. การกำหนดทิศทาง ได้แก่ ระดับที่องค์กรกำหนดวัตถุประสงค์ และความคาดหวัง ในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน

4. การร่วมมือ ได้แก่ ระดับที่หน่วยงานในองค์กร ได้รับการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการประสานงานและร่วมมือกัน

5. การสนับสนุนการจัดการ ได้แก่ ระดับที่ผู้จัดการ ได้ทำการติดต่อสื่อสารอย่างชัดเจน มีการให้การสนับสนุน และช่วยเหลือผู้ใต้บังคับบัญชา

6. การควบคุม ได้แก่ จำนวนกฎระเบียบ ปริมาณการควบคุมบังคับบัญชาโดยตรง ที่ใช้ในการดูแล และควบคุมพฤติกรรมของพนักงาน

7. เอกลักษณ์ ได้แก่ ระดับของสิ่งที่สมาชิกสร้างเป็นเอกลักษณ์ขององค์กร ในแบบส่วนรวม มากกว่าแบบของกลุ่ม หรือความชำนาญด้านวิชาชีพ

8. ระบบการให้รางวัล ได้แก่ ระดับของการกำหนดแนวทางการให้รางวัล เช่น การขึ้นเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง โดยจะอาศัยเกณฑ์ต่างๆ จากการปฏิบัติงาน หรือความอาวุโส เป็นต้น

9. ความอดทนต่อความขัดแย้ง ได้แก่ ระดับของการที่พนักงานได้รับจากการกระตุ้น จากสิ่งที่ปรากฏของความขัดแย้ง และการวิพากษ์วิจารณ์โดยตรง โดยผู้ปฏิบัติงาน มั่นใจว่าสามารถทนต่อความขัดแย้งหรือความแตกต่างกันได้

10. แบบของการสื่อสาร ได้แก่ ระดับของการสื่อสารในองค์กร ที่ถูกจำกัดโดยระดับของคำสั่งตามสายงาน อย่างเป็นทางการ รวมถึงประเภทของระบบการติดต่อสื่อสาร

Robbins & Coulter (1999 อ้างถึงใน ธนภรณ์ รุ่งวิไลเจริญฐ 2560): ได้ศึกษาและรวบรวมลักษณะต่างๆ ของวัฒนธรรมองค์กรไว้หลายประเภท ดังนี้

1. การส่งเสริมวัตกรรม และยอมรับความเสี่ยง คือการที่สมาชิกองค์กรได้รับการกระตุ้นให้สรรค์สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ กล้าเสี่ยงในการดำเนินการด้วยการกระตุ้นให้แสวงหาโอกาส ทดลองสิ่งใหม่ และยอมรับแนวคิดใหม่ๆ

2. การใส่ใจต่อรายละเอียด คือ ระดับความคาดหวังที่สมาชิกองค์กรแสดงออกซึ่งความถูกต้องแม่นยำในการวิเคราะห์ และวิธีการในการทำให้บรรลุผล

3. การมุ่งผลผลิต คือ ระดับที่การบริหารมุ่งการปฏิบัติผล เพื่อผลลัพธ์ หรือผลผลิต มากกว่าการใส่ใจต่อเทคนิค และวิธีการในการทำให้บรรลุผล

4. การให้ความสำคัญกับสมาชิก คือ ระดับการตัดสินใจในการการบริหาร ให้ความสนใจผลลัพธ์ที่จะกระทบต่อสมาชิกในองค์กร ผู้บริหารใส่ใจ และให้ความยุติธรรม เคารพในสิทธิส่วนบุคคล ให้การส่งเสริมสนับสนุน และไม่สร้างแรงกดดัน

5. การทำงานเป็นทีม คือ ระดับที่กิจกรรมต่างๆ ให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม มากกว่าการเน้นความสามารถของรายบุคคล มุ่งกระตุ้มความร่วมมือของสมาชิก

6. การมุ่งมั่นสู่ชัยชนะ คือ ระดับที่สมาชิกในองค์กรมุ่งมั่นแข่งขัน มากกว่าทำงานกันตามสบาย

ณัฐธิดา ชูเจริญพิพัฒน์ (2555): ได้กล่าวถึงวัฒนธรรมองค์กร มีองค์ประกอบอยู่ 7 ด้าน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

1. วัฒนธรรมที่เน้นรายละเอียด หมายถึง ระดับความคาดหวังที่มีต่อพนักงาน ในด้านการแสดงออกถึงความถูกต้องแม่นยำ การวิเคราะห์ ตลอดจนการเอาใจใส่รายละเอียดของงาน

2. วัฒนธรรมที่เน้นผลงาน หมายถึง ระดับของการที่องค์กรให้ความสำคัญต่อผลการปฏิบัติงาน มากกว่าการทำอย่างไรให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงาน

3. วัฒนธรรมที่เน้นบุคลากร หมายถึง ระดับของการนำเอาผลกระทบต่อพนักงานภายในองค์กร มาใช้ในการพิจารณาตัดสินใจในระดับการบริหาร

4. วัฒนธรรมที่เน้นการปฏิบัติงานเป็นทีม หมายถึง ระดับของการบริหารการจัดการในลักษณะการทำงานเป็นทีม มากกว่าการให้ความสำคัญในด้านบุคคล

5. วัฒนธรรมที่เน้นการแข่งขัน และการเอาชนะคู่แข่งขันทางธุรกิจ หมายถึง การที่องค์กรมีการดำเนินธุรกิจ และกิจกรรมทางธุรกิจที่มุ่งไปสู่การเอาชนะคู่แข่งขันทางธุรกิจอย่างเอาจริงเอาจัง ตลอดจนสร้างให้มีสภาพการแข่งขันในการปฏิบัติงานในองค์กร มากกว่าการทำงานแบบประสานความร่วมมือ

6. วัฒนธรรมที่เน้นความมั่นคง หมายถึง ระดับของการตัดสินใจ และวิถีปฏิบัติขององค์กร ที่ให้ความสำคัญต่อการรักษาสถานภาพขององค์กร

7. วัฒนธรรมที่เน้นนวัตกรรม และการยอมรับความเสี่ยง หมายถึง ระดับของการที่พนักงาน ได้รับการกระตุ้น และสนับสนุนให้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และการยอมรับความเสี่ยง

Deal และ Kennedy (1982): ได้เสนอว่า องค์กรที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง จะมีส่วนประกอบของวัฒนธรรมที่สำคัญคือ

1. มีค่านิยม ซึ่งสะท้อนวิสัยทัศน์ และความเชื่อขององค์กรที่ชัดเจน ดังเช่นที่ 3M มีความเชื่อในการมุ่งสร้างนวัตกรรม

2. มีวีรบุรุษ ซึ่งจะปรากฏอยู่ในเรื่องเล่าขององค์กร เช่น บิล เกตส์ จะเป็นวีรบุรุษที่สำคัญในการสร้างวัฒนธรรมการมุ่งคิดไปข้างหน้า ให้เกิดขึ้นแก่ไมโครซอฟท์

3. มีพิธีกรรมและพิธีการ เพื่อเป็นการเน้นย้ำค่านิยมองค์กร เช่น พิธีมอบรางวัลดีเด่นให้แก่พนักงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ แก่องค์กร

4. มีเครือข่ายของวัฒนธรรม ซึ่งจะเป็นวิธีการต่างๆ ในการสื่อสารวัฒนธรรมให้ถูกปลูกฝัง และเน้นย้ำวัฒนธรรมองค์กร แก่สมาชิกในองค์กรนั้นๆ เช่น การมีสมุดพก หรือบัตรวัฒนธรรมองค์กรติดตัวพนักงาน

Daniel R. Denison (1990): ได้ศึกษาปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร และประสิทธิผลขององค์กร พบว่า วัฒนธรรมองค์กรจะส่งผลต่อประสิทธิผลขององค์กรเป็นอย่างมาก เมื่อวัฒนธรรมนั้นก่อให้เกิด

1. การผูกพัน และการมีส่วนร่วมในองค์กร

2. การปรับตัว ที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอกองค์กร

3. การประพฤติปฏิบัติได้สม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้เกิดการทำงานที่ประสานกัน และสามารถคาดหมายพฤติกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้

4. มีวิสัยทัศน์ และภารกิจขององค์กรที่เหมาะสม ทำให้องค์กรมีกรอบและทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจน

ปัจจัยใดของวัฒนธรรมที่จะทำให้องค์การบรรลุประสิทธิผล?

3.6 ลักษณะของวัฒนธรรมที่ทำให้องค์การเกิดประสิทธิผล 3.7 วัฒนธรรมองค์การกับการบริหารองค์การ.
รู้จักสัมมาคารวะต่อผู้อื่น.
รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน.
มีความอุตสาหะ วิริยะ.
รู้จักทำงานเป็นระบบ.
รู้จักทำงานเป็นทีม.
มีความคิดสร้างสรรค์.
ยึดมั่นในคุณธรรม.
เป็นความเป็นเลิศ.

วัฒนธรรมองค์การที่เข้มแข็งมีลักษณะอย่างไร

หมายถึง วัฒนธรรมที่มีน้ำหนักมาก คนเห็นพ้องต้องกันและยอมรับมากจึงเปลี่ยนแปลงยาก วัฒนธรรมที่เข้มแข็งจะมีผลต่อการควบคุมพฤติกรรมได้มาก และทำให้สมาชิกขององค์การมีแรงยึดเหนี่ยวกันสูง มีความจงรักภักดีและผูกพันต่อองค์การมาก ในองค์การทางการทหารหรือในองค์การของชาวเกาหลีและญี่ปุ่น จะมีวัฒนธรรมองค์การที่มีน้ำหนักและมีความเข้มแข็ง ...

วัฒนธรรมองค์การมีลักษณะอย่างไร

วัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) คือ ค่านิยมร่วม หรือ ความเชื่อที่ทุกคนในบริษัทมีร่วมกัน ทั้งที่แบบตั้งใจ (Non-Organic growth) และแบบไม่ตั้งใจ (Organic growth) โดยคนส่วนใหญ่ร่วมกันปฏิบัติจนกลายเป็นธรรมเนียมสำหรับองค์กรนั้นๆ ซึ่งก่อให้เกิดการหล่อหลอมรวมของพฤติกรรมทั้งคนใหม่และคนเก่าให้ไปในทิศทางเดียวกัน ถ้าวัฒนธรรม ...

วัฒนธรรมองค์กรที่ดีมีผลต่อสังคมอย่างไร

วัฒนธรรมองค์กรที่ดี จะส่งเสริมการสื่อสารที่ยึดวิสัยทัศน์ ค่านิยม และชุดพฤติกรรมเฉพาะขององค์กร ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นรากฐานของ “ภาษาเดียวกัน” ที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้ตรงกัน ดังนั้น วัฒนธรรมองค์กรที่ดี จะช่วยให้การสื่อสารภายใน (และภายนอก) องค์กรชัดเจนและโปร่งใสยิ่งขึ้น และลดความตึงเครียดที่อาจเกิดจากการสื่อสารที่ไม่ ...