กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมสัญญามีอะไรบ้าง

        กฎหมายแพ่ง คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น เรื่องสภาพบุคคล ทรัพย์ หนี้ นิติกรรม ครอบครัว และมรดก เป็นต้น การกระทำผิดทางแพ่ง ถือว่าเป็นการละเมิดต่อบุคคลที่เสียหายโดยเฉพาะไม่ทำให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนอย่างการกระทำผิดอาญา
        กฎหมายพาณิชย์ คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจและการค้า โดยวางระเบียบเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น การตั้งหุ้นส่วนบริษัท การประกอบการรับขน และเรื่องเกี่ยวกับตั๋วเงิน (เช่น เช็ค) กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ เป็นต้น
        ในปัจจุบันกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของประเทศไทย ได้บัญญัติรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เรียกชื่อว่า “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” แบ่งออกเป็น 6 บรรพ คือ บรรพ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป บรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ บรรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวและบรรพ 6 ว่าด้วยมรดก
        เหตุที่ประเทศไทยมีการจัดทำประมวลกฎหมายโดยการนำเอากฎหมายแพ่งมารวมกับกฎหมายพาณิชย์เป็นฉบับเดียวคล้ายกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยไม่ได้แยกเป็นประมวลกฎหมายแพ่งเล่มหนึ่งและประมวลกฎหมายพาณิชย์อีกเล่มหนึ่งดังเช่นประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เพราะการค้าพาณิชย์ในขณะที่ร่างกฎหมายยังไม่เจริญก้าวหน้า อีกทั้ง หลักทั่วไปบางอย่างในกฎหมายแพ่งก็สามารถนำไปใช้กับกฎหมายพาณิชย์ได้ ความจำเป็นที่จะต้องแยกกฎหมายพาณิชย์ออกจากกฎหมายแพ่งโดยจัดทำเป็นประมวลกฎหมายคนละเล่มกันจึงยังไม่มีความจำเป็นเท่าใดนักในขณะนั้น

แหล่งที่มาของข้อมูล
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (online) http://law.tu.ac.th.,13พฤษภาคม 2554
คลังปัญญาไทย (online)http://www.panyathai.or.th/, 13 พฤษภาคม 2554
ทนายสมาร์ท (online)http://www.tanaysmart.com, 13 พฤษภาคม 2554
กฎหมายชาวบ้าน (online) http://www.chawbanlaw.com/borrow.html#sthash.8sGofetz.dpbs , 13 กุมภาพันธ์ 2558
myfriend กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม-สัญญา (online) http://law.tu.ac.th., 28 ตุลาคม 2562

กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมสัญญามีอะไรบ้าง

4.กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา
    การมีเพียงกฎหมายรับรองสภาพบุคคล  ซึ่งบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์วินและในครอบครัวของบุคคลถือว่ายังไม่ครบถ้วน  เพราะยังขาดเครื่องมือที่จะทำให้บุคคลทำการเปลี่ยวแปลงสิทธิของตน  หรือทำสินทรัพย์หมุนเวียนเปลี่ยนมือกัน
    กฎหมายจึงต้องกำหนดนิติกรรมและสัญญาขึ้น  เพื่อให้บุคคลเปลี่ยนแปลงสิทธิของตนได้ด้วยความตั้งใจ  ซึ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของบุคคลจะมีการติดต่อกับผู้อื่นเสมอ  จึงจำเป็นต้องอาศัยนิติกรรมและสัญญาอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้  เช่น  การซื้ออาหารกลางวันและของใช้ต่างๆเป็นต้น
   นิติกรรม  ได้แก่  การแสดงเจตนาของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมาย  มุ่งโดยตรงต่อการผูกความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างบุคคล  เพื่อที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  โอนสงวน  หรือระงับสิทธิ  เช่น  การแสดงเจตตนาทำพินัยกรรม  การทำคำเสนอไปยังบุคคลอื่น  เพื่อชักชวนให้ทำสัญญาด้วย  การทำคำสนองตอบรับคำเสนอ  การบอกเลิกสัญญา  เป็นต้น
   นิติกรรมต้องเป็นการแสดงเจตนาหรือความตั้งใจออมาภายนอก  เช่น   โดยวาจาหรือการเขียนหนังสือ  การนิ่งอาจถือว่าเป็นการแสดงเจตนายอมรับได้ในบางครั้ง
   อนึ่ง นิติกรรมต้องทำโดยสมัครใจ  คือ  ไม่เกิดจากความเข้าใจผิด  หรือถูกขู่เข็ญบังคับ  หรือขาดสติสัทปชัชญญะ  นิติกรรมซึ่งทำโดยผู้หย่อนความสามารถ  เช่น  ผู้เยาว์  อาจถูกบอกล้างด้วยผู้แทนโดยชอบธรรมได้  ในกรณีที่ทำให้ผู้เยาว์เสียเปรียบเนื่องจากหย่อยความสมารถนั้น
  สัญญา  คือ นิติกรรมชนิดหนึ่ง  แต่เป็นนิติกรรมที่มีบุคคล 2  ฝ่าย  หรือมากกว่านั้นมาตกลงกัน  โดยแสดงเจตนาเสนอและสนองตรงกัน  ก่อให้เกิดสัญญาขึ้น
    สัญญาย่อมก่อให้เกิดหนี้  คือก่อให้เกิดความผูกพันระหว่างบุคคลที่เรียกว่า  เจ้าหนี้  กับบุคคลที่เรียกว่า  ลูกหนี้  ขึ้น  ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำรำหนี้ได้ตามแต่ลักษณะของหนี้นั้น  สัญญาหลายชนิดจำเป็นและมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

   โดยหลักทั่วไปบุคคลยอมมีความสามารถในการทำนิติกรรม  แต่มีข้อยกเว้นในเรื่องความสามารถ  คือ  บุคคลบางประเภทในทางกฎหมายถือว่าหย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา  เช่น  ผู้เยาว์  คนไร้ความสามารถ  คนเสมือนไร้ความสามารถ  และบุคคลล้มละลาย  โดยกฎหมายได้กำหนดความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญาของบุคคลเหล่านี้ไว้  ดังนี้
    ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมได้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม  เว้นแต่นิติกรรมที่ได้มาโดยซึ่งสิทธิโดยสิ้นเชิง  หรือเพื่อให้หลุดพ้นหน้าที่  หรือการที่ต้องทำเองเฉพาะตัว  หรือกิจกรรมที่สมแก่ฐานานุรูปและจำเป็นในการเลี้ยงชีพ  ผู้เยาว์สามารถทำได้ด้วยตัวเอง
   คนไร้ความสามารถต้องอยู่ในความอนุบาล  กิจการใดๆ  ของคนไร้ความสามารถ  ผู้อนุบาลซึ่งแต่งตั้งโดยศาลต้องเป็นผู้ทำเองทั้งสิ้น  ส่วนคนเสมือนไร้ความสามารถทำกิจการเองได้ทุกอย่าง  เว้นแต่กิจกรรมบางอย่างจะทำได้  ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์  เช่น  สัญญาซื้อขายที่ดิน  เป็นต้น
   บุคลลล้มละลายจะทำนิติกรรมใดๆ  ไม่ได้  เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามคำสั่งศาลจะเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทน
   ดังนั้น  นิติกรรมและสัญญาที่กระทำโดยบุคคลข้างต้น  โดยปราศจากความยินยอมจากบุคคลที่กฎหมายกำหนดไว้จะกลายเป็นโมฆียะ  ซึ่งอาจถูกบอกล้างได้
  ทั้งนี้ในการทำนิติกรรมสัญญาใดๆ  นั้น  จะต้องไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหาย  ไม่เป็นการพ้นวิสัย  และต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  เพราะถ้าหากฝ่าฝืนหลักการดังกล่าว  นิติกรรมสัญญานั้นก็จะถือเป็นโมฆะ  หรือใช้ไม่ได้  ไร้ผลบังคับโดยสิ้นเชิง
   นิติกรรมสัญญาสามารถแบ่งออกได้เป็น  2  ประเภท  ได้แก่
1.นิติกรรมฝ่ายเดียว  ได้แก่  นิติกรรมซึ่งเกิดโดยการแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียวและมีผลตามกฎหมาย  ซึ่งบางกรณีก็ทำให้ผู้ทำนิติกรรมเสียสิทธิได้  เช่น  การก่อตั้งมูลนิธิ  การรับสภาพหนี้  การผ่อนเวลาชำระให้ลูกหนี้  คำมั่นจะซื้อจะขาย  การทำพินัยกรรม  การบอกกล่าวบังคับจำนอง  เป็นต้น
   2.นิติกรรมสองฝ่าย(หรือนิติกรรมหลายฝ่าย)  ได้แก่  นิติกรรมซึ่งเกิดโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปและทุกฝ่ายต่างตกลงยินยอมระหว่างกัน  กล่าวคือ  ฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาทำเป็นนำเสนอ  แล้วอีกฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเป็นคำสนอง  เมื่อคำเสนอและคำสนองถูกต้องตรงกัน  จึงเกิดมีนิติกรรมสองฝ่ายขึ้น  หรือเรียกกันว่า  สัญญา  เช่น  สัญญาซื้อขาย  สัญญากู้ยืม  สัญญาแลกเปลี่ยน  สัญญาขายฝาก  จำนอง  จำนำ  เป็นต้น
   นิติกรรมสัญญาจะพบบ่อยและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของบุคคล  เนื่องจากทำให้เราหาสิ่งที่ต้องการมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้  ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ  หรือหลักประกันความมั่นคงในการติดต่อระหว่างเรากับผู้อื่น
  4.1  สัญญาซื้อขาย
สัญญาซื้อขาย  ได้แก่  สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง  เรียกว่า  ผู้ขาย  ฌอนกรรมสิทธิ์หรือความเป็นเจ้าของเหนือทรัพย์สิยให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง  เรียกว่า  ผู้ซื้อ  โดยผู้ซื้อตกลงจะให้ราคาทรัพย์สินนั้นแก่ผู้ขาย  (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์   มาตรา 453)  สัญญาซื้อขายบมีอยู่ด้วยกัน  2  ชนิดคือ
   1.สัญญาซื้อขายสำเร็จบริบรูณ์หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด  คือ  สัญญที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนไปยังผู้ซื้อทันทีอย่างเด็ดขาด  เมื่อการซื้อขายสำเร็จบริบรูณ์
   2.สัญญาจะซื้อจะขาย  คือ  สัญญาที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อในขณะที่ทำสัญญาซื้อขายกัน  แต่เป็นสัญญาซึ่งจะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ  ในเวลาภายหน้าเป็นการแลกเปลี่ยนกับเงินอันเป็นราคาของทรัพย์สิน  มีผลผูกพันให้แก่คู่สัญญาต้องทำการซื้อขายให้สำเร็จตลอดไป
      ตัวอย่างเช่น  ปองศักดิ์ตกลงจะซื้อขายบ้านและที่ดินให้แก่นพดล  เป็นเงิน  1  แสนบาท  โดยนพดลได้ชำระเงินให้แก่ปองศักดิ์จนครบถ้วนในวันที่ทำสัญญา ซึ่งปองศักดิ์สัญญาว่าจะไปจดทะเบียนการโอนที่ดินภายใน  7  วัน  ดังนี้  กรรมสิทธิ์ในที่ดินยังไม่โอนไปยังนพดลภายในเวลาดังกล่าว  แต่มีผลผูกพันปองศักดิ์ที่จะต้องไปจดทะเบียนการโอนที่ดินและบ้านให้แก่นพดลภายในเวลาดังกล่าว  สัญญาเช่นนี้เรียกว่า  สัญญาจะซื้อจะขาย
   โดยปกติสัญญาจะซื้อจะขายทำได้โดยผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกัน  โดยผู้ซื้อชำระราคาสินทรัพย์แก่ผู้ขายและผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินซื้อขายให้แก่ผู้ซื้อ  ทัพย์สินบางอย่างมีความสำคัญหรือราคาสูงมากในทางกฎหมาย  ได้แก่  อสังหาริมทรัพย์  เช่น  ที่ดิน  อาคาร  สวนผลไม้  หรือการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ประเภทเรือที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป  แพที่ใช้อยู่อาศัยหรือเรือนแพ  และสัตว์พาหนะ  ซึ่งมีการจดทะเบียนหรือตั๋วรูปพรรณ  ที่เรียกกันว่า  "สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ"  รวมทั้งสังหาริมทรัพย์ที่มีราคา  20,000  บาทหรือกว่านั้นขึ้นไป  กฎหมายบังคับให้ต้องตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษร  หรือมีการวางมัดจำ   หรือมีการชำระหนี้บางส่วนไว้ล่วงหน้า  จึงจะฟ้องร้องให้ทำตามสัญญากันได้
   นอกจากนี้  การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ประเภทที่มีการจดทะเบียนหรือเรียกว่าสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ  ยังต้องไปจดทะเบียนการซื้อขายกับเจ้าหน้าที่ด้วย  มิฉะนั้น  สัญญาจะเป็นโ มฆะคือเสียเปล่าไม่มีผงทางกฎหมาย  ถ้าคู่สัญญาไม่ได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น  ปกติกรรมสิทธิ์ที่ซื้อขายกัน  ย่อมโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อเมื่อทำสัญญากัน  ดังนั้น  หากผู้ขายยยังไม่พร้อมที่จะโอนหรือกลับกันถ้าผู้ซื้อไม่พร้อมจะรับโอน  อาจตกลงกันเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย  ซึ่งมีผลให้ต้องทำการซื้อขายเสร็จสิ้นในอนาคตก็ได้  หรือหากผู้ซื้อยังไม่พร้อมที่จะชำระราคาสินทรัพย์เต็มจำนวนอาจทำเป็นสัญญาซวื้อขายเงินผ่อน  โดยตกลงจะชำระราคาทรัพย์สินเป็นงวดจนกว่าจะครบหรือทำสัญญาซื้อขายเงินเชื่อ  เพื่อชำระราคาภายหลังได้
    สาระสำคัญของสัญญาซื้อขาย  คือ  การตกลงโอนกรรมสิทิ์  ผู้ขายจึงจำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ซื้อขายกัน  เพื่อจะโอนให้แก่ผู้ซื้อได้  ทรัพย์สินที่โอนต้องไม่มีผู้อื่นมาอ้างได้ว่ามีสิทธิดีกว่ากับผู้ซื้อได้  และผู้ซื้อก็มีหน้าที่ต้องชำระราคาสินทรัพย์ให้แก่ผู้ขายตามที่ตกลงกันไว้
     หากผู้ขายหรือผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญาอีกฝ่ายหนึ่งย่อมสามารถฟ้องร้องให้ปฏิบัติตามสัญญารวมทั้งเรียกค่าเสียหายจากฝ่ายที่ผิดสัญญาได้
   4.2  สัญญาขายฝาก
    สัญญาขายฝาก  ได้แก่  สัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ  โดยที่มีข้อตกลงขณะซื้อขายกันว่า  ผู้ขายอากซื้อหรือไถ่ทรัพย์สินกลับคืนได้ในระยะเวลาที่ตกลงกัน(ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 491)  ถ้าเป็นการขายฝากอสังหาริมทรัพย์ต้องกำหนดเวลาใช้สิทธิไถ่คืนสูงสุดไว้ไม่เกิน  10  ปี  ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ไม่เกิน  3  ปี  นับแต่วันที่มีการซื้อขายฝากกัน
   หากเริ่มต้นคู่สัญญาตกลงกันไว้ต่ำกว่ากำหนดเวลาสูงสุด  อาจตกลงกันภายหลังเพ่อขยายเวลาใช้สิทธิไถ่คืนได้อีก  แต่รวมทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดเวลาสูงสุด
   สัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษได้แก่  เรือ  แพ  สัตว์พาหนะ  ต้องทำเป็นหนังสือ  และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่    ณ  สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินสาขา  สำหรับเรือจดทะเบียนที่กรมเจ้าท่า  เป็นต้น  มิฉะนั้นจะถือเป็นโมฆะ  คือ  ไม่มีผลตามกฎหมาย
การขายฝากสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ  หรือมีการวางมัดจำ  หรือมีการชำระหนี้บางส่วน  จึงจะฟ้องร้องกันได้  เช่นเดียวกับกรณีที่กล่าวมาแล้ว  โดยที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกเป็นของผู้ซื้อฝาก  ซึ่งอาจนำไปขายให้แก่ผู้อื่นได้  หากไม่ต้องการให้ผู้ซื้อฝากทำเช่นนี้ต้องตกลงห้ามกันไว้  เมื่อตกลงกันแล้วหากผู้ซื้อนำไปฝากขายให้แก่ผู้อืนทำให้ผู้ขายฝากเสียหาย  จะต้องรับผิดชอบต่อผ฿้ขายฝาก
   การทำสํญญาขายฝากเป็นวิธีการให้หลักประกันอย่างหนึ่งแก้ผู้ซื้อฝาก  ซึ่งเอาสเงินของผู้ซื้อฝากไปใช้  โโยทรัพย์สินที่ซื้อขายฝากไว้เป็นประกัน  และเมื่อผู้ขายฝากใช้สิทธิไถ่ก็จะได้ประโยชน์โดยกำหนดสินไถ่ไว้ในอัตราที่สูงพอเป็นการตอบแทน
     กฎหมายระบุไว้ว่าให้กำหนดสินไถ่ได้สูงสุดไม่เกินราคาที่ขายฝากกับประฌยชน์ตอบแทนไม่เกินร้อยละ 15  ต่อปี  เพื่อมิให้ผู้ซื้อฝากกำหนดสินไถ่สูงจนเป็นการเอาเปรียบผู้ขายฝากเกินไป  และถ้าตกลงกันไว้ว่าเกินนั้น  ผู้ขายฝากสามารถใช้สิทธิไถ่ได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ  15  ต่อปี  หากไม่ได้กำหนดว่าสินไถ่มีอัตราเท่าใดให้ผู้ขายฝากไถ่ได้ตามราคาที่ขายฝากไว้
   หากผู้ซื้อฝากไม่ยอมให้ผู้ขายฝากใช่สิทธิไถ่  ผู้ขายฝากสามารถนำเงินสินไถ่ไปวางต่อสำนักงานวางทรัพย์  เช่น  สำนักงานวางทรัพย์กลาง  สังกัดกรมบังคับคดี  กระทรวงยุติธรรม  ซึ่งกฎหมายถือว่าทำให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินกลับคืนมาเป็นของผู้ขายฝากทันที
  แม้ผู้ซื้อฝากจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินตามสัญญาขายฝาก  แต่หากระหว่างหารขายฝากนั้นทรัพย์สินเกิดดอกผงขึ้น  เช่น  ต้นไม้มีผลระหว่างอายุสัญญาหรือสัตว์ที่ซื้อฝากออกลูก  ดอกผลนั้นจะตกเป็นของผู้ซื้อฝาก  แต่เมื่อผู้ขายฝากใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินแล้ว  ผู้ซื้อฝากก็ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายฝากกลับคืนให้แก่ผู้ขายฝากในสภาพที่เป็นอยู่
   ขณะที่มีการไถ่  หากทรัพย์สินนั้นถูกทำลายหรือเสื่อมเสียไป  เพราะความผิดของผู้ซื้อฝาก  ผู้ซื้อฝากจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฝากขาย
    4.3  สัญญาเช่าทรัพย์
สัญญาเช่าทรพย์ได้แก่  สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า  "ผู้ให้เช่า"  ตกลงให้บุคคลอีกบุคลหนึ่งเรียกว่า  "ผู้เช่า"  ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันจำกัดโดยผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น  (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  537)
    การเช่าทรัพย์ต่างจากการซื้อขาย  คือ  มิได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน  และมีกำหนดเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น  เช่น  ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าได้ไม่เกิน  30  ปี  ดังนั้น  ผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สิน  เพียงแต่มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินนั้นก็นำไปให้เช่าได้  แต่ผู้เช่าทรัพย์จากผู้อื่นไว้จะนำไปให้เช่าต่อ  ซึ่งเรียกว่าให้เช่าช่วงไม่ได้  เว้นแต่ว่าจะมีข้อตกลงในสัญญาเช่าอนุญาตไว้
   การเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ  ลงลายมือชื่อของฝ่ายที่จะต้องรับผิดตามสัญญา(ซึ่งไม่จำเป็นต้องเขียนในรูปแบบสัญญา  เพียงมีข้อความแสดงว่าตกลงกันหรือยอมให้ใช้  หรือรับประโยชน์ในทรัพย์สินตอบแทนกับค่าเช่าก็พอแล้ว)  มิฉะนั้นจะฟ้องร้องให้ปฎิบัติตามสัญญาไม่ได้
   สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นานเกินกว่า  3  ปี  หรือมีกำหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าต้องนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  เช่น  เช่าที่ดินต้องจดทะเบียน  ณ  สำนักงานที่ดิน  เช่าบ้านต้องจดทะเบียน  ณ  ที่ว่าการอำเภอหรือเขตที่ดินหรือบ้านนั้นตั้งอยู่  เป็นต้น
   ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์ที่เช่าให้แก่ผู้เช่าในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้วต้องซ่อมแซมทรัพย์สินที่ให้เช่า  รวมทั้งชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ผู้เช่าต้องใช้ไปเพื่อรักษาทรัพย์สิน  เว้นแต่ที่ต้องทำเพื่อบำรุงรักษาตามปกติหรือซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย  ถ้าผู้ให้เช่าส่งมอบทรัพย์สินในสภาพที่ไม่เหมาะสำหรับผู้เช่าใช้ประโยชน์ตามสัญญา  ผู้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
  ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องใช้ทรัพย์ที่เช่าตามที่ตกลงไว้ในสัญญา  หรือตามประเพณีนิยมปกติต้องชำระค่าเช่าตามที่ตกลงกันไว้  ต้องสงวนทรัพย์ที่เช่าเหมือนเช่นที่บุคคลทั่วไปจะทำกับทรัพย์สินของตัวเอง  ต้องยอมให้ผู้เช่าหรือตัวแทนตรวจตราทรัพย์สิมที่เช่าได้ตามสมควรเป็นครั้งคราว  ไม่ดัดแปลงแปลงหรือต่อเติมทรัพย์สินที่เช่า  เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าก่อน   ต้องรับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือบุบสลาย   ซึ่งเกิดกับทรัพย์สินที่เช่าเนื่องจากความผิดของผู้เช่าหรือบริวารของผู้เช่า  รวมทั้งต้องส่งคืนทรัพย์สินทีร่เช่า  ในสถาพที่ซ่อมแซมดีแล้วให้แก่ผู้เช่าสัญญสเมื่อสิ้นสุดลง
    สัญญญาเช่าระงับลงเมื่อถึงกำหนดตามที่ตกลงกันไว้  หรือเมื่อมีการบอกเลิกสัญญาล่วงหน้าก่อนกำหนดค่าชำระค่าเช่าที่ตกลงกันระยะหนึ่งเป็นอย่างน้อย  เช่น  ถ้ากำหนดค่าเช่าเป้นรายเดือนก็บอกเลิดล่วงหน้าเดือนหนึ่งเป็นอย่างน้อย  แต่ไม่จำเป็นต้องบอกเลิกล่วงหน้าเกินกว่า  2  เดือนไม่ว่ากรณีใด  นอกจากรี้  สัญญาเช่ายังระงับไปเมื่อทรัพย์สินที่เช่านั้นสูญหายไปทั้งหมดด้วย
    4.4  สัญาเช่าซื้อ
    สัญญาเช่าซื้อ  คือ  สัญญาซึ่งเจ้าของนำเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น  หรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิของผู้เช่า  โดยมีเงื่อนไงว่าผู้เช่าได้เช่าหรือชำระเงินเป็นจำนวนครั้งตามที่ตกลงกันไว้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  572)
     จะเห็นได้ว่าสัญญาเช่าซื้อมีลักษณะของสัญญษเช่ากับซื้อขายผสมกัน  โดยให้ผู้เช่าซื้อต้องเป็นเจ้าของหรือมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่นำออกมาให้เช่า  และตกลงให้ผู้เช่าซื้อนำไปใช้ประโยชน์  พร้อมกับให้ผู้เช่าซื้อต้องให้คำมั่นสัญญาว่าจะยอมให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของผู้ให้เช่าในมี่สุด  เมื่อผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อเป็นคราวหรืองวดรวดเดียวตามปกติ  โดยคำนวณดอกเบี้ยรวมเข้ากับประโยชน์ให้ผู้เช่าซื้อจะได้รับด้วย
   ขณะเดียวกันการเช่าซื้อก็ต่างกับสัญญาซื้อขายผ่อนส่ง  เพราะกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังอยู่กับผู้ให้เช่าซื้อ  ผู้เช่าซื้อเพียงแต่ได้ครอบครอง  และใช้ประโยชน์ทรัพย์เท่านัน้
   สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือหรือเป็นลายลักษณ์อักษณ  ลงลายมือชื่อคู่สัญญษทั้งสองฝ่าย  มิฉะนั้น  จะตกเป็นโมฆะไม่มีผลผูกพันคู่กรณี  สำหรับการเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์นอกจากการทำสัญญาเป็นหนังสือแล้ว  แม้ผู้เช่าซื้อได้ชำระค่าเช่าซื้อจนครบตามสัญญาก้ต้องจดทะเบียนการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย  มิฉะนั้น  การได้มาจะไม่สมบรูณ์  (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  1299)
      ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้  เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติดกันและสามารถกลับเข้าครอบครองสินทรัพย์  รวมทั้งริบเงินซึ่งผู้เช่าซื้อชำระมาแล้วได้  แต่ถ้าผู้เช่าซื้อทำผิดสัญญาโดยไม่ชำระเงินงวดสุดท้าย  ผู้ให้เช่าซื้อจะยึดทรัพย์สินกลับคืนและริบที่ชำระแล้วไว้ได้ต่อเมื่อเวลาผ่านไปอีกงวดหนึ่งแล้ว
     อนึ่ง  ถ้าผู้เช่าซื้อทำผิดสัญญาในข้อที่สำคัญ  เช่น  ใช้ทรัพย์สินนั้นไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข  ผู้ให้เช่าซื้อก็บอกเลิกสัญญาได้  โดยยึดทรัพย์สินกลับคืนและริบค่าเช่าซื้อที่ชำระไว้แล้วได้เช่นกัน
   ผู้เช่าซื้อมีหน้าที่ชำระค่าเช่าซื้อและมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้  โดยส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนและริบค่าเช่าซื้อที่ชำระไว้แล้วได้เช่นกัน
   ผู้เช่าซื้อมีหน้าที่ชำระค่าเช่าซื้อและมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้  โดยส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนและให้ค่าเช่าซื้อเฉพาะที่ยังค้างชำระเงินที่ผ่านมาแก่ผ๔้ให้เช่าซื้อ  ผู้เช่าซื้อต้องสงวนและบำรุงรักษาทรัพย์ระหว่างที่ตนเช่าซื้อ  รวมทั้งยังต้องบำรุงรักษาทรัพย์สินด้วยค่าใช้จ่ายของตนเอง
     ในที่สุดหลังจากได้ชำระค่าเช่าซื้อตามสัยญาครบถ้วนแล้ว  ผู้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกร้องต่อผู้ให้เช่าซื้อเปลี่ยนแปลงทะเบียนสิทธิในทรัพย์สิน  เช่น  ให้ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้เช่าซื้อต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  เป็นต้น
     4.5  สัญญากู้ยืม
     สัญญากู้ยืม  หมายถึง  สัญญาซึ่งผู้ที่ต้องการเงิน  เรียกว่า  ผู้กู้  ตกลงยืมเงินจำนวนหนึ่งจาก  ผู้ให้กู้  เพื่อนำไปใช้ตามความต้องการ  และตกลงว่าจะคืนเงินตามกำหนดที่ตกลงกันไว้  โดยผู้กู้ให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้เป็นค่าตอบแทน  สัญญากู้ยืมเงินจึงต่างกับสัญญายืมทั่วไป   ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้ให้ยืมยอมให้ผ฿้ยืมใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินได้โดยไม่เรียกค่าตอบแทน
   การกู้ยืมเงินจะมีผลต่อเมื่อมีการส่งมอบเงินให้แก่ผู้กู้และกฎหมายบังคับว่าการกู้ยืมเงินเกินกว่า  2,000  บาทขึ้นไป  จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงว่ามีการกู้เงินกันจริง  ซึ่งขอให้เป็นเพียงหนังสือแวดงว่ามีการรับเงินยืมไปจริง  ลงลายมือชื่อผู้กู้  หรือในกรณีที่ไม่สามารถลงลายมือชื่อได้  ต้องมีลายพิมพ์นิ้วมือของผู้กู้ประทับในหนังสือดังกล่าว   ดดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือนั้นอย่างน้อยสองคน  หลักฐานดังกล่าวนี้อาจทำขึ้นภายหลังการมอบเงินให้แก่กัน  เช่น  เป็นหนังสือขอผัดผ่อนการชำระเงินได้  และในกรณีที่ตกลงกันว่าให้เรียกดอกเบี้ยได้แต่ไม่ระบุอัตราไว้  ผู้ให้กู้มีสิทธิได้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี  (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 7)  ถ้ามีการหนดอัตราดอกเบี้ยไว้  ผู้ให้กู้จะเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ  15  ต่อปี  ถ้าผู้กู้ให้กู้เรียกดอกเบี้ยสูงกว่านี้แม้ผู้กู้จะยิยอมก็ไม่มีผล  หมายความว่า  การเรียกดอกเบี้ยเป็นอันใช้ไม่ได้ทั้งหมด  และผู้ให้กู้มีความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา  พุทธศักราช  2475
      ยกเว้นการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน  เช่น  ธนาคารหรือบริษัทเงินทุนหรือบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งมีกฎหมายคือ  พระราชบัญญัตดอกเบี้ยเงินกู้ยืมขิงสถาบันการเงิน  พ.ศ.2523  ยอมให้เรียกดอกเบี้ยสูงกว่าร้อยละ  15  ต่อปีได้
     ในการชำระหนี้เงินกู้แต่ละครั้ง  ผู้กู้มีสิทธิเรียกให้ผู้กู้ออกหลักฐานการใช้เงินให้  เช่น  ออกใบรับเงอนและเมื่อชำระหนี้หมดแล้ว   มีสิทธิเรียกสัญญากู้ยืมเงินที่ทำกันไว้กลับคืนมา  หรือให้ระบุในสัญญาว่าได้มีการชำระเงินกู้และดอกเบี้ยครบถ้วนแล้วด้วย  แต่ถ้าผู้กู้บิดพลิ้วไม่ปฏิบัติตามสัญญา  ผู้ให้กู้มีสิทธิฟ้องเรียกเงินคืนพร้อมทั้งดอกเบี้ยที่ยังค้างชำระได้ตามสัญญา  โดยกฎหมายกำหนดอายุความไว้ให้ต้องฟ้องภายใน  10  ปี  นับแต่วันถึงกำหนดชำระเงินคืน
     4.6  สัญญาจำนำ
      สัญญาจำนำ  ได้แก่  สัญญาซึ่งผู้จำนำส่งมอบการครอบครองสังหาริมทรพย์  ตือ  ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนที่ให้แก่ผู้รับจำนำเพื่อประกันการชำระหนี้  (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  747)  ซึ่งหมายความว่าสัญญานี้เกิดขึ้นเพื่อให้เจ้าหนี้มีหลักประกันการชำระหนี้ยึดไว้  เช่น  ลูกหนี้อาจนำนาฬิกาของตนจำนำไว้กับเจ้าหนี้  เป็นต้น
    การจำนำไม่ต้องมีหลักฐานหรือทำตามแบบแต่อย่างใด  เมื่อมอบทรัพย์สินที่จำนำแก่ผู้รับจำนำแล้ว  เขาก๋มรสิทธิยึดทรัพย์นั้นไว้ จนกว่าจะได้รับการชำระหนี้ครบถ้วน  ซึ่งรวมทั้งเงินต้น  ดอกเบี้ย  ค่าเสียหายจากการไม่ชำระหนี้  ค่าธรรมเนียมในการบังคับจำนำ  ค่าใช้จายเพื่อรักาาทรัพย์สินที่จำนำรวมทั้งค่าทดแทนความเสียหาย  ซึ่งเกิดจากคว่มชำรุดบกพร่องของทรัพย์สินที่จำนำ  ซึ่งผู้รับจำนำมองไม่เห็นเมื่อรับจำนำไว้
     ผู้จำนำมีหน้าที่ต้องเก้บรักษาและสงวนทรัพย์สินที่จำนำให้ปลอดภัยไม่สูญเสีย  หรือเสียหายไป  หากผู้รับจำนำใช้สอย  หรือให้ผู้อื่ยใช้สอย  หรือเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นและเกิดเสียหายขึ้นจะต้องรับผิดชอบ  แต่ถ้าผู้รับจำนำต้องเสียค่าใช้จ่ายมรการรักษาบำรุงทรัพย?ฃ์ที่จำนำนั้นไปตามปกติ  ผู้จำนำมีสิทธิเรียกจากผู้จำนำได้
     เนื่องจากสัญญาจำนำทำขึ้น  เพื่อใช้ประกันการชำระหนี้  ดังนั้น  เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วลูกหนี้(ผู้จำนำ)  ผิดนัดไม่ชำระหนี้  ผู้รับจำนำย่อมมีสิทธิบังคับจำนำ  โดยต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือแก่ลูกหนี้ให้ชำระหนี่รวมทั้งดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่างๆ(ถ้ามี)  ภายในกำหนดเวลาอันสมควร  หลังจากนั้นหากลุกหนี้ไม่ชำระหนี้  ผู้รับจำนำย่อมมีสิทธิเอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาด  คือ  การขายทรัพย์สินที่ทำโดยเปิดเผยแก่บุคคลทั่วไปด้วยวิธีการเปิดโอกาสให้ผู้ประสงค์จะซื้อสู้ราคากัน  ผู้ใดให้ราคาสูงสุดและผู้ทอดตลาดตกลงรับเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินนั้น  โดยจะต้องแจ้งเป็นหนังสือ  บอกกล่าวให้ลูกหนี้ทราบกำหนดเวลาและสถานที่ซึ่งจะขายทอดตลาดด้วย
   อย่างไรก็ตามหากผู้จำนำค้างชำระหนี้เกินกว่าหนึ่งเดือน  และไม่สามารถจะบอกกล่าวก่อนได้  ผู้รับจำนำก็นำทรัพญืสินนั้นออกขายทอดตลาดได้  โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน  การบังคับจำนำต้องทำโดยการขายทอดตลาดเท่านั้น  ผู้รับจำนำจะทึกทักว่าทรัพย์สินที่จำนำหลุดการเป็นของตนโดยพลการไม่ได้  ถึงแม้จะตกลงกันไว้ล่วงหน้ายกเว้นการบังคับจำนำข้อตกลงนั้นก้ใช้ไม่ได้
   เมื่อขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนำแล้วได้เงินสุทธิเท่าใด  ผู้รับจำนำมีสิทธิหัดมาใช้หนี้ได้จนครบ  หากยังมีเงินเหลือต้องคืนให้แก่ผู้จำนำ  แต่เมื่อขายทอดตลาดแล้วเงินยังขาดอยู่เท่าใด  ผู้จำนำยังต้องใช้คืนจนครบ(ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  767)
     การบังคับจำนำจะทำได้ต่อเมื่อยังมีทรัพย์สินที่จำนำอยู่กับผู้รับจำนำ  ดังนั้น  หากผู้รับจำนำคืนทรัพย์สินให้ผู้จำนำไปแล้ว  การจำนำเป็นการระงับไป  ผู้รับจำนำไม่มีทางบังคับกับทรัพย์สินนั้นอีก  คงทำได้เพียงฟ้องบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ที่ค้าง  ดังเช่น  การเรียกให้ชำระหนี้ที่ไม่มีหลักประกันอย่างปกติเท่านั้น
     4.7  สัญญาจำนอง
      สัญญาจำนอง  คือ  สัญญาซึ่งผู้จำนองเอาอสังหาริมทรัพย์  เช่น  ที่ดิน  อาคารบ้านเรือน  เป็นต้น  หรือสังหาริมทรัพย์ที่กฎหมายอนุญาตให้จำนองได้ของตนเองไปตราไว้แก้ผู้รับจำนองโดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนองนั้นให้  เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้  ซึ่งอาจเป็นตัวผู้จำนองหรือบุคคลอื่นก็ได้(ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา  702)
      การนำทรัพย์สินไปตาฃราไว้ที่นี้  หมายถึง  การเอาทรัพย์สินนั้นไปทำหนังสือจกทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  เช่น  นำที่ดินไปจดทะเบียนการจำนอง  ณ  สำนักงานที่ดิน  เป็นต้น
      แม้จำนองอสังหาริมทรัพย์แล้ว  เจ้าของก็ยังครอบครองต่อไปได้อีกไม่ต้องส่งมอบแก่เจ้าหนี้เหมือนกับการจำนำ  เนื่องจาการจำนองมีหลักฐานปรากฏอญุ่ใรทะเบียนหรือหนังสือสำคัญสำหรับทรัพย์สินนั้นให้ผู้อื่นสามารถตรวจพบได้นั่นเอง
    อนึ่ง  การเพียงแต่มอบโฉนดที่ดินหรือหนังสือสำคัญสำหรับทรัพยืให้เจ้าหนี้ยึดไว้ยังไม่ได้จำนอง  เพราะการจำนองจะเกิดขึ้นดดยการจดทะเบียน
    การชำระหนี้จำนองไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก็ตาม  การสิ้นสุดหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในการจำนองก็ตาม  ต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย  มิฉะนั้นจะนำไปใช้อ้างกับบุคคลภายนอกไม่ได้
   การจำนองมีผลเป็นหลักประกันการชำระหนี้  ทั้งเงินต้น  ดอกเบี้ย  ค่าเสียหาย  จากการไม่ชำระหนี้  เช่น  ค่าใช้จ่ายในการทวงถาม  รวมทั้งค่าธรรมเนียมในการบังคับจำนอง  ทำให้ผ฿้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์ที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ  แม้มีการทอนทรัพย์สินจำนองให้แก่บุคคลภายนอกแล้วผู้รับจำนองก็ยังบังคับจำนองจากทรัพย์สินนั้นได้
     การบังคับจำนำทำโดยผู้รับจำนองมีหนังสือแจ้งลุกหนี้ให้ชำระภายในเลาอันสมควร  มิฉะนั้นจะใช้สิทธิบังคับจำนองต่อไป  หากลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้  ผู้รับจำนองต้องฟ้องผู้จำนองต่อศาลโดยขอต่อศาลว่าหากลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้  ให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินจำนองนั้นหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับจำนอง  หรือให้มีการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นต่อไป
     อย่างไรก็ตามเมื่อลูกหนี้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลาถึง  5  ปี  และผู้จำนองแสดงต่อศาลไม่ได้ว่าราคาทรัพย์สินนั้นท่วมจำนวนเงินที่ค้างชำระ  รวมทั้งทรัพย์สินนั้นไม่ได้จดทะเบียนการจำนองรายอื่นหรือบุริมสิทธิ์(คือ  สิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น)  ไว้  ผู้รับจำนองขอต่อสาลให้ทรัพย์สินนั้นหลุดเป็นสิทธิได้โดยไม่ต้องมีการขายทอดตลาด
    หลังจากมรการขายทอดตลาดแล้ว  หากำด้เงินสุทธิต่ำกว่าจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ  ตามหลักลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ในเงินที่ยังขาดอยู่อีก  แต่ถ้าตกลงยกเว้นไว้ในสัญญาจำนองว่าให้ลูกหนี้ยังคงต้องรับผิดชอบหลังการบังคับจำนองแล้วจนมีการชำระเงินครบถ้วน  เมื่อได้มีการบังคับจำนองแล้ว  ได้เงินไม่พอชำระหนี้  ลูกหนี้ก็ยังต้องรับผิดชอบในเงินที่ค้างอยู่

กฎหมายแพ่งว่าด้วยสัญญาคืออะไร

o สัญญา คือ นิติกรรมชนิดหนึ่ง แต่เป็นนิติ กรรมที่มีบุคคล 2 ฝ่าย หรือมากกว่านั้นมาตกลงกัน โดยแสดงเจตนา เสนอและสนองตรงกัน ก่อให้เกิดสัญญาขึ้น o สัญญาย่อมก่อให้เกิดหนี้ เกิดความผูกพัน ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ โดยเจ้าหนี้มีสิทธิ เรียกร้องให้ลูกหนี้ชําระหนี้ได้ตามกฎหมาย

กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวกับนิติกรรมสัญญามีความสำคัญอย่างไร

กฎหมายจึงต้องกำหนดนิติกรรมและสัญญาขึ้น เพื่อให้บุคคลเปลี่ยนแปลงสิทธิของตนได้ด้วยความตั้งใจ ซึ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของบุคคลจะมีการติดต่อกับผู้อื่นเสมอ จึงจำเป็นต้องอาศัยนิติกรรมและสัญญาอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ เช่น การซื้ออาหารกลางวันและของใช้ต่างๆเป็นต้น

กฎหมายทางแพ่งมีอะไรบ้าง

ในปัจจุบันกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของประเทศไทย ได้บัญญัติรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เรียกชื่อว่า “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” แบ่งออกเป็น 6 บรรพ คือ บรรพ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป บรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ บรรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวและบรรพ 6 ว่าด้วยมรดก

นิติกรรมเกี่ยวข้องกับสัญญาอย่างไร

สัญญา คือ นิติกรรมชนิดหนึ่ง แต่เป็นนิติกรรมที่มีบุคคล 2 ฝ่าย หรือมากกว่านั้นมาตกลงกัน โดยแสดงเจตนาเสนอและสนองตรงกัน ก่อให้เกิดสัญญาขึ้น สัญญาย่อมก่อให้เกิดหนี้ เกิดความผูกพันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ โดยเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย