บริการด้านการสื่อสารมีอะไรบ้าง

บริการด้านการสื่อสารมีอะไรบ้าง

1. ความหมายของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด

2. ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
ในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยิ่งทวีความสำคัญมาก ขึ้นเป็นลำดับเครือข่าคอมพิวตอร์ให้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้โดยง่าย ในปัจจุบันมี เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงไปทั่วโลก ผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่ง ได้อย่างรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของ”อินเทอร์เน็ต”(Internet)จัดว่าเป็น เครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบ คลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเทอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่จุดใด ๆ เพื่อส่งข่าวสารและข้อมูลระหว่างกันได้บริการข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีหลากรูปแบบและมีผู้นิยมใช้ ้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้วปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมเข้าเป็น อินเทอร์เน็ตราว 45,000 เครือข่าย จำนวนคอมพิวเตอร์ในทุกเครือข่ายรวมกันคาดว่ามีประมาณ 4 ล้านเครื่อง หรือหากประมาณจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 25 ล้านคน และ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เราจึงกล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายมหึมาที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ที่สุด มีการขยายตัวสูงที่สุด และมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงหากแต่มี ประวัติความเป็นมาและมีการ พัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต ในปี พ.ศ.2512ก่อนที่จะก่อตัวเป็น อินเทอร์เน็ตจนกระทั่งถึงทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมา จากอาร์พาเน็ต ( ARPAnet )ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโห ของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต ในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหารและ โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่าย คอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ยุคสงครามเย็น ในทศวรรษของปีพ.ศ.2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะ สงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำ กลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์ช่วงท้ายของทศวรรษ 2510 ห้องปฏิบัติการวิจัย ในสหรัฐ ฯ และในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆล้วนแล้วแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นติดตั้งอยู่
คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะแยกกันทำงานโดยอิสระมีเพียงบางระบบที่ตั้งอยู่ใกล้กันเท่านั้นที่สื่อสารกันทางอิเล็กทรอนิกส์แต่ก็ด้วยความเร็วต่ำ ห้องปฏิบัติการหลายแห่งได้พัฒนาระบบสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น หากแต่ยังไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้กับเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ปัญหาและ อุปสรรคสำคัญ คือคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายจะต้องอยู่ในสภาพทำงานทุกเครื่องหากเครื่องใดเครื่องหนึ่งหยุดทำงานลง การสื่อสารจะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จนกว่าจะตัดเครื่องออกไปจาก เครือข่ายข้อจำกัดนี้ทำให้ระบบเครือข่ายไม่อยู่ในสภาพที่เชื่อถือได้และลำบากต่อการควบคุมดูแล โครงการอาร์พาเน็ตอาร์พาเป็นหน่วยงานย่อยของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ ฯ ทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานทั้งด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ อาร์พาไม่ได้ทำหน้าที่วิจัยโดยตรงอีกทั้งยังไม่มีห้องทดลอง เป็นของตนเอง หากแต่กำหนดหัวข้องานวิจัยและให้ทุนแก่หน่วยงานอื่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนที่ทำงานวิจัยและพัฒนา อาร์พาได้จัดสรรทุนวิจัยเพื่อทดลองสร้างเครือข่ายให้คอมพิวเตอร์สามารถแลก เปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ในชื่อโครงการ”อาร์พาเน็ต” ( ARPAnet ) โดยเริ่มต้นงานวิจัยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2512 รูปแบบเครือข่ายอาร์พาเน็ตไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ ( Host ) คอมพิวเตอร์เข้าถึงกันโดย ตรง หากแต่ใช้คอมพิวเตอร์ เรียกว่าIMP ( Interface Message Processors ) ต่อเชื่อมถึงกันทางสาย โทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านสื่อสารโดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละIMP สามารถเชื่อมได้หลายโฮสต์

3. พื้นฐานการทำงานของระบบอินเทอร์เน็ต
การสื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นเป็นการรับ-ส่งข้อมูลหรือที่เรียกว่า การสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อและต้องการสื่อสารข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆในเครือข่าย อาจจะมีฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ดังนั้น เพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันและแปลความหมายได้ตรงกัน จึงต้องมีการกำหนดระเบียบวิธีการติดต่อให้ตรงกันซึ่งเรียกว่า โพรโทคอล (Protocol)
โพรโทคอล คือ ระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับการสื่อสารข้อมูล โดยสามารถส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง โดยโพรโทคอลนั้น มีหลายชนิด เช่น โพรโทคอล IPX/SPX โพรโทคอล NetBEUI และโพรโทคอล Apple Talk ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้งานต่างกัน ดังนั้น การสื่อสารระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นการสื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงต้องใช้ข้อตกลงโพรโทคอลเช่นเดียวกันซึ่งโพรโทคอลที่นิยมใช้ในการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน เป็นโพรโทคอลทีซีไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)เป็นหลัก
จุดเด่นของโพรโทคอล ทีซีพีไอพี (TCP/IP) คือเมื่อการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปการณ์ใดๆ เข้าสู่ระบบเครือข่ายที่เป็นทีซีพีไอพี (TCP/IP) นั้น คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องหรืออุปกรณ์ที่ติดต่อสื่อสารร่วมกันจะต้องมีหมายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่ายกำกับเสมอ เพื่อระบุแหล่งที่มาของข้อมูลต้นทางและนำข้อมูลไปยังเครือข่ายเครื่องปลายทางที่ถูกต้อง ดังนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สื่อสารจะต้องมีการระบุหมายเลขขอเครื่องต่างๆที่ไม่ซ้ำกันไม่เช่นนั้นข้อมูลก็อาจจะไม่ถึงที่หมายปลายทางได้ หมายเลขของเครื่องหรืออุปกรณ์นี้เรียกว่า ไอพี (IP) โดยหมายเลขกำกับที่เป็นหมายไอพี จะเป็นเลขฐาน 2 ขนาด 32 บิต เลขแต่ละชุดจะถูกคั่นด้วยจุด ดังนั้น เลขแต่ละชุดจึงสามารถมีค่าตั้งแต่ 0-255
จากหมายเลขไอพี ขนาด 32 บิต ที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นไอพีเวอร์ชัน 4 สามารถใช้อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ตได้มากถึงสี่พันล้านเครื่องโดยประมาณซึ่งเป็นจำนวนที่มากหมายมหาศาลจากในอดีต แต่ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น จึงทำให้หมายเลขไอพีที่ใช้ในปัจจุบันเริ่มไม่เพียงพอเนื่องจากการขยายตัวของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุกรณ์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงได้มีการพัฒนาเป็นไอพีเวอร์ชัน 6 ซึ่งกำหนดโดยมาตรฐานไอพีเวอร์ชัน 4 และมาตรฐานไอพีเวอร์ชัน 6 นี้จะใช้ระบบ 128 บิต ในการระบุหมายเลขไอพี
4.ระบบชื่อโดเมน (Domain Name System)
ระบบชื่อโดเมน ระบบชื่อโดเมน (Domain Name System) ระบบชื่อโดเมน เป็นระบบการแทนชื่อในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อให้ผู้ใช้สามารถจำได้ง่าย โดยระบบชื่อโดเมนจะประกอบด้วยชื่อหรือชุดของตัวอักษรเป็นกลุ่มๆ โดยใช้เครื่องหมายจุดเป็นตัวแบ่งกลุ่ม เช่น cs.ait.ac.th http://www.intel.com http://ftp.ai.mit.edu gother.tc.umn.edu โครงสร้างของระบบชื่อโดเมนจะมีลักษณะเป็นลำดับชั้น โดยแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ เรียกว่า โดเมนย่อย (Sub-domain) โดเมนย่อยที่อยู่ทางซ้ายมือจะถือเป็นเป็นส่วนย่อยของโดเมนที่อยู่ทางขวา มือตามลำดับ โดยโดเมนที่อยู่ทางขวามือสุด มีชื่อเรียกว่า “โดเมนระดับบนสุด (Top Level Domain)” ซึ่งจะกำหนดให้เป็นชื่อย่อของประเทศหรือประเภทขององค์กร แล้วมีลำดับลดลงมาจนถึงโดเมนซ้ายสุดเป็นชื่อเครื่องที่ให้บริการ โดเมนระดับบนสุดในยุคเริ่มต้นอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีใช้เพียงในประเทศสหรัฐอเมริกาและ แคนาดามี 6 กลุ่ม ได้แก่
1. com (Commercial Organizations) คือกลุ่มธุรกิจการค้า
2. edu (Educational Organizations) คือสถาบันการศึกษา
3. gov (Government Organizations) คือหน่วยงานรัฐบาล
4. mil (Military Organizations) คือหน่วยงานทางทหาร
5. net (Networking Organizations) คือหน่วยงานที่เกี่ยวกับเครือข่าย
6. org (Non-commercial Organizations) คือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร
ต่อมาหลายๆ ประเทศได้ทำการเชื่อมเครือข่ายเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จึงมีการใช้โดเมนระดับบนสุดแทนด้วยอักษรย่อของประเทศนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น

บริการด้านการสื่อสารมีอะไรบ้าง

             บริการบนอินเทอร์เน็ต เป็นบริการเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านการสื่อสารของผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในระดับบุคคล กลุ่ม และองค์กร ในปัจจุบันมีการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการแบ่งปันความคิด ข้อมูล สารสนเทศ รวมถึงความรู้ โดยอาศัยเครื่องมือ เทคโนโลยีหรือบริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต มีดังนี้

5.1 World Wide Web (WWW) เครือข่ายใยแมงมุม
                 เป็นการเข้าสู่ระบบข้อมูลอย่างข้อมูลในรูปของ Interactive Multimedia คือ มีทั้งรูปภาพ ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโอ อีกทั้งข้อมูลเหล่านี้ยังใช้ระบบที่เรียกว่า hypertext กล่าวคือ จะมีคำสำคัญหรือรูปภาพในข้อมูลนั้นที่จะช่วยให้ท่าน เข้าสู่รายละเอียดที่ลึกและกว้างขวางยิ่งขึ้น คำสำคัญดังกล่าวจะเป็นคำที่เป็นตัวหนา หรือขีดเส้นใต้ เพียง แต่ท่านเลือกกด ที่คำ ที่เป็นตัวหนาหรือขีดเส้นใต้ นั้น ๆ ท่านก็สามารถเข้าสู่ข้อมูลเพิ่มเติมได้ (ข้อมูลเหล่านี้จะมีผู้สร้างขึ้นมาและเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ ต่าง ๆ ทั่วโลก)

บริการด้านการสื่อสารมีอะไรบ้าง

5.2 จดหมายอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Mail)
จดหมายอิเลคทรอนิกส์หรือที่เรียกกันว่า E-mailเป็นการสื่อสารที่นิยมใช้กันมากเนื่องจากผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลที่ต้องการได้รวดเร็ว ภายในระยะเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะอยู่ในที่ทำงานเดียวกันหรืออยู่ห่างกันคนละมุมโลกก็ตามนอกจากนี้ยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมาก
องค์ประกอบของ e-mail address ประกอบด้วย
1. ชื่อผู้ใช้ (User name)
2. ชื่อโดเมน Username@domain_name
การใช้งานอีเมล สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ
1. Corporate e-mail คือ อีเมล ที่หน่วยงานต่างๆสร้างขึ้นให้กับพนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น เช่น คือ e-mail ของนักศึกษาของสถาบันราชภัฏสวนดุสิต เป็นต้น
2. Free e-mail คือ อีเมล ที่สามารถสมัครได้ฟรีตาม web mail ต่างๆ เช่น Hotmail, Yahoo Mail, Thai Mail และ Chaiyo Mail

บริการด้านการสื่อสารมีอะไรบ้าง

5.3 Search Engine (บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต)
Search Engine เป็นเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือในการที่จะค้นหาเว็บไซต์ต่าง ๆ มาเก็บไว้ในฐานข้อมูลของ ตัวเองโดยอัตโนมัติ เช่น Google.com หรือ Altavista.com ซึ่งเครื่องมือนี้ มีชื่อเรียกว่า Search Robot จะทำหน้าที่คอยวิ่งเข้าไปอ่านข้อความจากหน้าเว็บไซต์ ของเว็บต่าง ๆ แล้วนำมาจัดลำดับคำค้นหา (Index) ที่มีในเว็บไซต์เหล่านั้น เก็บไว้ในฐานข้อมูลของตนเอง เมื่อเราเข้าไปใช้บริการ กับ Search Engine

บริการด้านการสื่อสารมีอะไรบ้าง

5.4 Instant Message (บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต )
Instant Messaging ก็คือการสนทนาทางโทรศัพท์อย่างหนึ่งแต่เป็นในรูปของตัวอักษร พนักงานในบริษัททั้งขนาดเล็กและใหญ่ต่างใช้ IM เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร สำหรับคนอีกจำนวนมาก IM คือการสื่อสารสำรองเมื่ออีเมล์มีปัญหาหรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆ

บริการด้านการสื่อสารมีอะไรบ้าง

5.5 การเข้าใช้เครื่องระยะไกล (Telnet)
Telnet เป็นการขอเข้าไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตจากระยะไกล โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปนั่งอยู่หน้าเครื่อง เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้อาจอยู่ภายในสถานที่เดียวกับผู้ใช้ หรืออยู่ห่างกันคนละทวีปก็ได้ แต่ทั้งนี้ผู้ใช้ต้องมี account และรหัสผ่านจึงจะสามารถเข้าใช้เครื่องดังกล่าวไดส่วนคำสั่งในการ ทำงานนั้นขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการของเครื่องที่เข้าไปขอใช้

บริการด้านการสื่อสารมีอะไรบ้าง

5.6 การโอนย้ายข้อมูล (File Transfer Protocol : FTP)
การโอนย้ายข้อมูล หรือที่นิยมเรียกกันว่า FTP เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้กันมากพอสมควรในอินเตอร์เน็ต โดยอาจใช้เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลรวมถึงโปรแกรมต่าง ๆ ทั้งที่เป็น freeware sharewareจากแหล่ง ข้อมูลทั้งหลายมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้งานอยู่ ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งที่กำหนดให้ Serverของตนทำหน้าที่เป็น FTP site เก็บรวบรวมข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ สำหรับให้บริการ FTP ที่นิยมใช้กันมากได้แก่WS_FTP, CuteFTP
การโอนย้ายไฟล์สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ
ooooo1. การดาวน์โหลดไฟล์ (Download File ) การดาวน์โหลดไฟล์ คือ การรับข้อมูลเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่จัดให้มีการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรี เช่น http://www.download.com
ooooo2. การอัพโหลดไฟล์ (Upload File) การอัพโหลดไฟล์คือการนำไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้ในเครื่องที่ให้บริการ (Server) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กรณีที่ทำการสร้างเว็บไซต์ จะมีการอัพโหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บไซต์ (Web server ) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่ (web server) โปรแกรมที่ช่วยในการอัพโหลดไฟล์เช่น FTP Commander

บริการด้านการสื่อสารมีอะไรบ้าง

5.7 Web board (บริการกระดานข่าวหรือ เวบบอร์ด )
WebBoard คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในลักษณะเป็น กระดานสนทนา เป็นกระดานแจ้งข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

6.การเชื่อมต่อ Internet
การเชื่อมต่อ Internet การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานเป็นสำคัญ เช่นใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลที่บ้าน ใช้ในเชิงธุรกิจ ใช้เพื่อความบันเทิง หรือใช้ภายในองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้นการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตจึงมีความแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความต้องการ รวมทั้งเงินทุนที่จะใช้ในการติดตั้งระบบด้วย
ปัจจุบันการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่นิยมใช้มี 5 ลักษณะ คือ
1. การเชื่อมต่อแบบ Dial Up เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เคยได้รับความนิยมในยุคแรก ๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem) ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต ข้อดี ของการเชื่อมต่อแบบ Dial Up คือ อุปกรณ์มีราคาถูก การติดตั้งง่าย การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ทำได้ง่าย ข้อเสีย คืออัตราการรับส่งข้อมูลค่อนข้างต่ำเพียงไม่เกิน 56 kbit (กิโลบิต) ต่อวินาที
2. การเชื่อมต่อแบบ ISDN(Internet Services Digital Network) เป็นการเชื่อมต่อที่คล้ายกับแบบ Dial Up เพราะต้องใช้โทรศัพท์และโมเด็มในการเชื่อมต่อ ต่างกันตรงที่ระบบโทรศัพท์เป็นระบบความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอล (Digital) และต้องใช้โมเด็มแบบ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ ISDN จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ คือ
1. ต้องติดต่อผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ที่ให้บริการการเชื่อมต่อแบบ ISDN
2. การเชื่อมต่อต้องใช้ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ
3. ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่จะใช้บริการนี้ อยู่ในอาณาเขตที่ใช้บริการ ISDN ได้หรือไม่
ข้อดี คือไม่มีสัญญาณรบกวน มีความเร็วสูง และยังคงสามารถใช้โทรศัพท์เพื่อพูดคุยไปได้พร้อม ๆ กับการเล่นอินเตอร์เน็ต
ข้อเสีย คือมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าระบบ Dial-Up
3. การเชื่อมต่อแบบ DSL(Digital Subscriber Line) เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทรศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตแบบ DSL ก็คือ
1. ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่ติดตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการระบบโทรศัพท์แบบ DSL หรือไม่
2. บัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในแบบ DSL
3. การเชื่อมต่อต้องใช้ DSL Modem ในการเชื่อมต่อ
4. ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
ข้อดี คือมีความเร็วสูงกว่าแบบ Dial-Up และ ISDN
ข้อเสีย คือไม่สามารถระบุความเร็วที่แน่นอนได้
4. การเชื่อมต่อแบบ Cable เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับ Cable TV จึงทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กับการดูทีวีได้ โดยต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
1. ใช้ Cable Modem เพื่อเชื่อมต่อ
2. ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
ข้อดี คือถ้ามีสายเคเบิลทีวีอยู่แล้ว สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้โดยเพิ่มอุปกรณ์ Cable Modem ก็สามารถเชื่อมต่อได้
ข้อเสีย คือถ้ามีผู้ใช้เคเบิลในบริเวณใกล้เคียงมาก อาจทำให้การรับส่งข้อมูลช้าลง
5. การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites) เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า Direct Broadcast Satellites หรือ DBS โดยผู้ใช้ต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ                 1. จานดาวเทียมขนาด 18-21 นิ้ว เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณจากดาวเทียม
2. ใช้ Modem เพื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต
ข้อเสีย ของการเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites) ได้แก่
1. ต้องส่งผ่านสายโทรศัพท์เหมือนแบบอื่น ๆ
2. ความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำมากเมื่อเทียบกับแบบอื่น ๆ
3. ค่าใช้จ่ายสูง

บริการด้านการสื่อสารมีอะไรบ้าง

7.การใช้บริการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail)

                 อีเมล (E-mail) หรือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) เป็นอีกรูปแบบของการบริการที่นิยมมากรองมาจากเวิลด์ ไวด์ เว็บ ในอินเทอร์เน็ตปัจจุบัน การส่งจดหมายอีเล็กทรอนิกส์ จะแตกต่างจากการส่งจดหมายทางไปรษณีย์คือ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย สะดวก รวดเร็ว การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์จะส่งได้ทั้งข้อความรูปภาพเสียงไฟล์วิดีโอแม้กระทั่งการส่งการ์ดในโอกาสต่างๆ

         การรับส่งอีเมลผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะประกอบด้วย3ส่วนหลักคือ

1.เมลเซิร์ฟเวอร์ (Mail Server) คือเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายของผู้ให้บริการด้านอีเมลสำหลับเก็บอีเมล

2.เมลไคลเอนท์ (Mail Client) คือเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายของผู้ใช้บริการที่เป็นตัวเรียกอีเมลมาจากเซิร์ฟเวอร์

3.โปรโตคอมสำหรับส่งเมลคือระเบียบวิธีที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลด้านอีเมลบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

โปรโตคอลสำหรับรับส่งอีเมล

โปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลด้านอีเมลบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตประกอบด้วย

  • SMTP

SMTP (SimpleMessageTransdferProtocol) ทำหน้าที่ส่งอีเมลจากเมลเซิร์ฟเวอร์ของผู้ส่งไปยังเมลเซิร์ฟของผู้รับ จากกรณีตัวอย่างในการส่งและรับอีเมลระหว่างคุณกุลราพี() และคุณเพลงพิณ () ดังนี้

1.คุณกุลรพี ต้องการส่งอีเมล โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการส่งที่เรียกว่า เมลไคลเอนท์ เมื่อเขียนจดหมายพร้อมที่จุส่ง ต้องกำหนดชื่อผู้ส่งจดหมาย และชื่อผู้รับจดหมาย เมื่อได้ทำการคลิกเลือก ส่งจดหมาย ก็คือการสั่งให้เมลไคลเอนท์ทำการส่งจดหมายให้

2.เมลไคเอนท์ขอคุณกุลรพี จะทำการสร้างทางเชื่อมต่อแบบ TCP กับเมลเซิฟเวอร์ ที่เราได้ขอเป็นสมาชิกอยู่ คือ mail.chaiyo.com เมื่อเมลเซิร์ฟเวอร์ได้รับจดหมายก็จะจัดเก็บไว้ในคิวเพื่อทำการส่งต่อไป

3.เมลเซิร์ฟเวอร์ของคุณกุลรพี (mail.chaiyo.com)ก็จะสร้างเชื่อมต่อแบบ TCPกับเมลเซิร์ฟเวอร์ของคุณเพลงพิณ(mail.chaiyo.com)และจะทำการส่งข้อความในอีเมลระหว่างเมลเซิร์ฟเวอร์

4.เมื่อเมลเซิร์ฟเวอร์ของคุณเพลงพิณ ได้รับอีเมลแล้วก็จะนำอีเมลนั้นจัดเก็บไว้ในเมลบ๊อกซ์(mail Box)ของคุณเพลงพิณเพื่อรอการเปิดอ่านต่อไป

5.เมื่อคุณเพลงพิณ ต้องการอ่านอีเมลก็จะทำการสั่งให้เมลไคลเอนท์ของตนเองทำการดึงอีเมลที่อยู่ในเมลบ็อกซ์มาอ่าน

  • Pop

กระบวน การส่งเมลจะสิ้นสุดเมื่อผู้ส่งสั่งให้เมลไคลเอนท์ส่งข้อมูลไปถึงเมลเซิร์ฟ เวอร์ชองผู้รับและอีกเมลนั้นจะถูกจัดเก็บไว้ในเมล์บ๊อกซ์ของรับที่เครื่องเม ลเซิร์ฟเวอร์ ดังนั้น เมื่อเราของสมัครเป็นสมาชิกของเมลเซิร์ฟเวอร์ใดแล้ว เราจะได้พื้นที่ของเมลเซิร์ฟเพื่อเป็นเมลบ๊อกซ์ ของเราเมื่อต้องการอ่านจดหมายที่อยู่ในเมลบ๊อกซ์ จะต้องทำการล๊อกอินเข้าไป ดังนั้น เจ้าของเมลบ๊อกซ์เท่านั้นจึงจะสามารถอ่านจดหมายในกล่องเมลบ๊อกซ์ได้ การอ่านจดหมายก็จะใช้โปรแกรมอ่านข้อความ และเมลไคลเอนท์ จะต้องใช้โปรโตคอล เช่น pop,Imap เพื่อดึงอีเมลจากเซิร์ฟเวอร์มากเก็บไว้ที่เครื่องไคลเอนท์ผู้ใช้ เพื่ออ่านอีเมลที่มีผู้ส่งมาถึงต่อไป

Pop (Post Office portocol) คือ โปรโตคอลที่ใช้สำหรับอ่านเมลในเมล์บ๊อกซ์ ซึ่งปัจจุบันใช้pop เวอร์ชั่น 3 (pop3) การทำงานเริ่มจากไคลเอนท์สร้างการเชื่อมต่อแบบ TCP  กับเมลเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งในระหว่างการเชื่อมต่อจะมีขั้นตอนในการเชื่อมต่ออยู่ 3 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 เมื่อไคลเอนท์สร้างการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟ เมื่อผู้ใช้บริการต้องการที่จะรับส่งอีเมลก็ต้องทำการล๊อกอิน คือ ชื่อผู้ใช้(Username)และรหัสผ่าน(password)เพื่อตรวจสอบสิทธ์ของการใช้งานในเมลบ๊อกซ์

ระยะที่ 2 เป็นระยะของการดาวน์โหลดอีเมลจากเครื่องเมลเวอร์และระยะนี้ไคลเอนท์สามารถกำหนดการลบเมลออกจากเมลบ๊อกซ์

ระยะที่ 3 เป็นระยะสุดท้ายในการสิ้นสุดการเชื่อมต่อ เมลเซิร์ฟเวอร์จะทำการลบอีเมลที่ผู้ใช้ต้องการ และสิ้นสุดการเชื่อมต่อ

ซึ่ง pop3 นี้ผู้ใช้จะไม่สามารถจัดการเมลบ๊อกซ์ของตนเองได้ โดยสามารถทำได้เพียงการดาวน์โหลดเมล และลบเมลที่ไม่ต้องการเท่านั้น ถ้าจำนวนของจดหมายที่เข้ามาในเมลบ๊อกซ์มีจำนวนมากขึ้น จะทำให้การค้นหาเมลทำได้อยาก ผู้ใช้จะไม่สามารถสร้างโฟลเดอร์เพื่อใช้ในการจัดการข้อมูลในเซิร์ฟเวอร์ได้

  • IMAP

IMAP (Internet Message Access Protocol) คือโปรโตคอลที่ใช้ในการจัดการเมลบ๊อกซ์ซึ่งนำมาใช้แก้ปัญหาของ pop3 โดยโปรโตคอล IMAP  จะอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถจัดการเมลบ๊อกซ์ที่เซิร์ฟเวอร์ได้ และยังสามารถย้ายเมลจากโฟลเดอร์หนึ่งไปยังอีกโฟลเดอร์หนึ่งได้ และนอกจากนี้ยังได้จัดเก็บรายละเอียดของสถานะของเมลว่าได้ เช่น ดาวน์โหลดเฉพาะส่วนหัวข้ออีเมล หรือถ้าเป็นอีเมลที่มีไฟล์แนบ (Attachment)มาด้วย ผู้ใช้อาจกำหนดให้ดาวน์โหลดเฉพาะข้อความเท่านั้น ส่วนไฟล์ที่แนบอาจจะเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ก่อน

ในการเชื่อมต่อแต่ครั้งของโตคอล IMAP เซิร์ฟเวอร์จะมีอยู่ 4 สถานะ ได้แก่ (จตุชัย แพงจันทร์ และคณะ 2547 : 228)

  1. Non-Authenticated State สถานะเริ่มเมื่อมีการสร้างการเชื่อมต่อในตอนแรกโดยในขั้นตอนนี้ไคลเอนท์ต้องชื่อล๊อกอิน และรหัสผ่าน เพื่อตรวจสอบสอบการใช้งานได้เท่านั้น
  2. Authenticated Stale :  เมื่อเซิร์ฟตรวจสอบผู้ใช้ผ่านแล้ว ขั้นตอนต่อไปผู้ใช้ต้องส่ง ข้อมูลว่าต้องการอ่าน หรือจัดการเมลที่อยู่ในโฟลเดอร์ใด
  3. Selected State :เมื่อเลือกโฟลเดอร์แล้วผู้ใช้ถึงมีสิทธ์จัดการเมลได้ เช่น ดาวน์โหลดย้ายโฟลเดอร์ ลบเมล หรือดาวน์โหลดบางส่วนเมล เป็นต้น
  4. Logout State  สถานะนี้เริ่มเมื่อผู้ใช้สิ้นสุดการเชื่อมต่อ หรือเซิร์ฟเวอร์ยกเลิกก็ได้

บริการด้านการสื่อสารมีอะไรบ้าง

8.การใช้บริการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตแบบเครือข่ายสังคม (Social Network)

บริการด้านการสื่อสารมีอะไรบ้าง

1. สร้างและประกาศตัวตน (Identity Network) เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทนี้ใช้สำหรับให้ผู้เข้าใช้งานได้มีพื้นที่ในการสร้างตัวตนขึ้นมาบนเว็บไซต์ และสามารถที่จะเผยแพร่เรื่องราวของตนผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยลักษณะของ การเผยแพร่อาจจะเป็นรูปภาพ วิดีโอ การเขียนข้อความลงในบล็อก อีกทั้งยังเป็นเว็บที่เน้นการหาเพื่อนใหม่ หรือการค้นหาเพื่อนเก่าที่ขาดการติดต่อ                                                                                       การเขียนบทความได้อย่างเสรี ซึ่งอาจจะถูกนำมาใช้ได้ใน 2 รูปแบบ ได้แก่

1.1 Blog บล็อก เป็นชื่อเรียกสั้นๆ ของ Weblog ซึ่งมาจากคำว่า “Web” รวมกับคำว่า “Log” ที่เป็นเสมือนบันทึกหรือรายละเอียดข้อมูลที่เก็บไว้ ดังนั้นบล็อกจึงเป็นโปรแกรมประยุกต์บนเว็บที่ใช้เก็บบันทึกเรื่องราว หรือเนื้อหาที่เขียนไว้โดยเจ้าของเขียนแสดงความรู้สึกนึกคิดต่างๆ โดยทั่วไปจะมีผู้ที่ทำหน้าที่หลักที่เรียกว่า “Blogger” เขียนบันทึกหรือเล่าเหตุการณ์ที่อยากให้คนอ่านได้รับรู้ หรือเป็นการเสนอมุมมองและแนวความคิดของตนเองใส่เข้าไปในบล็อกนั้น

บริการด้านการสื่อสารมีอะไรบ้าง

1.2 ไมโครบล็อก (Micro Blog) เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทนี้มีลักษณะเด่นโดยการให้ผู้ใช้โพสต์ข้อความ
จำนวนสั้นๆ ผ่านเว็บผู้ให้บริการ และสามารถกำหนดให้ส่งข้อความนั้นๆ ไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ เช่น Twitter

บริการด้านการสื่อสารมีอะไรบ้าง

2. สร้างและประกาศผลงาน (Creative Network) เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทนี้ เป็นสังคมสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการแสดงออกและนำเสนอผลงานของตัวเอง สามารถแสดงผลงานได้จากทั่วทุกมุมโลก จึงมีเว็บไซต์ที่ให้บริการพื้นที่เสมือนเป็นแกลเลอรี่ (Gallery) ที่ใช้จัดโชว์ผลงานของตัวเองไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ รูปภาพ เพลง อีกทั้งยังมีจุดประสงค์หลักเพื่อแชร์เนื้อหาระหว่างผู้ใช้เว็บที่ใช้ฝากหรือแบ่งปัน โดยใช้วิธีเดียวกันแบบเว็บฝากภาพ แต่เว็บนี้เน้นเฉพาะไฟล์ที่เป็นมัลติมีเดีย ซึ่งผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ประเภทนี้ ได้แก่ YouTube, Flickr, Multiply, Photobucket และ Slideshare เป็นต้น

บริการด้านการสื่อสารมีอะไรบ้าง

3. ความชอบในสิ่งเดียวกัน (Passion Network) เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ทำหน้าที่เก็บในสิ่งที่ชอบไว้บนเครือข่าย เป็นการสร้าง ที่คั่นหนังสือออนไลน์ (Online Bookmarking) มีแนวคิดเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเก็บหน้าเว็บเพจที่คั่นไว้ในเครื่องคนเดียวก็นำมาเก็บไว้บนเว็บไซต์ได้ เพื่อที่จะได้เป็นการแบ่งปันให้กับคนที่มีความชอบในเรื่องเดียวกัน สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการเข้าไปหาข้อมูลได้ และนอกจากนี้ยังสามารถโหวตเพื่อให้คะแนนกับที่คั่นหนังสือออนไลน์ที่ผู้ใช้คิดว่ามีประโยชน์และเป็นที่นิยม ซึ่งผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ได้แก่ Digg, Zickr, Ning, del.icio.us, Catchh และ Reddit เป็นต้น

บริการด้านการสื่อสารมีอะไรบ้าง

4. เวทีทำงานร่วมกัน (Collaboration Network) เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ต้องการความคิด ความรู้ และการต่อยอดจากผู้ใช้ที่เป็นผู้มีความรู้ เพื่อให้ความรู้ที่ได้ออกมามีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเกิดการพัฒนาในที่สุด ซึ่งหากลองมองจากแรงจูงใจที่เกิดขึ้นแล้ว คนที่เข้ามาในสังคมนี้มักจะเป็นคนที่มีความภูมิใจที่ได้เผยแพร่สิ่งที่ตนเองรู้ และทำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เพื่อรวบรวมข้อมูลความรู้ในเรื่องต่างๆ ในลักษณะเนื้อหา ทั้งวิชาการ ภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ สินค้า หรือบริการ โดยส่วนใหญ่มักเป็นนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญ ผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ในลักษณะเวทีทำงานร่วมกัน ในลักษณะเวทีทำงานร่วมกัน เช่น Wikipedia, Google earth และ Google Maps เป็นต้น

บริการด้านการสื่อสารมีอะไรบ้าง

5. ประสบการณ์เสมือนจริง (Virtual Reality) เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทนี้มีลักษณะเป็นเกมออนไลน์ (Online games) ซึ่งเป็นเว็บที่นิยมมากเพราะเป็นแหล่งรวบรวมเกมไว้มากมาย มีลักษณะเป็นวิดีโอเกมที่ผู้ใช้สามารถเล่นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เกมออนไลน์นี้มีลักษณะเป็นเกม 3 มิติที่ผู้ใช้นำเสนอตัวตนตามบทบาทในเกม ผู้เล่นสามารถติดต่อปฏิสัมพันธ์กับผู้เล่นคนอื่นๆ ได้เสมือนอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง สร้างความรู้สึกสนุกเหมือนได้มีสังคมของผู้เล่นที่ชอบในแบบเดียวกัน อีกทั้งยังมีกราฟิกที่สวยงามดึงดูดความสนใจและมีกิจกรรมต่างๆ ให้ผู้เล่นรู้สึกบันเทิง เช่น Second Life, Audition, Ragnarok, Pangya และ World of Warcraft เป็นต้น

บริการด้านการสื่อสารมีอะไรบ้าง

6. เครือข่ายเพื่อการประกอบอาชีพ (Professional Network) เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการงาน โดยจะเป็นการนำประโยชน์จากเครือข่ายสังคมออนไลน์มาใช้ในการเผยแพร่ประวัติผลงานของตนเอง และสร้างเครือข่ายเข้ากับผู้อื่น นอกจากนี้บริษัทที่ต้องการคนมาร่วมงาน สามารถเข้ามาหาจากประวัติของผู้ใช้ที่อยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์นี้ได้ ผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทนี้ได้แก่ Linkedin เป็นต้น

บริการด้านการสื่อสารมีอะไรบ้าง

7. เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันระหว่างผู้ใช้ (Peer to Peer : P2P) เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์แห่งการเชื่อมต่อกันระหว่างเครื่องผู้ใช้ด้วยกันเองโดยตรง จึงทำให้เกิดการสื่อสารหรือแบ่งปันข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และตรงถึงผู้ใช้ทันที ซึ่งผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ประเภทนี้ ได้แก่ Skype และ BitTorrent เป็นต้น

บริการด้านการสื่อสารมีอะไรบ้าง

8.ระบบค้นหาข้อมูล (search engine) คือโปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลอินเทอร์เน็ตโดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาคเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่นๆ ซึ่งแตกต่างกันไป แล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริหารแต่ละราย ระบบค้นหาข้อมูลส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่คิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องขึ้นมาในปัจจุบัน ระบบค้นหาข้อมูลบางชนิด เช่น กูเกิล (Google) จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้นมาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อไป โดยทั่วไปการค้นหาข้อมูลมี 2 วิธี คือ

  1. การค้นหาในรูปแบบ Index Directory
    2. การค้นหาในรูปแบบ Search Engine
  2.  การค้นหาในรูปแบบ Index Directoryวิธีการค้นหาข้อมูลแบบ Index นี้ข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าการค้นหาข้อมูลด้วยวิธีของSearch Engine โดยมันจะถูกคัดแยกข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่ และจัดแบ่งแยก Site ต่างๆ ออก เป็นประเภท สำหรับวิธีใช้งานสามารถที่จะ Click เลือกข้อมูลที่ต้องการจะดูได้เลยใน Web Browser ต่อจากนั้นที่หน้าจอก็จะแสดงรายละเอียดของหัวข้อปลีกย่อยลึกลงมาอีกระดับหนึ่ง ปรากฏขึ้นมาให้เราเลือกอีกส่วนจะแสดงออกมาให้เลือกเยอะแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของฐานข้อมูลใน Index ว่าในแต่ละประเภท จัดรวบรวมเก็บเอาไว้มากน้อยเพียงใด
  3.  การค้นหาในรูปแบบ Search Engine
    วิธีการอีกอย่างที่นิยมใช้การค้นหาข้อมูลคือการใช้ Search Engine ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่กว่า 70% จะใช้วิธีการค้นหาแบบนี้ หลักการทำงานของSearch Engine จะแตกต่างจากการใช้ Index ลักษณะของมันจะเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป บน Internet ไม่มีการแสดงข้อมูลออกมาเป็นลำดับขั้นของความสำคัญ การใช้งานจะเหมือนการสืบค้นฐานข้อมูลอื่นๆคือ จะต้องพิมพ์คำสำคัญ (Keyword) ซึ่งเป็นการอธิบายถึงข้อมูลที่ต้องการจะเข้าไป ค้นหานั้นๆเข้าไป จากนั้น Search Engine ก็จะแสดงข้อมูลและ Site ต่างๆที่เกี่ยวข้องออกมา

ข้อแตกต่างระหว่าง Index และ Search Engine

วิธีในการค้นหาข้อมูลแบบ Index จะใช้คนเป็นผู้จัดรวบรวมและทำระบบฐานข้อมูลขึ้นมา ส่วนแบบ Search Engine นั้นระบบฐานข้อมูลของมันจะได้รับการจัดสร้างโดยใช้ Software ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้โดยเฉพาะมาเป็นตัวควบคุมและจัดการ ซึ่ง Software ตัวนี้จะมี ชื่อเรียกว่า Spiders การทำงานของมันจะใช้วิธีการเดินลัดเลาะไปตามเครือข่ายต่างๆที่เชื่อมโยงถึงกันอยู่เต็มไปหมดใน Internet  เพื่อค้นหา Website ที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบหาความเปลี่ยนแปลงของข้อมูลใน Site เดิมที่มีอยู่ ว่าที่ใดถูกอัพเดตแล้วบ้าง จากนั้นมันก็จะนำเอาข้อมูลทั้งหมดที่สำรวจเข้ามาได้เก็บใส่เข้าไปในฐานข้อมูลของตนอัตโนมัติ ยกตัวอย่างของผู้ให้บริการประเภทนี้เช่น Excite , Lycos Infoserch เป็นต้น การค้นหาด้วยวิธี Search Engine นั้น มักจะได้ผลลัพธ์ออกมากว้างๆ ชี้เฉพาะเจาะจงได้ยาก

หลักการค้นหาข้อมูลของ Search Enine
สำหรับหลักในการค้นหาข้อมูลของ Search Engine แต่ละตัวจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าทางศูนย์บริการต้องการจะเก็บข้อมูลแบบไหน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีกลไกใน การค้นหาที่ใกล้เคียงกัน หากจะแตกต่างก็คงจะเป็นเรื่องประสิทธิภาพเสียมากกว่า ว่าจะมีข้อมูล เก็บรวบรวมไว้อยู่ในฐานข้อมูลมากน้อยขนาดไหน และพอจะนำเอาออกมาบริการให้กับผู้ใช้ ได้ตรงตามความต้องการหรือเปล่า ซึ่งลักษณะของปัจจัยที่ใช้ค้นหาโดยหลักๆจะมีดังนี้

1. การค้นหาจากชื่อของตำแหน่ง URL ใน เว็บไซต์ต่างๆ
2. การค้นหาจากคำที่มีอยู่ใน Title (ส่วนที่ Browser ใช้แสดงชื่อของเว็บเพจอยู่ทางด้าน ซ้ายบนของหน้าต่างที่แสดง
3. การค้นหาจากคำสำคัญหรือคำสั่ง keyword (อยู่ใน tag คำสั่งใน html ที่มีชื่อว่า meta)
4. การค้นหาจากส่วนที่ใช้อธิบายหรือบอกลักษณะ site
5. ค้นหาคำในหน้าเว็บเพจด้วย Browser    ซึ่งการค้นหาคำในหน้าเว็บเพจนั้นจะใช้สำหรับกรณีที่คุณเข้าไปค้นหาข้อมูลที่เว็บ เพจใด เว็บเพจหนึ่ง แล้วภายในมีข้อความปรากฏอยู่เต็มไปหมด จะนั่งไล่ดูทีละบรรทัดคงไม่สะดวก ในลักษณะนี้เราใช้ใช้ browser ช่วยค้นหาให้ ขึ้นแรกให้คุณนำ mouse ไป click ที่ menu Edit แล้วเลือกบรรทัดคำสั่ง Find in Page หรือกดปุ่ม Ctrl + F ที่ keyboard ก็ได้ จากนั้นใส่คำที่ต้องการค้นหาลงไปแล้วก็กดปุ่ม Find Next โปรแกรมก็จะวิ่งหาคำดังกล่าว หากพบมันก็จะกระโดดไปแสดงคำนั้นๆ ซึ่งคุณสามารถกดปุ่ม Find Next เพื่อค้นหาต่อได้ อีกจนกว่าคุณจะพบข้อมูลที่ต้องการ

เทคนิค 11 ประการที่ควรรู้ในการค้นหาข้อมูล

ในการค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine ส่วนใหญ่แล้วปัญหาที่ผู้ใช้งานทั่วไปมักจะพบเห็น หรือประสบอยู่เสมอๆ ก็คงจะหนีไม่พ้นข้อมูลที่ค้นหาได้มีขนาดมากจนเกินไป ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการใช้งานจึงน่าที่จะเรียนรู้เทคนิคต่างๆเพื่อช่วยลดหรือจำกัดคำที่ค้นหาให้แคบลงและตรงประเด็นกับเรามากที่สุด   ดังวิธีการต่อไปนี้

  1. เลือกรูปแบบการค้นหาให้ตรงกับสิ่งที่คุณต้องการมากที่สุด

ส่วนจะเลือกใช้วิธีไหนก็ตามแต่จะเห็นว่าเหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการจะค้นหาข้อมูลที่มีลักษณะทั่วไป ไม่ชี้ เฉพาะเจาะจง ก็ควรเลือกบริการสืบค้นข้อมูลแบบ Index อย่างของ yahoo เพราะ โอกาสที่จะเจอนั้น เปอร์เซ็นต์สูงกว่าจะมานั่งสุ่มหาโดยใช้วิธีแบบ Search Engine

  1. ใช้คำมากกว่า 1 คำที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกันช่วยค้นหา 

เพราะจะได้ผลลัพท์ที่มีขนาดแคบลงและชี้เฉพาะมากขึ้น (ย่อมจะดีกว่าหาคำเดียวโดดๆ)

  1. ใช้บริการของผู้ให้บริการเฉพาะด้าน

เช่น การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวของภาพยนตร์ก็น่าที่จะเลือกใช้ Search Engine ที่ให้บริการใกล้เคียงกับเรื่องพวกนี้ เพราะผลลัพท์ที่ได้จะเป็นที่น่าพอใจมากกว่า

  1. ใส่เครื่องหมายคำพูดครอบคลุมกลุ่มคำที่ต้องการ

เพื่อบอกกับ Search Engine ว่าเราต้องการผลการค้นหาที่มีคำในกลุ่มนั้นครบและตรงตามลำดับที่เราพิมพ์ทุกคำ เช่น “free shareware” เป็นต้น

  1. การขึ้นต้นของตัวอักษรตัวเล็กเท่ากันหมด

Search Engine จะเข้าใจว่าเราต้องการ ให้มันค้นหาคำดังกล่าวแบบไม่ต้องสนใจว่าตัวอักษรที่ได้จะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ดังนั้นหากคุณต้องการอยากที่จะให้มันค้นหาคำตรงตามแบบที่เขียนไว้ก็ให้ใช้           ตัวอักษรใหญ่แทน

  1. ใช้ตัวเชื่อมทาง Logic หรือตรรกศาสตร์เข้ามาช่วยค้นหา

มีอยู่ 3 ตัวด้วยกันคือ

– AND สั่งให้หาโดยจะต้องมีคำนั้นๆมาแสดงด้วยเท่านั้น! โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องติดกัน เช่น phonelink AND pager เป็นต้น

– OR สั่งให้หาโดยจะต้องนำคำใดคำหนึ่งที่พิมพ์ลงไปมาแสดง

– NOT สั่งไม่ให้เลือกคำนั้นๆมาแสดง เช่น food and cheese not butter หมายความว่า ให้ทำการหาเว็บที่เกี่ยวข้องกับ food และ cheese แต่ต้องไม่มี butter เป็นต้น

  1. ใช้เครื่องหมายบวกลบคัดเลือกคำ

+หน้าคำที่ต้องการจริงๆ-(ลบ)ใช้นำหน้าคำที่ไม่ต้องการ() ช่วยแยกกลุ่มคำ เช่น (pentium+computer)cpu

  1. ใช้ * เป็นตัวร่วม 

เช่น com* เป็นการบอกให้หาคำที่มีคำว่า com ขึ้นหน้าส่วนด้านท้ายเป็น อะไรไม่สนใจ *tor เป็นการให้หาคำที่ลงท้ายด้วย tor ด้านหน้าจะเป็นอะไรไม่สนใจ

  1. หลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลข

พยายามเลี่ยงการใช้คำค้นหาที่เป็นคำเดี่ยวๆ หรือเป็นคำที่มีตัวเลขปน แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็อย่าลืมใส่เครื่องหมายคำพูด (” “) ลงไปด้วย เช่น “windows 98”

  1. หลีกเลี่ยงภาษาพูด

หลีกเลี่ยงคำประเภท Natural Language หรือเรียกง่ายๆ ว่าคำหรือข้อความที่เป็นภาษาพูด หรือเป็นประโยค ควรสรุปเป็นเพียงกลุ่มคำหรือวลี ที่มีความหมายรวมทั้งหมดไว้ Advanced Search อย่าลืมที่จะใช้ Advanced Search เพราะจะมีส่วนช่วยคุณได้มาก ในการบีบประเด็นหัวข้อ ให้แคบลง ซึ่งจะทำให้คุณได้รายชื่อเว็บไซต์ ที่ตรงกับความต้องการของคุณมากขึ้น

  1. อย่าละเลย Help

ซึ่งในแต่ละเว็บ จะมี ปุ่ม help หรือ Site map ไว้คอยช่วยเหลือ แต่คนส่วนใหญ่มักจะมองข้าม ซึ่ง help/site map จะมีประโยชน์มากในการอธิบาย option หรือการใช้งาน/แผนผังปลีกย่อยของแต่ละเว็บไซต์

ที่มา
http://www.mcp.ac.th/online/internet/1_2.html
http://communicatinginternet.blogspot.com/
http://kanjanazqx.blogspot.com/p/7-1.html
http://kanjanazqx.blogspot.com/
https://sites.google.com/site/jedinttech/rabb-chux-domen
http://thana-za.exteen.com/20071123/search-engine1
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/nittaya_c/meaow2/page04_2.htm http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=khaotao&month=19-12-2014&group=3&gblog=3