การหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 มีเงื่อนไขในการหักภาษีอย่างไรบ้าง

6.1   ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย และได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2)(3)(4)(5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย การเสียภาษีกรณีนี้กฎหมายให้เสียโดยวิธีหักภาษี คือ ผู้จ่ายเงินได้ดังกล่าวจะต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามวิธีการและอัตราดังหัวข้อถัดไป ทั้งนี้ไม่ว่าใครจะเป็นผู้จ่ายเงินได้ก็ตาม ภาษีที่หักไว้ในกรณีนี้เป็นภาษีที่เสียเด็ดขาดจึงเสร็จสิ้นเป็นรายครั้งไปถ้ากรณีที่เป็นการจ่ายเงินได้ดังกล่าวให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในต่างประเทศซึ่งเป็นสาขาของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ผู้จ่ายเงินได้ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีตามฐานนี้เพราะผู้รับเงินได้ไม่ใช่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีฐานนี้แต่อย่างใด

6.2   เงินได้ที่ต้องหักภาษี เงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศ ซึ่งผู้จ่ายมีหน้าที่ต้อง หักภาษี ได้แก่ เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2)(3)(4)(5) หรือ (6)

            (1)   เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือ ตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับ ทำงานให้ (ค่าธรรมเนียมค้ำประกันเงินกู้ยืม ในทางปฏิบัติถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ประเภทที่ 8)

            (2)   เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่นหรือคำพิพากษาของศาล

            (3)   เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4) ได้แก่เงินได้ที่เป็น

                    (ก)   ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม

                    กรณีได้เงินได้ที่เป็นดอกเบี้ยจากรัฐบาล หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของ ประเทศไทย จัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเพื่อส่งเสริม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม ไม่ต้องเสีย ภาษีฐานนี้ (มาตรา 70 วรรค 2 )

                    (ข)   เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไรหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลหรือกองทุนรวม

                    (ค)   เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นส่วนในบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

                    (ง)   เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและ เงินที่กันไว้รวมกัน

                    (จ)   เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งตั้งกำไรที่ได้มาหรือเงินที่กันไว้ รวมกัน

                    (ฉ)   ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากันหรือรับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน

                    (ช)   ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน หรือโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือ ตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้เฉพาะ ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน

            (4)   เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) ได้แก่ เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการให้เช่า ทรัพย์สิน

            (5)   เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบ โรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม

6.3   วิธีการคำนวณหักภาษีฐานนี้ มีหลักเกณฑ์และวิธีการแยกออก ตามประเภทของเงินได้ ดังนี้

            (1)   เงินได้พึงประเมินมาตรา 40(2)(3)(4)(5) และ (6) นอกจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) ดังจะกล่าวต่อไปใน (2) ให้คำนวณหักภาษีในอัตราร้อยละ 15

            (2)   เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) ให้คำนวณหักภาษีในอัตราร้อยละ 10

            การยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษี การหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายสำหรับบริษัทต่างประเทศข้างต้น ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินแบบแสดงรายการที่ยื่น ได้แก่ แบบ ภ.ง.ด.54 (ถ้าไม่มี การส่งเงินได้ไปต่างประเทศก็ไม่ต้องยื่น)

ประกาศกรมสรรพากร

เรื่อง      การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร

---------------------------------------------

                ตามที่ได้มีคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528 โดยมีผลใช้บังคับสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมิน ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528 เป็นต้นไป ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.18/2530 ฯ ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2530 กำหนดให้ผู้ซื้อสินค้าซึ่งเป็นผู้ไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมิน ตั้งแต่วันที่1 กันยายน 2530 เป็นต้นไป นั้น

                บัดนี้ ได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 175 (พ.ศ.2530) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยภาษีเงินได้เพื่อขยายขอบเขตการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น อันจะมีส่วนขยายฐานภาษีออกไป และสร้างความเป็นธรรมระหว่างผู้มีเงินได้ด้วยกัน ตลอดจนผ่อนคลายภาระในการชำระภาษีจำนวนมากในตอนสิ้นปี และการหลีกเลี่ยงภาษีอากรได้อีกทางหนึ่งด้วย จึงจำเป็นต้องแก้ไขคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว โดยกรมสรรพากรได้ออกคำสั่ง ที่ ท.ป.19/2530 ฯ ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2530

                กรมสรรพากรจึงประกาศมาเพื่อทราบทั่วกันว่า สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินบางประเภทดังต่อไปนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2530 เป็นต้นไป ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้ คือ

                ข้อ 1 กรณีจ่ายดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ถ้าผู้จ่ายเป็นธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ได้จ่ายเงินได้ดังกล่าวให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย หักภาษี ณ ที่จ่าย ยังคงให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1.0 เหมือนเดิม แต่ถ้าจ่ายให้กับมูลนิธิ หรือสมาคมที่มิใช่มูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเดิมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้ในอัตราร้อยละ 5.0 ได้กำหนดอัตราใหม่เป็นให้หักในอัตราร้อยละ 10.0

                ข้อ 2  กรณีจ่ายเงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไรหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (แต่ไม่รวมถึงกิจการร่วมค้า) ถ้าผู้จ่ายเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยกองทุนรวมสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณชิยกรรม หรืออุตสาหกรรม จ่ายเงินได้ดังกล่าวให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศประกอบกิจการในประเทศไทย หรือจ่ายให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยได้กำหนดอัตราใหม่เป็นให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 10.0 แต่ถ้าผู้รับ เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้จ่ายไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

                ข้อ 3  กรณีจ่ายค่าเช่า หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สินแต่ไม่รวมถึงค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ ถ้าผู้จ่ายเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่น จ่ายเงินได้ดังกล่าวให้แก่ผู้รับดังต่อไปนี้ ได้กำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้ คือ

                        (1) ผู้รับเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้หักในอัตราร้อยละ 5.0

                        (2) ผู้รับเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ให้หักในอัตราร้อยละ 5.0

                        (3) ผู้รับเป็นมูลนิธิหรือสมาคมที่มิใช่มูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้หักภาษีในอัตราร้อยละ 10.0

                ข้อ 4  กรณีจ่ายเงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม เดิมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้ในอัตราร้อยละ 2.0 ได้กำหนดอัตราใหม่เป็นให้หักภาษีในอัตราร้อยละ 3.0

                ข้อ 5  กรณีจ่ายค่าจ้างทำของ ถ้าผู้จ่ายเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ได้กำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 สำหรับการจ่ายเงินได้ดังกล่าวให้แก่ผู้รับดังต่อไปนี้

                        (1) ผู้รับซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะค่าจ้างทำของที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(7) คือ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุน ด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญ นอกจากเครื่องมือ หรือค่าจ้างทำของอย่างอื่นที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร

                        (2) ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยแต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม สำหรับค่าจ้างทำของทุกอย่าง

                        (3) ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการในประเทศไทย โดยมีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย สำหรับค่าจ้างทำของทุกอย่าง

                        ส่วนการจ่ายเงินค่าจ้างทำของให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่มิได้มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย ยังคงให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้ในอัตราร้อยละ 5.0 เหมือนเดิมตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.8/2528 ฯ ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2528

                ข้อ 6  กรณีจ่ายรางวัลในการประกวด การแข่งขัน การชิงโชค หรือการอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน ยังคงให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้ในอัตราร้อยละ 5.0 เหมือนเดิม

                ข้อ 7  กรณีจ่ายเงินได้ให้แก่นักแสดงสาธารณะ คือ นักแสดงละคร ภาพยนตร์วิทยุหรือโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ เดิมให้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในอัตราร้อยละ 3.0 ได้กำหนดอัตราใหม่เป็นให้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 5.0

                ข้อ 8  กรณีจ่ายค่าโฆษณา ยังคงให้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในอัตราร้อยละ 2.0 เหมือนเดิม

                ข้อ 9  กรณีจ่ายค่าซื้อสัตว์น้ำ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตและส่วนต่าง ๆ ของสัตว์น้ำ ไม่ว่าจะสดหรือแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง หรือกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อรักษาไว้มิให้เปื่อยเน่าในระหว่างการขนส่ง ถ้าผู้จ่ายเป็นบุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเฉพาะกรณีที่ผู้จ่ายเป็นผู้ส่งออก หรือผู้ผลิตภัณฑ์ใด ๆ จากสัตว์น้ำ และผู้ผลิตอยู่ในบังคับต้องขออนุญาตตั้งโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานได้กำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1.0

                ข้อ 10  การจ่ายเงินทุกกรณีดังกล่าว ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องนำส่งภาษีที่ต้องหักด้วยแบบ ภ.ง.ด.3 สำหรับกรณีผู้ถูกหักที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือแบบ ภ.ง.ด.53 สำหรับกรณีที่ผู้หักมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่ว่าการอำเภอหรือเขตท้องที่ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนที่จ่ายไม่ว่าจะได้หักภาษีดังกล่าวไว้แล้วหรือไม่ สำหรับการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับรายหนึ่ง ๆ ตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป และเมื่อได้หักภาษีไว้แล้วผู้หักภาษีจะต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายจำนวน 2 ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกันให้แก่ผู้ถูกหักภาษีด้วย

                ในกรณีมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดติดต่อสอบถามได้ที่กองกฎหมายและระเบียบ หรือฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมสรรพากร สำนักงานสรรพากรเขต สำนักงานสรรพากรเขตพื้นที่ สำนักงานสรรพากรจังหวัด สำนักงานสรรพากรอำเภอหรือเขต แห่งหนึ่งแห่งใดก็ได้

ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2530

บัณฑิต บุณยะปานะ

อธิบดีกรมสรรพากร

การหักลดหย่อนเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีหลักในการหักอย่างไรบ้าง

1. เมื่อเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุน - สามารถหักลดหย่อนได้เมื่อคำนวณเงินได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน ปีละ 10,000 บาท - สำหรับส่วนที่เกิน 10,000 บาท (แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง และไม่เกิน 490,000บาท) ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเงินได้ เพื่อเสียภาษี

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 มีอะไรบ้าง

3. เงินได้ประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล

เงินได้พึงประเมินประเภทใดที่กฎหมายไม่ยอมให้หักค่าใช้จ่าย

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายไม่ยอมให้หัก ค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

การหักภาษี ณ ที่จ่าย 3 คืออะไร

หัก 3% สำหรับจ้างรับเหมาหรือบริการต่างๆ ค่าบริการที่เกิดขึ้นในกิจการทุกอย่างจะต้องมีการ หัก ณ ที่จ่าย 3% เช่น บริการรับจ้างทำของ จ้างทำนามบัตร จ้างทำกราฟิก จ้างช่างภาพมาถ่ายรูป จ้างบล็อกเกอร์รีวิวสินค้า จ้างตกแต่งภายใน บริการสถานที่ ซอฟต์แวร์ โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต ก็เข้าข่ายนี้ เพราะถือเป็นการให้บริการ