นักโลจิสติกส์มีหน้าที่อะไรบ้าง

       สามารถประกอบอาชีพเป็นพนักงานในองค์การระหว่างประเทศ เจ้าของธุรกิจส่วนตัว นักวิจัย นักวิชาการด้านการขนส่งการค้าในสถาบันต่าง ๆ อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา นอกจากนี้นักวิเคราะห์ระบบโลจิสติกส์สามารถเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่และหน่วยงานที่ตนปฏิบัติได้เสมอ อาจจะเป็นนักวิเคราะห์ระบบ นักวิจัย และนักวางแผนทางระบบโลจิสติกส์

           หากใครที่กำลังสนใจ เรียนโลจิสติกส์ หรืออยากทำงานสายอาชีพสุดอินเทรด์นี้ JobsDB เชื่อว่าโลจิสติกส์จะเป็นตัวเลือกที่ดีในอนาคตแน่นอน เพราะนอกจากคนที่จบโลจิสติกส์มาจะสามารถทำงานได้ทุกงานในสายงานของโซ่อุปทานแล้ว ยังเป็นสายงานที่ตลาดในประเทศและต่างประเทศมีความต้องการบุคลากรเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เนื่องจากต้องรองรับการเติบโตของภาคธุรกิจและบริการในยุคดิจิทัล หากใครเริ่มสนใจอยากจะทำงานสายนี้บ้าง สามารถเข้ามาดูตำแหน่งงานได้ที่ JobsDB

หน้าที่หลักเลยก็คือการวิเคราะห์ ให้คำปรึกษา แนะนำ เพื่อลดต้นทุนด้านบริหารคลังสินค้า วัตถุดิบ สินค้าหลังการผลิต และการขนส่งสินค้าเพื่อให้ลูกค้าที่ได้รับสินค้าตรงตามเวลาและสถานที่ตามที่กำหนดไว้ โดยจะวิเคราะห์ดัชนีชี้วัด วิเคราะห์กระบวนการดำเนินงาน สนับสนุนงานบริการและการผลิต รวมทั้งให้คำปรึกษาแก่สถานประกอบการ

ถึงหน้าที่จะดูเครียดไปบ้าง แต่ถ้าเราชอบก็จะกลายเป็นความสนุกในการทำงานได้เลยนะคะน้องๆ

นักโลจิสติกส์มีหน้าที่อะไรบ้าง

 

 

นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ

รวมหน้าที่ทั้งหมดของนักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ อย่างแรกคือวิเคราะห์และศึกษาความเป็นไปได้ ต่อมาคือวางแผนการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบตามขั้นตอนของวงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ วิเคราะห์และออกแบบระบบให้สอดรับกับความต้องการขององค์กรและผู้ใช้งาน ทำการทดสอบระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นว่าตรงกับข้อกำหนดความต้องการใช้งานระบบ ติดตั้งและปรับค่าระบบก่อนการเริ่มต้นใช้งานระบบ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับระบบที่พัฒนา รวมทั้งการให้ข้อแนะนำด้านเทคนิคและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบ ใครอยากเป็นก็เล็งไว้เลยนะ

นักโลจิสติกส์มีหน้าที่อะไรบ้าง

 

 

ฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์

ฝ่ายนี้ทำงานเกี่ยวกับการขนส่งสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ธุรกิจชิปปิ้ง หรือการดำเนินการพิธีทางศุลกากร เป็นต้น ซึ่งได้กลายเป็นส่วนสำคัญในธุรกิจไปแล้ว โดยหัวใจสำคัญคือการเคลื่อนย้ายสินค้าจากสถานที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งอย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดการด้านบริการ รวมไปถึงการบริหารทรัพยากรให้คุ้มค่า เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สำคัญมากกับงานสายโลจิสติกส์เชียวนะคะ

นักโลจิสติกส์มีหน้าที่อะไรบ้าง

 

 

ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า

วางแผนการใช้พื้นที่จัดเก็บสินค้าสำเร็จรูปและบริหารสินค้าคงคลังให้เป็นไปตามระเบียบ ควบคุมการดำเนินงานรับเข้าและเบิกจ่ายสินค้าภายในคลังให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ประสานงาน กำกับดูแลงานจัดส่งสินค้าตั้งแต่การวางแผน คัดเลือกตัวแทนขนส่งและควบคุมต้นทุนการขนส่ง

นักโลจิสติกส์มีหน้าที่อะไรบ้าง

 

 

ฝ่ายจัดซื้อ

ทำหน้าที่จัดซื้อสินค้าและบริการจากผู้ขาย (Supplier) ด้วยการจ่ายเงินตามที่ราคากำหนดไว้จากผู้ให้บริการ ให้ได้ราคาที่สอดกับปริมาณและคุณภาพ รวมทั้งการจัดส่งที่ตรงเวลาตามสถานที่ที่กำหนดไว้

นักโลจิสติกส์มีหน้าที่อะไรบ้าง

 

 

ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ

มาที่อาชีพสุดท้ายที่พี่จะแนะนำละ ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบมีหน้าที่จัดทำแผนความต้องการใช้วัตถุดิบเพื่อการผลิตที่สอดคล้องกับแผนการผลิต ในเรื่องจำนวน ชนิด เวลาที่จะต้องมี – ติดตามตรวจสอบการมีอยู่ของวัสดุเพื่อให้มั่นใจว่าการผลิตจะไม่ติดขัด

คณะโลจิสติกส์ (Logistics) อีกหนึ่งคณะที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน และเป็นที่ต้องการมากในตลาดแรงงาน โดยเป็นการเรียนเกี่ยวกับการขนส่งสินค้า ควบคุมการส่งสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทางตามความต้องการของลูกค้า เป็นการจัดการวางแผนอย่างเป็นระบบ เพื่อหาวิธีการขนส่งสินค้าที่ดีที่สุด โดยการขนส่งของระบบโลจิสติกส์นั้น ไม่ใช่แค่ทางบก หรือทางพื้นดินอย่างเดียว แต่ยังมีทางเรือ และทางอากาศด้วย

การขนส่งที่ดี ต้องมีการวางแผนการขนส่งอย่างรอบคอบ การตรวจสอบสินค้าในคลังสินค้า การจัดเก็บ การควบคุม การบริหารธุรกิจอย่างฉลาด รวมไปถึงต้องเข้าใจการตลาดเกี่ยวกับการทำธุรกิจ เพื่อรักษาผลประโยชน์ด้านการบริหารเงินด้วย โดยการทำงานของผู้ที่จบคณะโลจิสติกส์นั้น สามารถไปได้หลากหลายทาง ซึ่งสายงานหลัก ๆ สามารถแบ่งได้ ดังนี้ 

  1. ฝ่ายจัดซื้อ มีหน้าที่จัดหาซื้อวัสดุเพื่อนำมาใช้ในการผลิตและการดำเนินงานทางธุรกิจ โดยใช้ความสามารถและทักษะในการต่อรองเพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ ในราคาที่สมเหตุสมผล และตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน ไม่ทำให้บริษัทเสียผลประโยชน์
  2. ฝ่ายจัดหา ทำหน้าที่ตั้งแต่กระบวนการซื้อโดยศึกษาความต้องการ หาแหล่งจัดซื้อและการคัดเลือกผู้ส่งมอบสินค้า การเจรจาต่อรองราคาและกำหนดเงื่อนไขให้ตรงตามความต้องการ รวมไปถึงการติดตามการจัดส่งเพื่อให้ได้รับสินค้าตรงเวลา
  3. ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการรับ – จ่าย การเก็บ และส่งสินค้าไปยังลูกค้า การตรวจเช็กสินค้าตามระบบการควบคุมของสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ทำรายงานที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้าและวัตถุดิบอย่างละเอียด และรอบคอบ
  4. ฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ โดยหลัก ๆ จะมีหน้าที่ประสานข้อมูลจากลูกค้า วางแผนกระบวนการผลิตว่าต้องใช้ขั้นตอนอะไรบ้าง จัดวางกลยุทธ์ด้านการผลิต เพื่อลดค่าใช้จ่ายและพัฒนาคุณภาพและระดับสินค้าคงคลัง เพื่อจัดส่งสินค้าอย่างเสร็จสมบูรณ์
  5. ฝ่ายการขนส่ง วางแผนการขนส่งอย่างเป็นระบบ รักษาคุณภาพของระบบขนส่งให้ทันเวลา รวมถึงการรักษาสินค้าได้อย่างปลอดภัย
  6. นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ทำหน้าที่วิเคราะห์ให้คำปรึกษา แนะนำ เพื่อลดต้นทุนด้านบริหารคลังสินค้า วัตถุดิบ สินค้าหลังการผลิต และการขนส่งสินค้าที่ได้สินค้าตรงตามเวลาและสถานที่ตามที่กำหนด  โดยจะวิเคราะห์ดัชนีชี้วัด วิเคราะห์กระบวนการดำเนินงาน สนับสนุนงานบริการและการผลิต รวมทั้งให้คำปรึกษาแก่สถานประกอบการ
  7. นักวางแผน วัตถุดิบ การผลิต หรือการกระจายสินค้า เป็นผู้วางแผนการจัดซื้อวัตถุดิบให้เพียงพอต่อการผลิตตามความต้องการของลูกค้า ในราคาต้นทุน ขั้นตอนการผลิตที่ถูกต้องและรวดเร็วตามระบบของการผลิต รวมถึงขั้นตอนการขนส่งและการเก็บรักษาตัวสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคหรือลูกค้าคนสุดท้าย ให้ถึงภายในระยะเวลาที่กำหนดและสินค้าปลอดภัย
  8. นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ ทำงานร่วมกับทีมงานในองค์กร เก็บรวมรวมข้อมูลความต้องการของผู้ใช้งาน วิเคราะห์ วางแผน ออกแบบให้รองรับความต้องการ 
  9. ทำธุรกิจส่วนตัว เช่น นำเข้าและส่งออก ผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ ตัวแทนขนส่งทางบก ทางทะเล หรือทางอากาศ ฯลฯ
  10. รับราชการ เช่น กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี กรมประมง กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

นักโลจิสติกส์มีหน้าที่อะไรบ้าง

โดยปัจจุบันผู้จบด้านโลจิสติกส์ (Logistics) สามารถประกอบอาชีพได้อย่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความสนใจของผู้ประกอบอาชีพว่าอยากไปทางด้านไหน เนื่องจากความต้องการผู้ที่จบการศึกษาด้านโลจิสติกส์ยังคงมีความต้องการ ซึ่งในปัจจุบัน ได้มีเทคโนโลยีเข้ามาทำให้ธุรกิจด้านการขนส่งจำเป็นต้องมีการปรับตัวอย่างเหมาะสมเพื่อการตอบโจทย์ต่อการขนส่งในอนาคต

และสำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่มหาวิทยาลัย ลองมาเตรียมความพร้อมไปพร้อม ๆ กันได้จากที่นี่เลย เตรียมสอบ TCAS65 หรืออยากหาโจทย์เก่า ๆ ทำเพื่อเพิ่มความมั่นใจ ก็เข้ามาที่นี่ได้เลยน้าา คลังข้อสอบ แล้วมาฝึกทำข้อสอบไปพร้อม ๆ กันนะ

โลจิสติกส์มีหน้าที่อะไรบ้าง

ทำความรู้จักระบบโลจิสติกส์ และความสำคัญต่อการพัฒนาธุรกิจ.
การให้บริการแก่ลูกค้าและกิจกรรมสนับสนุน.
การวางแผนหรือการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า.
การจัดซื้อจัดหา.
การบริหารสินค้าคงคลัง.
การสื่อสารด้านโลจิสติกส์และกระบวนการสั่งซื้อ.
การจัดการวัสดุ และบรรจุภัณฑ์.
การขนส่ง.
การเลือกสถานที่ตั้งของโรงงานและการจัดการคลังสินค้า.

นักโลจิสติกส์มืออาชีพ เป็นอย่างไร

นิยามอาชีพ ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ (Logistics Analyst / Logistics Specialist) ผู้ศึกษา วิเคราะห์ ให้คำปรึกษา แนะนำ เพื่อลดต้นทุนตั้งแต่ด้านบริหารคลังสินค้า ทั้งวัตถุดิบ สินค้าสำเร็จรูป และการบริหารงานขนส่งสินค้าเพื่อให้ลูกค้าที่ได้รับสินค้าตรงตามเวลาที่ต้องการแก่สถานประกอบการ

คุณสมบัติของนักโลจิสติกส์มีอะไรบ้าง

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ – สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จนถึงปริญญาโท ในสาขาโลจิสติกส์ การจัดการ บริหารธุรกิจ หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง – ควรมีความรู้ในด้านวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ ระบบการจัดเก็บ และระบบการจัดส่ง – ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์อยู่ในเกณฑ์ดี – ควรมีทักษะที่ดีในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา

อาชีพที่เกี่ยวกับโลจิสติกส์มีอะไรบ้าง

สายงานโลจิสติกส์กำลังมาแรงและเป็นที่ต้องการจำนวนมากของตลาดงาน ทั้งในประเทศและอาเซียน นักศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้ ทั้งการทำงานในฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ ฝ่ายการขนส่ง นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน นักวางแผนวัตถุดิบ การผลิต หรือการกระจายสินค้า รวมไปถึงการประกอบธุรกิจส่วนตัว ...