การที่ร่างกายขาดออกซิเจนจะมีผลอย่างไร

ออกซิเจน เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตก็จริง แต่ทว่าการทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีความพอดีในตัว ถ้าได้รับมากไปหรือน้อยไปก็ย่อมที่จะส่งผลร้ายต่อร่างกายได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงควรรักษาสมดุลของร่างกายด้วยการดูแลตัวเองด้วยการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรง เมื่อร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ระบบการทำงานก็จะสมดุลไม่เกิดสภาวะออกซิเจนสูงหรือออกซิเจนต่ำ

ภาวะ สมองขาดออกซิเจน (Cerebral Hypoxia) คือ อาการที่สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งอาจส่งผลให้มีอาการหายใจสั้นและถี่ ความจำเสื่อมชั่วคราว ชัก หรืออาจหมดสติได้ โดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น โรคหอบ สำลักควัน โดนบีบรัดบริเวณคอ หรือจมน้ำ เป็นต้น ทั้งนี้ อาการสมองขาดออกซิเจนถือเป็นภาวะอันตราย เพราะอาจสร้างความเสียหายต่อสมองจนถึงขั้นสมองตายและทำให้เสียชีวิตได้

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะสมองขาดออกซิเจน 

  • ภาวะขาดอากาศหายใจ เช่น จมน้ำ, สำลักอาหาร, โรคหืดชนิดรุนแรง, ระบบหายใจล้มเหลว, โรคทางระบบประสาทบางโรค เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส (ALS -Amyotrophic lateral sclerosis) โรคจาก
    การขึ้นที่สูง, ถูกฆาตกรรม, การฆ่าตัวตาย
  • ภาวะหัวใจหยุดเต้นจากโรคหัวใจเอง หรือจากโรคต่างๆ ที่รุนแรง
  • ภาวะชักแบบต่อเนื่องทั้งตัวหมดสติเป็นเวลานาน 
  • ภาวะพิษจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ 
  • ภาวะช็อกจากความดันโลหิตต่ำมากเป็นระยะเวลานาน
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นระยะเวลานาน 
  • ภาวะสมองขาดเลือดมาเลี้ยงทั้งสมอง 
  • ภาวะได้รับสารพิษเกินขนาด ทำให้ร่างกายหยุดหายใจ หรือหัวใจหยุดเต้น เช่น ควัน พิษ, การได้รับยาเกินขนาด

สมองขาดออกซิเจน มีอาการอย่างไร

ผู้ที่มีภาวะสมองขาดออกซิเจนจะมีอาการแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและระยะเวลาที่สมองขาดออกซิเจน โดยอาจมีอาการเบื้องต้น เช่น รู้สึกสับสนมึนงง มีเหงื่อออกมาก การตัดสินใจแย่ลง เคลื่อนไหวลำบาก ขาดสมาธิ ความจำเสื่อมชั่วคราว เป็นต้น แต่หากสมองขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง อาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

  • ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ
  • หายใจเร็ว หายใจติดขัด หรือหายใจมีเสียงหวีด
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ดวงตาไม่มีปฏิกิริยาต่อแสง
  • ชัก
  • หมดสติ
  • หยุดหายใจ หรือถึงขั้นสมองตายและเสียชีวิต

การรักษาภาวะสมองขาดออกซิเจนนี้ เป็นภาวะเร่งด่วนที่ต้องรีบให้การรักษาอย่างรวดเร็ว ด้วยการแก้ไขที่สาเหตุเพื่อให้มีการไหลเวียนของเลือดที่ดีให้เร็วที่สุด โดยการให้ออกซิเจนผ่านทางท่อช่วยหายใจ และเครื่องช่วยหายใจในระยะแรก ให้ยาเพิ่มความดันโลหิตถ้ามีความดันโลหิตต่ำ ต้องกู้ชีพให้สัญญาณชีพปกติให้เร็วที่สุด เมื่อสัญญาณชีพต่างๆ ปกติแล้ว ก็จะเป็นการค่อยๆ หยุดการใช้เครื่องช่วยหายใจ เพื่อการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากการใช้เครื่องช่วยหายใจ เช่น ปอดติดเชื้อ ปอดอักเสบ รวมถึงการฟื้นฟูสภาพร่างกายและสมองด้วยกายภาพบำบัด และการทำกิจกรรมต่างๆ ตามที่แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัดแนะนำ ซึ่งเป็นการรักษาภายในโรงพยาบาล ระยะเวลาในการรักษาขึ้นกับสาเหตุและอาการผิดปกติของสมองว่ามากน้อยเพียงใด ร่วมกับการฟื้นตัวของผู้ป่วยว่าดีแค่ไหน

ภาวะสมองขาดออกซิเจนป้องกันได้หรือไม่

ภาวะสมองขาดออกซิเจน สามารถป้องกันได้ด้วยการใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่ทำให้ขาดอากาศหายใจ รวมถึงการดูแลรักษาโรคประจำตัวที่เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะสมองขาดออกซิเจน เช่น ความดันโลหิตต่ำ ติดเชื้อรุนแรง น้ำตาลในเลือดต่ำ หากมีปัญหาการหยุดหายใจ หรือหัวใจหยุดเต้น ควรต้องได้รับการกู้ชีพอย่างถูกวิธีและรวดเร็วที่สุด เพื่อป้องกันการเกิดภาวะสมองขาดออกซิเจน ซึ่งจะทำให้เซลล์สมองตายหรือขาดเลือดและเสียชีวิตในที่สุด

คือ ภาวะที่เนื้อเยื่อในร่างกายของเราขาดออกซิเจน จึงส่งผลทำให้ร่างกายมีค่าออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ โดยหากวัดค่าได้ออกซิเจนต่ำกว่า 95 % ก็จะถือว่ามีออกซิเจนต่ำ ซึ่งในกรณีที่ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำลงมามาก จนส่งผลทำให้อวัยวะในร่างกายทำงานได้ไม่เต็มที่ อาจทำให้การทำงานของร่างกายและสมองบกพร่อง แสดงลักษณะที่ผิดปกติออกมาให้เห็นภายนอก เช่น มีเหงื่อไหล หายใจผิดปกติหรือผิวหนังเขียวซีด เป็นต้น หากร้ายแรงอาจมีผลทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

คลิกอ่านหัวข้อที่สนใจได้เลยค่ะ 😊

ออกซิเจนในเลือดต่ำ อาการเป็นอย่างไร

เมื่อปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำมักจะมีระดับความรุนแรง และแสดงอาการที่แตกต่างกันออกไป เนื่องจากมีสาเหตุหรือปัจจัยที่แตกต่างกัน เช่น ผู้ที่มีภาวะบกพร่องออกซิเจนจากการอยู่บนที่สูง หากอยู่บนที่สูงเป็นระยะเวลานานก็จะยิ่งเพิ่มระดับความรุนแรงมากขึ้น หรือหากเกิดกับเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว อาการก็อาจจะรุนแรงกว่าคนทั่วไป อาจถึงขั้นต้องให้ออกซิเจนด้วยเครื่องผลิตออกซิเจนกันเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามคุณสามารถสังเกตอาการที่บ่งชี้ของภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำได้ดังต่อไปนี้

  • ปวดศีรษะหรือวิงเวียนศีรษะ 
  • ผิวหนังซีดหรือเป็นสีเขียวคล้ำ 
  • มีภาวะหายใจลำบากหายใจถี่ขึ้นและมีเสียงหวีด 
  • รู้สึกกระวนกระวายหรือกระสับกระส่าย 
  • การรับรู้ลดลงไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก 
  • ดวงตาพร่ามัวรู้สึก มึนงง ซึม หรือสับสน

การที่ร่างกายขาดออกซิเจนจะมีผลอย่างไร

สาเหตุที่ทำให้เกิดออกซิเจนในเลือดต่ำ มีอะไรบ้าง

1.ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อย

สาเหตุที่ทำให้ออกซิเจนในเลือดต่ำเกิดจากการที่ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อย พบว่าเป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นบ่อย อาจมีสาเหตุมาจากการอยู่ในบริเวณที่มีอากาศเบาบาง เช่น การอยู่บนที่สูง การอยู่บนยอดตึก การปีนเขาหรือขึ้นเฮลิคอปเตอร์ เป็นต้น 

2.ความผิดปกติของปอด 

สาเหตุออกซิเจนในเลือดต่ำอาจเกิดจากปอดทำงานผิดปกติ อย่างเช่น พื้นที่ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างปอดกับกระแสเลือดนั้นลดลง เกิดจากผู้ป่วยที่มีอาการปอดแฟบหรือมีลมในปอด รวมไปถึงภาวะที่มีออกซิเจนไม่สามารถซึมผ่านจากถุงลมปอดไปสู่กระแสเลือดได้สะดวกมากขึ้น เกิดกับกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปอดบวมหรือเป็นโรคเยื่อไฮยาลีน เป็นต้น

การที่ร่างกายขาดออกซิเจนจะมีผลอย่างไร

3.สาเหตุเกิดจากระบบไหลเวียนเลือด  

ผู้ที่มีภาวะค่าออกซิเจนในเลือดต่ำ อาจมีสาเหตุมาจากระบบไหลเวียนเลือดในร่างกาย โดยมีสาเหตุมาจากความบกพร่องในการนำออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงยังเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย เช่นจำนวนเม็ดเลือดแดงในเลือดลดลง เป็นโรคโลหิตจางเกิดการเสียเลือดมากกว่าปกติ เกิดภาวะผิดปกติของฮีโมโกลบิน ตลอดจนการที่ร่างกายได้รับสารเคมีบางอย่าง 

4.ผลข้างเคียงจากยา 

ผู้ที่มีปัญหาระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ อาจมีสาเหตุมาจากผลข้างเคียงจากการใช้ยา ยกตัวอย่างเช่น ยาในกลุ่มซัลฟานิลาไมด์ เป็นยาที่ใช้รักษาการติดเชื้อในช่องคลอด ช่วยลดอาการอักเสบและอาการคันที่ช่องคลอด รวมถึงการตกขาว เป็นต้น การซื้อยาใดๆ ก็ตามมารับประทานเองควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ  

5.ติดเชื้อ Covid-19  

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ Covid-19 ส่งผลทำให้ปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำได้เช่นเดียวกัน หากร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอก็อาจส่งผลทำให้ผู้ป่วยอยู่ในภาวะรุนแรงได้เลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว อาจส่งผลทำให้เสียชีวิตได้เลย

📌คลิกอ่านเพิ่มเติม: 9 วิธีการดูแลรักษาปอด เพื่อเตรียมพร้อมกับวิกฤติโควิด-19 บริหารปอดอย่างไรให้แข็งแรง ก่อนที่จะสายเกินไป

การที่ร่างกายขาดออกซิเจนจะมีผลอย่างไร

ค่าออกซิเจนในเลือดปกติ ควรอยู่ที่เท่าไหร่?

โดยปกติแล้วคนที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ทั่วไปจะมีค่าปกติของออกซิเจนในเลือดอยู่ที่ประมาณ 96 – 100%  ดังนั้นหมายความว่าถ้ามีค่าออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 96% ก็จะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า ร่างกายของเรามีภาวะพร่องออกซิเจนพร่องหรือมีค่าออกซิเจนในเลือดต่ำนั่นเอง

📌คลิกอ่านเพิ่มเติม: เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว คืออะไร มีหลักการทำงานของที่วัดค่าในเลือดอย่างไรบ้าง

การรักษาภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ

ปัจจุบันออกซิเจนในเลือดต่ำรักษาได้ตามความรุนแรงของอาการ หากผู้ป่วยมีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำควรไปพบแพทย์ วิธีรักษาออกซิเจนในเลือดต่ำแพทย์จะทำการเพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดด้วยวิธีการต่างๆ ขึ้นอยู่กับสาเหตุ อาการ รวมถึงระดับความรุนแรงและดุลยพินิจของแพทย์ด้วย หากผู้ป่วยเกิดความผิดปกติแพทย์จะตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค

ตัวอย่างเช่น หากออกซิเจนในเลือดต่ำจากโรคหอบหืด หลอดลมตีบ แพทย์จะใช้ยาขยายหลอดลมพ่นทางจมูก ซึ่งตัวยานี้จะทำให้หลอดลมขยายและช่วยทำให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกมากยิ่งขึ้น อีกวิธีที่ได้รับความนิยมและพบเห็นได้บ่อย ก็คือการให้ออกซิเจนกับผู้ป่วยด้วยการใช้เครื่องผลิตออกซิเจน ถังออกซิเจน หรืออุปกรณ์ช่วยหายใจต่างๆ เพื่อเพิ่มปริมาณของออกซิเจนในร่างกายให้สูงขึ้น

การที่ร่างกายขาดออกซิเจนจะมีผลอย่างไร

วิธีเพิ่มออกซิเจนในเลือด ช่วยลดการเกิดออกซิเจนในเลือดต่ำ

  • เพื่อป้องกันภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ควรออกกำลังกายเป็นประจำ ด้วยกีฬาหรือท่าออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างระบบหายใจและระบบไหลเวียนเลือดให้แข็งแรง
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือการรับควันบุหรี่ รวมถึงหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
  • หมั่นตรวจระดับออกซิเจนในเลือดสม่ำเสมอ สามารถใช้เครื่องวัดออกซิเจนในเลือดได้ 
  • กรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคหอบหืดหรือเป็นโรคปอด ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และควรได้รับการพ่นยาตามคำสั่งของแพทย์อย่างสม่ำเสมอด้วย
  • เพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิเจนหรือออกซิเจนในเลือดต่ำ แนะนำให้ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพราะในน้ำนั้นจะมีออกซิเจนเป็นส่วนประกอบหลัก จึงช่วยเพิ่มออกซิเจนในร่างกายได้

ทั้งหมดนี้ก็คือข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับ ออกซิเจนในเลือดต่ำ ที่เรานำมาแชร์ หวังว่าจะมีประโยชน์สำหรับทุกๆ คน ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำไม่ใช่ปัญหาเล็กๆ แต่เป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจตามมาซึ่งผลเสียต่อร่างกาย แต่ถ้าเรารู้เท่าทัน หาวิธีการป้องกันและรักษาที่ถูกต้อง เราก็จะสามารถมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ได้