องค์ประกอบของดนตรีพื้นบ้าน มีอะไรบ้าง

             กลองสะบัดชัยโบราณ เป็นกลองที่ มีมานานแล้วนับหลายศตวรรษ ในสมัยก่อนใช้  ตียามออก      ศึกสงคราม เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็น ขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อ   สู้ให้ได้ชัยชนะ      ทำนองที่ใช้ในการตี กลองสะบัดชัยโบราณมี ๓ ทำนอง คือ ชัยเภรี, ชัย ดิถี และชนะมาร

‘องค์ประกอบของดนตรี’ คือ ส่วนสำคัญซึ่งก่อเกิดเป็นดนตรีขึ้นมา สำหรับวันนี้เราจะกล่าวถึงองค์ประกอบของดนตรีในภาพรวม ได้แก่ปัจจัยเหล่านี้ เสียง, ทำนอง, เสียงประสาน, จังหวะ รวมทั้งรูปแบบของดนตรี

เสียง (Tone)

สำหรับเสียง หรือ Tone นั้น จะมีความแตกต่างกันไปจากเสียง ซึ่งเรียกว่า Noise โดยลักษณะของการเกิดเสียงในลักษณะนี้ เกิดจากการสั่นสะเทือนอย่างสม่ำเสมอ หากแต่ Noise เกิดมาจากการสั่นสะเทือนที่ไม่สม่ำเสมอ เพราะฉะนั้นเสียงดนตรี ที่ได้มาจากการเป่า/ร้อง/ดีด/สี จะมาในลักษณะ Tone เนื่องจากการสั่นสะเทือนดำเนินอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอนั่นเอง

ระดับเสียง (Pitch)

คือ ความสูง – ต่ำของเสียง ถ้าความถี่ของการสั่นสะเทือนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็จะก่อให้เกิดเสียงสูง หากแต่ถ้าความถี่ของการสั่นสะเทือนช้า ก็จะทำให้เกิดเสียงต่ำ ซึ่งภายในหูของมนุษย์สามารถแยกเสียงได้ ตั้งแต่ระดับความถี่สั่นสะเทือน 16 ครั้ง / วินาที ถึง 20,000 ครั้ง / วินาที

สีสันของเสียง (Tone Color)

คือ ความแตกต่างของเสียง ที่มาจากแหล่งกำเนิดแตกต่างกัน ทางด้านการดนตรีแล้วก็มาจากการใช้เครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ซึ่งมีมากมายหลายประเภท อีกทั้งยังรวมไปถึงเสียงร้องของมนุษย์อีกด้วย ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ในบทเพลงหนึ่ง ถ้าขับร้องโดยผู้ชาย ผู้ฟังก็จะได้รับรู้ถึงความรู้สึกแตกต่างจากการขับร้องโดยผู้หญิง เป็นต้น หรือ ทางด้านการบรรเลงดนตรี ถ้าเป็นการบรรเลงเพลงเดี่ยว ก็จะมีความแตกต่างกันออกไปจากการบรรเลงเป็นวง หรือ มีความแตกต่างจากการบรรเลงโดยเครื่องดนตรีต่างชนิดกัน สำหรับลักษณะที่มีความแตกต่างกันนี้ ถูกเรียกว่าสีสันของเสียง โดยคุณสมบัติจำนวน 4 ประการของเสียง ที่นำมารวมกันก่อให้เกิดเสียงดนตรีที่มีความหลากหลาย จนกระทั่งก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ทำให้ดนตรีเป็นศิลปะประเภทหนึ่ง สามารถสรุปได้ว่าเสียงดนตรีประกอบด้วย ต่ำ/สูง/สั้น/ยาว/เบา/ดัง นอกจากนี้ก็ยังมีเสียงที่แตกต่างกันไป ตามแต่เครื่องดนตรีแต่ละชนิด

ท่วงทำนอง (Melody)

สำหรับท่วงทำนอง คือ การจัดเรียงของเสียงซึ่งมีความแตกต่างกันไป ตามแต่ระดับของเสียง รวมทั้งความยาวของเสียง ตามปกติทั่วไปแล้ว ดนตรีจะประกอบไปด้วยท่วงทำนอง โดยเป็นองค์ประกอบที่ง่ายต่อการจดจำมาก นอกจากนี้ท่วงทำนองต่างมีหลากหลายคุณลักษณะตามองค์ประกอบของทำนองนั้นๆ

เสียงประสาน (Harmony)

จัดเป็นองค์ประกอบของดนตรีประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นจากการผสมผสานของเสียง มากกว่า 1 เสียง สำหรับเสียงประสานจัดเป็นองค์ประกอบทางดนตรี ที่มีความซับซ้อนมากกว่าจังหวะหรือทำนองเสียอีก ทำให้ผู้ฟังสัมผัสได้ถึงความประณีตในการประพันธ์ หากแต่ถึงกระนั้นในบางวัฒนธรรม ก็อาจไม่พบการประสานเสียงของดนตรีเลยก็ได้ เช่น ดนตรีประจำท้องถิ่นหรือดนตรีพื้นบ้าน ซึ่งเน้นในเรื่องของความเรียบง่าย และเป็นดนตรีที่แสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

จังหวะ (Rhythm)

ดนตรีทุกประเภทในโลกนี้ จะต้องประกอบด้วยความช้า – เร็ว ของจังหวะเพลง เช่น เพลงที่ใช้ในการประกอบการเต้นรำเพื่อสร้างความสนุกสนาน ก็จะมีจังหวะที่กระชับ รวดเร็ว ซึ่งแน่นอนว่ามีความตรงกันข้ามกับเพลงที่ใช้ในการกล่อมเด็ก ซึ่งมีจังหวะค่อนข้างช้า เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ปัจจัยเรื่องเวลา จึงเป็นอีกปัจจัยส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ ซึ่งต้องประกอบไปด้วยรายละเอียดยิบย่อย เช่น ความเร็วของจังหวะ / อัตราจังหวะ และจังหวะ

อย่างไรก็ตามสำหรับในวัฒนธรรมพื้นบ้าน ก็ไม่ได้มีการแสดงเป็นลายลักษณ์อักษร หรือไม่ได้มีการระบุไว้ว่าจะต้องบรรเลงบทเพลงอย่างไร หากแต่ผู้บรรเลงก็สามารถกระทำอย่างสอดประสานกันได้ดี อันเนื่องมาจากมีความเข้าใจร่วมกัน ยกตัวอย่าง เช่น ในบทเพลงเถาของประเทศไทย ผู้บรรเลงจะทราบว่าจะต้องมีการบรรเลงให้ช้าหรือเร็วอย่างไรนั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกำกับจังหวะของฉิ่งในแต่ละท่อนเพลงนั่นเอง จากความแตกต่างขององค์ประกอบทางดนตรีนี่เอง ที่ทำให้เกิดเอกลักษณ์มากมายขึ้นมา เมื่อฟังได้ฟังก็ทราบได้ทันทีว่าบทเพลงในลักษณะนี้เป็นแนวใด

ดนตรีเป็นศิลปะที่อาศัยเสียงเพื่อเป็นสื่อในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ ไปสู่ ผู้ฟังเป็นศิลปะที่ง่ายต่อการสัมผัส ก่อให้เกิดความสุข ความปลื้มปิติพึงพอใจให้แก่มนุษย์ได้ นอกจากนี้ได้มีนักปราชญ์ท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า “ดนตรีเป็นภาษาสากลของมนุษยชาติ เกิดขึ้นจากธรรมชาติและมนุษย์ได้นำมาดัดแปลงแก้ไขให้ประณีตงดงามไพเราะเมื่อฟังดนตรีแล้วทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ ” นั้นก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราได้ทราบว่ามนุษย์ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใดภาษาใดก็สามารถรับรู้อรรถรสของดนตรีได้โดยใช้เสียงเป็นสื่อได้เหมือนกัน

มีบุคคลจำนวนไม่น้อยที่ตั้งคำถามว่า “ดนตรีคืออะไร” แล้ว “ทำไมต้องมีดนตรี” คำว่า “ดนตรี” ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า “เสียงที่ประกอบกันเป็นทำนองเพลง เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดังทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศกหรือรื่นเริง” จากความหมายข้างต้นจึงทำให้เราได้ทราบคำตอบที่ว่าทำไมต้องมีดนตรีก็เพราะว่าดนตรีช่วยทำให้มนุษย์เรารู้สึกเพลิดเพลินได้

คำว่า “ดนตรี” มีความหมายที่กว้างและหลากหลายมากนอกจากนี้ยังมีการนำดนตรีไปใช้ประกอบในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เราคุ้นเคยเช่น การใช้ประกอบในภาพยนต์ เนื่องจากดนตรีนั้นสามารถนำไปเป็นพื้นฐานในการสร้างอารมณ์ลักษณะต่าง ๆ ของแต่ละฉากได้ พิธีกรรมทางศาสนาก็มีการนำดนตรีเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยจึงทำให้มีความขลัง ความน่าเชื่อถือ ความศรัทธา มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ดนตรีบางประเภทถูกนำไปใช้ในการเผยแพร่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกลุ่มคนหรือเชื้อชาติ บางครั้งมนุษย์เราใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือในการแยกประเภทของมนุษย์ออกเป็นกลุ่ม ๆ เช่น วัยรุ่นในเมืองก็จะชอบฟังเพลงที่มีจังหวะหรือทำนองสนุก ๆ ครื้นเครงความรักหวานซึ้งส่วนวัยรุ่นที่อยู่ในชนบทก็มักจะชอบฟังประเภทเพลงเพื่อชีวิต เพลงลูกทุ่ง วัยหนุ่มสาวก็ชอบเพลงทำนองอ่อนหวานที่เกี่ยวกับความรัก สำหรับผู้ใหญ่ก็มักจะชอบฟังเพลงที่มีจังหวะหรือทำนองที่ฟังสบาย ๆ และชอบฟังเพลงที่คุ้นเคย

มนุษย์เราใช้ดนตรีเป็นเครื่องกระตุ้นในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่นการขับรถ การเรียน การวิ่งเหยาะ ๆ ออกกำลังกาย เป็นต้น ที่กล่าวมาข้างต้นการใช้ดนตรีเหล่านี้มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือใช้ดนตรีเป็นส่วนประกอบในการทำร่วมกับกิจกรรมนั้น ๆส่วนจุดมุ่งหมายอื่นๆเป็นเรื่องรองลงมา

ก่อนที่จะมาเป็นดนตรีให้เราได้ยินได้ฟังกันจนกระทั่งปัจจุบันนี้มนุษย์ได้คิด ได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาแล้วไม่น้อยกว่าพันปีดังนั้นดนตรีจึงถือได้เป็นสิ่งที่มีมาคู่กับมนุษย์เลยก็ว่าได้

มีดนตรีชนิดหนึ่งซึ่งแตกต่างจากที่ได้กล่าวมาแล้วซึ่งต้องใช้สติปัญญาสมาธิ ความตั้งใจในการฟังดนตรีชนิดนี้เรียกว่า “ดนตรีคลาสสิก” (Classical Music) ส่วนใหญ่มนุษย์ฟังดนตรีประเภทนี้ฟังเพราะความพอใจและความรู้สึกสนุกสนานในการฟังไม่มีเหตุผลหรือจุดมุ่งหมายใด ๆ

มนุษย์จำนวนมากไม่เข้าใจว่าดนตรีสำคัญอย่างไร ดนตรีจะมีค่าได้อย่างไรในเมื่อเราไม่สามารถใช้มันเพื่อทำอะไรได้เลยเพราะดนตรีเป็นการสื่อในลักษณะของนามธรรม โดยทั่วไปแล้วมนุษย์เราเข้าใจว่าสิ่งของส่วนใหญ่สำคัญเพราะเราจำเป็นต้องใช้มันในลักษณะของรูปธรรม แต่สำหรับดนตรีและงานศิลป์อื่น ๆ เช่น ภาพเขียน รูปปั้น ประติมากรรม บทกวี วรรณคดี ฯลฯ มีเพียงกลุ่มคนที่สนใจจริง ๆ เท่านั้นที่จะเข้าใจและซาบซึ้ง เพราะความสำคัญของสิ่งเหล่านั้นเป็นไปในแง่ของจิตวิทยา ไม่ใช่ในแง่ของการปฏิบัติ

เพราะเหตุใดมนุษย์เราจึงต้องสร้างสิ่งดังกล่าวขึ้นมาซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น การประเมินคุณค่าจำเป็นต้องใช้สติปัญญาและความพอใจของคนคนนั้นจึงจะรู้คุณค่า นอกจากนี้ไม่มีใครรู้แน่นอนว่าความพอใจมีมาตรฐานของการวัดอย่างไร ถึงแม้ว่าจะมีทฤษฎีที่น่าสนใจมากมายสำหรับศึกษาเปรียบเทียบ อย่างไรก็ดีสิ่งหนึ่งที่แน่นอนที่สุดคือ การแสดงออกเหล่านี้เป็นสิ่งที่แยกมนุษย์ออกจากสัตว์ เพราะสัตว์ไม่มีดนตรี ไม่มีความงามทางศิลป์ ฯลฯ

องค์ประกอบของดนตรีมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบของดนตรีคือ ส่วนสาคัญพื้นฐาน ที่ทาให้เกิดเป็นดนตรีขึ้น ทั้งนี้ โดยจะกล่าวถึงองค์ประกอบ ของดนตรีโดยรวม มิได้ยึดเอาหลักเกณฑ์ของดนตรีใด เป็นมาตราฐาน 1. เสียง 2. จังหวะ 3. ทานอง 4. เสียงประสาน 5. พื้นผิวของดนตรี 6. สีสันของเสียง

ดนตรีพื้นบ้านมีอะไรบ้าง

วงสะล้อซึง วงป้าดก๊อง วงปี่พาทย์พื้นเมือง วงปี่พาทย์วงเครื่องสาย วงมโหรีวงอังกะลุง วงแตรวง วงโปงลาง วงแคน วงกันตรึม วงมโหรี พื้นบ้าน วงกาหลอ วงรองเง็ง

องค์ประกอบของดนตรีพื้นบ้านภาคกลางมีลักษณะอย่างไร

ดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ดีด สี ตี เป่า โดยเครื่องดีดจะมี จะเข้ จ้องหน่อง เครื่องสีก็พวกซอด้วง ซออู้ เครื่องตีจะเป็นระนาด ฆ้อง โหม่ง ฉิ่ง ฉาบ ส่วนเครื่องเป่าจะเป็นขลุ่ย ปี่ โดยจุดเด่นของวงดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง คือ วงปี่พาทย์จะผสมผสานกับวงดนตรีหลวง ในตอนแรกใช้ปี่และกลองเป็นหลัก ต่อมาจึงเพิ่มระนาด ...

องค์ประกอบของดนตรีพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะอย่างไร

บทเพลงพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีลักษณะเรียบง่าย มีจังหวะและทานองที่สนุกสนาน เร้าใจ ให้ความสนุกสนานแก่ผู้ฟัง มีการประสานเสียงระหว่างผู้ขับร้องและการบรรเลงดนตรีที่ สนุกสนาน มีการรับ-ส่งกันเหมาะสม ท าให้บทเพลงมีความไพเราะ สมบูรณ์ Page 19 สาเนียง ภาษา และเนื้อร้อง นอกจากนี้ เพลงของชาวอีสานใต้ประเภทเจรียงต่าง ๆ ได้ ...