ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี มีอะไรบ้าง

ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา from Manchai

5 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี from Sircom Smarnbua

ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

        

        อัตราเร็วในการเกิดปฏิกิริยา หมายถึง ปริมาณของสารตั้งต้นที่ลดลง หรือปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมากขึ้นต่อหน่วยเวลา โดยอาจวัดปริมาณของสารได้จากความเข้มข้น ปริมาตร หรือมวลของสารที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากเกิดปฏิกิริยา ซึ่งสามารถเขียนสูตรแสดงความสัมพันธ์ได้ดังนี้
                                                                                                 ปริมาณสารตั้งต้นที่ลดลง
                              อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี                    =            ---------------------------------------
                                                                                                เวลาที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยา

                                                                                                 ปริมาณสารผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น
                                                                                 =             ----------------------------------------
                                                                                                  เวลาที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยา

     ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นอยู่รอบ ๆ ตัวเรานั้น บางปฏิกิริยาก็เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่บางปฏิกิริยาก็เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ แม้แต่ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดจากสารตั้งต้นชนิดเดียวกัน บางครั้งก็ยังเกิดขึ้นได้ด้วยอัตราเร็วที่แตกต่างกัน โดยอัตราเร็วของปฏิกิริยาจะขึ้นอยู่กับชนิดของสารตั้งต้นและปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ดังนี้
     1.  ชนิดของสารตั้งต้น สารตั้งต้นแต่ละชนิดจะมีความสามารถเกิดปฏิกิริยาเคมีที่แตกต่างกัน โดยสารตั้งต้นชนิดหนึ่งอาจจะสามารถเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกับสารชนิดหนึ่ง แต่อาจเกิดปฏิกิริยาได้ช้ากับสารอีกชนิดหนึ่งก็ได้ ตัวอย่างเช่น โลหะแมกนีเซียมจะสามารถทำปฏิกิริยาได้ดีกับสารละลายกรดเกิดเป็นแก๊สไฮโดรเจน แต่แมกนีเซียมจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนได้ช้ามาก หรือการที่โลหะ โซเดียมที่สามารถทำปฏิกิริยากับน้ำได้อย่างรวดเร็วมาก ขณะที่โลหะแมกนีเซียมจะทำปฏิกิริยากับน้ำได้ช้า เป็นต้น
     2.  ความเข้มข้นของสารตั้งต้น ปฏิกิริยาโดยส่วนมากจะเกิดได้เร็วมากขึ้น ถ้าหากเราใช้สารตั้งต้นมีความเข้มข้นมากขึ้น เนื่องจากการเพิ่มความเข้มข้นของสารจะทำใหมีอนุภาคของสารอยู่รวมกันอย่างหนาแน่นมากขึ้น อนุภาคของสารจึงมีโอกาสชนกันแล้วเกิดปฏิกิริยาได้มากขึ้น
    3.  อุณหภูมิ หรือ พลังงานความร้อนจะมีผลต่อพลังงานภายในสาร  โดยการเพิ่มอุณหภูมิจะเป็นการเพิ่มพลังงานจลน์ให้แก่อนุภาคของสารทำให้อนุภาคของสารเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น จึงช่วยเพิ่มโอกาสในการชนกันของอนุภาคมากขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มพลังงานให้แก่สารจะช่วยทำให้สารมีพลังงานภายในมากกว่าค่าพลังงานก่อกัมมันต์จึงทำให้เกิดปฏิกิริยาเร็วขึ้นได้ เช่น การเก็บอาหารในตู้เย็นเพื่อป้องการการเน่าเสีย เป็นต้น
     4.  ตัวเร่งปฏิกิริยา เป็นสารที่เติมลงไปในปฏิกิริยาโดยสารเหล่านี้จะไม่มีผลต่อการเกิดผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยาทำให้ปฏิกิริยาแต่จะมีผลไปลดค่าพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาแต่จะมีผลไปลดค่าพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาทำให้ปฏิกิริยานั้นเกิดได้ง่ายมากขึ้น และหลังจากการเกิดปฏิกิริยาแล้ว ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใส่ลงไปจะยังคงมีสมบัติและปริมาณเหมือนเดิม โดยตัวเร่งปฏิกิริยาที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ เอนไซม์ต่าง ๆ ในร่างกายของเราซึ่งมีลักษณะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาช่วยให้เกิดการย่อยอาหารได้เร็วมากขึ้น เป็นต้น
     5.  ตัวหน่วงปฏิกิริยา เป็นสารที่เติมลงไปในปฏิกิริยาโดยที่สารเหล่านี้จะไม่มีผลต่อการเกิดผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยา แต่จะมีผลไปเพิ่มค่าพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยา จึงทำให้สารเกิดปฏิกิริยาได้ยากขึ้นหรือมีผลยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาแล้ว ตัวหน่วงปฏิกิริยาทางเคมีและมีมวลเท่าเดิม แต่อาจมีสมบัติทางภาพบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป เช่น มีขนาด หรือรูปร่างเปลี่ยนไป โดยตัวหน่วงปฏิกิริยาที่พบได้ชีวิตประจำวัน ได้แก่ สารกันบูดในอาหาร ที่ช่วยยับยั้งปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดการเน่าเสียของอาหาร เป็นต้น
     6.  พื้นที่ผิวของสารตั้งต้น ในกรณีที่สารตั้งต้นเป็นของแข็ง การเพิ่มพื้นที่ผิวของสารจะช่วยให้เกิดปฏิกิริยาเคมีเร็วขึ้นได้ เนื่องจากพื้นที่ผิวที่เพิ่มขึ้นจะทำให้สารมีพื้นที่สำหรับการเข้าทำปฏิกิริยากันได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น การเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน จะช่วยทำให้อาหารมีขนาดเล็กลง และมีพื้นที่ผิวเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้น้ำย่อยในระบบทางเดินอาหารสามารถเข้าย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น เป็นต้น
     7.  ความดัน จะมีผลทำให้สารที่เป็นแก๊สสามารถทำปฏิกิริยากันได้ดีขึ้น เนื่องจากการเพิ่มความดันจะช่วยทำให้โมเลกุลของแก๊สเข้าอยู่มาอยู่ใกล้ชิดกันมากขึ้น มีจำนวนโมเลกุลของแก๊สต่อหน่วยพื้นที่เพิ่มขึ้น จึงมีโอกาสชนกันและเกิดปฏิกิริยาเคมีมากขึ้น ซึ่งลักษณะเช่นนี้ก็คล้ายกับกรณีที่สารที่มีความเข้มข้นมากจะสามารถเกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้นนั่นเอง

ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
พงศธร  นันทธเนศ  และสุนทร  ภูรีปรีชาเลิศ. สารและสมบัติของสาร ม.4 - ม.6. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

ปัจจัยที่ส่งผลต่อปฏิกิริยาเคมีมีอะไรบ้าง

ชนิดของสารตั้งต้น ... .
ความเข้มข้นของสารตั้งต้น ... .
พื้นที่ผิวสัมผัสของสารที่เข้าทำปฏิกิริยา ... .
อุณหภูมิ ... .
ความดัน ... .
ตัวหน่วงปฏิกิริยา ... .
ตัวเร่งปฏิกิริยา.

การเกิดปฏิกิริยาทางเคมีมีอะไรบ้าง

1. กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) ... .
2. การสันดาปหรือการเผาไหม้เชื้อเพลิง ... .
3. ปฏิกิริยาการเกิดสนิมเหล็ก ... .
4. ปฏิกิริยาการสะเทิน ... .
5. ปฏิกิริยาการสลายตัวของโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตหรือเบกกิ้งโซดา ... .
6. ปฏิกิริยาการหายใจแบบใช้ออกซิเจน (การหายใจแบบแอโรบิก) ... .
7. ปฏิกิริยาการหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน (การหายใจแบบแอนาโรบิก).

ความเข้มข้นของสารตั้งต้นมีผลอย่างไรกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี

การเพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้นในปฏิกิริยาก็เท่ากับการเพิ่มอนุภาคของสารที่เข้าทำปฏิกิริยา เมื่อมีอนุภาคของสารมากขึ้น โอกาสที่จะชนกันแล้วเกิดปฏิกิริยาก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย

การเพิ่มอุณหภูมิมีผลอย่างไรต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี *

การเพิ่มอุณหภูมิเป็นสภาวะที่สามารถเพิ่มการชนได้ เพราะเมื่อเพิ่มอุณหภูมิหรือให้ความร้อนแก่สารในปฏิกิริยา อนุภาคจะมีพลังงานจลน์เพิ่มขึ้น จะเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น ชนกันมากขึ้น โอกาสที่จะชนกันแล้วเกิดปฏิกิริยาก็จะมีมากขึ้น เมื่อเกิดปฏิกิริยามากขึ้นอัตราการเกิดปฏิกิริยาก็เพิ่มขึ้นนั่นเอง