Digital era มี 4 ยุคอะไรบ้าง

หรือยุคดิจิตอลนั้น คือสิ่งที่โลกของเรากำลังให้ความสำคัญทั้งในด้านธุรกิจการทำงาน ด้านสาธารณูปโภคไปจนถึงการใช้ชีวิตประจำวันของคนทั่วๆไป ดิจิตอลที่ว่านี้เป็นการเรียกรวมๆของเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆที่เกิดขึ้นมาเพื่อช่วยให้ชีวิตของผู้คนสะดวกสบายยิ่งขึ้นและสนองความต้องการของมนุษย์ในแบบใหม่ๆอีกด้วย โดยสิ่งที่คนส่วนมากเข้าถึงและใช้กันเป็นประจำในชีวิตประจำวันก็คือโซเชียลมีเดีย(Social Media) โซเชียลมีเดียนั้นมีลักษณะเป็นกลุ่มสังคมบนโลกออนไลน์ที่มีหน้าที่เป็นแหล่งสื่อสมัยใหม่และเป็นแหล่งพบปะคุยกันของผู้คนผ่านอุปกรณ์อย่าง smart phone, Tablet, PC และ laptop เป็นต้น

Social Media

จุดเด่นของ Social Media คือการที่ผู้คนสามารถเข้าถึงได้อย่างกว้างขวางทุกเพศทุกวัยไม่มีขีดจำกัดและไร้พรมแดนจึงทำให้เกิดข้อมูลขึ้นอย่างมหาศาลและเป็นแหล่งข่าวที่รวดเร็วว่องไวซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญอย่างมากกับการทำธุรกิจ (Important of Data & Business) ทั้งในเรื่องของการโฆษณาให้ผู้คนรับรู้แบรนด์ของตน เพิ่มช่องทางการขาย สื่อสารกับผู้บริโภคอย่างเป็นกันเองรวมไปถึงสร้างแหล่งแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีความสำคัญต่อผู้บริโภคและเชื่อถือได้ อย่างรีวิวจากผู้ใช้จริงต่างๆเป็นต้น เนื่องด้วยสาเหตุที่ว่ามีผู้ใช้งานจำนวนเยอะมากจึงเกิดวัฒนธรรมต่างๆขึ้นมากมายบนโลกออนไลน์ทั้งที่เป็นวัฒนธรรมหลักที่ได้รับอิทธิพลมากจากโลกความจริงและวัฒนธรรมย่อยที่เกิดจากกลุ่มคนหมู่มากในโลกโซเชียล วัฒนธรรมย่อย (subculture) นี้เองที่เริ่มสร้างความสำคัญกับธุรกิจและการใช้ชีวิตของผู้คนมากยิ่งขึ้น อย่างเช่น การซื้อของออนไลน์ที่มีมากขึ้น การเลียนแบบภาพยนตร์หรือการ์ตูน เกมส์ การฟังเพลงผ่านสตรีมมิ่งอย่าง Apple music, Spotify, การรับชมหนังผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Netflix ไปจนถึงการทำรายการต่างๆบน Youtube เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความเปลี่ยนแปลงจากวัฒนธรรมแต่ก่อนทั้งสิ้น โดยกลุ่มคนที่ทำให้เกิดเรื่องเหล่านี้ขึ้นก็คือ YWN ได้แก่ Young (ผู้เยาว์), Woman (ผู้หญิง), Netizen (ชาวเน็ต)

YWN The Group of People in Digital age

    ผู้เยาว์, ผู้หญิง เเละ ชาวเน็ต กลุ่มคนสามกลุ่มนี้จัดเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างมากในสังคมออนไลน์โดยมีรายละเอียดเเละความสำคัญดังนี้

Young (ผู้เยาว์) กลุ่มคนที่มีอายุน้อยเป็นวัยรุ่นนับเป็นกลุ่มที่มีส่วนแบ่งทางความคิดมากที่สุดเป็นกลุ่มที่มีความอยากรู้อยากลองและกล้าที่จะทำในสิ่งใหม่ๆที่ต่างๆไปจากวัฒนธรรมเดิมๆ มีผลอย่างมากในการทำธุรกิจที่มีความใหม่ กลุ่มคนเหล่านี้จะมีความกล้าที่จะลองใช้เป็นกลุ่มแรกๆและแสดงความเห็นกันอย่างตรงไปตรงมารวดเร็วและทั่วถึง นอกจากธุรกิจแล้วยังรวมถึงเรื่องกระแสการแต่งตัว ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆกลุ่มผู้เยาว์วัยนี้ก็มีความสำคัญมากอีกด้วย ดังนั้นการทดลองสิ่งใหม่ๆการสร้างกระแสและการบอกต่อที่เชื่อถือได้และรวดเร็วนี้จึงสามารถชักจูงคนจำนวนมากได้โดยง่าย หากนำเรื่องนี้มีวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งจะสามารถสร้างแผนการตลาดที่ดีได้นั่นเอง

Woman (ผู้หญิง) ผู้ที่เพิ่มส่วนแบ่งตลาดผู้หญิงนั้นถือว่าเป็นผู้ที่จัดการเรื่องการเงินได้อย่างดีเยี่ยมในทุกๆสถานการณ์ไม่ว่าจะเป็นชีวิตประจำวันของตัวเอง ครอบครัว ไปจนถึงการเงินของบริษัท ผู้หญิงล้วนเป็นเพศที่จัดการสิ่งเหล่านี้ได้ดีกว่าผู้ชายเสมอ จุดนี้เองที่ทำให้กลุ่มผู้หญิงถือเป็นผู้ที่มีอำนาจในการซื้อสินค้าและบริการต่างๆทั้งในโลกความจริงและโลกออนไลน์ นอกจากนี้เพศนี้ยังเป็นตัวแม่เรื่องช้อปปิ้งอีกด้วยการซื้อขายออนไลน์ e-commerce ก็มักจะเป็นผู้หญิงที่เป็นกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหญ่ เพราะฉะนั้นหากมีความเข้าใจผู้หญิงมากยิ่งขึ้นก็จะสามารถเพิ่มส่วนบ่งทางการตลาดได้มากยิ่งขึ้น

Netizen (ชาวเน็ต) ประชากรชาวเน็ตดูเหมือนจะเป็นการเรียกรวมๆทุกคนที่ใช้โซเชียลหรืออินเทอร์เน็ตแต่ความจริงแล้วกลุ่มคนที่เป็นชาวเน็ตนั้นมีอยู่สองประเภทคือ กลุ่มผู้วิเคราะห์วิจารณ์เรื่องต่างๆในเชิงประโยชน์ และ กลุ่มผู้ผลิตสื่อข้อมูลข่าวสาร ต่างๆผู้คนเหล่านี้จะเพิ่มส่วนแบ่งทางจิตใจให้กับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกๆคนทำให้ผู้คนได้รับประโยชน์และข้อมูลข่าวสารข้อเท็จจริงมากยิ่งขึ้นก่อให้เกิดเป็นกลุ่มสังคมที่มีความเหมือนกันขึ้นมา

Conclusion

สรุปได้ว่ากลุ่มคนที่มีความสำคัญในยุคดิจิทัลนั้นก็คือ Young (ผู้เยาว์วัย), Woman (ผู้หญิง), Netizen (ชาวเน็ต) เนื่องจากเป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนมาก กล้าคิดกล้าลองสิ่งใหม่ๆมีความเป็นผู้กระแสและสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ขึ้นมาได้รวมไปถึงมีอำนาจในการตัดสินใจซื้ออีกด้วย ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook page Subbrain

Innovative Talk ThaiMOOC ทักษะในยุคดิจิทัล เทคโนโลยีดิจิทัล 

เทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัล | Information Technology in Digital Era

October 2, 2022October 4, 2022 Anurak Khongkit Thai MOOC, ฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนและสื่อการศึกษา

เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy)

        ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital literacy หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

ทักษะความสามารถสำหรับการรู้ดิจิทัลนั้น สามารถแบ่งเป็น 4 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่

ใช้ (Use) หมายถึง ความคล่องแคล่วทางเทคนิคที่จำเป็นในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทักษะและความสามารถที่เกี่ยวข้องกับคำว่า “ใช้” ครอบคลุมตั้งแต่เทคนิคขั้นพื้นฐาน คือ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (Word processor) เว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) อีเมล และเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ สู่เทคนิคขั้นสูงขึ้นสำหรับการเข้าถึงและการใช้ความรู้ เช่น โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูล หรือ เสิร์ชเอนจิน (Search engine) และฐานข้อมูลออนไลน์ รวมถึงเทคโนโลยีอุบัติใหม่ เช่น Cloud computing

เข้าใจ (Understand) คือ ชุดของทักษะที่จะช่วยผู้เรียนเข้าใจบริบทและประเมินสื่อดิจิทัล เพื่อให้สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับอะไรที่ทำและพบบนโลกออนไลน์ จัดว่าเป็นทักษะที่สำคัญและที่จำเป็นที่จะต้องเริ่มสอนเด็กให้เร็วที่สุดเท่าที่พวกเค้าเข้าสู่โลกออนไลน์ เข้าใจยังรวมถึงการตระหนักว่าเทคโนโลยีเครือข่ายมีผลกระทบต่อพฤติกรรมและมุมมองของผู้เรียนอย่างไร มีผลกระทบต่อความเชื่อและความรู้สึกเกี่ยวกับโลกรอบตัวผู้เรียนอย่างไร เข้าใจยังช่วยเตรียมผู้เรียนสำหรับเศรษฐกิจฐานความรู้ที่ผู้เรียนพัฒนาทักษะการจัดการสารสนเทศเพื่อค้นหา ประเมิน และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อติดต่อสื่อสาร ประสานงานร่วมมือ และแก้ไขปัญหา

สร้าง (Create) คือ ความสามารถในการผลิตเนื้อหาและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพผ่านเครื่องมือสื่อดิจิทัลที่หลากหลาย การสร้างด้วยสื่อดิจิทัลเป็นมากกว่าแค่การรู้วิธีการใช้โปรแกรมประมวลผลคำหรือการเขียนอีเมล แต่มันยังรวมความสามารถในการดัดแปลงสิ่งที่ผู้เรียนสร้างสำหรับบริบทและผู้ชมที่แตกต่างและหลากหลาย ความสามารถในการสร้างและสื่อสารด้วยการใช้ Rich media เช่น ภาพ วิดีโอ และเสียง ตลอดจนความสามารถในการมีส่วนร่วมกับ Web 2.0 อย่างมีประสิทธิภาพและรับผิดชอบ เช่น Blog การแชร์ภาพและวิดีโอ และ Social media รูปแบบอื่นๆ

เข้าถึง (Access) คือ การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล และข้อมูลข่าวสาร เป็นฐานรากในการพัฒนา การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ผู้เรียนจำเป็นต้องเข้าใจอินเทอร์เน็ตและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตด้วยช่องทางต่าง ๆ รวมถึง ข้อดีข้อเสียของแต่ละช่องทางได้ เพื่อให้สามารถไข้ Search Engine ด้นหาข้อมูลที่ต้องการจาก อินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องเข้าใจสื่อทางดิจิทัลชนิดต่าง ๆ รวมถึง การนำไปประยุกต์ไข้งานในป้จจุบัน

ยุค Digital มีอะไรบ้าง

5 ยุคสมัยของดิจิทัล ประเทศไทยอยู่ไหน?.
1. ยุค Desktop & Internet Era (ตั้งแต่ปี 1984) ... .
2. ยุค Mobile & Social (ตั้งแต่ปี 2000) ... .
3. ยุค Content & Data (ตั้งแต่ปี 2004) ... .
4. ยุค Digital Experience (ตั้งแต่ปี 2013) ... .
5. ยุค Artificial Intelligence (ตั้งแต่ปี 2016).

นวัตกรรม ดิจิทัลในยุค 4.0 คืออะไร

Digital ๔.๐ เทคโนโลยีที่ชาญฉลาด ยุคที่ความฉลาดของเทคโนโลยีทำให้อุปกรณ์ต่างๆสื่อสารและทำงานร่วมกันได้อย่างอัตโนมัติ เทคโนโลยีใน ๓ ยุคที่ผ่านมาเป็นเหมือน แขน ขา เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวก หยิบจับ คำนวณ ให้แก่มนุษย์ แต่เทคโนโลยีเหล่านั้นไม่มีสมองเป็นของตนเอง ในยุคที่ ๔ นี้เทคโนโลยีถูกนำมา

ยุคของดิจิตอลแบ่งได้กี่ยุค อะไรบ้าง จงยกตัวอย่างสื่อหรือเทคโนโลยีที่เกิดในยุคนั้นๆ

เปิดยุค Digital 1.0-4.0.
Digital 1. ยุคของอินเทอร์เน็ต ... .
Digital 2.0 ยุคแห่งโซเชียลมีเดีย ... .
Digital 3.0 ยุคของบิ๊กดาต้า อนาไลท์ติกส์ /คลาวด์คอมพิวติ้ง /แอพพลิเคชั่น ... .
Digital 4.0 ยุค Machine-2-Machine..

Digital Technology คืออะไร มีกี่ทักษะ อะไรบ้าง

"การรู้ดิจิทัล" คือ ความหลากหลายของทักษะที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ซึ่งทักษะเหล่านั้นอยู่ภายใต้ การรู้สื่อ (Media literacy) การรู้เทคโนโลยี (Technology literacy) การรู้สารสนเทศ (Information literacy) การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น (Visual literacy) การรู้การสื่อสาร (Communication literacy) และการรู้สังคม (Social literacy)