นโยบายการเงินที่ใช้ควบคุมปริมาณมีอะไรบ้าง

นโยบายการเงินที่ใช้ควบคุมปริมาณมีอะไรบ้าง

6.4 ความหมายของปริมาณเงิน ปริมาณเงินแบ่งเป็น 2 ความหมายใหญ่ คือ ปริมาณเงินในความหมายแคบ และปริมาณเงินในความหมายกว้าง

  1. ปริมาณเงิน (M1) คือ ปริมาณเงินตามความหมายแคบ หมายถึง ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในมือของประชาชน ประกอบด้วยธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ในมือของประชาชน และเงินฝากเผื่อเรียกของธุรกิจและครัวเรือนที่ระบบธนาคารพาณิชย์
  2. ปริมาณเงิน (M2) คือ ปริมาณเงินตามความหมายกว้าง หมายถึง M1+ เงินฝากประจำและเงินฝากออมทรัพย์ของธุรกิจและ ครัวเรือนที่ระบบธนาคารพาณิชย์

6.5 บทบาทของปริมาณเงินต่อระดับราคา

นโยบายการเงินที่ใช้ควบคุมปริมาณมีอะไรบ้าง

นโยบายการเงินที่ใช้ควบคุมปริมาณมีอะไรบ้าง

    1. นโยบายการเงิน  คือ การดูแลปริมาณเงินและสินเชื่อโดยธนาคารกลาง เพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การรักษาเสถียรภาพของระดับราคา การส่งเสริมให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น การรักษาอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การรักษาดุลยภาพของดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ และการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม  เครื่องมือของนโยบายการเงิน แบ่งตามลักษณะการดำเนินการ ได้ 3 ลักษณะ ได้แก่
  1. การควบคุมทางด้านปริมาณ (Quantitative control) ประกอบด้วย
    1. การซื้อขายหลักทรัพย์ (open-market operation)
    2. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลด (changing rediscount rate)
    3. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย (changing reserve requirement)
    4. การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (changing bank rate)
  2. การควบคุมทางด้านคุณภาพ (Qualitative control)
  3. การควบคุมโดยตรง (Direct control)
  1. การควบคุมทางด้านปริมาณ (Quantitative control) เป็นการควบคุมปริมาณเครดิต ไม่ใช่ชนิดของเครดิต ดังนั้น จึงมีผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยทั่วไปในตลาดและ ปริมาณเครดิตทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจ การดำเนินการโดยผ่านเครื่องมือดังกล่าวจะมีผลโดยตรงทันทีต่อ การเปลี่ยนแปลงเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการขยายเครดิตของ ธนาคารพาณิชย์และอัตราดอกเบี้ยในตลาด การควบคุมทางด้านปริมาณ ได้แก่

นโยบายการเงินที่ใช้ควบคุมปริมาณมีอะไรบ้าง

ในแต่ละประเทศ ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลระบบเศรษฐกิจคือรัฐบาลและธนาคารกลาง โดยรัฐบาลใช้นโยบายทางการคลังและธนาคารกลางใช้นโยบายทางการเงินในการดูแลระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ บทความนี้จะกล่าวถึงความหมายของนโยบายการเงิน ประเภทนโยบายและผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ

นโยบายการเงินคืออะไร

นโยบายการเงิน หมายถึงการออกนโยบายโดยใช้เครื่องมือทางการเงินของธนาคารกลางเช่น อัตราดอกเบี้ย ปริมาณเงิน และอัตราแลกเปลี่ยน ในการกำหนดต้นทุนการกู้ยืมหรือปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ใช้ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินนโยบายการเงิน

นโยบายการเงินแตกต่างจากนโยบายการคลังอย่างไร?

นโยบายการเงิน – มีธนาคารกลางเป็นผู้ออกนโยบาย ซึ่งการเงินเป็นการดำเนินการทางเงินของสังคมที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ
นโยบายการคลัง – มีรัฐบาลเป็นผู้ออกนโยบาย ซึ่งการคลังเป็นการดำเนินการทางการเงินของภาครัฐทั้งรายรับและรายจ่าย

ประเภทของนโยบายการเงิน

นโยบายการเงินแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย และนโยบายการเงินแบบตึงตัว โดยทั้ง 2 นโยบายต่างใช้ในวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน

นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายคือ นโยบายการเงินที่ธนาคารกลางต้องการให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัวเมื่อเศรษฐกิจซบเซาหรือต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจโดย เช่น

  • การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กล่าวคือเมื่ออัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลดลง ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากปรับตัวลง เกิดแรงจูงใจกู้ยืมเงินมากขึ้นและฝากเงินน้อยลง ทำให้เกิดการลงทุน การจ้างงานเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจขยายตัว เช่น ในปี 2020 กนง.ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการควบคุมโควิด-19
  • การซื้อพันธบัตรรัฐบาลหรือเอกชน เพื่อฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงิน ทำให้เม็ดเงินเข้าสู่ภาครัฐบาลและเอกชน ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น เกิดการบริโภค ลงทุนภายในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น เช่น การทำ QE ของธนาคารกลางสหรัฐฯ โดยการใช้เงินเพื่อซื้อพันธบัตรธนาคารพาณิชย์ทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวลดลง เป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ธนาคารพาณิชย์เพื่อนำมาปล่อยกู้กระตุ้นเศรษฐกิจ
  • การลดสัดส่วนเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ ทำให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินสดส่วนเกินที่สามารถนำไปปล่อยกู้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ เช่น ในปี 2021 ธนาคารกลางจีนปรับลดอัตราเงินสดสำรองธนาคารพาณิชย์มาอยู่ที่ 8.9% เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถปล่อยสินเชื่อสู่ระบบได้เพิ่มขึ้นอีก 1 ล้านล้านหยวน หรือราว 5 ล้านล้านบาท

ในขณะที่นโยบายการเงินแบบตึงตัวคือ นโยบายการเงินที่ธนาคารกลางใช้เพื่อชะลอการเติบโตของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งนโยบายจะตรงกันข้ามกับนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เช่น การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การขายพันธบัตรรัฐบาลหรือเอกชน การทำ QT และการเพิ่มสัดส่วนเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น

การใช้นโยบายการเงินในปัจจุบัน

ธนาคารกลางหลายประเทศเริ่มปรับนโยบายการเงิน โดยเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นและดึงสภาพคล่องออกจากระบบเศรษฐกิจ จากภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบัน หลังการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในช่วงวิกฤติโควิดปี 63

หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ หรือ Fed ใช้มาตรการ QT ในการดึงสภาพคล่องกลับสู่ธนาคารกลางและปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทำให้ธนาคารกลางหลายประเทศต้องปรับนโยบายการเงินตาม Fed จากแรงกดดันของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างประเทศเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินในต่างประเทศ

เช่น ธนาคารกลางฮ่องกง (HKMA) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทันทีหลังจาก Fed ขึ้นดอกเบี้ยเนื่องจากฮ่องกงใช้ระบบตรึงอัตราแลกเปลี่ยนแบบเข้มงวด

นอกจากการที่ Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว ภาวะเงินเฟ้อเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ธนาคารกลางต่างปรับใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว เช่น ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 0.25% สู่ 1.25% เพื่อแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน

ในประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ ได้ทยอยเปลี่ยนนโยบายทางการเงินจากเดิม เช่น ลดหรือหยุดการทำนโยบายการเงินผ่อนคลาย เช่นยกเลิกการทำ QE และหันมาทำ QT แทนของ Fed หรือยกเลิกการควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของธนาคารกลางออสเตรเลีย

อย่างไรก็ตาม บางประเทศที่ไม่ได้ดำเนินนโยบายการเงินตาม Fed หรือปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินเดิม เช่น ธนาคารกลางญี่ปุ่นที่ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Yield curve control) หรือ ธนาคารกลางจีนที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นต้น

ผลกระทบของนโยบายการเงินต่อตลาดทุน

นโยบายการเงินมีอิทธิพลโดยตรงต่อตลาดทุน โดยตลาดทุน หมายถึง ตลาดที่มีการซื้อขายตราสารทางการเงินหรือกู้ยืมเงินระยะยาวที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป โดยสามารถแบ่งออกเป็นตราสารหนี้ระยะยาว เช่น พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และตราสารหนี้ภาคเอกชน (หุ้นกู้) และตราสารทุน เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ และ กองทุนรวม

ในตลาดทุน การระดมทุนเพื่อลงทุนมาจาก 2 ช่องทางคือผู้ถือหุ้น หรือกู้ยืมจากแหล่งเงินกู้ เช่น ธนาคาร หรือ การออกหุ้นกู้ ซึ่งเมื่อเกิดการกู้ยืมเงิน ผู้กู้ยืมต้องจ่ายคืนผู้กู้ในรูปแบบ “ดอกเบี้ย” ดังนั้นการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ยนโยบายจึงมีผลกระทบต่อตลาดทุน

นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายทำให้นักลงทุนเพิ่มนํ้าหนักการลงทุนในสินทรัพย์ตลาดทุน เพราะผลตอบแทนจากดอกเบี้ยลดลงประกอบกับต้นทุนในการกู้ยืมเงินลดลง ทำให้นักลงทุนเลือกลงทุนในตลาดทุนมากขึ้น

ในขณะที่นโยบายการเงินแบบตึงตัวทำให้นักลงทุนเพิ่มนํ้าหนักการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุตราไม่เกิน 1 ปี เช่น ตั๋วเงินคลัง ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารรับรอง ตราสารพาณิชย์หรือเอกสารการค้า และ ใบรับฝากเงินที่เปลี่ยนมือได้ เพราะยิ่งอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ราคาตราสารทางการเงินลดลง ทำให้การถือตราสารทางการเงินที่มีอายุสั้นจะมีความเสี่ยงน้อยกว่า

จะเห็นได้ว่านโยบายการเงินต้องใช้ความรอบคอบในการออกนโยบาย เพราะวัตถุประสงค์ในการใช้นโยบายทางการเงินคือการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ไม่ให้หดตัวหรือขยายตัวจนเกินไป เพราะเกิดผลเสียได้ทั้งสองทาง นโยบายการเงินจึงเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ

นโยบายทางการเงินที่ใช้ควบคุมทางปริมาณมีอะไรบ้าง

การควบคุมทางด้านปริมาณ (Quantitative control) ประกอบด้วย การซื้อขายหลักทรัพย์ (open-market operation) การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลด (changing rediscount rate) การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย (changing reserve requirement)

นโยบายทางการเงิน มีอะไรบ้าง

นโยบายการเงินแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย และนโยบายการเงินแบบตึงตัว โดยทั้ง 2 นโยบายต่างใช้ในวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายคือ นโยบายการเงินที่ธนาคารกลางต้องการให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัวเมื่อเศรษฐกิจซบเซาหรือต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจโดย เช่น

นโยบาย การเงิน มีความสําคัญอย่างไร

นโยบายการเงินส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและราคาสินค้าและบริการ การปรับขึ้นลงของราคาสินค้าและบริการเรียกว่าอัตราเงินเฟ้อ โดยอัตราเงินเฟ้อที่ไม่สูงหรือต่ำเกินไปจะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ธปท. จึงดำเนินนโยบายการเงินเพื่อให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่เหมาะสม พร้อมกับดูแลให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ และระบบการเงินมี ...

นโยบายการเงิน คืออะไรและ เครื่องมือที่ใช้ในการ มี 3 ลักษณะ คือ

เครื่องมือในการดาเนินนโยบายการเงินของ ธปท. แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก คือ 1. การดารงสินทรัพย์สภาพคล่อง (Reserve Requirements) 2. การดาเนินการผ่านตลาดการเงิน (Open Market Operations หรือ OMOs) 3. หน้าต่างตั้งรับ (Standing Facilities) การดารงสินทรัพย์สภาพคล่อง (Reserve Requirements)