แรงจูงใจที่ทำให้บุคคลเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการมีกี่ประการ


กิจกรรมนันทนาการ

ลักษณะของกิจกรรมนันทนาการ

  1. เป็นกิจกรรมที่ทำในเวลาว่าง ซึ่งเป็นเวลาที่ว่างจากการเรียนการประกอบอาชีพหรือจากการว่างภารกิจส่วนตัว
  2. กิจกรรมที่ทำ ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของงานอาชีพหรืองานที่ต้องปฏิบัติตามหน้าที่
  3. เป็นกิจกรรมที่ไม่มีใครบังคับให้ทำแต่ทำด้วยความสมัครใจ ความพึงพอใจตนเอง
  4. เป็นกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดโทษต่อผู้กระทำและผู้อื่นหรือเป็นกิจกรรมระบายอารม
  5. เป็นกิจกรรมที่ให้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งต่อสุขภาพ จิตใจหรือสังคมส่วนรวม 
  6. เป็นกิจกรรมที่ไม่ผิดกฎหมายหรือขัดต่อสังคม วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมอันดี

แรงจูงใจที่ทำให้บุคคลเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการมีกี่ประการ

หลักการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการนอกโรงเรียน

การเลือกเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการนอกโรงเรียนให้เกิดผลดีมีหลักการดังนี้

  1. ความรู้ และความสามารถความถนัดตนเอง ควนเลือกเข้ากิจกรรมที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถและความถนัดของตนเอง เพราะทำให้สามารถประกอบกิจกรรมนั้นได้เต็มที่ เกิดความพึงพอใจและไม่เบื่อหน่าย
  2. สุขภาพทางกาย ควนเลือกเข้ากิจกรรมนันทนาการที่เหมาะสมกับสุขภาพร่างกาย เพราะจะช่วยส่งเสริมทั้งสุขภาพทางกายและจิตใจ ส่วนกิจกรรมนันทนาการที่ไม่เหมาะสมกับสุขภาพทางร่างกายนอกจากจะไม่เกิดประโยชน์ยังเกิดโทษ เช่น คนที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ถ้าออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาที่ออกแรงมากก็จะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
  3. ความเหมาะแก่เพศและวัย กีฬาบางอย่าเหมาะสมกับเพศชาย เนื่องจากต้องมีการปะทะ การเย็บปักทักร้อยเหมาะกับผู้หญิงกีฬาฟุตซอลไม่เหมาะสมกับผู้สูงวัย เป็นต้น
  4. สังคม ประเพณีวัฒนธรรม ควรเลือกกิจกรรมนันทนาการที่เหมาะสมกับประเพณีวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับท้องถิ่นหรือสังคมที่ตนอาศัยอยู่
  5. สภาวะแวดล้อม ควรพิจารณาสภาวะแวดล้อม เช่น ไม่ควรเล่นกีฬากลางแจ้งขณะที่มีอากาศร้อนมากและแสงแดดร้อนจัดไม่ควรลงว่ายน้ำในแม่น้ำ ลำคลอง ทะเล ในช่วงฤดูฝนที่อาจมีน้ำไหลเชี่ยว คลื่นลมแรง เพราะอาจเกิดอันตรายได้
  6. สถานที่และโอกาส กิจนันทนาการที่เลือกควรเหมาะสมกับสถานที่และโอกาส เช่น การทัศนศักษานอกสถานที่ควรทำในฤดูร้อน ไม่ควรท่องเที่ยวทะเลในฤดูฝน
  7. ฐานะทางเศรษกิจ กิจกรรมนันทนาการบางชนิดต้องใช้จ่ายค่าใช่จ่ายสูง เช่น การตีกอล์ฟการท่องเที่ยวต่างประเทศ การสะสมของที่มีราคาแพง
  8. ประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม กิจกรรมนันทนาการที่เลือกควรเป็นกิจกรรมที่มีส่วนช่วยบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน เช่น การทำความสะอาดสถานที่สาธารณะ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ การช่วยเหลือพัฒนาชุมชน

กิจกรรมนันทนาการนอกโรงเรียนที่น่าสนใจ

นักเรียนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการนอกโรงเรียนตามความสนใจ ความถนัดเพื่อนำหลักการแนวคิดไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพชีวิตตนและสังคม กิจกรรมนันทนาการนอกโรงเรียนที่น่าสนใจ มีดังนี้

  1. เต้นรำ ฟ้อนรำและกิจกรรมเข้าจังหวะ
  • เต้นลำลีลาศเป็นกิจกรรมที่นิยมทุกเพศ ทุกวัย จัดขึ้นในงานรื่นเริงต่างๆ
  • ฟ้อนรำเป็นกิจกรรมที่แสดงออกถึงลักษณะความประณีต สวยงามและอ่อนช้อย แสดงถึงความเป็นอยู่เครื่องแต่งกายละศิลปะประจำท้องถิ่นนั้น เช่นฟ้อนเล็บเชิ้ง รำกลองยาว
  • กิจกรรมเข้าจังหวะ เป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ร่างกายและจิตใจมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียงดนตรี เสียงเพลงหรือจังหวะต่างๆ ให้เข้ากับอัตราความเร็วหรือความช้าของโน้ตในรูปแบบต่างๆ การเต้นรำ ฟ้อนรำ และกิจกรรมเข้าจังหวะให้ความสนุกสนาน ช่วยผ่อนคลายความเครียดของร่างกายและอารมณ์

รอบรู้อาเซียน

การเต้นเป็นพลังอันแข็งแกร่งในวัฒนธรรมประเทศฟิลิปปินส์ มีการจัดตั้งคณะบัลเลย์ขนาดใหญ่และขนาดศิลป์พื้นบ้านแห่งชาติ คือ บายานิฮัน เนชันแนล โฟส์กดานซ์ (Bayanihan National Folk Dance) ที่มีชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลกศิลปะการเต้นต่างๆ จึงเป็นที่นิยมในฟิลิปปินส์ และมีการเปิดสอนในหลักสูตรระดับโรงเรียน และมหาวิทลัยด้วย

        2. ศิลปหัตถกรรมและการฝีมือ

      ศิลปหัตถกรรมและการฝีมือ เป็นกิจกรรมที่มีผู้เข้าร่วมต้องใช้มือประกอบกิจกรรมทำขึ้นในยามว่างและไม่ประกอบอาชีพ เป็นกิจกรรมนันทนาการที่แสดงออกถึงความสามารถพิเศษทางศิลปะงานประดิษฐ์และหัตถกรรมมีความละเอียดอ่อน ใช้ทักษะความคิด ความสามารถในหารทำงานและพัฒนาไปสู่ทักษะงานอาชีพ เช่น แกะสลัก งานประดิษฐ์ งานปั้น งานพิมพ์ งานปักถักร้อย ศิลปะการตกแต่งบ้าน

          3. กิจกรรมอาสาสมัคร

อาสาสมัคร หมายถึง ผู้ที่งานด้วยความเต็มใจ ไม่มีผลประโยชน์ตอบแทน เป็นการให้เปล่าไม่คิดเงินและค่าตอบแทนใดๆ  เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ เช่น อาสาสมัครของภาชาดไทย อาสาสมัครของมูลนิธิต่างๆ ที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยในทุกๆด้านรวมทั้งผู้เดือดร้อนทุกข์ยากด้านอื่น

จุดประกายความรู้

สภาชาดไทยก่อตั้งเมื่อใด

คำตอบ: สภาชาดไทยก่อตั้งเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ในสมัยราชกาลที่ ๕ เดิมเรียกว่า สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม

         4. กิจกรรมนอกเมือง

กิจกรรมนอกเมืองหรือกิจกรรมกลางแจ้งเป็นกิจกรรมนันทนาการที่ส่งเสริมให้มนุษย์รู้จักธรรมชาติได้ไกล้ชิดธรรมชาติได้พักผ่อนย่อนใจไปพร้อมๆ กับการเรียนรู้ธรรมชาติกิจกรรมนอกเมืองยังการศึกษานอกสถานที่ กิจกรรมนอกเมืองที่นักเรียนสามารถเลือกเข้ากิจกรรมโดยทั่วไปได้ดังนี้

  1.   การท่องเที่ยวทัศนศึกษาหรือทัศนาจร การเดินทางท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ เช่น สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน โบราณวัตถุวนอุทยานสวนสาธารณะน้ำตกชายทะเล
  2. กิจกรรมที่ท้าทายความสามรถ เช่น การไต่ยอดเขา การผจญภัยในป่าที่ไม่ได้พัฒนาซึ่งเป็นการท้าทายความสามารถ
  3. การดูนก ส่องสัตว์ต่างๆ เป็นกิจกรรมที่ช่วยสร้างความเพลิดเพลิน ได้พักผ่อนกับธรรมชาติ รู้จักสัตว์ต่างๆ หลากหลายชนิด
  4. การอยู่ค่ายพักแรม การใช้ชีวิตอยู่ค่ายพักแรมเป็นการฝึกให้รู้จักการปรับตัวเข้ากับสังคมได้เป็นอย่างดีมีความอดทน รู้จักรับผิดชอบหน้าที่ เคารพในสิทธิผู้อื่น ได้เรียนรู้ถึงธรรมชาติกิจกรรมของชาวค่ายต้องปฏิบัติด้วยกันมากมาย เช่น การเดินทางไกล การปลูกป่า การกีฬาบางชนิด รวมทั้งกิจกรรมอาสาพัฒนา
  5. การเดินทางไกล ทำให้สมาชิกเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และช่วยเหลือกัน มีความเห็นอกเห็นใจกัน ช่วยสร้างความอดทนโดยอาศัยความสวยงามตามธรรมชาติเป็นสิ่งจูงใจ การเดินทางไกลมักจะเป็นกิจกรรมหนึ่งของการอยู่ค่ายพักแรมบางประเภท
  6. แรงจูงใจที่ทำให้บุคคลเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการมีกี่ประการ

การนำกิจนันทนาการไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและสังคม

กิจกรรมนันทนาการมีความสำคัญต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ ซึ่งนักเรียนสามารถนำหลักการและแนวคิดของกิจกรรมนันทนาการไปปรับปรุงและพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ดังนี้

  1. ตัวเอง
    1. สุขภาพทางกาย การเคร่งเครียดจากการเรียน การทำงาน โดยไม่ได้ออกกำลังกายทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย เช่นโรคเครียด     โรคหัวใจขาดเลือด หากได้ออกกำลังกายสมบูรณ์ แข็งแรง
    2.  สุขภาพทางจิตใจ ชีวิตประจำวันต้องมีภารกิจทั้งในบ้านและนอกบ้าน อาจความเครียดได้หากประกอบกิจกรรมนันทนาการจะช่วยให้ผ่อนคลายย่อนใจ คลายเครียดได้เป็นอย่างดี
    3. สังคม คนที่มีความรักความพอใจโดยอุทิศเวลาว่างเพื่อช่วยเหลือบริการด้านต่างๆตามที่ตนเองชอบ เมื่อได้ปฏิบัติจะทำให้เกิดความสุข ความพอใจ เกิดความเสียสละส่วนรวมเกิดความสามัคคี เช่นกิจกรรมอาสาทุกชนิด

        2.  ครอบครัว 

        กิจกรรมนันทนาการเป็นสื่อสำคัญที่จะช่วยสร้างบรรยากาศอันดีระหว่าง พ่อ แม่ ลูก และสมาชิกคนอื่นๆ โดยการสร้างความรัก ความอบอุ่น จัดเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่ทำให้สังคมและประเทศชาติมีประชากรที่มีคุณภาพ

         3.  ชุมชน

กิจกรรมนันทนาการช่วยทำให้สังคมมีความสมบูรณ์หลายด้าน ดังนี้

  1. ช่วยสร้างคนในชุมชนให้มีความรัก ความสามัคคี เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากว่าประโยชน์ส่วนตน โดยเมื่อมีเวลาว่างก็รวมกลุ่มประกอบกิจกรรมนันทนาการ เช่น กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ
  2. ช่วยลดปัญหาอาชญากรรมในชุมชนสาเหตุหนึ่งของปัญหาอาชญากรรม คือ ปล่อยให้คนบางกลุ่มมีเวลามากเกินไป ทำให้ไม่มกมุ่นกับอบายมุขและประพฤติตนก่ออาชญากรรมได้หากชุมชนจัดกิจกรรมนันทนาการจะช่วยลดปัญหา อาชญากรรมได้ทางหนึ่ง
  3. ช่วยให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดี แต่ละท้องถิ่นต้องการสถานที่เพื่อกิจกรรมนันทนาการ เช่น สวนสาธารณะ สวนสุขภาพ สนามกีฬา การปลูกต้นไม้ทำให้เกิดความสดชื่น รื่นรม ช่วยให้เกิดการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น

4 . ประเทศชาติ

        กิจกรรมนันทนาการมีความสำคัญต่อประเทศชาติเป็นอย่างมาก เพราะคนในชาติมีสุขภาพที่ดี ไม่เจ็บป่วย ทำให้รัฐไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เมื่อคนมีสุขภาพจิตดีก็ทำให้มีจิตแจ่มใส ไม่ทะเลาะวิวาทเกิดปัญหาสังคม ถ้าคนได้ช่วยบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมในด้านต่างๆ เช่น ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์จากภัยธรรมชาติ ช่วยเหลือด้านการศึกษาทำให้ประเทศชาติมีการพัฒนาในทุกด้าน คนในชาติก็จะอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข

การเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการมีประโยชน์ทั้งหมดกี่ด้าน

๑) ช่วยส่งเสริมให้คนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ๒) ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและสุขภาพจิตดี และผ่อนคลายความเครียด ๓) ช่วยให้เกิดความสนุกสนามเพลิดเพลิน และมีความสุข ๔) ช่วยสร้างความรัก ความสามัคคีให้เกิดในครอบครัว ชุมชน และสังคม

ความสําคัญของนันทนาการ มีอะไรบ้าง

ประเภทของกิจกรรมนันทนาก กิจกรรมนันทนาการมีความสำคัญ อย่างยิ่งต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ ทั้งนี้เพราะ ว่ากิจกรรมนันทนาการสามารถใช้เป็น สื่อในการพัฒนาความเจริญเติบโตทาง ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญา ของทุกคน นอกจากนี้กิจกรรมนันทนาการ ยังช่วยส่งเสริมประสบการณ์ชีวิตและ การรู้จักใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ มี ...

แรงจูงใจในมีกี่ประเภท

สรุปได้ว่าแรงจูงใจ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือแรงกร คือแรงจูงใจทางร่างกายและแรงจูงใจทางสังคม โดย แรงจูงใจทางร่างกายเกิดจากความต้องการที่ได้รับการกระตุ้นจากภายในร่างกาย ได้แก่ ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ ส่วนแรงจูงใจทางสังคมจะเกิดหลังจากการเรียนรู้ในสังคม อันเป็นความต้องการอยู่ร่วมกับผู้อื่น

อะไรคือแรงจูงใจในการทํางาน

ยลดา สุพร (2559) ได้ให้ความหมายไว้ว่า แรงจูงใจในการท างานหมายถึงความต้องการ แรงผลักดันหรือสิ่งกระตุ้น เป็นปัจจัยส าคัญในการที่จะช่วยกระตุ้นให้บุคคลกระท าพฤติกรรมต่าง ๆ อย่างมี ทิศทางและต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ