สิทธิความเป็นส่วนตัว มีอะไรบ้าง

1.ตั้งรหัสผ่านที่เดายาก ไม่ใช้ซ้ำ และหมั่นเปลี่ยนอยู่เสมอ วิธีง่าย ๆ ที่เราสามารถทำได้คือ การตั้งรหัสผ่านที่คาดเดายากและหลากหลาย มีความยาวอย่างน้อย 12-14 ตัวอักษร ประกอบไปด้วย ตัวอักษรใหญ่ ตัวอักษรเล็ก ตัวเลข และไม่ควรใช้ซ้ำกับ Online Account อื่น ๆ รวมถึงคอยตรวจสอบคำขอรีเซ็ตรหัสผ่านในบัญชีด้วย และที่สำคัญควรเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำทุก 3- 6 เดือน เพื่อป้องกันกรณีที่มีการรั่วไหลของข้อมูลโดยที่เราไม่รู้ตัว

2. หมั่น Update ระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์ หมั่นตรวจสอบการ Update ระบบปฏิบัติการและการตั้งค่าเบราว์เซอร์อุปกรณ์ต่างให้ทันสมัยอยู่เสมอ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ แล็ปท็อป ฯลฯ เพราะ แพทซ์ทุกเวอร์ชันย่อมมีช่องโหว่ที่แฮกเกอร์สามารถเข้ามายังระบบได้ แต่เมื่อเราหมั่น Update แพทซ์ ก็จะช่วยปิดช่องโหว่นั้น ๆ และ เพิ่ฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ช่วยให้มีความปลอดภัยระบบมากขึ้นหรือหากระบบปฏิบัติการผิดพลาดจนไม่สามารถใช้งานได้ เราจะได้แก้ไขอย่างทันท่วงที

3. หลีกเลี่ยงการใช้ Wi-Fi สาธารณะ พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ Wi-Fi สาธารณะ ทางที่ดีควรใช้อินเทอร์เน็ตเครือข่ายมือถือของตัวเองเพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่า เครือข่าย Wi-Fi สาธารณะปลอดภัยจริงหรือไม่ เป็น Wi-Fi ปลอมที่แฮกเกอร์สร้างเพื่อดักจับข้อมูลเหยื่อหรือเปล่า หากไม่มีทางเลือกควรใช้ VPN (Virtual Private Networks) ด้วย เพื่อให้แน่ใจว่ากิจกรรมออนไลน์ทั้งหมดจะปลอดภัยตั้งแต่ ธนาคารออนไลน์ไปจนถึงข้อความส่วนตัว

4. อย่าแชร์ทุกอย่างที่คิด ก่อนแชร์ให้คิดก่อนเสมอ ในโลก Social media มีอันตรายแอบแฝงอยู่แล้ว ยิ่งถ้าเราใช้งานโดยการแชร์ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเราลงบนโลกออนไลน์ เช่น แชร์ข้อมูลส่วนตัวทั้งหมดแบบสาธารณะ แชร์ Location ที่อยู่อาศัยของตัวเอง ฯลฯ อาจเป็นการแบ่งปันข้อมูลให้กับแฮกเกอร์ หรือ คนแปลกหน้าก็ได้ ทางทีดีควรคิดก่อนแชร์เสมอ เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง

5. จดบันทึกประวัติการใช้งานทางการเงิน จดบันทึกการใช้งานเครดิตอยู่เสมอว่าเราได้ใช้ทำอะไร ที่ไหน เวลาเท่าไหร่ และจดบันทึกการเปลี่ยนแปลงแม้จะเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อป้องกันยอดเงินแปลกๆ ที่หักเงินในบัตรเครดิตเราแบบที่ไม่รู้ตัวและที่สำคัญไม่ควรผูกเลขบัตรเครดิต เลขบัญชีธนาคารลงในเว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์ หรือ เว็บไซต์ Social ต่าง ๆ เพราะหากโดนแฮกบัญชี สิ่งพวกนี้คือเป้าหมายแรกของแฮกเกอร์ในการขโมยข้อมูล

6. ตรวจสอบประวัติการใช้งานอินเทอร์เน็ตเสมอ ตรวจสอบการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อป้องกันการติดตามต่างๆและป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลบนโลก Social (ข้อมูลส่วนตัวที่คุณโชว์ไว้บน Profile Digital ต่าง ๆ) ของเราเพื่อรักษาตัวเองให้ปลอดภัยจากการติดตามออนไลน์ที่ถูกคุกคามโดยโฆษณาออนไลน์ต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสม

7. ใช้ระบบรักษาความปลอดภัยในทุกอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อออนไลน์ ถ้าคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ชิ้นนั้น สามารถออกสู่โลกอินเทอร์เน็ตได้ ต้องป้องกันมันด้วย เช่น ถ้าเป็น PC หรือ มือถือ ก็จะต้องมี Antivirus เพื่อป้องกันการโดนไวรัส หรือว่าถ้าในอนาคตตู้เย็นส่งข้อมูลออกสู่โลกอินเทอร์เน็ตได้ ก็ควรจะต้องป้องกันมันด้วย เพราะทุกการเชื่อมต่อมีภัยแฝงเสมอ การเลือกระบบรักษาความปลอดภัยจึงเป็นเรื่องสำคัญ

        ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) หมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับ ผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆ ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้

    1.1.การ เข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่อง คอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร

    1.2.การ ใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งทำให้สูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม

    1.3.การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด

    1.4.การ รวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น 

ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการใช้โปรโมชั่น หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และที่อยู่อีเมล์

กฎหมายด้านสิทธิส่วนบุคคลนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายมาตรา โดยเริ่มตั้งแต่มารตราที่ 35 และ 326 จนถึง 329 โดยจะเป็นส่วนของเรื่องความปลอดภัยส่วนบุคคล ความผิดในฐานหมิ่นประมาท และการใส่ร้าย หรือแสดงความคิดเห็น หรือเขียนข้อความใดก็ตามที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล โดยกล่าวไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 35

มาตรา 35 สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมได้รับความคุ้มครองการกล่าวหรือไขข่าวแพร่ หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวจะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะ ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วสำหรับสังคมแล้วที่จะมีการอิจฉา จนไปถูกการพูดดูถูกเหยียดหยามกันตามมา แต่บางครั้งก็รุนแรงเกินที่จะรับไหว โดยการกระทำนั้นถือเป็นความผิดในมาตราที่ 326 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำและปรับ และยังมีส่วนขยายเพิ่มเติมของมาตราที่ 326 คือ มาตรา 328

มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณา ด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ ทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท บนอินเตอร์ เป็นสังคมขนาดใหญ่มาก มีกลุ่มผู้คน ทุกเพศทุกวัย สามารถเข้าถึงกันผ่านเว็บไซต์ที่ให้บริการมากมายและด้วยสังคมที่เปิดกว้างนี้เอง บางครั้งก็อาจเกิดความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ พิมพ์อะไรลงไปมั่ว ๆ หรือใช้อารมณ์ชั่ววูบในการทำลงไป หรือไม่ก็อยู่ของเราดี ๆ ก็มีคนมาฟ้องร้องเราเพราะไม่พอใจที่เราพิมพ์ หรือ พูดอะไรลงไป ทำให้มีกฎหมายออกมารองรับตรงนี้เพิ่มเติม อ้างอิงจากมาตรา 329

มาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจิต (1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม (2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่ (3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัย ของประชาชนย่อมกระทำ หรือ (4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม เรื่องการดำเนินการอันเปิด เผยในศาลหรือในการประชุม ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

สิทธิของบุคคลคืออะไร

สิทธิส่วนบุคคล (มาตรา 32) สิทธิส่วนบุคคล คือ สิทธิประจาตัวของบุคคลอันประกอบด้วย เสรีภาพในร่างกาย การดารงชีวิตมีความเป็นส่วนตัว ความเป็นอยู่ส่วนบุคคล คือ สถานะที่บุคคลจะรอดพ้นจากการสังเกตการรู้เห็น การสืบ ความลับ การรบกวนต่าง ๆ และมีความสันโดษ การกระท าอันเป็นการละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิของบุคคลอื่น หรือการน าข้อมูลส่วน ...

การละเมิดลิขสิทธิ์ส่วนบุคคลมีอะไรบ้าง

มาก ตัวอย่างเช่น การนำภาพหรือชีวิต ส่วนตัวของบุคคลใดบุคคลหนึ่งไปเผยแพร่ การเปิดเผยประวัติส่วนตัวของบุคคล การ ลักลอบฟังการสนทนาทางโทรศัพท์ การ ลักลอบถ่ายภาพของบุคคล การเปิดเผย ข้อความหรือจดหมายหรือเอกสารใด ๆ อันเป็นเรื่องส่วนตัวของบุคคลอื่น การนำ

การละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหมายถึงอะไร

การละเมิดสิทธิส่วนบุคคลถือว่าเป็นการกระทำผิดทางกฎหมายในปี 2550 มาตราที่ 4 ในพระราชบัญญัตินี้ การโฆษณา หมานความหรือรวมการกระทำใดๆทั้งสิ้นที่ให้ผู้อื่นเห็น หรือเป็นการแจ้งให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และทางการค้า แต่ในที่นี้ไม่ได้รวมถึงในหนังสือทางด้านวิชาการ หรือตำราที่ใช้ในการเรียนการสอน มาตราที่ 35 สิทธิส่วนบุคคลภายใน ...

กฎหมายคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลมีความสำคัญอย่างไร

กฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคลมีความสำคัญต่อประชาชน สังคม และการพัฒนาประเทศชาติเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เพราะประชาชนมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติรวมทั้งต่อโลก ดังนั้น หากประชาชนเรียนรู้และเข้าใจในกฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคลและสามารถปฏิบัติได้อย่างครบถ้วน สมบูรณ์ ก็จะส่งผลให้สังคมดำรงอยู่ได้ ...