การสถาปนากรุงธนบุรีมีสาเหตุ จาอะไรบ้าง

หลัง "พระเจ้าตากสินมหาราช" กู้เอกราชคืนมาจากพม่าแล้ว สภาพบ้านเมืองของกรุงศรีอยุธยาทรุดโทรมมาก ด้วยเหตุผลนานาประการจึงทรงตัดสินใจเลือกเอา "กรุงธนบุรี" เป็นราชธานีใหม่ ในชื่อ "กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร"

วันที่ 4 ตุลาคม 2313 เมืองธนบุรีได้ถูกสถาปนาเป็นราชธานีแห่งใหม่ หลังจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" สามารถกู้เอกราชคืนมาจากพม่า  

และเมื่อสภาพบ้านเมืองของกรุงศรีอยุธยาทรุดโทรมมากไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นเมืองหลวง  เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายและทรุดโทรมยากแก่การบูรณะ นอกจากนี้กรุงศรีอยุธยายังมีพื้นที่กว้างขวางยากแก่การรักษาบ้านเมือง และอยู่ห่างจากปากแม่น้ำไม่สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ 

 

สำหรับสาเหตุที่พระเจ้าตากสินมหาราชเลือกที่นี่ เพราะ "กรุงธนบุรี" เป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะสมกับกำลังป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ โดยตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และยังสะดวกในการควบคุมการลำเลียงอาวุธและเสบียงต่างๆ ไปตามหัวเมืองเมื่อเกิดศึกสงคราม

การสถาปนากรุงธนบุรีมีสาเหตุ จาอะไรบ้าง

ดังนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงทรงตัดสินใจเลือกเอา "กรุงธนบุรี" เป็นราชธานี ทรงพระราชทานนามว่า "กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร"

นอกจากนี้ หากข้าศึกยกกำลังมามากเกินกว่ากำลังจะต้านทานก็ยังสามารถย้ายไปตั้งมั่นที่จันทบุรีได้โดยอาศัยทางเรือ อีกทั้งยังมี 2 ป้อมปราการทั้งป้อมวิไชยประสิทธิ์ และป้อมวิไชเยนทร์ อยู่ทั้งสองฟากแม่น้ำที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชใช้ป้องกันข้าศึกที่จะเข้ามารุกรานโดยยกกำลังมาทางเรือ 

 

"สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" ทรงสร้างพระราชวังขึ้นทางทิศใต้ของกรุงธนบุรี ขนาบข้างด้วยวัดแจ้ง หรือวัดมะกอก (ปัจจุบันคือ วัดอรุณราชวรารามราชวรวิหาร) และวัดท้ายตลาด (ปัจจุบันคือวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร) โดยเมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๓๑๓ พระราชทานนามว่า "กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร"               

การสถาปนากรุงธนบุรีมีสาเหตุ จาอะไรบ้าง

สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงแสดงความคิดเห็นไว้ว่า..

"ที่เจ้าตากลงมาตั้งเมืองธนบุรีเป็นราชธานี ครั้งนั้นเหมาะแก่ประโยชน์ทุกอย่าง ถ้าหากว่าสมเด็จพระอดีตมหาราชได้มาขับไล่เจ้าตากมิให้ตั้งอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ก็ขับไล่ด้วยไมตรีจิต ตักเตือนมิให้พลาดพลั้งไปด้วยเห็นแก่เกียรติยศ

เพราะกรุงศรีอยุธยาถึงเป็นที่มีชัยภูมิด้วยลําน้ำล้อมรอบ และเป็นเมืองมีป้อมปราการมั่นคงก็จริง แต่รี้พลของเจ้าตากที่มีอยู่ไม่พอจะรักษากรุงศรีอยุธยาต่อสู้ข้าศึก และขณะนั้นศัตรูก็ยังมีมาก ทั้งพม่าและไทยก๊กอื่นอาจจะยกมาย่ำยีในเมื่อหนึ่งเมื่อใด กรุงศรีอยุธยาอยู่ในทางที่ ข้าศึกจะมาถึงได้สะดวกทั้งทางบกและทางน้ำ ถ้ามีกําลังไม่พอรักษา ขืนตั้งอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาก็คงเป็นอันตราย

การที่ลงมาตั้งอยู่เมืองธนบุรีก็ไม่ห่างไกลกับกรุงศรีอยุธยา มีอํานาจอยู่ที่เมืองธนบุรีก็เหมือนมีอํานาจอยู่ในกรุงศรีอยุธยา แต่ได้เปรียบที่เมืองธนบุรีตั้งอยู่ที่ลําน้ำลึกใกล้ทะเล แม้ข้าศึกมาทางบกไม่มีทัพเรือเป็นกําลังด้วยแล้วก็ยากที่จะมาตีเมืองธนบุรี"

อย่างไรก็ดี "อาณาจักรธนบุรี" เป็นอาณาจักรเพียงแค่ช่วงสั้นๆ ระหว่างปี 2310 - 2325 หรือเพียง 15 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองเพียงพระองค์เดียว คือ "สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี"

และต่อมาสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และทรงย้ายเมืองหลวงไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน

หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาในปี 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงรวบรวมกำลังพลและกองทัพเรือจากเมืองจันทบุรี ล่องมาตามชายฝั่งจนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา ทรงต่อสู้โจมตีค่ายโพธิ์สามต้นจนสามารถขับไล่ทหารพม่าออกจากอาณาจักรได้และสามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากการยึดครองได้ ในเวลาเพียง 7 เดือน จากนั้นโปรดให้อัญเชิญพระบรมศพพระเจ้าเอกทัศมาประกอบพิธีโดยสังเขปและพระราชเพลิงพระบรมศพเรียบร้อย

จากนั้นพระองค์ได้เสด็จสำรวจความเสียหายของบ้านเมือง และประทับแรมในพระนคร ณ พระที่นั่งทรงปืน ทรงพระสุบินนิมิตรว่า พระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา “มาขับไล่ไม่ให้อยู่” พระเจ้าตากสินมหาราชทรงเล่าให้ขุนนางทั้งหลายฟัง แล้วดำรัสว่า

“เราคิดสังเวชเห็นว่าบ้านเมืองจะร้างรกเป็นป่า จะ มาช่วยปฏิสังขรณ์ทํานุบํารุงขึ้นให้บริบูรณ์ดีดังเก่า เมื่อเจ้าของเดิม ท่านยังหวงแหนอยู่แล้ว เราชวนกันไปสร้างเมืองธนบุรีอยู่เถิด แล้วตรัสสั่งให้เลิกกองทัพกวาดต้อนราษฎร แลสมณพราหมณาจารย์ ทั้งปวงกับทั้งโบราณขัติยวงษ์ซึ่งยังเหลืออยู่นั้น ก็เสด็จกลับลงมาตั้งอยู่ ณ เมืองธนบุรี”

การสถาปนากรุงธนบุรีมีสาเหตุ จาอะไรบ้าง
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ที่หน้าพระราชวังเดิม กรุงธนบุรี

เรื่องเมืองธนบุรีนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. พงศาวดารเรื่องไทยรบพม่า. พิมพ์ครั้งที่ 5, สำนักพิมพ์มติชน พฤศจิกายน 2556