พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีอะไรบ้าง

          

ทรงเป็นพระราชโอรสองค์สุดท้าย ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 พระนามเดิม “สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์” พระนามทั่วไปเรียกว่า “ทูล กระหม่อมเอียดน้อย”

พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ
           เมื่อเยาว์วัยทรงศึกษาวิชาภาษาไทย และราชประเพณีโบราณ ครั้นเจริญวัยทรงศึกษาวิชาการทหารม้าปืนใหญ่ แห่งกองทัพอังกฤษ สำเร็จการศึกษาเข้ารับราชการในกองทัพบกไทย ต่อมาได้ไปศึกษาวิชา ฝ่ายเสนาธิการ ประเทศฝรั่งเศส ทรงอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. 2460 ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี เมื่อ พ.ศ. 2461 ทรงดำรงตำแหน่งในกองทัพบก ในรัชกาลพระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 2 และผู้บังคับการพิเศษทหารปืน ใหญ่ที่ 2 ระยะนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องเตรียมผู้ สืบราชสมบัติต่อ ซึ่งตกแก่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้นในปี พ.ศ. 2467 ทรงได้ศึกษาวิชา การปกครองบ้านเมืองและราชการแผ่นดิน ทรงศึกษาขนบธรรมเนียมและหน้าที่ราชการของพระเจ้าแผ่น ดินจากหนังสือราชการที่สำคัญในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ได้ตระหนักว่า ประชาธิปไตยในประเทศไทย เกิดขึ้นอย่างแจ่มชัดมาแล้วตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เพียงแต่ยังมิได้เป็นทางการ เท่านั้น
           ครั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พ.ศ. 2468 พระองค์ก็ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อ ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ทรงมีพระราชกรณียกิจสรุปได้ดังนี้ เศรษฐกิจ สืบเนื่องจากผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศทั่วโลกประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจ ตกต่ำ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนมาสู่ประเทศไทย พระองค์ได้ทรงพยายามแก้ไขการงบประมาณของประเทศให้งบดุลย์อย่างดีที่สุด โดยทรงเสียสละตัดทอนรายจ่ายส่วนพระองค์ โดยมิได้ขึ้นภาษีให้ราษฎร เดือดร้อน

             การศึกษา ทรงส่งเสริมการศึกษาของชาติทั้งส่วนรวมและส่วนพระองค์ โปรดให้สร้างหอพระสมุดสำหรับพระนคร เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าศึกษาได้อย่างเสรี ทรงตั้งราชบัณฑิตยสภา เพื่อมีหน้าที่บริหารและเผยแพร่วิชาการด้านวรรณคดี โบราณคดี และศิลปกรรม ในด้านวรรณกรรม โปรด ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมใน พ.ศ. 2475 พระราชทานเงินส่วนพระองค์ เป็นรางวัลแก่ผู้แต่งหนังสือยอดเยี่ยม และให้ทุนนักเรียนไปศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศ การศาสนา ทรงปลูกฝังเยาวชนให้มีคุณธรรมดีงาม โดยยึดหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา โปรดให้ราชบัณฑิตยสร้างหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก ซึ่งนับว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงสร้างหนังสือสำหรับเด็ก ส่วนการศึกษาในเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนานั้น ทรงโปรดให้สร้างหนังสือพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์ เรียกว่าฉบับสยามรัฐ ชุดหนึ่ง จำนวน 42 เล่ม ซึ่งใช้สืบมาจนทุกวันนี้

             การสุขาภิบาลและสาธารณูปโภค โปรดให้ปรับปรุงงานสุขาภิบาลทั่วราชอาณาจักรให้ทัดเทียมอารยประเทศ ขยายการสื่อสารและการคมนาคม โปรดให้สร้างสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกใน ประเทศไทย ในส่วนกิจการรถไฟ ขยายเส้นทางรถทางทิศตะวันออกจากทางจังหวัดปราจีนบุรี จน กระทั่งถึงต่อเขตแดนเขมร
             ในปี พ.ศ. 2475 เป็นระยะเวลาที่กรุงเทพฯ มีอายุครบ 150 ปี ทรงจัดงานเฉลิมฉลองโดยทำนุบำรุง บูรณปฏิสังขรณ์สิ่งสำคัญอันเป็นหลักของกรุงเทพฯ หลายประการ คือ บูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง สร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เพื่อเชื่อมกรุงเทพฯและธนบุรี เป็นการขยายเขต เมืองให้กว้างขวาง และสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ด้านการปกครอง ทรงมีพระราชปรารภจะพระราชทานรัฐธรรมนูญในโอกาสกรุงเทพฯ มีอายุครบ 150 ปี ในปี พ.ศ. 2475 แต่ก็มีเหตุที่ยังไม่อาจทำได้ในระยะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่มีคณะบุคคลคณะหนึ่งถือ โอกาสยึดอำนาจการปกครอง ขอเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน การกระทำดังกล่าวเป็น พระราชประสงค์ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งพระราชหฤทัยไว้แต่แรกแล้ว จึงทรงพระราช ทานอำนาจและยินยอมให้ปกครองแบบประชาธิไตย นับเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองชาติเดียวใน โลกที่เลือดไม่นองแผ่นดิน ทรงยินยอมสละพระราชอำนาจ เป็นพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมาย ทรงให้ตรวจตราตัวบทกฎหมายรัฐธรรมนูญที่จะเป็นหลักในการปกครองอย่างถี่ถ้วน การที่พระองค์ทรง เป็นนักประชาธิปไตยอย่างแท้จริงนี่เอง เมื่อคณะรัฐบาลบริหารงานไม่ถูกต้องตามหลักการที่วางไว้ พระองค์จึงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 รวมเวลาครองราชย์ 9 ปี พระองค์ทรงประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ และเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระหทัยพิการ ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 รวม พระชนมายุ 48 พรรษา

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีพระนามเดิมว่า ด้วง หรือ ทองด้วง เสด็จพระราชสมภพที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อวันพุธ เดือน ๔ แรม ๕ ค่ำ ปีมะโรง จุลศักราช ๑๐๙๘ ตรงกับวันที่ ๒๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๒๗๙ ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ. ๒๒๗๕ - ๒๓๐๑) ทรงเป็นบุตรพระอักษรสุนทร (ทองดี) ข้าราชการกรมอาลักษณ์ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เสนาบดีกรมพระคลัง ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กับ ท่านหยก ธิดาเศรษฐีจีน มีพระเชษฐภคินีสองพระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า กรมพระเทพสุดาวดี และ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระขนิษฐาหนึ่งพระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนรินทรเทวี พระเชษฐาหนึ่งพระองค์ คือพระเจ้า รามณรงค์ พระราชอนุชาสองพระองค์ คือ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา

เมื่อทรงเจริญพระชันษา ทรงเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิต เมื่อพระชนมายุครบ ๒๑ พรรษา ได้เสด็จออกทรงผนวช ณ วัดมหาทลาย เป็นเวลา ๑ พรรษา หลังจากทรงลาผนวชแล้วกลับเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหลวงอีกครั้ง ครั้นพระชนมายุ ได้ ๒๕ พรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสุริยาศน์อมรินทร์ (พ.ศ. ๒๓๐๑ - ๒๓๑๐) พระมหากษัตริย์ลำดับสุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็น หลวงยกกระบัตร ออกไปรับราชการที่เมืองราชบุรี

ในพุทธศักราช ๒๓๑๑ ภายหลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าและสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เสด็จเข้ามารับราชการในกรุงธนบุรี ทรงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระราชวรินทร์ ในกรมพระตำรวจหลวง ได้โดยเสด็จพระราชดำเนินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกทัพไปปราบเจ้าพิมายเป็นครั้งแรก โดยมีหน้าที่ตีด่านขุนทดและด่านกระโทก เมื่อเสร็จศึกสงครามครั้งนี้แล้ว ทรงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาอภัยรณฤทธิ์ จางวางกรมพระตำรวจ

ต่อจากนั้นทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็นแม่ทัพไปปราบหัวเมืองต่างๆ เช่นเขมรและลาวได้สำเร็จอีกหลายครั้ง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานบำเหน็จความชอบให้สถาปนาบรรดาศักดิ์สูงขึ้นโดยลำดับ กล่าวคือพุทธศักราช ๒๓๑๓ ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระยายมราช และทรงทำหน้าที่สมุหนายกด้วย ในปีต่อมาทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น เจ้าพระยาจักรี ที่สมุหนายก และพุทธศักราช ๒๓๑๙ ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พิลกมหิมาทุกนัคราระอาเดช นเรศรราชสุริยวงศ์ องค์อัครบาทมุลกากร บวรรัตนปรินายก รับพระราชทานเครื่องยศอย่างเจ้าต่างกรม

ครั้นพุทธศักราช ๒๓๒๔ ได้เกิดเหตุจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีพระราชอัธยาศัยผิดปกติไปจากเดิม ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ราษฎรและพระภิกษุทั้งหลาย พระยาสรรค์จึงก่อกบฏขึ้นแล้วควบคุมสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไปกักขังไว้ ได้เกิดการสู้รบกันระหว่างฝ่ายบ้านเมืองกับฝ่ายกบฏ เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกซึ่งยกทัพไปปราบจลาจลที่เมืองเขมรต้องยกทัพกลับกรุงธนบุรีทันที เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงถูกสำเร็จโทษแล้ว มุขอำมาตย์ราชมนตรีและราษฎรทั้งหลาย ก็พร้อมกันกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ให้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์สืบไป เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ ในขณะที่มีพระชนมายุได้ ๔๖ พรรษาต่อมาได้ทรงประกอบการพระราชพิธีปราบดาภิเษก เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ และทรงสถาปนาพระราชวงศ์จักรี ตามโบราณราชประเพณี

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้วได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ย้ายพระนครมาทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเยื้องกับกรุงธนบุรีพระนครแห่งเดิม ด้วยมีพระราชดำริว่าฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยามีลักษณะภูมิประเทศเป็นชัยภูมิดีกว่าฝั่งตะวันตก ทั้งการป้องกันข้าศึกและการขยายพระนครในอนาคตซึ่งจะสามารถทำได้โดยสะดวก ในการนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระยาธรรมาธิกรณ์ (บุญรอด บุณยรัตพันธุ์) กับพระยาวิจิตรนาวี เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่ไปจัดกะที่สร้างพระนครใหม่ทางฝั่งตะวันออก ทรงประกอบพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์เดือน ๖ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีขาล จุลศักราช ๑๑๔๔ เวลา ๐๖.๕๔ นาฬิกา ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ก่อสร้างพระบรมมหาราชวังขึ้นในบริเวณที่ซึ่งพระยาราชาเศรษฐี และชาวจีนตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่แต่ก่อนตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรี โปรดให้พระยาราชาเศรษฐีและชาวจีนเหล่านั้นย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ที่สวนตั้งแต่คลองวัดสามปลื้มไปจนถึงคลองวัดสามเพ็ง ในชั้นแรก ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ก่อสร้างพระราชนิเวศน์มนเทียรสถานล้อมด้วยปราการระเนียดไม้ไว้ก่อน พอแก่การตั้งการพระราชพิธีปราบดาภิเษกโดยสังเขป และเป็นที่ประทับชั่วคราว เมื่อทรงประกอบการพระราชพิธีปราบดาภิเษกโดยสังเขปเสร็จแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ดำเนินการก่อสร้างพระบรมมหาราชวัง พระราชวังบวรสถานมงคลและพระนครต่อไป การก่อสร้างในครั้งนั้นได้มีการเกณฑ์ไพร่หลวงและไพร่เลกหัวเมืองให้ทำอิฐขึ้นใหม่บ้างและให้รื้อเอาอิฐกำแพงที่กรุงศรีอยุธยาลงมาบ้าง เพื่อสร้างกำแพงพระนครและพระบรมมหาราชวัง และเกณฑ์ไพร่เลขหัวเมืองเขมรกับเวียงจันทน์ และข้าราชการหัวเมืองเข้ามาช่วยกันขุดรากก่อกำแพงพระนคร สร้างป้อมต่างๆรอบพระนครพร้อมทั้งก่อกำแพง และสร้างป้อมประตูรอบพระบรมมหาราชวัง และพระราชวังบวรสถานมงคล สร้างปราสาทราชมนเทียร และสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

การสร้างพระนครใหม่นี้ แล้วเสร็จเมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๘ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีสมโภชเฉลิมฉลองอย่างมโหฬาร พร้อมกับการสมโภชวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นเวลา ๓ วัน พระราชทานนามพระนครใหม่ให้ต้องด้วยนามพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรอันเป็นมงคลยิ่งต่อบ้านเมืองว่า กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ เรียกโดยย่อว่า กรุงรัตนโกสินทร์

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการทะนุบำรุงและรักษาราชอาณาจักรให้เจริญรุ่งเรืองและดำรงอยู่อย่างมั่นคง จะเห็นได้ว่าในด้านการสงคราม ต้องทรงทำศึกสงครามป้องกันราชอาณาจักรและขยายพระราชอาณาเขตหลายครั้ง ด้านกฎหมายทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ผู้มีความรู้ในราชประเพณีและการบริหารราชการแผ่นดิน ร่วมกันชำระและปรับปรุงการรางระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติราชการไว้เป็นหลักฐาน รวมทั้งการชำระพระราชกำหนดกฎหมายที่ยืดถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณให้ถูกต้อง และรวมกฎหมายที่ทรงตราขึ้นใหม่เข้าไว้ด้วยกัน แล้วจัดเป็นหมวดหมู่ เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง หรือ ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ ๑ ด้านศาสนาทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก ตรากฎหมายพระสงฆ์ จัดระเบียบพระสงฆ์ใหม่สร้างพระอารามขึ้นใหม่ และมีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามต่างๆ ที่มีอยู่แต่เดิม ทั้งในเขตพระนครและหัวเมืองเป็นจำนวนมาก ด้านวัฒนธรรมทรงฟื้นฟูศิลปกรรม และสถาปัตยกรรม ทรงฟื้นฟูขนบธรรมเนียมและราชประเพณีต่างๆ ที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระราชพิธีโสกันต์ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประเพณีการเล่นสักวา ประเพณีเทศน์มหาชาติ ประเพณีเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานผ้าพระกฐิน เป็นต้น นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นักปราชญ์ราชกวีช่วยกันแปล ชำระ เรียบเรียง พระราชพงศาวดารและวรรณคดีต่างๆ ตลอดรัชกาล เช่น พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) พงศาวดารเหนือ วรรณกรรมเรื่องสามก๊ก ไซ่ฮั่น ราชาธิราช ไตรภูมิโลกวินิจฉัย รัตนพิมพวงศ์สังคีติยวงศ์ เป็นต้น อีกทั้งยังทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมไว้หลายเรื่อง เช่น กลอนบทละครเรื่องรามเกียรติ์ กลอนบทละครเรื่องอิเหนา กลอนบทละครเรื่องอุณรุท กลอนเพลงยาวนิราศเรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดง เป็นต้น

พระราชกรณียกิจด้านต่างๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงปฏิบัตินั้น กล่าวได้ว่า มีความสำคัญอย่างยิ่ง ด้วยเป็นรากฐานและแบบอย่างของการพัฒนาความเป็นชาติไทยสืบต่อมาจวบจนปัจจุบัน

พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชในด้านการเมืองการปกครองมีอะไรบ้าง

พระราชสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่สาคัญหลายประการ ดังนี้ ด้านการเมืองการปกครอง พระราชกรณียกิจที่สาคัญ คือ การป้องกันพระราชอาณาจักรให้ดารงอยู่มั่นคง การศึกครั้งใหญ่ ทรงจัดระเบียบ การปกครองภายในพระราชอาณาจักร โดยยึดแบบอย่างแต่ครั้งอยุธยา ด้านกฎหมาย

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงมีพระราชกรณียกิจที่แสดงถึงการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างไร

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1. ทางด้านศาสนา โปรดให้สังคายนาพระไตรปิฎก พ.ศ. 2331 และจารฉบับทองประดิษฐานไว้ในหอพระมณเฑียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นอกจากนี้ยังทรงสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามและพระพุทธรูปต่างๆ เป็นอันมาก

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชอาณาจักรอะไร

เรื่อง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (กษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรกรุงรัตนโกสินทร์) 30 มี.ค. 64 (มีวิดีโอประกอบการสอน)

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่องใดบ้าง

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 1. เพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง 2. บทละครเรื่องอุณรุท 3. บทละครเรื่องรามเกียรติ์ 4. บทละครเรื่องดาหลัง