ภาษีมูลค่าเพิ่ม อยู่หมวดไหน

วันนี้เราจะมาทำความรู้จัก ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax หรือ Vat) หนึ่งในภาษีที่ได้ยินกันบ่อยที่สุด และเป็น Vat ที่เราทุกคนต้องเจอในชีวิตประจำวันของเราทุกวันค่ะ 

Show

 

ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ การเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยอัตราที่ผู้ประกอบการจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยคือ 7% ค่ะ

 

ใครบ้างที่ต้องจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม 

  1. ผู้ประกอบกิจการที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี
  2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือบริการ ที่อยู่ในข้อบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้าง โรงงาน ก่อสร้างอาคารสำนักงาน หรือติดตั้งเครื่องจักร
  3. ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือบริการในราชอาณาจักร โดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร ให้ตัวแทนรับผิดชอบในการจดทะเบียน

 

สำหรับร้านค้าที่มีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี

จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนะคะ 

(ตามกฎหมาย ต้องจดภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีรายได้เกิน)

 

ใครบ้างที่ได้รับ ‘ยกเว้น’ ภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย 

  1. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
  2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
  3. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน
  4. การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  5. การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร

* ถึงจะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่เจ้าของร้านก็มีสิทธิแจ้งขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนะคะ

 

ใครบ้างที่ ‘ไม่ต้อง’ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
  2. ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
  3. ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
  4. ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว (ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร)
  5. ผู้ประกอบการที่ได้รับการประกาศจากกรมสรรพากร

 

ข้อดีและข้อเสีย ของการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเบื้องต้น

ภาษีมูลค่าเพิ่ม อยู่หมวดไหน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม อยู่หมวดไหน

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับภาษีเพิ่มเติม

ภาษีขาย คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ร้านค้าเรียกเก็บจากลูกค้าเมื่อขายสินค้า

ภาษีซื้อ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ร้านค้าจ่ายให้กับผู้ขาย (ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเหมือนกัน) เมื่อซื้อสินค้า

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

เจ้าของธุรกิจจะต้องรวบรวมกิจกรรมซื้อขายทุกอย่างที่เกิดขึ้นในเดือนมกราคมมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ เพราะหากนำส่งหลังวันที่ 15 ก็จะทำให้ถูกเสียค่าปรับ หรือที่เรียกว่า เบี้ยปรับเงินเพิ่ม



แต่ถ้าบังเอิญวันที่ 15 ตรงกับวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ล่ะทำยังไง ก็ให้มายื่นแบบในวันทำงานถัดไป ก็จะไม่ถูกเสียค่าปรับ



คนที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจเล็กๆ ก็สามารถทำภ.พ.30 ด้วยตัวเองได้ โดยเริ่มต้นจากการเก็บเอกสารใบกำกับภาษีซื้อต่างๆ (บิลซื้อตัวจริง) และสำเนาใบกำกับภาษีขาย (สำเนาบิลขาย) ในแต่ละเดือน แล้วมาทำรายงานภาษีซื้อและภาษีขาย (อ่านวิธีการทำรายงานที่นี่)


เวลาจะส่งกรมสรรพากร กิจการทำเอกสาร ภ.พ.30 เพียงใบเดียว เพื่อรายงานภาษีซื้อและภาษีขายตามที่คำนวณได้เลย แต่หากกิจการใดที่มีสาขาจะต้องทำเอกสารเพิ่มอีก 1 ใบ คือ ใบแนบภ.พ.30 ที่เป็นรายละเอียดภาษีซื้อและภาษีขายของแต่ละสาขา

หลักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อนำส่งสรรพากร จะใช้วิธีที่เรียกว่า ภาษีขายหักภาษีซื้อ โดยในมุมของภาษีขาย ความสำคัญจะอยู่ที่การตั้งราคาขายสินค้าหรือบริการ เพราะถ้าหากตั้งราคาไม่ดีหรือไม่ถูกต้อง ลืมคิดถึง VAT 7% ก็ย่อมมีผลทำให้กิจการขาดทุน ส่วนภาษีซื้อ ให้คำนึงถึงเรื่องของภาษีซื้อต้องห้าม โดยให้ความสำคัญกับใบกำกับภาษีที่มีข้อมูลที่ถูกต้อง และแยกรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการให้ได้ 

ถ้าพูดถึง ภาษีมูลค่าเพิ่ม หลายคนคงนึกถึงคำว่า VAT (Value Added TAX) ทันที แต่ถ้าให้นิยามความหมายของมันจริงๆ ผมคิดว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือภาษีที่เรียกเก็บจากการขายสินค้าหรือให้บริการ และการนำเข้า 

 

โดยปกติเราจะคุ้นเคยกับอัตรา 7% (กรณีขายสินค้าหรือบริการในประเทศ) และ 0% (กรณีการส่งออก) และหลายคนยิ่งคุ้นเคยกว่านั้น เพราะจะได้ยินคำพูดที่ว่า ถ้ามีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี (หรือต่อรอบระยะเวลาบัญชี) จะมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมกับมีมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีหลังจากนั้น เพราะเป็นหน้าที่ผูกพันของผู้ที่จด VAT ทุกคนนั่นเองครับ

 

เลือกอ่านได้เลย!

ความสัมพันธ์ของภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อ และภาษีขาย

 

ไหนๆ ก็เกริ่นกันมาขนาดนี้แล้ว ผมขอชวนทุกคนทำความเข้าใจลึกซึ้งกว่านั้นในเรื่องความสัมพันธ์ของภาษีมูลค่าเพิ่ม นั่นคือ วิธีการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อนำส่งสรรพากร จะใช้วิธีที่เรียกว่า ภาษีขายหักภาษีซื้อ

 

ยกตัวอย่างเช่น บริษัท TAXBugnoms จำกัด ได้ซื้อสินค้ามาจำนวน 107 บาท โดยมีราคาสินค้าจำนวน 100 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 7 บาท จากซัพพลายเออร์เจ้าหนึ่ง หลังจากนั้นมาขายต่อให้บริษัท บักหนอมจำกัด ในราคา 200 บาท โดยในกรณีนี้ ถ้าบริษัท TAXBugnoms เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็มีหน้าที่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 14 บาท ทำให้มูลค่าสินค้าทั้งสิ้นกลายเป็น 214 บาท

 

โดยภาษี 7 บาทที่บริษัท TAXBugnoms จำกัดจ่ายไปตอนซื้อจะเรียกว่า “ภาษีซื้อ” ซึ่งหมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจด VAT ถูกผู้ประกอบการจด VAT อีกคนหนึ่ง เรียกเก็บจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการเพื่อนำมาใช้ในการประกอบการของตัวเอง

 

ส่วนภาษี 14 บาทที่บริษัท TAXBugnoms จำกัด เรียกเก็บจากทาง บริษัท บักหนอม จำกัด ก็จะถูกเรียกว่า “ภาษีขาย” ซึ่งหมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการมีหน้าที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

 

แต่จากความสัมพันธ์ข้างต้น เราจะเห็นว่า บริษัท TAXBugnoms จำกัด สามารถผลักภาระราคาสินค้าส่วนที่เพิ่มขึ้นอีก 14 บาท (ภาษีขาย) จากราคาสินค้าเดิม ให้กับลูกค้าได้ โดยที่ไม่กระทบกับส่วนของรายได้ 200 บาทที่มีอยู่เดิม 

 

ดังนั้นในมุมของภาษีขาย ความสำคัญจะอยู่ที่การตั้งราคาขายสินค้าหรือบริการ และถ้ามองกันจริงๆ ถือเป็นเรื่องสำคัญมากๆ สำหรับธุรกิจ เพราะถ้าหากตั้งราคาไม่ดีหรือไม่ถูกต้อง ลืมคิดถึง VAT 7% ตัวนี้ไป ย่อมมีผลทำให้กิจการขาดทุนได้เลยครับ

 

หากใครสนใจเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มโดยละเอียด ผมเคยเขียนบทความไว้ที่นี่ครับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) คืออะไร? คำนวณแบบไหน? 7% ที่เก็บใครจ่าย? 

 

เชื่อว่าหลายคนคงจะพอเห็นแล้วใช่ไหมครับว่า ความน่ากลัวของภาษีขายนั้นอยู่ที่การตั้งราคาสินค้าหรือบริการให้เหมาะสมเป็นหลัก แต่ถ้าหากผมชวนคิดต่อว่า แล้วความน่ากลัวของภาษีซื้อคืออะไร 

 

คำตอบคือเรื่องนี้ครับ … ภาษีซื้อต้องห้าม 

 

ภาษีซื้อต้องห้าม

 

หากพูดให้ง่ายที่สุด ภาษีซื้อต้องห้าม คือภาษีซื้อที่กฎหมายไม่ให้เอามาหักออกจากภาษีขายได้นั่นเองครับ รวมถึงเราไม่สามารถขอคืนด้วยวิธีอื่นได้ด้วย ซึ่งภาษีซื้อต้องห้ามจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้ครับ 

 

  • ห้ามขอคืน และห้ามถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
  • ห้ามขอคืน แต่นำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้

 

โดยทั้งสองประเภทนี้จะแตกต่างกันในเรื่องของการคำนวณภาษีเงินได้ครับ เพราะตัวหนึ่งห้ามขอคืน และไม่ให้เป็นรายจ่ายเพื่อลดภาษีเงินได้ที่ต้องจ่ายของธุรกิจ ในขณะที่อีกตัวหนึ่งแม้ว่าจะขอคืนไม่ได้ แต่สามารถเป็นรายจ่ายของธุรกิจและช่วยลดภาษีได้ ซึ่งความแตกต่างกันของทั้งสองกลุ่มนี้ ผมให้หลักสำคัญไว้ดังนี้ครับ

 

ภาษีมูลค่าเพิ่ม อยู่หมวดไหน

 

หลักคิดทั้งสองฝั่งนี้จะทำให้เราเข้าใจการเลือกใช้ภาษีซื้อได้ง่ายขึ้น และป้องกันความผิดพลาดได้ง่ายขึ้นครับ ลองมาดูตัวอย่างกันสักหน่อยครับ

 

ตัวอย่างที่ 1: ความผิดพลาดของใบกำกับภาษี

 

กรณีความผิดพลาดที่เกิดกับใบกำกับภาษี หากเป็นความผิดพลาดที่ไม่ตรงตามเงื่อนไขของกฎหมาย เช่น รูปแบบข้อความไม่ครบถ้วน ไม่มีหลักฐาน (สูญหาย) หรือไม่ชัดเจนจนเกิดทำให้ความเข้าใจผิดได้ รวมถีงออกโดยผู้ไม่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษี แบบนี้ เราจะตอบได้ทันทีว่า ใบกำกับภาษีนี้ไม่สามารถใช้เป็นภาษีซื้อ และไ่ม่สามารถนำมาเป็นรายจ่ายของธุรกิจได้

 

แต่ในทางกลับกัน ถ้าหากใบกำกับภาษีที่มีความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย ที่ไม่ทำให้ใจความผิดพลาด กรณีนี้แม้ว่าจะใช้ภาษีซื้อไม่ได้ แต่อาจจะใช้เป็นรายจ่ายของธุรกิจได้ ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี

 

อย่างไรก็ดี ทางแก้สำคัญของเรื่องนี้จากต้นเหตุ คือ การออกใบกำกับภาษีที่ถูกต้องของผู้ขาย ซึ่งเราในฐานะผู้ซื้อมีหน้าที่ตรวจสอบให้เรียบร้อยก่อนที่จะนำมาใช้ครับ ซึ่งถ้าหากผู้ประกอบการทุกคนใส่ใจตรงนี้ตั้งแต่แรก ก็จะทำให้ไม่มีปัญหาทั้งการขอคืนภาษีซื้อ และการใช้เป็นรายจ่ายของธุรกิจแน่นอนครับ

 

อ้อ แต่ในกรณีที่เป็นใบกำกับภาษีอย่างย่อ อาจจะเป็นรายจ่ายของธุรกิจได้ครับ ขอแค่ค่าใช้จ่ายจะต้องเกี่ยวข้องกับกิจการ สามารถพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงิน รวมถึงมีหลักฐานการจ่ายเงินจากกิจการที่ชัดเจน ก็พอจะเป็นค่าใช้จ่ายได้ แม้ว่าจะใช้ภาษีซื้อไม่ได้ก็ตาม แต่ก็นั่นอีกแหละครับ ถ้าหากเราขอใบกำกับภาษีเต็มรูปที่ถูกต้องตั้งแต่แรก เราก็ใช้ได้ทั้งคู่อยู่ดีครับ

 

ตัวอย่างที่ 2: รายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ

 

หลักการสำคัญของสองเรื่องนี้จะสอดคล้องกันครับ นั่นคือ ถ้าไม่ใช่รายจ่ายธุรกิจ ก็ไม่มีสิทธิ์ใช้ภาษีซื้อได้ ดังนั้น จุดที่เจ้าของธุรกิจต้องตัดสินใจก่อนจ่าย หรือนำมาใช้ในธุรกิจ ก็คือการแยกระหว่างเรื่องส่วนตัวและเรื่องเกี่ยวข้องกับธุรกิจให้เด็ดขาด แบบนี้ก็จะไม่มีรายจ่ายที่ไม่ใช่รายจ่ายธุรกิจ และไม่มีสิทธิ์ขอคืนภาษีซื้อเช่นกันครับ 

 

ตัวอย่างที่ 3: เงื่อนไขตามกฎหมาย

 

ในบางกรณีอาจจะมีการยกเว้นให้เฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น ภาษีซื้อที่เกิดจากค่ารับรอง ที่สามารถนำมาเป็นรายจ่ายได้ แม้ว่าจะขอคืนภาษีซืัอไม่ได้ หรือรายการภาษีซื้อที่เกี่ยวกับรถยนต์นั่งต่างๆ ซึ่งรายการกลุ่มนี้ คือ รายการที่เจ้าของธุรกิจต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจในแต่ละกรณีครับ 

 

โดยส่วนตัวในกลุ่มนี้ ผมจะแนะนำให้ปรึกษานักบัญชีที่มีความรู้ หรือทำความเข้าใจเป็นแต่ละกรณีไปจะง่ายกว่า แต่อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ในกลุ่มนี้จะไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยสักเท่าไร หากเจ้าของธุรกิจจัดการเรื่องของใบกำกับภาษีได้อย่างถูกต้อง และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจได้แล้ว ก็ไม่น่าจะมีปัญหากับกลุ่มนี้สักเท่าไรครับ 

 

สำหรับส่วนของภาษีซื้อนั้น ผมอยากจะย้ำอีกทีว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ทำให้เรามีภาษีซื้อต้องห้ามน้อยที่สุด น่าจะเป็นเรื่องที่ดีที่สุดตั้งแต่แรกครับ โดยเริ่มต้นจากสองหลักคิดสั้นๆ นั่นคือ ใบกำกับภาษีที่ถูกต้อง และ รายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการครับ 

 

สุดท้ายนี้ เจ้าของธุรกิจน่าจะพอเห็นภาพความสัมพันธ์ของภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อ และภาษีขายที่ชัดเจนขึ้นแล้วใช่ไหมครับ และผมหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ในการวางแผนจัดการภาษีและเอกสารของธุรกิจได้อย่างถูกต้องนะครับ 

 

อ่านวิธีการเตรียมส่งภาษีซื้อ-ภาษีขายต่อที่บทความ ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องเตรียมเอกสารส่งภาษีซื้อ-ภาษีขายอย่างไร

 

 

 

About Author

ภาษีมูลค่าเพิ่ม อยู่หมวดไหน

TAXBugnoms

พรี่หนอม หรือ TAXBugnoms (แทกซ์-บัก-หนอม) เป็นบล็อกเกอร์ นักเขียน และวิทยากรที่ให้ความรู้เรื่องภาษี บัญชี การเงิน มีประสบการณ์ทำงานในแวดวงบัญชี ภาษี มานานกว่า 15 ปี โดยมีแนวคิดว่า “ภาษี” ควรเป็น “เรื่องเรียบง่าย” และ “รู้สึกสบายใจ” ที่จะจ่าย

ภาษีมูลค่าเพิ่มประกอบด้วยภาษีใดบ้าง

ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีขาย - ภาษีซื้อ หากภาษีขาย > ภาษีซื้อ = ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ต้องชำระ หากภาษีขาย < ภาษีซื้อ = ภาษีที่มีสิทธิขอคืน หรือขอเครดิตภาษี

ภาษีมูลค่าเพิ่มถูกนำมาใช้แทนภาษีประเภทใด

ประเทศไทยเริ่มใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ Value Added Tax (VAT) แทนภาษีการค้ามาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 หรือประมาณเกือบ 18 ปีแล้ว โดยภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่จัดเก็บบนฐานการบริโภค (Consumption Tax) เป็นหลัก และจัดเก็บเฉพาะมูลค่าส่วนเพิ่มโดยคำนวณภาระภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยวิธีเครดิต (Credit Method)

ภาษีมูลค่าเพิ่มมีความสําคัญอย่างไร

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากการขายสินค้าหรือให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และการจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ ทั้งที่ผลิตในประเทศ และนำเข้าจากต่างประเทศ ต้องการจดทะเบียนบริษัทด้วยตนเอง ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ ดูรายละเอียดได้ที่ : จดทะเบียนบริษัทออนไลน์

ภาษีมูลค่าเพิ่มจ่ายตอนไหน

ยื่น ภ.พ. 30 เมื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว “เดือนแรกหลังการจด จะมีรายการซื้อขายหรือไม่ ก็ต้องยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม” (ภ.พ. 30 ภายในวันที่ 15 ยื่นออนไลน์ ภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป ไม่อย่างนั้นอาจจะโดนสรรพากรคิดค่าปรับรายเดือน)