มหาสมุทรแอตแลนติก อยู่ทวีปอะไร

ยุโรป เป็นทวีปที่ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและส่วนมากอยู่ในซีกโลกตะวันออก ทางทิศเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางทิศใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางทิศตะวันออกติดกับทวีปเอเชีย ทางทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นอนุทวีปทางด้านตะวันตกของทวีปยูเรเชีย ตั้งแต่ประมาณ 1850 การแบ่งยุโรปกับเอเชียมักยึดตามสันปันน้ำของเทือกเขายูรัลและเทือกเขาคอเคซัส แม่น้ำยูรัล ทะเลแคสเปียน ทะเลดำและช่องแคบตุรกี แม้คำว่า "ทวีป" จะหมายถึงภูมิศาสตร์กายภาพของผืนดินขนาดใหญ่ที่ไม่มีการแบ่งอย่างแน่นอนและชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณชายแดนยุโรปกับเอเชียของยูเรเชียนั้นแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่งเขตแดน เส้นแบ่งเขตแดนของทวีปไม่ได้แบ่งตามเส้นแบ่งเขตแดนทางการเมืองทำให้ตุรกี รัสเซียและคาซัคสถานเป็นประเทศข้ามทวีป
ยุโรปมีพื้นที่ประมาณ 10,180,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2% ของผิวโลก ในทางการเมืองยุโรปมีรัฐอธิปไตยและเขตปกครองกว่า 50 รัฐ ซึ่งมีรัสเซียเป็นประเทศที่ใหญ่และมีประชากรมากที่สุด โดยกินพื้นที่ทวีปยุโรป 39% และมีประชากรทั้งหมด 15% ของทวีป ใน พ.ศ.

ทวีปอเมริกาเหนือ

ที่ตั้งและอาณาเขต
  ทวีปอเมริกาเหนือ เป็นดินแดนที่มีลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบกว้างใหญ่ เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน การประกอบอาชีพ เป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวผิวขาวที่มีการศึกษาดี ทำให้ทวีปอเมริกาเหนือได้รับการพัฒนา เจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว

  คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นักเดินเรือชาวอิตาเลียน เดินทางมาพบหมู่เกาะอินดีสตะวันตก ในปี พ.ศ. 2035 และเข้าใจว่าดินแดนที่ค้นพบนั้นเป็นส่วนหนึ่งของ ทวีปเอเชีย

  ในปี พ.ศ 2042 อเมริโก เวสปุชขี ชาวอิตาเลียน ได้เดินทางสำรวจดินแดนที่ โคลัมบัสเคยสำรวจมาแล้ว และทราบว่าดินแดนที่พบนั้นเป็นทวีปใหม่ ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของทวีปเอเชียตามที่โคลัมบัสเข้าใจ ดินแดนนี้ จึงได้ชื่อว่า อเมริกา (America) เพื่อเป็นเกียรติแก่ อเมริโก เวสปุชชี (Amerigo Vespucci)

ที่ตั้งและอาณาเขต
ทวีปอเมริกาเหนือ ตั้งอยู่ทางซีกโลกเหนือ ระหว่างละติจูดที่ 7 - 83 องศาเหนือ และลองจิจูดที่ 55 องศาตะวันตก - 172 องศาตะวันออก

ทิศเหนือ ติดต่อกับมหาสมุทรอาร์กติก ทะเลโบฟอร์ต อ่าวแบฟฟิน อ่าวฮัดสัน ช่องแคบเดวิส ทะเลแลบราดอร์ เกาะขนาดใหญ่ได้แก่ เกาะกรีนแลนด์ เกาะแบฟฟิน เกาะวิกตอเรีย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก เกาะสำคัญด้านนี้ ได้แก่ เกาะนิวฟันด์แลนด์ เกาะเบอร์มิวดา หมูเกาะบาฮามาส
ทิศตะวันตก ติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิก ตอนเหนือมีช่องแคบเบริง กั้นระหว่างทวีปเอเชียและทวีปอเมริกาเหนือ น่านน้ำสำคัญได้แก่ อ่าวแคลิฟอร์เนีย อ่าวอะแลสกา เกาะใหญ่ได้แก่ เกาะแวนคูเวอร์ หมู่เกาะอาลิวเชียน หมู่เกาะควีนชาร์ล็อต
ทิศใต้ ติดต่อกับทวีปอเมริกาใต้ น่านน้ำสำคัญคือมหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโกในมหาสมุทรแอตแลนติก เกาะสำคัญคือ หมู่เกาะอินดิสตะวันตก หมู่เกาะคิวบา ฮิสแปนิโอลา จาเมกา เปอร์โตริโก

ทวีปอเมริกาเหนือ มีขนาดใหญ่เป็นที่ 3 รองจากทวีปเอเชีย และแอฟริกา รูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม มีฐานทางด้านเหนือ ความกว้างของทวีปตั้งแต่ช่องแคบเบริง ถึงเกาะนิวฟันด์แลนด์ ส่วนที่แคบที่สุด คือคอคอดปานามา

มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์

มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต)

เนื้อหา

  • 1ความกว้างและข้อมูล
  • 2อ้างอิง
  • 3อ่านเพิ่ม
  • 4แหล่งข้อมูลอื่น

พ.ศ. 2496 องค์การอุทกวิทยาสากลได้กำหนดอณาเขตของมหาสมุทรแต่ถึงอย่างนั้นบางองค์กรก็ไม่ได้ใช้ตามการกำหนดเขตนี้อย่างเช่นเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก ทางตะวันตกของแอตแลนติกติดกับทวีปอเมริกา ติดกับมหาสมุทรอาร์กติกบริเวณทะเลกรีนแลนด์ ทะเลนอร์วีเจียน ทะเลแบเร็นตส์ ทางตะวันออกติดกับทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกาติดกับทะเลเมดิเตอเรเนียนบริเวณช่องแคบยิบรอลตาร์ (ซึ่งติดกับทะเลดำที่ติดกับทวีปเอเชีย)

ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดกับมหาสมุทรอินเดียโดนใช้เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกเป็นจุดเชือมต่อ และในแผนที่ช่วงหลัง ๆ ได้ใช้เส้นขนานที่ 60 องศาใต้เป็นเส้นแบ่งกับมหาสมุทรใต้

  1. CIA World Factbook: Atlantic Ocean
  2. NOAA: How big is the Atlantic Ocean?
  3. . Encyclopædia Britannica. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2017. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2016.Unknown parameter |deadurl= ignored (help)อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Atlantic Ocean - Britannica" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน

    “ทำไม” มหาสมุทรแอตแลนติกถึงกว้างขึ้น เหตุผล คือ การเคลื่อนที่ของสสารจากชั้นแมนเทิลไปสู่เปลือกโลกที่ลึกลงไปใต้เปลือกโลกมากกว่าปกติ

    การแปรสัณฐานของแผ่นเปลือกโลกเป็นทฤษฎีที่ว่าเปลือกของโลกเคลื่อนผ่านชั้นบนของแมนเทิล การเคลื่อนไหวนี้มีอิทธิพลทำให้เกิดภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟ และสึนามิ

    นักวิทยาศาสตร์ทราบมานานแล้วว่าแผ่นเปลือกโลกที่อยู่ใต้ทวีปอเมริกาเหนือและใต้กำลังเคลื่อนตัวออกจากที่อยู่ใต้ทวีปแอฟริกาและเอเชียทำให้มหาสมุทรแอตแลนติกกว้างขึ้นด้วยอัตรา 1.5 นิ้วต่อปี

    ล่าสุดพบว่าสสารจากชั้นแมนเทิลหรือเนื้อโลกกำลังเคลื่อนตัวขึ้นมาจากใต้สันเขาและดันแผ่นเปลือกโลกออกจากกัน ที่แปลกคือสสารนี้มาจากความลึกมากกว่า 600 กิโลเมตร โดยปกติจะเกิดที่ความลึก 60 กิโลเมตร

    เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่กลางแนวสันเขาแอตแลนติก (Mid-Atlantic Ridge) ซึ่งเป็นเทือกเขาใต้ทะเลที่กั้นระหว่างแผ่นเปลือกโลกอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางด้านตะวันตกจากแผ่นเปลือกโลกยูเรเชียและแอฟริกาไปทางทิศตะวันออก

    “ตัวอย่างของการเคลื่อนที่ของสสารจากชั้นแมนเทิลไปยังเปลือกโลกขึ้นสู่ด้านบน เช่น ไอซ์แลนด์ ฮาวาย หรือเยลโลว์สโตน”

    ฉะนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการแปรสัณฐานของแผ่นธรณีภาคเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยทำนายภัยพิบัติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว หรือสึนามิ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยอธิบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในช่วงหลายล้านปีที่ผ่านมา ตั้งแต่การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกส่งผลกระทบต่อระดับน้ำทะเล

    มหาสมุทรแอตแลนติกอยู่ระหว่างทวีปใดกับทวีปใด

    31 มกราคม 2021. GETTY IMAGES. แม้นักวิทยาศาสตร์จะทราบมาก่อนหน้านี้แล้วว่า มหาสมุทรแอตแลนติกซึ่งกั้นกลางระหว่างทวีปอเมริกากับแผ่นดินยุโรปและแอฟริกานั้น กำลังขยายตัวใหญ่ขึ้นปีละกว่า 4 เซนติเมตร จนเบียดให้มหาสมุทรแปซิฟิกค่อย ๆ แคบลงไปด้วย แต่พวกเขาก็ยังไม่รู้ว่าปรากฏการณ์นี้มาจากสาเหตุใดกันแน่

    มหาสมุทรแอตแลนติกอยู่ที่ไหน

    มหาสมุทรแอตแลนติก (อังกฤษ: Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีป ...

    มหาสมุทรอาร์กติกอยู่ตรงไหน

    มหาสมุทรอาร์กติก (อังกฤษ: Arctic Ocean) ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ และส่วนใหญ่อยู่ในเขตขั้วโลกเหนืออาร์กติก เป็นมหาสมุทรขนาดเล็กที่สุดและตื้นเขินที่สุดในห้ามหาสมุทรตามการแบ่งมหาสมุทรหลักของโลก องค์กรอุทกศาสตร์โลก (IHO) ยอมรับว่ามหาสมุทรอาร์กติกเป็นมหาสมุทร แม้นักอุทกศาสตร์บางคนจะเรียกบริเวณนี้ว่า ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ...

    มหาสมุทรอินเดียอยู่ในทวีปอะไร

    มหาสมุทรอินเดีย
    ที่ตั้ง
    เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียตะวันตก, แอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือ, แอฟริกาตะวันออก, แอฟริกาใต้ และออสเตรเลีย
    พิกัด
    20°S 80°E
    ชนิด
    มหาสมุทร
    ช่วงยาวที่สุด
    9,600 กิโลเมตร (6,000 ไมล์) (แอนตาร์กติกาถึงอ่าวเบงกอล)
    มหาสมุทรอินเดีย - วิกิพีเดียth.wikipedia.org › wiki › มหาสมุทรอินเดียnull