ประเทศไทย ได้ อะไร จาก การ ประชุม เอ เป ค 2022

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศการเป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและการประชุมที่เกี่ยวข้อง ปี 2565 ต่อจากนิวซีแลนด์ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 โดยมีหัวข้อหลักของการประชุมเอเปคปี 2565 APEC  2022   คือ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” หรือ “Open. Connect. Balance.”


นายกรัฐมนตรี  ได้เปิดเผยว่า ไทยจะขับเคลื่อนให้เอเปคพลิกวิกฤตเป็นโอกาสในการเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกยุคหลังโควิดที่ยั่งยืนและสมดุล และทุกคนมีส่วนร่วม ผ่านแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Economy และได้ประกาศหัวข้อหลักของการประชุมเอเปคปี 2565 คือ “เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” หรือ “Open.Connect. Balance.” 


ซึ่งมีประเด็นสำคัญ 3 ด้าน คือ 


1. การส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม 

2. การอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุน 

3. การฟื้นฟูความเชื่อมโยง โดยเฉพาะการเดินทาง และท่องเที่ยว เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโควิด 



ทั้งนี้ ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากการเป็นเจ้าภาพ APEC ได้แก่ 


1) เพิ่มบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทยในการร่วมกำหนดนโยบายและทิศทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศ 


2) สร้างช่องทางในการผลักดันท่าที ส่งเสริม และป้องกันผลประโยชน์ของไทยในเวทีระหว่างประเทศ ตลอดจนร่วมกำหนดมาตรฐานและนโยบายในประเด็นใหม่ๆ ของบริบทโลก 


3) การลดอุปสสรคและส่งเสริมโอกาสทางการค้า การลงทุนของไทยกับเศรษฐกิจเอเปคและประเทศที่เป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย


4) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ อาทิ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษา วิทยาศาสตร์ พลังงาน สิ่งแวดล้อม และการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ 


5) ใช้ประโยชน์จากเอเปคในฐานะแหล่งบ่มเพาะแนวคิด เพื่อก้าวไปข้างหน้าร่วมกันโดยมีเป้าหมายหลักของเอเปคคือ วิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 2040 รวมทั้งการจัดทำเขตการค้าเสรีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ( Free Trade Area of the Asia-Pacific หรือ FTAAP) 


6) แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ผ่านคณะทำงานต่างๆ รวมถึงเข้าถึงแหล่งข้อมูลเชิงลึกที่ช่วยในการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจโลกและภูมิเศรษฐศาสตร์รวมถึงเครือข่าย think tank ที่สำคัญ 



7) ใช้ประโยชน์จากเอเปค ในฐานะผู้นำความเปลี่ยนแปลงในการปฏิรูปและยกระดับมาตรฐานทางเศรษฐกิจของไทยให้ทันสมัย เป็นสากล รวมถึงเสริมสร้างศักยภาพในมิติต่างๆให้แก่ภาครัฐและเอกชน

การประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค ที่จัดขึ้นในกรุงเทพฯ นับเป็นงานใหญ่ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ต้อนรับบรรดาผู้นำระดับโลกที่เดินทางเข้าร่วม การประชุมครั้งนี้ คือ การประชุมที่ครอบคลุมเกือบทุกมิติของความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ความคาดหวัง คือ ผลประโยชน์ที่จับต้องได้ เป็นรูปธรรม การหารือทวิภาคีในหลายประเด็น โดยเฉพาะประเด็นเรื่องเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน รวมถึงประเด็นใหญ่ของโลกเรื่องความยั่งยืน ล้วนเป็นประเด็นที่ทุกประเทศให้ความสำคัญ

ขณะที่ เวทีคู่ขนานอย่าง “ซีอีโอ ซัมมิท” หรือ APEC CEO Summit ก็เป็นอีกเวทีที่สำคัญเช่นกัน เป็นการรวมตัวของภาคธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาค หลังเผชิญวิกฤติโลกระบาดที่กินเวลามาอย่างยาวนาน เวทีนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ได้นำเสนอ 3 ประเด็นที่ควรมีความร่วมมือกันในระดับภูมิภาค คือ ประเด็นเรื่อง BCG ประเด็นการเจริญเติบโตที่ครอบคลุม ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และ ประเด็นการมุ่งไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ทั้ง 3 ประเด็นนับว่ามีความสำคัญ หากมีความร่วมมือกันในระดับเขตเศรษฐกิจได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดี

กลุ่มเอเปค คือ ความร่วมมือของ 21 เขตเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ประชากรของทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจรวมกันครอบคลุมประชากรมากกว่า 3 พันล้านคน หรือคิดเป็น 38% ของประชากรทั้งโลก เป็นกลุ่มประชากรที่มีความน่าสนใจมากที่สุด โดยเฉพาะกำลังซื้อของประชากรกลุ่มนี้ขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ เป็นตลาดขนาดใหญ่ ขนาดเศรษฐกิจรวมกันราว 2 ใน 3 ของมูลค่าผลผลิตมวลรวมของทั้งโลก หรือคิดเป็นตัวเงินกว่า 50 ล้านล้านดอลลาร์ และมูลค่าการค้าระหว่าง 21 เขตเศรษฐกิจ ยังเทียบเท่ากับครึ่งหนึ่งของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของทั้งโลก 

การประชุมเอเปคครั้งนี้ ยังเป็นการประชุมแบบ พบปะ ถกหารือ ขึ้นเวทีเสวนาแบบพบหน้าเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี ท่ามกลางวิกฤติโรคระบาด ระเบียบโลกที่เปลี่ยนไป ทั่วทั้งโลกกำลังต้องการความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศของเศรษฐกิจให้ฟื้นคืน หลังเจอวิกฤติโรคระบาด ผลพวงของปัญหาตามมามากมาย ทั้งวิกฤติอาหาร วิกฤติพลังงาน สงครามการค้า สงครามเทคโนโลยี 

ดังนั้น ผลลัพธ์ที่ได้จากการประชุมครั้งนี้ ควรต้องเป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ยังประโยชน์และมีความรับผิดชอบเพื่อให้เศรษฐกิจของทั้ง 21 เขต และของทั้งโลกพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ สร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันในแบบหุ้นส่วนที่มีความสร้างสรรค์ และ ยั่งยืน ที่สำคัญประเทศไทยก็ควรได้รับประโยชน์แบบจับต้องได้ และไม่ควร “เสียประโยชน์” จากการประชุมระดับโลกแบบนี้แม้แต่นิดเดียว 

ปิดม่าน ประชุมสุดยอดผู้นำ "APEC 2022" ประเทศไทย ได้อะไร จากการเป็นเจ้าภาพ ผลาญ หรือ เพิ่มงบ กระตุ้นเศรษฐกิจ ได้จริงหรือ?

ปิดฉาก ส่งไม้ต่อกันไปแล้ว สำหรับการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค “APEC 2022” ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่มีความสำคัญระดับโลก เพื่อส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าการลงทุน ความร่วมมือในด้านมิติสังคม และการพัฒนาด้านอื่น ๆ ซึ่งปีนี้ ไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอีกครั้ง นับเป็นครั้งที่ 29 และนับเป็นการหารือกันแบบตัวเป็น ๆ ครั้งแรกในรอบ 4 ปี

 

เป้าหมายของการประชุมเอเปค ชัดเจนว่า เพื่อกำหนดทิศทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับโลก แต่นอกเหนือจากนั้น มีคำถามว่า การประชุม APEC 2022 เราได้อะไร ในฐานะเจ้าภาพ ในขณะที่คนในประเทศ ยังต้องอยู่ในภาวะยากจน แต่งบประมาณ ที่ใช้ในการจัดการประชุมครั้งนี้ มากถึง 3,283.10 ล้านบาท

 

 

#ประชุม APEC 2022 ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์ทันที นับตั้งแต่เริ่มเปิดฉาก มีทั้งคำชม และกร่นด่า ว่ากันว่า เป็นการสร้างภาพ บ้างก็ว่า รัฐบาลเอาหน้า อยู่กับผู้นำประเทศ ต้อนรับอย่างดี อาหารอย่างดี แต่ยังมีเกษตรกรชาวนา ที่ยังนั่งรอคำตอบ จากที่เคยสัญญาว่าจะปรับโครงสร้างหนี้ให้ ผ่านมา 7 เดือน ก็ยังเงียบกริบ นั่นจึงเป็นอีกหนึ่งที่มา ที่ด้านนอกของการประชุม เกิดม็อบราษฎรหยุดเอเปค หรือ ม็อบ 18 พฤศจิกายน 2565 ขึ้น

 

ประเทศไทย ได้ อะไร จาก การ ประชุม เอ เป ค 2022

 

ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถึงกับกล่าวไว้ว่า การประชุม APEC 2022 ครั้งนี้ รัฐบาลนับว่า ขลาดเขลาไร้สติปัญญา ในการนำกองทัพตำรวจ เข้าทำร้ายนักศึกษาประชาชน ที่ไม่เห็นด้วยกับหัวข้อการประชุม และไม่เห็นด้วยกับการให้นายกรัฐมนตรีไทย ที่ทำรัฐประหาร มาเป็นเจ้าภาพในการประชุมครั้งนี้

 

วิธีการเช่นนี้ จะทำให้รัฐบาลไทย เป็นที่รังเกียจของสังคมโลก เป็นการทำลายภาพพจน์ และวัฒนธรรมของประเทศ และทำลายอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย

 

ประเทศไทย ได้ อะไร จาก การ ประชุม เอ เป ค 2022

แต่ขณะที่อีกฟากฝั่ง มองเห็นข้อดีของการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค เพราะนอกจากจะปลุกกระแสท่องเที่ยวไทยแล้ว ยังสร้างเม็ดเงินให้กับกลุ่มวิสาหกิจรายย่อย หรือ ชาวบ้านธรรมดา สร้างรายได้ให้ชุมชน จากการชูอาหารพื้นถิ่น ขึ้นโต๊ะรับรองผู้นำเอเปค ล้วนใช้วัตถุดิบจากทุกภาคของไทย

ประชุมเอเปค 2565เพื่ออะไร

การประชุมเอเปค 2565 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพเพื่อส่งเสริมการเปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ และเชื่อมโยงกันสู่สมดุลของภูมิภาคเสร็จสิ้นแล้วในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้แถลงข่าวในฐานะประธานผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ประชุมเอเปคเกี่ยวกับอะไร

เอเปค หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) คือเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1989 โดยมีเป้าหมายหลักคือการส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าการลงทุน รวมถึงความร่วมมือในด้านมิติสังคมและการพัฒนาด้านอื่น ๆ อาทิ ความร่วมมือด้านการเกษตร การ ...

ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์อะไรบ้างจากการประชุม APEC ในปี 2022

การเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญที่ไทยจะส่งเสริมนโยบายและทิศทางการพัฒนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในหลายมิติ โดยไทยจะได้ประโยชน์จากการฟื้นฟูเศรษฐกิจในยุคหลังโควิด-19 ให้เติบโตอย่างยั่งยืน ได้ยกระดับมาตรฐานทางเศรษฐกิจให้เป็นสากล เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับภาครัฐและภาค ...

ไทยได้อะไรจากการเข้าร่วมเอเปค

ผลประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ เวทีเอเปคจะเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างสมาชิกเอเปคอื่นๆ ซึ่งสามารถใช้เวทีเอเปคในการหารือระดับนโยบายและร่วมหาแนวทางการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาคและประชาสัมพันธ์ศักยภาพของเศรษฐกิจไทยต่อนักลงทุน