ขึ้นทะเบียนม 39 ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

เป็นสวัสดิการที่ทางรัฐมอบให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีรายได้ที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฎหมายแรงงาน โดยผู้ที่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมถูกเรียกว่า "ผู้ประกันตน" นั่นเอง สำหรับเงินที่ถูกหักเข้ากองทุนประกันสังคมเปรียบเสมือนหลักประกันด้านสุขภาพ การว่างงาน อุบัติเหตุ รวมไปถึงเงินสำหรับใช้จ่ายหลังเกษียณ

ประกันสังคม มาตรา 39 เหมาะกับใคร

ประกันสังคม มาตรา 39 คือผู้ประกันตนภาคสมัครใจที่เหมาะกับพนักงานที่ว่างงาน หรือลาออกจากงาน และเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ซึ่งส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน ทั้งต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม โดยหากอยากได้รับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมอยู่ ผู้ประกันตนต่อสามารถยื่นเรื่องเพื่อสมัครเป็นผู้ประกันตนเอง มาตรา 39 ออนไลน์หรือทางออฟไลน์ภายใน 6 เดือน จากนั้นค่อยส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

อัตราเงินสมทบประกันสังคม มาตรา 39 คือเท่าไหร่

รัฐบาลกำหนดให้ผู้ประกันตน มาตรา 39 ส่งเงินสมทบ 9% โดยใช้ฐานเงินเดือนในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาท เท่ากันทุกคน เมื่อคำนวณพบว่าอัตราส่งเงินสมทบประกันสังคม มาตรา 39 คือ

  • เงินเดือน 4,800 บาท (ฐานเงินที่ใช้คำนวณ) x 9% (เงินหักเข้าประกันสังคม)  =  432 บาท
สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน มาตรา 39

1. กรณีเจ็บป่วย มีสิทธิได้รับการรักษาตามสิทธิการรักษาพยาบาล โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ยกเว้นกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือประสบอุบัติเหตุจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลใกล้เคียง ผู้ประกันตนต้องสำรองจ่ายแล้วมาทำเรื่องเบิกคืนทีหลัง

2. กรณีทุพพลภาพ ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาลของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ แต่ถ้าเลือกรักษาตัวในสถานพยาบาลเอกชนสามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท และกรณีผู้ป่วยในจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท นอกจากนี้สำนักงานประกันสังคมยังมอบเงินชดเชยแก่ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ดังนี้

  • กรณีทุพพลภาพรุนแรง ได้รับในอัตรา 50% ของค่าจ้างเป็นรายเดือน ตลอดชีวิต
  • กรณีทุพพลภาพไม่รุนแรง ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาตามประกาศฯ กำหนด

3. กรณีคลอดบุตร ผู้ประกันตนชาย-หญิงที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร สามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ 15,000 บาทต่อการคลอดบุตร 1 ครั้ง (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง) นอกจากนี้ผู้ประกันตนหญิงยังได้รับเงินสงเคราะห์จากการลาคลอดเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของเงินเดือนเป็นระยะเวลา 90 วัน แต่กรณีคลอดบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงาน

ขึ้นทะเบียนม 39 ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

4. กรณีสงเคราะห์บุตร ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 800 บาท ตั้งแต่บุตรอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ แต่สูงสุดไม่เกิน 3 คน

5. กรณีชราภาพ หากผู้ประกันตนมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ จะได้รับเงินบำเหน็จหรือเงินบำนาญ เงินบำเหน็จชราภาพตามเงื่อนไขที่ประกันสังคมกำหนด

6. กรณีเสียชีวิต ผู้ประกันตนจะได้รับเงินสงเคราะห์ โดยแบ่งเป็นเงินค่าทำศพและเงินสงเคราะห์ตามเงื่อนไขที่ประกันสังคมกำหนด

เงินไม่สะดุดแม้ยามฉุกเฉิน เมื่อมีบัตรกดเงินสด...กรอกข้อมูลที่นี่

วิธีสมัครรับสิทธิประกันสังคม มาตรา 39

การสมัครรับสิทธิประกันสังคม มาตรา 39 สามารถดำเนินการผ่านช่องทางดังต่อไปนี้

สมัครด้วยตนเอง

(1) ยื่นใบสมัครตามแบบคำขอเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) ด้วยตนเอง ภายใน 6 เดือน นับแต่วันออกจากงานหรือว่างงาน

(2) นำใบสมัครเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 39 ไปยื่นในสถานที่ต่อไปนี้

  • กรุงเทพฯ : ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-12 แห่ง
  • ส่วนภูมิภาค : ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

สมัครผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม www.sso.go.th

(1) ดาวน์โหลดแบบฟอร์มสมัครประกันสังคม มาตรา 39 (แบบ สปส.1-20) ผ่านช่องทางออนไลน์

(2) พิมพ์แบบสมัครประกันสังคม มาตรา 39 พร้อมกรอกข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลอื่น ๆ รวมทั้งเซ็นเอกสารให้เรียบร้อย

(3) แนบหลักฐานประกอบการสมัคร ได้แก่ สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่าย ซึ่งทางราชการออกให้พร้อมสำเนา

(4) ส่งแบบคำขอสมัคร ผ่านช่องทางที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดคือ

  • ช่องทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
  • โทรสาร (Fax)
  • ยื่นใบสมัครออนไลน์ผ่านอีเมล (E-mail)
  • ยื่นใบสมัครออนไลน์ผ่านไลน์ (Line ID)

(5) เก็บหลักฐานการส่งเพื่อตรวจสอบ (ถ้าส่งผ่านไปรษณีย์ลงทะเบียนจะมีวันประทับตราไปรษณีย์ต้นทาง)

(6) ผู้สมัครประกันสังคม มาตรา 39 ควรหมั่นติดตามผลจนกว่าการสมัครจะสำเร็จ

ประกันสังคม มาตรา 39 ลดหย่อนภาษีได้ไหม

ขึ้นทะเบียนม 39 ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

เงินสมทบประกันสังคมนำไปลดหย่อนภาษีได้

สำหรับผู้มีรายได้ที่นำส่งเงินสมทบประกันสังคม มาตรา 39 เป็นประจำทุกเดือน สามารถนำค่าใช้จ่ายส่วนนี้มาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 5,184 บาท แต่หากปีภาษีใดที่รัฐบาลประกาศปรับลดอัตราการหักเงินสมทบ จำนวนเงินที่ผู้ประกันตน มาตรา 39 นำมาลดหย่อนภาษีย่อมลดตามไปด้วย ฉะนั้นควรติดตามข่าวสารเรื่องดังกล่าวอย่างใกล้ชิด

หากได้งานใหม่ เปลี่ยนจากผู้ประกันตน มาตรา 39 เป็นมาตรา 33 ต้องทำอย่างไร

กรณีที่ผู้ประกันตน มาตรา 39 ได้งานใหม่ จำต้องแจ้งออกมาตรา 39 โดยสามารถไปแจ้งยกเลิกที่สำนักงานประกันสังคมที่สมัครไว้ด้วยตนเอง หรือนายจ้างเป็นผู้ดำเนินการแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนแทนภายใน30 วัน นับแต่วันที่เข้าทำงาน ซึ่งกรณีนี้ผู้ประกันตนไม่ต้องไปดำเนินการลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 แต่อย่างใด

ต่อประกันสังคมต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

ขั้นตอนการสมัครก็สามารถเดินทางไปสมัครได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่ง โดยเตรียมเอกสารบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงพร้อมสำเนา กรอกแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 หรือ แบบ สปส.1-20 ส่วนเงินสมทบรายเดือน ๆ ละ 432 ก็สามารถเลือกจ่ายได้หลายช่องทาง ที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน ธนาณัติหรือจ่ายผ่านไปรษณีย์ เคาน์เตอร์ ...

สมัครม.39ต้องทำไง

Voluntary Insurance (M 39).
ต้องยื่นใบสมัครตามแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) ด้วยตนเอง ภายใน 6 เดือน นับแต่วันออกจากงาน.
สถานที่ยื่นใบสมัคร กรุงเทพฯ ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ ภูมิภาค ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา.

เปลี่ยนม.33เป็นม.39ต้องใช้อะไรบ้าง

เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา33 และสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง.
จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน (นับเงินสมทบทุกครั้งของการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา33 ในระบบประกันสังคมรวมกันจะทำงานกับนายจ้างกี่บริษัทก็ตาม).
ยื่นแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา39 ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง.

สมัคร ม.39 ที่ไหนได้บ้าง

3. ส่งแบบคำขอและเอกสารการสมัครมาตรา 39 ผ่านช่องทางที่สะดวก - สมัครทางสำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน - สมัครทางไปรษณีย์ระบบลงทะเบียน - สมัครทางโทรสาร (FAX)