การศึกษาที่สมบูรณ์ หมายความว่า อย่างไร

Education มาจากภาษาลาตินว่า Educare มีความหมายตรงกับคำว่า Bring up หมายถึงการดึงออก การศึกษามิใช่การใส่เข้าไป แต่หมายถึงการดึงเอาความรู้ หรือสิ่งที่มีอยู่ในผู้เรียนออกมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด

Education มีความหมายดังนี้

1. เป็นกระบวนการหรือการกระทำที่ให้ความรู้หรือทักษะระบบการสอนหรือการเรียน

2. เป็นการได้รับความรู้ หรือทักษะผ่านกระบวนการจากโรงเรียน

3. ความรู้หรือทักษะที่ได้รับหรือพัฒนาโดยกระบวนการเรียนรู้ หรือโครงการของการสอนในระดับเฉพาะทาง

4. สาขาของการศึกษา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสอน การเรียนรู้ รวมทั้งทฤษฎีของการสอนและศาสตร์ของการสอน

การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม เพราะเป็นกระบวนการดึงออก และพัฒนาให้เจริญงอกงามขึ้น การศึกษาเป็นการใส่เข้าไป การศึกษาจะมีลักษณะ

1. คงที่ คือความรู้จะไม่มีการพัฒนาขึ้น จะมีเฉพาะที่อาจารย์บอกเท่านั้น อาจารย์หมดความรู้ก็เป็นอันว่าจบกันเท่านั้น

2. ขาดหายไป คือยิ่งนานวันเข้าความรู้ที่มีอยู่ก็จะหดหายไปทีละน้อยๆเพราะตกหล่นหรือจะเป็น เพราะอะไรก็แล้วแต่ ในที่สุดอาจจะหมดไปเลยก็ได้

ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ศึกษาหมายถึง การเล่าเรียน ฝึกฝน อบรม ในภาษาบาลี ใช้คำว่า “สิกขา” หมายถึงข้อที่ต้องศึกษาข้อที่จะต้องปฏิบัติ

พลาโต (Plata)กล่าวว่า “การศึกษาคือการเปลี่ยนแปลงความคิดหรือวิญญาณของมนุษย์ (Education is conversion human’s soul) คือพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น จากโลกมืดไปสู่โลกที่สว่างการศึกษาในทัศนะของนักปราชญ์บานคน

พลาโต ได้แบ่งโลกออกเป็น ๒ โลกคือ

- โลกแห่งสติปัญญา โลกแห่งวิทยาศาสตร์

- โลกแห่งประสาทสัมผัส โลกของจินตนาการ

สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงสิ่งที่ใช้เป็นการแสวงหาความจริงเท่านั้น ไม่ใช่ความจริงแท้

ฟรานซิส เบคอน กล่าวว่าการศึกษาคือทำให้คนมีเหตุมีผล ให้เข้าถึงความจริงที่ตรงกัน เบคอนเห็นว่าความจริงมีเพียงหนึ่งเดียวตามแนวทัศนะนี้ จิตมนุษย์เหมือนกับกระจกเงา จะสะท้อนภาพชัดเจนก็ต่อเมื่อได้มีการชำระฝ้า จิตจะเข้าถึงต้องกำจัด “อคติ”

รุสโซ นักธรรมชาตินิยมชาวฝรั่งเศส กล่าวถึงการศึกษาว่า “การศึกษา คือการเข้าให้ถึงธรรมชาติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ ชีวิตที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ จะมีแต่ความสดชื่น จิตใจจะเป็นอิสระ สว่างไสว มองโลกไดกว้างไกล การศึกษาที่ดีต้องสอดคล้องกับความจริงตามธรรมชาติ และสามารถนำไปแก้ปัญหาได้

จอนห์ ดิวอ์ ชาวอเมริกัน ให้ความหมายของการศึกษาว่าการศึกษาคือชีวิต ไม่ใช่เป็นการเตรียมตัวเชื่อชีวิตในภายหน้า การศึกษากับชีวิตเป็นของคู่กัน ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ต้องมีการศึกษาตลอดไป

เป้าหมายทางการศึกษาคือชีวิตมนุษย์ ต้องการให้มนุษย์เป็นอย่างไรก็กำหนดเป็นหมายขึ้นไว้ การศึกษาเป็นพลวัตมีการเปลี่ยนแปลงได้ ระบบการศึกษาที่มีเป้าหมายชัดเจนสมบูรณ์จะต้อจัดเพื่อพัฒนาทั้งในแง่ สติ ปัญญา เหตุผล อารมณ์ และร่างกายของผู้เรียน

หลักพระพุทธศาสนาส่งเสริมให้มีการจัดการศึกษา

องค์ประกอบสำคัญในการที่ทำให้การศึกษาในพระพุทธศาสนาก้าวหน้าอย่างมากคือ พระพุทธศาสนามิได้มีความหมายที่จะให้การศึกษาอบรมและการปฏิบัติธรรมอยู่อย่างในวัด เห็นได้จากตั้งแต่เริ่มประดิษฐานพระพุทธศาสนาเมื่อคราวส่งสาวกออกประกาศพระศาสนาว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงจาริกไป เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย” นั่นคือเปิดโอกาสให้พุทธบริษัท4 ได้มีโอกาสศึกษาพระสงฆ์มีชีวิตผูกพันอยู่ในสังคมพระสงฆ์แล้ว ยังต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคมชาวโลก ด้วยบทบัญญัติในการเลี้ยงชีพทางฝ่ายวินัย

หลักการศึกษาคือ เป็นพื้นฐาน แห่งการให้การศึกษาเพื่อให้การจัดการศึกษาเกิดประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

เป้าหมายของการศึกษา

เป้าหมายของการศึกษาจะมีการเปลี่ยนแปลง การศึกษาเป็นพลวัตมีการเปลี่ยนแปบงได้ ระบบการศึกษาที่มีเป้าหมายชัดเจนสมบูรณ์ ต้องพัฒนาทั้งในแง่ของสติ ปัญญา เหตุผล อารมณ์ และร่างกายของผู้เรียน

พระพุทธศาสนาในแง่ของเป้าหมายทางการศึกษา

1. เป็นเป้าหมายด้านการดำรงชีพ ดำรงชีพเป็นเรื่องสำคัญพื้นฐาน ที่พุทธศาสนาให้ความสำคัญ ในฐานะเป็นกระบวนการต่อเนื่องตลอดชีวิต ในอริยมรรค8ประการ ได้กล่าวถึงหลักการดำเนินชีวิตต้องเป็นสัมมาชีพ พระพุทธองค์ทรงเห็นว่า ทรัพย์เป็นปัจจัยจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิต จึงใช้หลักธรรมด้วย เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตไว้ เช่น

- ทิฏฐธรรมมิกัตถประโยชน์

- สุขของคฤหัสถ์

- ประโยชน์จากการถือโภคทรัพย์ 5 อย่าง

2. เป้าหมายด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ สอนให้พัฒนาบุคลิกภาพให้สมดุลมีความจำเป็นต่อการครองชีวิตทั้งส่วนตัวและในทางสังคม โดยใช้หลักธรรมต่างๆเช่น

- สัปปุริสธรรม 7

- ทิศ 6

- เวสารัชชกรณธรรม

3. เป้าหมายด้านพัฒนาสติปัญญา สติปัญญาทำให้มนุษย์แตกต่างกับสิ่งที่มีชีวิตรูปแบบอื่น พระพุทธศาสนาได้จำแนกปัญญาไว้ 2 ทาง

- สหชาติปัญญา (หรือวิปัสสนาปัญญา) ไม่สามารถพัฒนาได้ดีกว่าเดิม เพราะเกิดมีสำเร็จด้วยอานุภาพหรืออิทธิพลของกรรม

- นิปากปัญญา ปัญญาหรือความรู้ที่ใช้ดำรงชีวิต เกิดจากการขวนขวายศึกษาเล่าเรียนจนมีความรู้ และเป็นความรู้ที่ใช้ในการบริหาร

4. เป้าหมายในการพัฒนาร่างกาย บุคคลจะต้องมีร่างกายสมบูรณ์ + แข็งแรง เราไม่อาจมีชีวิตอยู่อย่างสุขสบายหรือได้รับสิ่งที่ปรารถนาได้ ในพระพุทธศาสนากล่าวถึงสัปปายะ 4 ประการ อันเป็นเหตุเบื้องต้นในอนายุสสสูตร พระพุทธองค์ตรัสถึงเหตุที่ทำให้อายุสั้นไว้ 2 ประการ

- สร้างเรื่องความทุกข์กาย-ทุกข์ใจให้แก่ตนเอง

- ไม่รู้จักพอใจในการแสวงหาความสุข

- กินของย่อยยาก และแสลงต่อสุขภาพ

- เสียความประพฤติ ชอบฆ่าสัตว์ ฯลฯ ดื่มน้ำเมา เป็นต้น

- ชอบเที่ยวในที่ไม่ควรไป ไปแล้วเสี่ยงโรคเสี่ยงภัย

5. เป้าหมายในการพัฒนาด้านศีลธรรม คุณค่าทางศีลธรรมปรากฏชัดเจนในโลกปัจจุบัน ทั้งในการดำรงชีพการติดต่อสื่อสาร การใช้ผลิตผลทางวิทยาศาสตร์ (เทคโนโลยี) การให้การศึกษาจะต้องคำนึงถึงด้านเพื่อประโยชน์แก่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยมีหลักการอยู่ร่วมกัน ไว้ในสิงคาลกสูตร

การพัฒนาด้านจริยธรรม ให้กระทำโดยการเริ่มต้นคิดในสิ่งที่ดีงามที่สอนไว้ซึ่งสัลเลขสูตร ความสุข ความทุกข์ของโลก ขึ้นอยู่กับใจของเราเอง ดังที่ตรัสไว้ในวัตถุปมสูตร แนวปฏิบัติเพื่อบรรลุความเจริญก้าวหน้าของชีวิตก็จะมีอยู่ในมงคลสูตร

6. เป้าหมายในการพัฒนาความรู้สึกซาบซึ้งในศิลปะ การศึกษา จะต้องทางให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้สึกซาบซึ้งในด้านศิลปะซึ่งทางพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในนาถสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีความขยันไม่เกียจคร้านในหน้าที่สูงหรือตัวอย่างใดอย่างหนึ่งของเพื่อนพรหมจารี ประกอบด้วย ปัญญาอันเป็นตัวนำในหน้าที่นั้นๆ สามารถทำเองสามารถวางแผนอย่างนี้ถือว่า เป็นนาถกรณธรรม”

7. เป้าหมายด้านการพัฒนาวิญญาณ มนุษย์มีวิญญาณธาตุ พระพุทธศาสนา มุ่งส่งเสริมพัฒนาวิญญาณของมนุษย์ให้สูงขึ้น ประณีตขึ้น ถึงขึ้นที่เรียกว่า อริยชน มีชีวิตอันประเสริฐ มุ่งเน้นพัฒนาด้านวิญญาณหลักคำสอนที่เรียกว่า อริยมรรค 8 ประการ อันเป็นหัวใจของการปฏิบัติเพื่อพัฒนาวิญญาณธาตุ

8. เป้าหมายด้านพัฒนาด้านการเมืองการปกครอง ไม่เน้นตัวบุคคล + ไม่เน้นที่ระบบแต่เน้นที่จริยธรรมทางการเมืองด้วยเหตุที่การเมืองเป็นเรื่องของการได้มาและการใช้อำนาจ เพราะต้องใช้จริยธรรม ควบคุมบุคคลเพื่อรักษาระบบไว้ดังนี้พระพุทธองค์ตรัสไว้ “เทพเจ้าก็ดี พระตถาคตก็ดี มองเห็นบุคคล(นักปกครอง)ประพฤติอ่อนไหวง่ายไม่เสมอภาค ด้วยเหตุนั้น ผู้ปกครองด้วยระบบ อัตตาธิปไตย จะต้องมีสติควบคุม ผู้ปกครองด้วยระบบประชาธิปไตยต้องมีความรู้ และมีการตรวจสอบเพ่งพินิจ (ฌายี) ผู้ปกครอง ด้วยระบบธรรมธิปไตย จะต้องยึดหลักธรรม ตามความเหมาะสมสำหรับแต่ละเรื่อง

การศึกษาที่สมบูรณ์หมายความว่าอะไร

การศึกษาที่สมบูรณ์นั้น คือ การประพฤติตนดีตามที่เรียนรู้ และการนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ แก่สังคมหรืออย่างน้อยแก่ตนเอง

การศึกษาที่สมบูรณ์ควรประกอบด้วยสิ่งใด

ท่านพุทธทาส ได้กล่าวถึงหลักการศึกษาที่สมบูรณ์ไว้ว่า การศึกษาที่สมบูรณ์จะต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ 1) มีความฉลาด 2) มีเครื่องมือควบคุมความฉลาด.
สัมมาทิฏฐิ.
สัมมาสังกัปปะ ... .
สัมมาวาจา.
สัมมากัมมันตะ.
สัมมาอาชีวะ ... .
สัมมาวายามะ.
สัมมาสติ.
สัมมาสมาธิ.

หลักธรรมพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนากับการศึกษาที่สมบูรณ์คือข้อใด

ในเรื่องของการศึกษา หรือกระบวนการเรียนการสอน อันถือว่าเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ ก็ควรจะดำเนินไปโดยใช้อริยสัจ 4 และปฏิจจสมุปบาทมาเป็นหลักการขั้นพื้นฐานที่สำคัญ

การศึกษาในระดับ “โลกิยะ” มีความมุ่งหมายเพื่ออะไร

1. การศึกษาระดับโลกิยะ มีความมุ่งหมายเพื่อดำรงชีวิตในทางโลก 2. การศึกษาระดับโลกุตระ มีความมุ่งหมายเพื่อดำรงชีวิตเหนือกระแสโลก