การออกแบบโปรแกรม ทำเพื่ออะไร

    Google              Youtube            พสว               สพม11

Show

 2. ขั้นตอนการออกแบบโปรแกรม (Design a Program)
หลังจากวิเคราะห์ปัญหาแล้วขั้นตอนถัดไปคือ การออกแบบโปรแกรม โดยใช้เครื่องมือมาช่วยในการออกแบบในขั้นตอนนี้ยังไม่ได้เป็นการเขียนโปรแกรมจริง ๆแต่จะช่วยให้การเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายขึ้นโดยสามารถเขียนตามขั้นตอนที่ได้ออกแบบไว้ในขั้นตอนนี้และช่วยให้การเขียนโปรแกรมมีข้อผิดพลาดน้อยลง ช่วยตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมทำให้ทราบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องไปไล่ดูจากตัวโปรแกรมจริง ๆซึ่งถ้าเปรียบเทียบการเขียนโปรแกรมเหมือนกับการสร้างบ้านแล้วในขั้นตอนการออกแบบโปรแกรมนี้ ก็เปรียบเหมือนการสร้างแปลนบ้านลงในกระดาษไว้ซึ่งในการสร้างบ้านจริงก็จะอาศัยแปลนบ้านนี้เป็นต้นแบบในการสร้างนั่นเอง
ในขั้นตอนการออกแบบโปรแกรมนี้เป็นการออกแบบการทำงานของโปรแกรม หรือขั้นตอนในการแก้ปัญหาซึ่งผู้ออกแบบสามารถเลือกใช้เครื่องมือมาช่วยในการออกแบบได้โดยเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบโปรแกรมมีอยู่หลายอย่างซึ่งวิธีการซึ่งเป็นที่นิยมสำหรับใช้ในการออกแบบโปรแกรม เช่น
• อัลกอริทึม (Algorithm)
• ผังงาน (Flowchart)
• รหัสจำลอง (Pseudo-code)
• แผนภูมิโครงสร้าง (Structure Chart)

อัลกอริทึมเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการออกแบบโปรแกรมโดยใช้ข้อความที่เป็นภาษาพูดในการอธิบายการทำงานของโปรแกรมที่เป็นลำดับขั้นตอนจะข้ามไปข้ามมาไม่ได้ นอกจากจะต้องเขียนสั่งไว้ต่างหาก ตัวอย่างอัลกอริทึมง่าย ๆที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน ได้แก่ อัลกอริทึมการสระผม
เริ่มจากการทำผมให้เปียกโดยการราดน้ำเมื่อผมเปียกแล้วจึงใส่แชมพูสระผมลงบนศีรษะ แล้วขยี้ให้มีฟองเกิดขึ้นหลังจากนั้นก็ล้างออกด้วยน้ำแล้วเริ่มทำใหม่อีกครั้ง
ในการเขียนอัลกอริทึมนี้แม้จะมีความชัดเจนอยู่ในตัวแล้ว แต่ก็มีจุดอ่อนอยู่ที่ข้อความอธิบายค่อนข้างเยิ่นเย้อ และถ้าผู้เขียนใช้สำนวนที่อ่านยากก็อาจทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมได้ ดังนั้นจึงมีการคิดค้นเครื่องมืออื่นที่ช่วยในการออกแบบโปรแกรมแทนอัลกอริทึม ได้แก่ ผังงานรหัสจำลอง แผนภูมิโครงสร้าง
ผังงานเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการออกแบบโปรแกรมโดยใช้สัญลักษณ์รูปภาพ แสดง ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมหรือขั้นตอนในการแก้ปัญหาทีละขั้น และมีเส้นที่แสดงทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการซึ่งจะทำให้ผู้อ่านสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้โดยง่าย
รหัสจำลองจะมีการใช้ข้อความที่เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยก็ได้ในการแสดงขั้นตอนการแก้ปัญหา แต่จะมีการใช้คำเฉพาะ (Reserve words) ที่มีอยู่ในภาษาโปรแกรม มาช่วยในการเขียนโครงสร้างของรหัสจำลองจึงมีส่วนที่คล้ายกับการเขียนโปรแกรมมาก ดังนั้นรหัสจำลองจึงเป็นเครื่องมืออีกแบบที่เป็นที่นิยมใช้กันมากในการออกแบบโปรแกรม
แผนภูมิโครงสร้างการใช้แผนภูมิโครงสร้างจะเป็นการแบ่งงานใหญ่ออกเป็นโมดูลย่อย ๆ ซึ่งเรียกว่า การออกแบบจากบนลงล่าง (Top-Down Design) แต่ละโมดูลย่อยก็ยังสามารถแตกออกได้อีกจนถึงระดับล่างสุดที่สามารถเขียนโปรแกรมได้อย่างง่าย

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

การออกแบบโปรแกรม ทำเพื่ออะไร
        �ҡ����֡����ѡ��â�鹵͹�����ѭ�����Ǣ�� 6.1 ��� 6.2 ����ҹ�� ��ѧ�ҡ����������ö��������ѭ�� ������ҧẺ���ͧ�����Դ�����ʴ���鹵͹㹡����ѭ������ ��鹵͹���令�͡��ŧ�����ѭ�ҵ����鹵͹����͡Ẻ��� ��������ͧ��ͪ���㹡����ѭ��㹷�����ҡ����ͧ��ͷ��ѡ���¹���͡��� ���Ҥ��������� ��鹵͹㹡��ŧ�����ѭ�ҡ��� ��鹵͹�ͧ�����¹��������������� ��觶��������繢�鹵͹˹�觷���Ӥѭ㹡����ѭ�Ҵ��¤���������

2 Responses

  1. รัฐภูมิ จันทคู่, on said:

    น่าสนุกดี ok ko

  2. รัฐภูมิ จันทคู่, on said:

    น่าสนุกดี

Leave a Reply

Enter your comment here...

Fill in your details below or click an icon to log in:

Email (Address never made public)

Name

Website

You are commenting using your WordPress.com account. ( Log Out /   )

You are commenting using your Twitter account. ( Log Out /   )

You are commenting using your Facebook account. ( Log Out /   )

Cancel

Connecting to %s

Notify me of new comments via email.

Notify me of new posts via email.

Δ