เพศวิถีศึกษาเรียนเกี่ยวกับอะไร

เพศศึกษา หมายถึงการเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเพศในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การสำรวจและทำความรู้จักร่างกายตนเอง การมีเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้องและปลอดภัย การรักษาความสัมพันธ์กับคนรัก การปฏิบัติต่อบุคคลเพศตรงข้ามและเพศทางเลือก และอื่น ๆ นอกจากนี้ เพศศึกษายังอาจช่วยให้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องเพศน้อยลง เช่น การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ความรุนแรงทางเพศ ความเกลียดชังทางเพศ ทั้งนี้ เพศศึกษาไม่ได้หมายถึงการเรียนในห้องเรียนหรือสถานศึกษาเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเพศด้วยตนเอง การพูดคุยกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว และการถกเถียงทางสังคมอย่างเปิดกว้าง

เพศศึกษา คืออะไร

เพศศึกษาหมายถึงการเรียนและการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเพศ การทำความรู้จักร่างกายตนเอง การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย การมีเพศสัมพันธ์ เพศวิถี (Sexuality) รวมถึง บรรทัดฐานและค่านิยมเรื่องเพศ การแสดงความต้องการทางเพศ การปฏิบัติต่อคู่รัก การยอมรับผู้ที่มีอัตลักษณ์ทางเพศแตกต่าง ปัญหาเรื่องเพศในสังคม ทั้งการเรียนในสถานศึกษา การพูดคุยกันในครอบครัว การสอดแทรกความรู้ทางสื่อต่าง ๆ การเปิดโอกาสให้คนในสังคมได้พูดคุยกันอย่างกว้างขวาง

เพศศึกษา มีความสำคัญอย่างไร

เพศศึกษามีความสำคัญต่อคนในสังคม โดยเฉพาะในช่วงวัยเรียนหรือวัยรุ่น เพราะเป็นเครื่องมือที่จะสามารถแนะแนวและแนะนำให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องเพศได้อย่างถูกต้อง มีความรู้มากพอที่จะใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเพศและเพศวิถีได้อย่างเหมาะสม รวมถึงเพื่อปกป้องผู้เรียนจากปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศต่าง ๆ หรือช่วยให้สามารถรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น อาทิ

  • ปัญหาจากการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจเกิดจากความประมาท หรือการขาดข้อมูลที่ควรทราบ เช่น วิธีคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ วิธีป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ความไม่เสมอภาคทางเพศ หรือการถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมกับคนอีกกลุ่ม โดยอ้างอิงจากความแตกต่างทางรสนิยมทางเพศหรือเพศสภาพ
  • ความรุนแรงบนฐานทางเพศสภาพ หรือการใช้ความรุนแรงกับผู้ที่มีเพศสภาพหรือรสนิยมทางเพศแตกต่างจากตัวเองหรือพวกของตัวเอง

เพศศึกษาให้ความรู้เรื่องอะไรบ้าง

เพศศึกษาในโรงเรียน รวมถึงการเรียนรู้เรื่องเพศจากผู้ปกครองหรือสื่อต่าง ๆ มักเป็นการให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องเพศในประเด็นดังต่อไปนี้

  • การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในระบบสืบพันธุ์เพศชายและเพศหญิง
  • การปฏิบัติต่อบุคคลเพศตรงข้ามและเพศทางเลือกอย่างเหมาะสม
  • ความหลากหลายของเพศทางเลือก และรสนิมทางเพศแบบต่าง ๆ ของผู้คนในสังคม
  • การคุมกำเนิดอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
  • ความสำคัญของการมีเพศสัมพันธ์โดยยินยอม ระหว่างคู่รักหรือคู่นอน
  • การป้องกันตัวเอง หรือลดความเสี่ยงจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • สุขอนามัยทางเพศ เช่น การทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นอย่างถูกวิธี
  • การวางแผนครอบครัว ความสำคัญของการมีลูกเมื่อพร้อม

เพศศึกษา มีประโยชน์อย่างไรต่อผู้เรียนและสังคม

ผู้ที่เรียนเกี่ยวกับเพศศึกษา มักมีความเข้าใจเกี่ยวกับร่างกายตนเองมากขึ้น รู้จักความต้องการของตนเอง เคารพสิทธิ์ในร่างกายของผู้อื่น เข้าใจความแตกต่างระหว่างเพศตรงข้ามและเพศวิถีอื่น รวมทั้งรู้จักวิธีป้องกันตนเองจากความเสี่ยงในเรื่องเพศ ระมัดระวังและรู้จักดูแลสุขอนามัยทางเพศ

นอกจากนั้น ในสังคมที่มีการเรียนและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเพศศึกษาอย่างเสรีและเปิดกว้างด้วยวิธีการที่เหมาะสม มักช่วยลดอัตราความเสี่ยงในการมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เช่น การจำกัดจำนวนคู่นอน การมีเพศสัมพันธ์โดยรู้จักวิธีคุมกำเนิดและวิธีป้องกันโรค ช่วยลดปัญหาสังคม ลดอัตราผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และลดอัตราการท้องที่ไม่พึงประสงค์

ในงานวิจัยหนึ่ง ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเพศศึกษาและการคุมกำเนิด ตีพิมพ์ในวารสาร Contraception ปี พ.ศ. 2560 นักวิจัยได้ศึกษากลุ่มตัวอย่างเพศหญิง จำนวน 5,445 คน และพบว่า ผู้หญิงที่ได้รับการศึกษาเรื่องเพศมา มีแนวโน้มจะคุมกำเนิดด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง หรือวิธีที่คิดว่ามีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า เพศศึกษาช่วยลดโอกาสตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ได้จริง

นอกจากนั้น ยูเนสโก (UNESCO) หรือองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ระบุโดยอ้างอิงจากหลักฐานชิ้นหนึ่งว่า การศึกษาเรื่องเพศ ไม่ว่านอกหรือในสถานศึกษา ต่างช่วยลดอัตราการมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเอดส์ โดยมีข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับประโยชน์ของเพศศึกษาดังนี้

  • การศึกษาเรื่องเพศที่ให้ความสำคัญกับเพศสภาพของผู้เรียน มีส่วนช่วยในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ มากกว่าการศึกษาเรื่องเพศที่ไม่ให้ความสำคัญกับเพศของผู้เรียน
  • การศึกษาเรื่องเพศที่เน้นให้ผู้เรียนงดเว้นจากการมีเพศสัมพันธ์ อาจไม่สามารถช่วยชะลอการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร รวมถึงความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์และการมีคู่นอนจำนวนมากของผู้ศึกษา
  • การศึกษาเรื่องเพศที่ให้ผลลัพธ์ดีที่สุด คือการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองของนักเรียน โรงเรียน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมกับการเรียนรู้เรื่องเพศไปพร้อม ๆ กับนักเรียน

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

เพศวิถีศึกษาเรียนเกี่ยวกับอะไร

มงคลกร พุฒธะพันธ์  นักศึกษาฝึกงาน The Isaan Record เรื่องและภาพ

กว่าหนึ่งปีที่ผ่านมา (2563-2564) พลังนักเรียนนักศึกษาส่งเสียงสะท้อนปัญหาในโรงเรียน ทั้งหลักสูตรการศึกษา แสดงออกความคิดทางการเมือง การชูสามนิ้ว ชูกระดาษเปล่า จัดกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ กระจายไปเกือบทุกโรงเรียน ม็อบนักศึกษาเรียกร้องการปฏิรูปการศึกษา จัดดีเบตระหว่างนักเรียนและรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ 

ความเท่าเทียมทางเพศ ธงสีรุ้ง หรือ สัญญลักษณ์ Pride มีให้เห็นในทุกกิจกรรมและหลายเวทีมีนักเรียนออกมาปราศรัยสะท้อนปัญหาความเท่าเทียมทางเพศในหลักสูตรการศึกษา ทำให้เกิดคำถามว่า หลักสูตรการศึกษาในปัจจุบันสอดรับกับความเท่าเทียมทางเพศมากน้อยเพียงใด และอะไรคืออุปสรรคปัญหาในเรื่องนี้ 

The Isaan Record พูดคุยกับ ธงชัย ทองคำ หรือ ครูแจ็ก ครูสอนเพศวิถีศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ หนึ่งในครูแกนนำหลักสูตร “เพศวิถีศึกษา” ที่นำเรื่องเพศวิถีมาประยุกต์กับเนื้อหาการเรียนการสอนในห้องเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องความหลากหลายทางเพศ 

The Isaan Record : เพศวิถีศึกษา คือ อะไร
ครูแจ็ก : หลักสูตรเพศวิถีศึกษามีเนื้อหาที่เน้นในกระบวนการสอนเพศศึกษาอย่างรอบด้าน ครอบคลุมและสอดคล้องกับค่านิยมทางเพศและพฤติกรรมทางเพศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งยังรวมถึงสถานการณ์การขับเคลื่อนนโยบาย กฎหมายของภาคประชาชน ภาครัฐ และในระดับประชาคมโลก ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้เรียนและครูผู้สอน มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องเพศวิถีมากขึ้น รวมถึงสามารถเชื่อมโยงทัศนคติสู่การสรุปแนวคิดที่เป็นทักษะชีวิตได้

The Isaan Record :  ก่อนที่จะมีเพศวิถีศึกษา สอนเรื่องเพศอย่างไรในโรงเรียน
ครูแจ็ก :  สุขศึกษา จะมีหน่วยหนึ่งที่ใช้คำว่า เรื่องเพศ แต่ละระดับชั้นก็จะเรียนในเนื้อหาที่ต่างกัน เช่น ม.5 จะกล่าวถึงค่านิยมทางเพศ พฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยงอย่างเช่น คนที่มีความเบี่ยงเบนทางเพศ ผมว่า น่าจะคั่นที่ตรงนี้ ในปัจจุบันเราไม่ได้มองแบบนั้น ในเนื้อหาเพศวิถีแบบใหม่ มองกว้างขึ้น มองตั้งแต่เรื่องของพัฒนาการทางด้านร่างกายไปจวบจนถึงเรื่องของค่านิยมทางเพศ ไม่ได้มาสอนว่า เพศศึกษาต้องดูแลสุขภาพอย่างไร ต้องดูแลการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายอย่างไร ไม่ได้พูดถึงแค่เรื่องของความปลอดภัย สารเสพติด เรื่องของการ CPR อะไรอย่างเดียว

หรือจะพูดอีกนัยนึงก็คือว่า สุขศึกษา พูดถึงเรื่องสุขภาพรวมๆ ทั้งหมดแล้วก็มีเรื่องเพศอยู่ในนั้น แต่เพศวิถีพูดถึงเรื่องของสุขภาพทางเพศ ซึ่งก็ครอบคลุมถึงตัวเพศศึกษาด้วย เพียงแต่ว่ารายละเอียดปลีกย่อยของเพศวิถีก็จะครอบคลุมมากกว่าเป็นหกมิติ ไม่ได้มองถึงเรื่องของเพศอย่างเดียวแล้ว แต่จะมองถึงเรื่องพฤติกรรม เรื่องของค่านิมยม พูดถึงเรื่องการปฏิบัติที่มันสอดคล้องกับตัวกฎหมาย หรือสอดคล้องกับค่านิยมโลกในปัจจุบัน

เนื่องด้วยการมีข้อผูกมัดกับกฎหมาย พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นปี 2559 ในตอนนี้หลายโรงเรียนได้มีการจัดกิจกรรมอบรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องของเพศวิถีหรือเพศวิถีศึกษา หนึ่งในข้อกฎหมายดังกล่าวได้ได้ระบุไว้ว่า “โรงเรียนต้องจัดการสอนเรื่องเพศวิถี” 

ด้วยเนื้อหาของเพศวิถีทั้งหกมิติที่กล่าวไว้ข้างต้นจึงมีความน่าสนใจ อันได้แก่มิติด้านพัฒนาการของมนุษย์ (Human Development), ด้านสัมพันธภาพ (Relationships), ด้านทักษะส่วนบุคคล (Personal Skills), ด้านพฤติกรรมทางเพศ (Sexual Behavior), ด้านสุขภาพทางเพศ (Sexual Health) และ ด้านสังคมและวัฒนธรรม (Society and Culture) ซึ่งมีความครอบคลุมในเรื่องเพศมากขึ้น 

จากเดิมเรื่องเพศศึกษา เป็นเพียงส่วนหนึ่งในรายวิชาสุขศึกษา มีน้ำหนักประมาณ 4 ชั่วโมง/ภาคเรียน หรือ ต่อปีการศึกษา แต่ในส่วนของเนื้อหาการสอนเพศวิถีศึกษานั้น สามารถจัดทำแยกเป็นรายวิชาเพิ่มเติมได้อีก 1 วิชา ซึ่งมีน้ำหนักอยู่ที่ 20 ชั่วโมง/ภาคเรียน หรือ แทรกในรายวิชาสุขศึกษา กิจกรรมโฮมรูม หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ความน่าสนใจจึงอยู่ที่การให้นักเรียนได้เรียนเนื้อหาเพศวิถีศึกษาได้อย่างครอบคลุมและรอบด้านทุกประเด็น

เพศวิถีศึกษาเรียนเกี่ยวกับอะไร
“การมองว่าคนที่เบี่ยงเบนทางเพศ คือ กลุ่มคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง นี่คือเนื้อหาที่เก่ามาก เราควรมองที่ความเป็นตัวตนมากกว่าเรื่องเพศ” ธงชัย ทองคำ หรือครูแจ็ก ครูสอนเพศวิถีศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์

The Isaan Record : นำเพศวิถีมาปรับเข้ากับห้องเรียนอย่างไร
ครูแจ็ก : เรื่องเพศวิถีมันเป็นนโยบายที่มอบหมายให้ทางโรงเรียนได้จัดการสอน เนื่องมาจากตัวกฎหมาย พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปี 2559 ได้กำหนดให้คุณครูหรือโรงเรียนจัดการสอนเรื่องเพศวิถีให้กับนักเรียน ซึ่งในกรอบของเพศวิถีก็จะพูดถึงหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของพัฒนาการทางด้านร่างกาย เรื่องของสัมพันธภาพ เรื่องของทักษะชีวิต เรื่องของสุขภาพทางเพศ พฤติกรรมทางเพศ แล้วก็สังคมและวัฒนธรรม ส่วนที่เราจะเน้น และให้ความสำคัญคือเรื่องของสังคมและวัฒนธรรม เพราะว่าปัจจุบันมันมีความหลากหลายทางเพศเกิดขึ้น สังคมให้ความสำคัญกับเรื่องนี้

การเสริมเนื้อหาของเพศวิถีศึกษาเข้ามาในชั้นเรียน ทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีเนื้อหาเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันที่เกิดขึ้นจริง รวมถึงนักเรียนในห้อง ก็จะมีความเข้าใจในเรื่องของความหลากหลายทางเพศมากขึ้น มีการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่ปฏิบัติต่อกันในเชิงลบ 

การศึกษาเรื่องเพศวิถีไม่ใช่แค่เฉพาะในผู้เรียนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงครูผู้สอนอย่างกรายๆ เพราะในการกระจายองค์ความรู้เหล่านี้ มิใช่เพียงเนื้อหาตามตำราเท่านั้นที่สำคัญที่สุด หากแต่เป็นสิ่งที่ผู้สอนต้องตระหนักรู้ถึงสิ่งที่ความหลากหลายทางเพศเป็นจริง ๆ ทำความเข้าใจ และนำความเข้าใจเหล่านั้นมาบูรณาการณ์ มาประยุกต์ให้เข้ากับบทเรียนเพื่อสร้างฐานความรู้ที่ถูกต้องที่สุดต่อผู้เรียน

การสอนหรือเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเพศของคุณครู จะต้องเข้าใจมากขึ้น เราจะไม่มองแค่ว่า แต่ก่อนมีแค่เพศหญิงหรือเพศชาย ปัจจุบันคุณครูต้องทำความเข้าใจว่ามันมีเพศอยู่หลายเพศ ซึ่งเราเรียกว่า LGBT หรือ LGBTQ

ในกระบวนการสร้างฐานความเข้าใจให้กับบุคลากรทางการศึกษา ครูผู้สอนในปัจจุบัน ไม่ว่าจะสอนวิชาใด หรือ เนื้อหาไหน จำเป็นต้องมีความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและบริบททางเพศในสังคมปัจจุบัน ดังนั้นจึงมีการจัดอบรมในหลักสูตรการสอนเพศวิถีศึกษา แบบ E-Learning ที่ สพฐ. ร่วมกับมูลนิธิ Path2Health ได้จัดขึ้น ซึ่งเมื่อผ่านการอบรมในหลักสูตรดังกล่าวจะทำให้ครูผู้สอนได้แนวคิดและทางการจัดการเรียนการสอนเรื่องเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตอย่างบูรณาการได้ชัดขึ้น

จากการอบรมเรื่องเพศวิถี โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ครูแจ็กยังได้นำเนื้อหามาถ่ายทอดให้กับคุณครูในโรงเรียน และได้เชิญชวนให้บุคลากรในโรงเรียนร่วมอบรมด้วย

ตอนนี้ครูหลายคนได้เข้าอบรมแล้วและเชื่อว่าในอนาคตจะมีการเข้าอบรมมากขึ้น และเชื่ออีกว่า คุณครูเมื่อได้เข้าอบรมในหลักสูตรนี้แล้วจะเข้าใจในเรื่องของเพศวิถี เข้าใจในเรื่องของความหลากหลายทางเพศ เข้าใจการบูลลี่ เข้าใจการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสม การใช้คำพูด การกล่าวถึง หรือการสนับสนุน ตามความสามารถตามเพศสภาพ 

“เราต้องสร้างพื้นที่ความปลอดภัยให้กับนักเรียนเมื่อมาโรงเรียนของเรา เขาจะได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ ไม่ต้องกังวลหรือกลัวว่าสิ่งที่ทำจะถูกตำหนิหรือโดนดุด่า”

The Isaan Record: อุปสรรคในการเผยแพร่เรื่องเพศวิถีคืออะไร
ครูแจ็ก :  อุปสรรคเบื้องต้นเห็นจะเป็นเรื่องของกรอบแนวคิด หลังจากที่ครูแจ็กได้เชิญชวนครูจากหลากหลายกลุ่มสาระการเรียนรู้มาร่วมอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจในเนื้อหาเพศวิถี อุปสรรค์ที่ขัดขวางกระบวนการเหล่านั้นคือกรอบแนวคิดใหม่ๆ ซึ่งครูบางส่วนยังตระหนักว่าไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงไปจากกรอบแนวคิดเดิมๆ ทั้งยังมองว่าเป็นเรื่องของเพศศึกษาที่หมาะสำหรับครูสุขศึกษาเพียงเท่านั้น

เราพยายามที่จะบอกคุณครูทุกคนว่า เรื่องเพศวิถีไม่ได้เป็นเนื้อหาเฉพาะครูสุขศึกษา แต่หมายถึงคุณครูทุกคน เพราะว่าคุณครูทุกคนต้องจัดการเรียนการสอน มีนักเรียนในที่ปรึกษา ซึ่งการใช้คำ ประโยคบางประโยคที่เรามองเป็นเรื่องปกติแต่มันอาจจะส่งผลกระทบกับกลุ่มคนบางคน ดังนั้นอุปสรรค์คือการสร้างความเข้าใจให้คนเห็นความสำคัญว่าเรื่องเพศวิถีสำคัญอย่างไร หรือพยายามเปิดกรอบใหม่ๆ ว่ามันเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญนะ ไม่ใช่แค่เรื่องของการสอนสุขศึกษาอย่างเดียว 

ด้านของตัวกฎหมาย หลังจากการออกมารณรงค์ และเรียกร้องถึงสิทธิพื้นฐานที่ทุกผู้คนพึงจะได้รับ อาทิ พ.ร.บ.คู่ชีวิต ฯลฯ ก็นับได้ว่าคลี่คลายลง ส่วนในรั้วการศึกษาผลลัพธ์คือมีการพูดคุยถึงเรื่องการสอนเพศวิถีศึกษามากขึ้น อย่างไรก็ตามถึงกฎหมายจะมีมาตรการการสร้างความเข้าใจในระดับการศึกษา แต่ในเรื่องสิทธิพื้นฐานในสังคม กฎหมายกลับยังไม่ได้มอบสิทธิให้ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศอย่างเต็มที่ 

The Isaan Record : หลักสูตรเรื่องเพศในเพศวิถี จะไม่เกิดประสิทธิผลหากไม่มีการยอมรับจากระบบ 

ครูแจ็ก : หน่วยงานด้านการศึกษาหรือแม้กระทั่งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ต่างก็มีนโยบายขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม แต่ที่อาจจะเป็นอุปสรรค คือ การนำนโยบายลงไปปฏิบัติสู่โรงเรียน ส่วนนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้บริหาร หรือ ครูผู้สอน รวมถึงผู้ปกครองและชุมชนว่า จะให้ความสำคัญ เปิดกว้างในสิ่งเหล่านี้หรือไม่

ตัวคุณครูเมื่อมีความเข้าใจในเรื่องของเพศวิถีแล้ว เราก็จะสามารถจัดการเรียนการสอนหรือกิจกรรมต่างๆ ให้เหมาะสม โดยไม่เลือกปฏิบัติว่านักเรียนจะเป็นเพศไหน โรงเรียนของเราให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก เราเปิดพื้นที่ให้กลุ่ม LGBT ได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ เชื่อไหมครับเขาเป็นทั้งประธานสี ประธานนักเรียน ถ้าเรามองข้ามเรื่องของเพศออกไป เขาคือคนคนหนึ่ง แล้วมอบโอกาสให้เขาได้แสดงความสามารถ ทำให้เขาได้มีตัวตน มีความภูมิใจในสิ่งที่เป็น สังคมให้ความยอมรับ และที่สำคัญครอบครัวเขาภาคภูมิใจ

เพศวิถีศึกษาเรียนเกี่ยวกับอะไร
“เรื่องเพศวิถี เป็นเรื่องใกล้ตัวและรอบตัว อยากให้นักเรียนกล้าที่จะถาม หรือ ตอบคำถามได้อย่างไม่เขินอาย และมองเรื่องเพศเป็นเรื่องปกติ”

The Isaan Record : ก้าวต่อไปของเพศวิถีศึกษาจะเป็นอย่างไร 

ครูแจ็ก : หลังจากที่วิชาเพศวิถีศึกษาได้กระจายองค์ความรู้สู่นักเรียน จากเนื้อหาและรูปแบบการสอนที่เน้นการมีส่วนร่วม เน้นการถามคำถามหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์จริงหรือข้อสงสัยอย่างเปิดกว้าง ในจุดนี้ระยะห่างของความเก้อเขินถูกย่นลงมา เกิดการรับรู้และมองเรื่องเพศเป็นเรื่องปกติเหมือนเนื้อหาวิชาการทั่วไป ครูผู้สอนไม่เขินอายที่จะอธิบายหรือตอบคำถามที่นักเรียนอยากรู้และสนใจ โดยครูแจ็กได้กล่าวถึงสิ่งที่สร้างความเข้าใจกับนักเรียนร่วมกันเช่นนี้ว่า “การที่รู้หรือตอบคำถามเรื่องเพศได้ ไม่ได้หมายความว่าเป็นผู้มีประสบการณ์  เนื้อหาเรื่องเพศเป็นเรื่องทั่วไป ใคร ๆ ก็ศึกษาได้ คนที่ตอบหรือสงสัยจึงเป็นคนที่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ ถือเป็นเรื่องปกติและเป็นเรื่องที่ดี”

ส่วนสำคัญของกระบวนการสร้างความเข้าใจเรื่องเพศได้เกริ่นไว้ข้างต้นอย่างประปราย สำคัญที่ ความเปิดกว้างอย่างเข้าใจ ในทีนี้จะหมายถึงในส่วนของตัวบุคคล ไม่ใช่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจ 

ทุกคนควรที่จะต้องเข้าใจในเรื่องความหลากหลายทางเพศอย่างเปิดกว้าง แต่ในสังคมกลับเป็นเยาวชนที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ เป็นกระบอกเสียงอย่างนัย ๆ ถึงระบบการรับรู้เรื่องเพศแบบเก่า ที่ควรถูกต่อยอดด้วยแนวคิดเรื่องเพศแบบใหม่

เพศวิถีศึกษาถือเป็นประตูด่านแรกของการแก้ปัญหาของความไม่เข้าใจเรื่อง LGBTQI+ ได้ในระดับหนึ่ง เพราะเนื้อหาเรื่องเพศวิถีศึกษามีเนื้อหาหลายด้านอย่างที่กล่าวมา 

แต่การขับเคลื่อนสำหรับระบบการศึกษาอาจไม่เพียงพอ ตัวกฎหมายต้องมีการขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กัน ร่วมด้วยในปัจจุบันเยาวชนสมควรจะต้องเรียนรู้เรื่องของความหลากหลายทางเพศ เพื่อทำความเข้าใจถึงความแตกต่าง.ให้มากขึ้น ถึงแม้จะพอรู้ แต่ก็ควรจะรู้ให้มากขึ้น ซึ่งผู้ใหญ่เองก็ต้องทำความเข้าใจในเรื่องนี้เช่นกัน ดังที่กล่าวไปข้างต้น

“เรื่องเพศไม่ใช่แค่เรื่องของกลุ่มคน แต่คือเรื่องของทุกคน”  

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง :

  • เคท ครั้งพิบูลย์ : สู้เพื่อพลิกโฉมความเท่าเทียมทางเพศ 
  • LGBTIQ+- ความฝันของทนาย LGBT “ทุกเพศต้องเท่าเทียม” (5)
  • LGBTQI+ – เสียงจากความหลากหลายทางเพศอีสาน (2)
  • LGBTIQ+ อีสาน: บนหนสู่สิทธิและความเท่าเทียม” (1)
เพศวิถีศึกษาเรียนเกี่ยวกับอะไร

เพศวิถีศึกษามีความสําคัญอย่างไร

3. เพศวิถีศึกษาช่วยให้เยาวชนสามารถควบคุมพฤติกรรมของตน ในทางกลับกันช่วยให้ผู้เรียนรู้จักปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วย ความเคารพ ยอมรับ อดทน และเอาใจใส่ โดยไม่เลือกเพศชาติพันธุ์ เชื้อชาติ หรือวิถีทางเพศ ท าให้มีแนวทางในการเลือก ดาเนินชีวิตทางเพศอย่างเหมาะสม เป็นสุข และปลอดภัย

ทำไมต้องเรียนรู้เรื่องเพศ

ดังนั้นการให้ความรู้ทางเพศศึกษาที่ถูกต้อง จะเป็นการปิดกั้นโอกาสในการเบี่ยงเบนทางเพศ และพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งป้องกันปัญหาที่จะเกิดจากความไม่สมดุลของความต้องการทางเพศในชีวิตคู่อีกด้วย ซึ่งจะทำให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข และเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน

เพศวิถีศึกษา คืออะไร * คำตอบของคุณ

เพศวิถีศึกษา คือ การเรียนการสอนเกี่ยวกับเรื่องเพศและความสัมพันธ์ที่เหมาะกับวัยของผู้เรียนและบริบททางวัฒนธรรม โดยการให้ความรู้ที่ถูกต้อง ชัดเจน ข้อมูลที่ปราศจากการตัดสินคุณค่า บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์เพศวิถีศึกษา เป็นโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นหาคุณค่าและทัศนคติของตนเองเพื่อให้มีทักษะในการตัดสินใจสื่อสาร และลดความเสี่ยงที่ ...

เพศวิถีศึกษา” เป็นความรู้ที่วัยรุ่นควรจะต้องเรียนรู้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ควรเรียน เพราะจะทำให้วัยรุ่นรู้จักตนเองและรู้เท่ากันผู้อื่นมากยิ่งขึ้น ควรเรียน เพราะจะได้นำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับวัย ไม่ควรเรียน เพราะเป็นเรื่องลับเฉพาะตัวและน่าอาย ไม่ควรเรียน เพราะทาให้เกิดความอยากรู้ อยากลอง