Smart contract หมายถึงข้อใด

ถ้าคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่สนใจในเทคโนโลยีบล็อกเชน คุณต้องเคยได้ยินเกี่ยวกับ Smart Contract หรือ “สัญญาอัจฉริยะ” มาไม่มากก็น้อย

แล้วสงสัยหรือไม่? ว่าแท้จริงแล้ว Smart Contract มีบทบาทเช่นไรกับเทคโนโลยีบล็อกเชนหรือคริปโทเคอร์เรนซี ในบทความนี้ เราจะมาไขข้อสงสัย พร้อมยกตัวอย่างการใช้งาน Smart Contract กันให้กระจ่าง

Smart Contract เปรียบเสมือนกับชุดคำสั่งทางคอมพิวเตอร์ที่สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเองเมื่อเงื่อนไขครบตามที่ถูกเขียนขึ้นมา เช่น กำหนดว่า เมื่อ A โอนเงินให้ B ครบ สิทธิ์ความเป็นเจ้าของรถยนต์ของ B จะถูกโอนให้ A ทันที เป็นต้น

การใช้ Smart Contract จึงสามารถลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก ลดความผิดพลาดของมนุษย์ (Human Error) ลดต้นทุน และทำให้ทุกฝ่ายมั่นใจได้ว่าการดำเนินการจะเป็นไปที่ตกลง

ขณะที่ บล็อกเชนคือเทคโนโลยีฐานข้อมูลแบบกระจายศูนย์ ที่มีชื่อเสียงด้านความปลอดภัย โปร่งใส และตรวจสอบได้ การประสาน Smart Contract เข้ากับบล็อกเชนจึงเป็นการยกระดับบล็อกเชนให้เป็นมากกว่าเทคโนโลยีที่ใช้บันทึกการทำธุรกรรม

เครือข่ายบล็อกเชนที่เป็นต้นแบบของการใช้ Smart Contract ก็คือ Ethereum ที่เปิดกว้างให้เหล่าโปรแกรมเมอร์สามารถเข้ามาเขียน Smart Contract เพื่อสร้างแอปพลิเคชันต่าง ๆ ขึ้นบล็อกเชน นอกจากนี้ Ethereum ยังเป็นต้นแบบให้กับบล็อกเชนรุ่นใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น Cardano, Polkadot, รวมถึง Bitkub Chain เป็นต้น

ตัวอย่างการใช้ Smart Contract

เมื่อเข้าใจภาพรวมของ Smart Contract ไปแล้ว ต่อไปเรามาดูตัวอย่างของการใช้ Smart Contract ร่วมกับอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยมีตัวอย่างดังต่อไปนี้

หากไม่มี Smart Contract โทเคนดิจิทัล (Digital Token) ที่ได้รับความนิยมในวงการคริปโต ไม่ว่าจะเป็น USDT, USDC, DAI, UNI รวมถึง NFT (Non-fungible Token) ก็คงไม่เกิดขึ้น เนื่องจาก Smart Contract มีบทบาทสำคัญในการควบคุมส่วนประกอบต่าง ๆ ของโทเคนตั้งแต่ ประโยชน์การใช้งาน สิทธิ์ความเป็นเจ้าของ ไปจนถึงการกำหนดจำนวนโทเคน

บริการทางการเงินที่อยู่บนบล็อกเชน หรือ DeFi (Decentralized Finance) คืออีกหนึ่งเทคโนโลยีที่เกิดจากการใช้ Smart Contract ร่วมกับบล็อกเชน เพื่อนำบริการทางการเงินรูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่การฝากเงิน การแลกเปลี่ยน การกู้ยืม หรือการประกัน ขึ้นมาอยู่บนเครือข่ายบล็อกเชน ให้ผู้ใช้ทั่วโลกสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง เช่น Alpha Finance, Uniswap, Maker Protocol เป็นต้น

ประโยชน์ของบล็อกเชนและ Smart Contract ไม่ได้จำกัดแค่เรื่องของคริปโตหรือการเงินเท่านั้น โรงพยาบาลหรือหน่วยงานสาธารณสุขก็สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ได้เช่นกัน โดยอาจใช้บล็อกเชนเพื่อเก็บรักษาข้อมูลของผู้ป่วย และใช้ Smart Contract ในการป้องกันข้อมูลที่อาจเป็นความลับ เช่น ผลการวิจัยยา ผลการรักษา ฯลฯ และแชร์ข้อมูลดังกล่าวออกไปแก่องค์กรภายนอกได้โดยข้อมูลไม่รั่วไหล เป็นต้น

จะเป็นอย่างไรถ้า Smart Contract สามารถนำมาใช้กับเรื่องสนุก ๆ อย่าง “เกม” ก็ได้เช่นกัน ตัวอย่างเกมบนบล็อกเชนที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ได้แก่ Axie Infinity และ CryptoKitties โดยจะเป็นเกมแนวสะสมที่ผู้เล่นสามารถนำตัวละครในเกมที่เป็นสินทรัพย์รูปแบบ NFT มาซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้ด้วยเงินจริง ๆ โดยอาจใช้เหรียญของเครือข่าย เช่น Ether เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เมื่อขายได้แล้วจึงค่อยนำมาแลกเปลี่ยนเป็นเงินได้ที่ Exchange

Smart Contract เปรียบเสมือนชุดคำสั่งทางคอมพิวเตอร์ที่สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเองตามเงื่อนไขที่ถูกเขียนขึ้นมา เมื่อนำ Smart Contract มาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ขึ้นชื่อเรื่องความปลอดภัย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นเครือข่ายแบบกระจายศูนย์ จึงเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ ที่ไม่ได้มีประโยชน์แค่เรื่องของการเงิน แต่สามารถใช้ร่วมกับวงการบันเทิง ไปจนถึงวงการแพทย์ ก็ได้เช่นกัน

เป็นเจ้าของเหรียญ Ethereum และเครือข่ายที่ใช้ Smart Contract อย่าง Cardano, Polkadot หรือ Bitkub Coin ด้วยเงินบาทได้แล้ววันนี้ที่ Bitkub ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลชั้นนำของประเทศไทย

มีสินทรัพย์ดิจิทัลให้เลือกซื้อขายมากกว่า 44 รายการ พร้อมทีมซัพพอร์ตคอยให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง ที่ https://www.bitkub.com/ หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Bitkub บน App Store และ Google Play เปิดรับสมาชิกใหม่แล้ววันนี้!

อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ทำให้ Blockchain พัฒนาไปอีกขั้น นั่นคือสิ่งที่เรียกว่า Smart Contract นั่นเอง สำหรับบทความนี้เราจะมาศึกษากันว่า Smart Contract คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร? และตัวอย่าง Smart Contract ที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง?

Smart Contract คือชุดคำสั่งทางคอมพิวเตอร์ หรือ “โปรแกรม” ที่สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเองเมื่อครบเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ก่อนที่จะเขียน Smart Contract ขึ้นมา โดยคอนเซปท์ของ Smart Contract ถูกคิดค้นตั้งแต่ในปี 1994 โดยนาย Nick Szabo ผู้คิดค้น Bit Gold สกุลเงินเสมือน (Virtual Currency) ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นต้นแบบของ Bitcoin

สำหรับตัวอย่างที่เก่าแก่ที่สุดของ Smart Contract ก็คือตู้กดของอัตโนมัติ (Vending Machine) เมื่อคุณใส่เงินเข้าไปตามจำนวนที่กำหนด ตู้ก็จะออกสินค้าที่เราเลือกให้โดยอัตโนมัตินั่นเอง

เมื่อนำคอนเซปท์ของ Smart Contract มาประยุกษ์ใช้กับ Blockchain จึงเกิดการพัฒนาไปอีกหนึ่งขั้น หรือที่เรียกว่า Blockchain 2.0

อนึ่ง เครือข่าย Bitcoin ก็สามารถใช้ Smart Contract ได้เช่นกัน แต่มีข้อจำกัดคือสามารถใช้ได้แค่ในเรื่องของการโอนเงินเท่านั้น Smart Contract จึงกลับมาถูกพูดถึงอีกครั้งเมื่อ Ethereum ที่ถูกสร้างขึ้นโดยนาย Vitalik Buterin เปิดตัวในปี 2015 ที่ขยายขอบเขตของ Smart Contract มาใช้กับเรื่องของเอกสารและพื้นที่เปิดที่ทำให้เหล่านักพัฒนาสามารถเข้ามาเขียนโปรแกรมได้ง่ายกว่าเครือข่าย Bitcoin

ยกตัวอย่าง สมมติว่า John จะซื้อรถจาก Alice ในกรณีที่ไม่มี Smart Contract เมื่อ John โอนเงินแล้ว Alice ก็ต้องมาตรวจสอบด้วยตัวเองว่าเงินเข้าจริงหรือไม่ โอนครบตามที่ตกลงหรือไม่ ก่อนที่จะทำการโอนสิทธิ์เป็นเจ้าของรถยนต์ให้กับ John แต่ถ้าใช้ Smart Contract เมื่อ John โอนเงินให้ครบตามที่ตกลงกันแล้ว Smart Contract ก็จะดำเนินการด้วยตัวเอง และโอนสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของรถยนตร์จาก Alice ให้กับ John โดยอัตโนมัติ

ประโยชน์ของ Smart Contract

ตามตัวอย่างด้านบนจะเห็นได้ว่าการใช้ Smart Contract สามารถตัดตัวกลางและลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นระหว่างการทำธุรกรรมออกไปได้ เหมือนกับที่ตู้กดของอัตโนมัติสามารถตัดคนขายออกไปได้ หมายความว่าผู้ใช้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาลงไปได้อย่างมีนัยสำคัญนั่นเอง

นอกจากนี้ การที่ Smart Contract เป็นโปรแกรมที่วิ่งอยู่บน Blockchain หมายความว่า Smart Contract ได้สืบทอดคุณสมบัติของ Blockchain มาทั้งหมด เช่น เรื่องของความน่าเชื่อถือ โปร่งใส ตรวจสอบย้อนหลังได้ และปลอดภัย ซึ่งเป็นพื้นฐานของ Blockchain นั่นเอง

อีกหนึ่งตัวอย่าง การระดมทุมผ่านเว็บไซท์ประเภท Kickstarter ต่างๆ นักลงทุนต้องเชื่อมั่นในเว็บไซต์นั้นๆ ว่าจะไม่มีการยักยอกเงินของพวกเค้า แต่ถ้าใช้ Smart Contract นักลงทุนก็จะสามารถตรวจสอบได้ว่าระดมทุนไปถึงไหนแล้ว ผู้รับเงินทุนหรือเจ้าของโปรเจ็คเป็นใคร เมื่อระดมทุนได้ถึงยอดที่กำหนด เงินทุนเหล่านั้นก็จะถูกโอนไปยังเจ้าของโปรเจ็คโดยอัตโนมัติ หรือถ้าหากระดมทุนได้ไม่ถึงยอด เงินทุนก็จะถูกส่งกลับไปยังนักลงทุนตามยอดที่ใส่เข้ามา โดยทุกขั้นตอนจะเกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติตามเงื่อนไขของ Smart Contract นั่นเอง

ตัวอย่างของ Smart Contract ที่น่าสนใจ

Barclays ธนาคารรายใหญ่ในสหราชอาณาจักร มีการประยุกษ์ใช้ Smart Contract เพื่อช่วยจัดการข้อมูลเจ้าของบัญชีและการโอนเงินแบบอัตโนมัติไปยังสถาบันการเงินต่างๆ

หน่วยงานภาครัฐของสหรัฐอเมริกา The Delaware Public Archives (DPA) นำ Smart Contract มาใช้ในการทำลายเอกสาร โดยเมื่อถึงวันที่ที่กำหนดของเอกสารนั้นๆ Smart Contract ก็จะดำเนินการทำลายเอกสารหรือข้อมูลนั้นๆให้ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก

หนึ่งในเกมแรกๆของโลกที่สร้างบน Blockchain อย่าง Cryptokitties ก็มือการใช้ Smart Contract ในกระบวนการแลกเปลี่ยน ผสมพันธุ์ และรับเลี้ยงแมวในเกม นับเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ Blockchain ที่ดีที่สุดอีกตัวอย่างหนึ่ง

ตัวอย่างของการระดมทุมผ่าน Smart Contract ที่เรียกว่า ICO (Initial Coin Offering) ก็มีให้เห็นกันอยู่เรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น EOS, Band Protocol, NEAR Protocol และโปรเจ็คอื่นๆอีกมากมาย โดยเฉพาะ EOS ที่ระดมทุมไปได้เป็นมูลค่ามากถึง 4,200 ล้านดอลลาร์

ทั้งนี้ ตัวอย่างที่ยกมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของคุณประโยชน์ที่ Smart Contract สามารถทำได้ ซึ่งการประยุกษ์ใช้เทคโนโลยีนี้เปิดกว้างมาก ตั้งแต่เรื่องของการยืนยันตัวตนทางดิจิทัล, การกู้ยืม, การตรวจสอบติดตามผล, การซื้อขายประกัน, การจัดเก็บ, ตลอดจนการแพทย์

Smart Contract คือชุดคำสั่งทางคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมที่สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเองเมื่อเงื่อนไขครบถ้วนตามที่กำหนด พอนำมาประยุกษ์ใช้กับ Blockchain ที่โดนเด่นด้านความปลอดภัย โปร่งใส และเชื่อถือได้ จึงเป็นการปลดล็อกความสามารถใหม่ๆให้กับ Blockchain ตั้งแต่เรื่องของการซื้อขาย การระดมทุน การยืนยันตัวตน และคุณสมบัติอื่นๆอีกมากมายที่จินตนาการของมนุษย์จะสามารถสร้างสรรค์ขึ้นมาได้

อ้างอิง: Ethereum, BlockGeeks, Investopedia, DevTeam

Bitkub คือ Digital Asset Exchange อันดับ 1 ของประเทศไทย มีสินทรัพย์ดิจิทัลคุณภาพกว่า 38 สกุลให้เลือกเทรด และทีมซัพพอร์ตที่พร้อมช่วยเหลือคุณตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์

นึกถึง Bitcoin คิดถึง Bitkub ดาวน์โหลดและเริ่มเทรดบน Bitkub ได้แล้ววันนี้ บนสมาร์ทโฟนระบบ Android และ iOS หรือไปที่เว็บไซต์ https://www.bitkub.com/

Smart Contract คืออะไรทำงานอย่างไร

Smart Contract เกิดมาจาก Nick Szabo ที่เป็นผู้เสนอไอเดียว่า Blockchain สามารถใช้ในการบันทึกข้อตกลงของสัญญาที่สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องมีคนกลาง หรือใช้พนักงานในการมานั่งตรวจสอบเอกสาร โดยทุกอย่างให้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมจัดการ และการ Hack ข้อมูลทำได้ยาก

จุดเด่นของ Smart Contract ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ข้อดีของ Smart contract ปลอดภัย Smart contract มีการเข้ารหัส ซึ่งจะช่วยให้เอกสารทั้งหมดปลอดภัยจากการแทรกแซง รวดเร็ว Smart contract ทำงานอัตโนมัติโดยใช้โปรโตคอลคอมพิวเตอร์ ทำให้ประหยัดเวลาของกระบวนการทางธุรกิจต่าง ๆ ถูกต้อง การใช้ Smart contract ช่วยขจัดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการกรอกแบบฟอร์มจำนวนมากด้วยตนเอง

Smart Contract เก็บไว้ที่ไหน

ความปลอดภัยสูง ข้อมูลของ Smart Contract นั้นจัดเก็บอยู่ในบล็อกเชนทำให้ไม่สามารถเข้าไปแก้ไขหรือปลอมแปลงข้อมูลได้ ทำธุรกรรมรวดเร็ว Smart Contract ดำเนินการด้วยตนเองแบบอัตโนมัติ ทำให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เพียงปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ของ Smart Contract.

สัญญาอัจฉริยะมีลักษณะอย่างไร

สัญญาอัจฉริยะ หรือ สมาร์ตคอนแทร็กต์ (smart contract) คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่มีการดำเนินงานอัตโนมัติ ตามสัญญาหรือข้อกำหนดที่ระบุไว้ โดยเป้าหมายของสัญญาอัจฉริยะคือการลดการมีคนกลางของสัญญา ลดค่าใช้จ่ายของคนกลาง เพิ่มความโปร่งใส และลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้น โดยการทำงานผ่านบล็อกเชน