โรคเก๊าท์ ห้ามกินผลไม้อะไรบ้าง

เป็น“เก๊าท์”ห้ามกินไก่...จริงหรือ?

  • หน้าหลัก
  • ข้อมูลสุขภาพ

โรคเก๊าท์ ห้ามกินผลไม้อะไรบ้าง

เชื่อว่าหลายๆ คน คงเคยได้ยินว่า คนที่เป็นโรคเก๊าท์ ไม่ควรกินไก่ เพราะจะทำให้โรคเก๊าท์แย่ลง อาการปวดตามข้อต่างๆ จะเพิ่มมากขึ้น แต่ความจริงจะเป็นอย่างไร วันนี้มาทำความรู้จักกับ“อาหารต้านเก๊าท์”กันค่ะ

โรคเก๊าท์ คือ โรคข้ออักเสบที่เกิดจากกรดยูริกในเลือดสูง โดยกรดยูริกถูกสร้างมาจากสารพิวรีน ซึ่งปกติร่างกายสร้างขึ้นเองและได้มาจากอาหาร เมื่อผลึกของกรดยูริกตกตะกอนในน้ำไขข้อของกระดูกต่างๆ ซึ่งมักเป็นบริเวณ หัวแม่เท้า ข้อเท้า ทำให้เกิดอาการปวด ทั้งนี้โรคเก๊าท์ จัดเป็นหนึ่งในโรคแทรกซ้อนของโรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไต

อาหารต้านเก๊าท์ 

  1. ลดการกินเนื้อแดง เครื่องในสัตว์ อาหารทะเลบางชนิด แต่สามารถกินปลาได้ ทั้งปลาทะเล และปลาน้ำจืด ซึ่งปลา   เป็นแหล่งของโอเมก้า 3 ที่มีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบ นอกจากนี้ยังสามารถเลือกกิน ไก่ ไข่ ซึ่งเป็นแหล่งของโปรตีนคุณภาพดีที่ย่อยง่ายได้ในปริมาณที่เหมาะสม 

  2. กินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนและโปรตีนจากพืช ข้าวกล้อง ลูกเดือย ถั่วแดง ถั่วเหลือง หรือธัญพืชชนิดอื่นๆ ซึ่งเป็นอาหารที่มีใยอาหารสูง นอกจากนี้ยังมีโปรตีน โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้

  3. กินอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ สารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดการอักเสบได้ ซึ่งพบมากในผักและผลไม้

  4. กินไขมันที่ดีจากถั่วต่างๆ เช่น อัลมอนด์ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ควรกินถั่ววันละประมาณ 1 กำมือ 

  5. ดื่มน้ำเปล่าเป็นประจำ 2-3 ลิตรต่อวัน เพื่อช่วยการขับกรดยูริกผ่านทางปัสสาวะ

  6. ลดหรืองดเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลทรายและน้ำตาลฟรุกโตส  น้ำผึ้ง น้ำอัดลม หรืออาหารอื่นๆ ที่มีส่วนผสมของน้ำเชื่อม ฟรุกโตสเข้มข้น (High fructose corn syrup) ทำให้กรดยูริกในเลือดสูงขึ้นได้

  7. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากทำให้กรดยูริกในเลือดสูงแล้ว ยังทำให้ควบคุมน้ำหนักตัวยากอีกด้วย

  8. จดบันทึกรายการอาหารที่กินแล้วอาการเก๊าท์กำเริบ อาหารชนิดใดกินแล้วปวดมากขึ้น ให้หลีกเลี่ยงอาหารชนิดนั้น
     

นอกจากเรื่องอาหารแล้ว การออกกำลังกายเป็นประจำก็ช่วยส่งเสริมการรักษาโรคเก๊าท์ให้ดีขึ้น  ช่วยควบคุมน้ำหนักตัว ลดแรงกดที่ข้อ

จะเห็นได้ว่า “ไก่” ไม่ได้เป็นอาหารต้องห้ามของผู้เป็นโรคเก๊าท์ แต่หากผู้ป่วยท่านใดกินไก่แล้วอาการปวดตามข้อเพิ่มมากขึ้น ก็ควรงด และเลือกโปรตีนจากแหล่งอื่นทดแทน เช่น ปลา ไข่ หรือโปรตีนจากพืช

โดย ชฎาพร หนองขุ่นสาร 
นักกำหนดอาหารวิชาชีพ (CDT, CDE) 
ศูนย์โภชนาการและการกำหนดอาหาร โรงพยาบาลเทพธารินทร์

บทความที่เกี่ยวข้อง

        เมื่อไม่นานมานี้เว็บไซต์ต่างประเทศได้เปิดเผยรายงานว่า สำหรับคนที่ทุกข์ทรมานจากโรคเกาต์แล้ว ต้องระวังอาหารการกินให้มาก เพราะถ้ากินผิด ก็เหมือนไปตอกย้ำให้โรคร้ายแรงขึ้น

โรคเก๊าท์ ห้ามกินผลไม้อะไรบ้าง

        จริงๆแล้วมีอาหารบางประเภทที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคเกาต์มาก นั่นก็คือผลไม้ เพราะผลไม้ส่วนใหญ่มีฤทธิ์เป็นด่าง ส่วนประกอบสำคัญคือน้ำ น้ำตาล วิตามิน ใยอาหารและแร่ธาตุนิดหน่อย แถมมีสตรอนเชียม (strontium) ต่ำมาก เพราะงั้นคนเป็นโรคเกาต์สามารถกินได้อย่างสบายใจ

มาดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

        ปัจจุบันนี้ พร้อมๆกับที่ชีวิตของมนุษย์ดีขึ้นเรื่อยๆ ผู้คนมีความสุขกับการใช้ชีวิตมากขึ้น ละเลยต่อปัญหาสุขภาพ ทำให้คนไม่น้อยเป็นโรคเกาต์

        วันนี้ขอแนะนำผลไม้ที่มีความเป็นด่าง ซึ่งช่วยขับกรดยูริคอย่างดีเยี่ยม

โรคเก๊าท์ ห้ามกินผลไม้อะไรบ้าง

1. องุ่น

โรคเก๊าท์ ห้ามกินผลไม้อะไรบ้าง

        องุ่นถือเป็นผลไม้ที่มีความเป็นด่างสูงมาก แพทย์แผนจีนเชื่อว่าองุ่นเป็นกลางและมีรสหวาน สามารถบำรุงตับและไต ทำให้กระดูกและเอ็นแข็งแรง ดีต่อเลือดลม ดีต่อม้าม ช่วยรักษาอาการไร้เรี่ยวแรง แขนขาบวมน้ำ ปัสสาวะไม่สะดวก และอื่นๆ

        ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ องุ่นเป็นผลไม้ที่เป็นด่าง ไม่มีสตรอนเชียม มีประโยชน์มากในการขจัดกรดยูริคในผู้ที่เป็นโรคเกาต์

2. แอปเปิ้ล

โรคเก๊าท์ ห้ามกินผลไม้อะไรบ้าง

        ผลไม้ที่แสนคุ้นตาในชีวิตประจำวันอย่างแอปเปิ้ลมีความเป็นด่างสูง แอปเปิ้ลสามารถขจัดกรดส่วนเกินในร่างกายได้อย่างรวดเร็วหลังจากถูกรับประทานเข้าไปในร่างกาย (ทั้งสารที่เป็นกรดที่ผลิตจากการเผาผลาญจากการออกกำลังกาย และสารที่เป็นกรดในอาหารเช่นเนื้อสัตว์และไข่) ทำให้ปัสสาวะเป็นด่าง มีประโยชน์ในการขับกรดยูริค

3. เชอร์รี่

โรคเก๊าท์ ห้ามกินผลไม้อะไรบ้าง

        จากการวิจัยพบว่า เชอร์รี่นอกจากจะอุดมไปด้วยวิตามินแล้ว ยังมีแอนโทไซยานินจำนวนมาก และสารอาหารหลากชนิด สารอาหารเหล่านี้เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดจะทำให้ระบบหมุนเวียนโลหิตทำงานดีขึ้น ช่วยในการขับกรดยูริค บรรเทาอาการที่เกิดจากโรคเกาต์ และโรคข้ออักเสบ

4. กล้วยหอม

โรคเก๊าท์ ห้ามกินผลไม้อะไรบ้าง

        กล้วยหอมเป็นอาหารที่ดีมาก มีโซเดียมน้อยมาก แต่ปริมาณโพแทสเซียมสูงมาก โดยโพแทสเซียมสามารถยับยั้งการตกตะกอนของกรดยูริคได้อย่างมีประสิทธิภาพแถมแคลอรี่ต่ำ เพราะงั้นเหมาะมากสำหรับคนอ้วน คนเป็นโรคเกาต์ แนะนำให้กินวันละ 1-2 ลูก

5. แตงโม

โรคเก๊าท์ ห้ามกินผลไม้อะไรบ้าง

        แตงโมเหมือนกล้วยหอม มีโพแทสเซียมสูง แทบจะไม่มีสตรอนเชียม แถมมีน้ำจำนวนมาก ดีต่อม้าม ผู้ที่มีภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (hyperuricemia) ควรกินแตงโมบ้าง เพื่อเพิ่มน้ำให้ร่างกาย จะได้ปัสสาวะเร็วขึ้น 

6. ทุเรียน

โรคเก๊าท์ ห้ามกินผลไม้อะไรบ้าง

        ทุกคนรู้จักทุเรียนเป็นอย่างดี มันได้ชื่อว่าเป็น “ราชาแห่งผลไม้” จริงๆแล้วผู้ป่วยโรคเกาต์กินทุเรียนบ่อยๆดี

        ทุเรียนอุดมไปด้วยโพแทสเซียมและวิตามินซี ซึ่งโพแทสเซียมช่วยยับยั้งการตกตะกอนของกรดยูริค ส่วน วิตามินซีช่วยละลายผลึกกรดยูริคที่ตกตะกอนอยู่แล้ว ทำให้ร่างกายขับกรดยูริคออกมาได้ทัน แต่เนื่องจากทุเรียนมีน้ำตาลสูง แคลอรี่สูง เพราะงั้นอย่ากินเยอะ ห้ามกินเกินวันละ 100 กรัม

7. ซานจา

โรคเก๊าท์ ห้ามกินผลไม้อะไรบ้าง

        ซานจาเป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวๆหวานๆ อุดมไปด้วยฟลาโวนอยด์ (flavonoid) ช่วยป้องกันและรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ เพราะมันช่วยขยายหลอดเลือด เพิ่มการไหลเวียนของหลอดเลือด ช่วยให้หัวใจทำงานดีขึ้น กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง แถมยังช่วยลดไข่มันไม่ดีในเลือดได้ด้วย ลดคอเลสเตอรอล ทำให้หลอดเลือดนิ่ม ลดความเสี่ยงของโรคเกาต์

        กินซานจาวันละ 2-3 ลูก เปรี้ยวๆหวานๆ หรือจะเอามาแช่น้ำดื่ม แต่ระวังอย่าดื่มหรือกินตอนท้องว่าง เพราะจะระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร

อาหารที่คนเป็นโรคเกาต์ห้ามกิน

1. เนื้อสัตว์ : เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อแพะ และอื่นๆ

        เนื้อหมูเป็นอาหารประจำบ้าน ไม่ว่าจะต้มผัดแกงทอด มีวิธีปรุงมากมาย ซึ่งเนื้อหมูมีสตรอนเชียมสูงมาก โดยในหมู 100 กรัมมีสตรอนเชียม 150 มก. เป็นอาหารที่สามารถเพิ่มกรดยูริคในร่างกายได้โดยตรง

โรคเก๊าท์ ห้ามกินผลไม้อะไรบ้าง

2. เครื่องในสัตว์

        เครื่องในสัตว์ 100 กรัมจะมีสตรอนเชียมประมาณ 500 มก. ซึ่งจำนวนนี้มากกว่าในเนื้อหมูหลายเท่า ถือว่าเป็นอาหารที่มีสตรอนเชียมสูงที่สุด เพราะงั้นเพื่อไม่ให้เป็นโรคเกาต์กำเริบ ขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงเครื่องในสัตว์

3. อาหารทะเล

        อาหารทะเลที่พบเห็นบ่อยๆเช่น ปลาแอนโชวี่ ปลาซาร์ดีน ปลาดาบ ปลาแฮริ่ง ปลาแมคเคอเรล หอยนางรม หอยสองฝา และหอยอื่นๆ มีสตรอนเชียม >150 มก./100 ก. แนะนำให้บริโภคแต่น้อย

โรคเก๊าท์ ห้ามกินผลไม้อะไรบ้าง

        แอลกอฮอล์โดยตัวมันเองไม่ใช่เครื่องดื่มที่มีสตรอนเชียมสูง แต่การดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปจะส่งผลกระทบต่อตับและไตในการ เผาผลาญกรดยูริค ทำให้กรดยูริคเพิ่มขึ้น โรคเกาต์กำเริบ เพราะงั้นควรดื่มแอลกอฮอล์แต่น้อย

แปลและเรียบเรียงโดย LIEKR