ถ้าวัยรุ่นขาดน้ำจะเป็นอย่างไร

ปริมาณน้ำที่บุคคลหนึ่งควรได้รับควรปรับตามสุขภาพโดยรวมของบุคคลนั้นและปัจจัยต่าง ๆ เช่น สภาพอากาศ การออกกำลังกาย

Show

การคำนวณหาปริมาณน้ำในร่างกาย สามารถคำนวณปริมาณเบื้องต้นได้จาก

ถ้าวัยรุ่นขาดน้ำจะเป็นอย่างไร

การดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร?

    • ช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำ (Dehydration)

    • ช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกาย

    • ช่วยเสริมการหล่อลื่นข้อต่อส่วนต่าง ๆ

    • ช่วยป้องกันความเสียหายของเนื้อเยื่อ และอวัยวะต่าง ๆ

    • ช่วยในการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย

ถ้าวัยรุ่นขาดน้ำจะเป็นอย่างไร

แล้วอะไร? คือที่บ่งบอกสัญญาณ ของภาวะขาดน้ำ

    • อ่อนแรง

    • ความดันโลหิตต่ำ

    • เวียนศีรษะ

    • สับสน

    • ปัสสาวะสีเข้ม

อันตรายที่อาจเกิดขึ้น หากมีภาวะขาดน้ำรุนแรง

    • เป็นตะคริว อ่อนเพลีย หรือโรคลมแดด (Heatstroke)

    • เกิดการช็อกจากภาวะขาดน้ำ (Hypovolemic Shock)

    • มีอาการลมชัก กล้ามเนื้อเกร็ง หรืออาจหมดสติ

    • มีอาการสมองบวม เมื่อได้รับน้ำอีกครั้ง หลังขาดน้ำเป็นเวลานาน

    • มีอาการไตวาย เนื่องจากไม่สามารถขับของเสียออกจากร่างกายได้

    • มีอาการโคม่า และอาจเสียชีวิตได้

เคล็ด(ไม่)ลับ ทำอย่างไรให้ดื่มน้ำมากขึ้น

    • พกขวดน้ำติดตัว และพยายามเติมน้ำตลอดวัน

    • ดื่มน้ำเปล่า แทนเครื่องดื่มที่มีความหวาน

    • เลือกดื่มน้ำเปล่า เมื่อรับประทานอาหารในร้าน

    • จิบน้ำเป็นระยะ ๆ ระหว่างวัน

    • ใส่น้ำมะนาว หรือมะนาวฝานเป็นแว่น เพื่อเพิ่มรสชาติ

อ้างอิงข้อมูลจาก : Harvard Medical School, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.), Centers for Disease Control and Prevention (CDC), Mayo Clinic

แชร์บทความ คลิก

Facebook

สอบถามเพิ่มเติม โทร.1208 หรือ 055-90-9000 หรือติดตามข่าวสารและกิจกรรม

Facebook LINE_APP_iOS_RGB_2 Youtube Instagram Twitter

ถ้าวัยรุ่นขาดน้ำจะเป็นอย่างไร

‘เส้นเลือดหัวใจตีบ’ โรคที่ไม่ควรมองข้าม

โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน เกิดจาก กา…

Read more

ถ้าวัยรุ่นขาดน้ำจะเป็นอย่างไร

“ดื่มน้ำ” ตามความต้องการของร่างกาย สุขภาพดี สร้างได้ด้วยตัวเรา

บทความทางการแพทย์

“ดื่มน้ำ” ตามความต้องการของร่างกาย สุขภาพดี…

Read more

ถ้าวัยรุ่นขาดน้ำจะเป็นอย่างไร

ทำความรู้จัก โรคที่เกิดจากพฤติกรรม หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (NCDs)

ทำจนเคยชิน อาจจะทำให้เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (NCDs) โรค N…

Read more

ถ้าวัยรุ่นขาดน้ำจะเป็นอย่างไร

MFM ดูแลครรภ์คุณแม่ตั้งแต่วันแรกจนเจ้าตัวเล็กคลอด

MFM ดูแลครรภ์คุณแม่ตั้งแต่วันแรกจนเจ้าตัวเล็กคลอด &#822…

Read more

ถ้าวัยรุ่นขาดน้ำจะเป็นอย่างไร

การตรวจจิตเวชเด็กและวัยรุ่น

บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์

ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนอย่างประเทศไทย เมื่ออุณหภูมิยิ่งสูงขึ้นจึงทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ (Dehydration) ได้ง่าย ซึ่งเกิดจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอหรือการสูญเสียน้ำในร่างกายอย่างรวดเร็ว เช่น เหงื่อออกมาก อาการไข้ อาเจียน ท้องเสีย อาการปัสสาวะบ่อยขึ้นซึ่งอาจเกิดจากโรค เช่น โรคเบาหวาน หรือการเจ็บป่วย เช่น เจ็บคอ ทำให้ไม่อยากดื่มน้ำ รวมถึงการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ฯลฯ โดยภาวะขาดน้ำเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย เฉพาะอย่างยิ่งในทารก เด็ก ผู้สูงอายุ รวมถึงคนทั่วไปที่มีไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบ อาจทำให้หลายคนยุ่งจนมองข้ามการดื่มน้ำ เมื่อดื่มน้ำน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการจึงเกิดภาวะขาดน้ำโดยไม่รู้ตัวได้เช่นกัน

รวมวิธีเช็กง่าย ๆ ว่าร่างกายกำลังขาดน้ำ

รวมวิธีเช็กง่าย ๆ ว่าร่างกายกำลังขาดน้ำ

เมื่อร่างกายมีภาวะขาดน้ำในระดับเบื้องต้นจะมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปากแห้ง อยากกินน้ำตาล ท้องผูก ปัสสาวะสีเข้ม เป็นต้น แต่หากขาดน้ำอย่างรุนแรงอาจนำไปสู่โรคลมแดด (Heat stroke) และอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นเราขอชวนทุกคนมาเช็กว่าร่างกายขาดน้ำอยู่หรือไม่? ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้

1. ปัสสาวะน้อยลงและสีเข้มกว่าปกติ (Urine Color Chart)

ให้สังเกตความถี่ในการปัสสาวะ ถ้าน้อยกว่า 4 – 6 ชั่วโมง / 1 ครั้ง หรือน้อยกว่า 4 ครั้ง / วัน อาจบ่งบอกว่าร่างกายขาดน้ำอยู่ และสังเกตจากสีของปัสสาวะ ควรเป็นสีเหลืองใส หากปัสสาวะสีเข้มมากกว่าปกติ หรือถ้ามีภาวะท้องผูกก็อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าอาจขาดน้ำเช่นกัน

2. เช็กความยืดหยุ่นผิวหนัง (Skin pinch test)

เมื่อผิวขาดน้ำจะมีความยืดหยุ่นน้อยกว่าปกติ ให้ดึงหนังที่บริเวณหลังมือขึ้นมาแล้วปล่อย ถ้าผิวสามารถเด้งกลับมาอยู่ที่เดิมได้ภายใน 2 – 3 วินาทีถือว่าปกติ แต่ถ้าใช้เวลานานกว่านั้นอาจเป็นสัญญาณว่าร่างกายกำลังมีภาวะขาดน้ำได้ รวมถึงอาการผิวขาดน้ำ คือมีผิวแห้งเป็นหย่อม ๆ ซึ่งผิวบริเวณนั้นอาจมีลักษณะหยาบ เป็นขุย หรือคัน บางครั้งอาจมีริ้วรอย ผิวหมองคล้ำได้ แต่ความแม่นยำของวิธีการทดสอบนี้ขึ้นอยู่กับอายุด้วย จากรายงานในปี 2015 พบว่าการทำ Skin pich test เพื่อทดสอบการขาดน้ำ ไม่ค่อยแม่นยำในผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป จึงต้องประเมินร่วมกับวิธีอื่น ๆ 

3. เช็กการหมุนเวียนเลือดบริเวณปลายนิ้ว (Capillary refill time: CRT) 

ให้บีบบริเวณปลายนิ้วค้างไว้ 2 – 3 วินาที (เล็บจะกลายเป็นสีขาว) แล้วปล่อยออก เล็บจะค่อย ๆ กลับมามีสีชมพูเหมือนเดิมภายใน 3 วินาที แต่หลังปล่อยแล้วเกิน 3 วินาที เล็บยังเป็นสีขาวซึ่งบ่งบอกว่าเลือดมีความเข้มข้น ของเหลวในร่างกายไหลเวียนได้ไม่ดีเท่าที่ควร จึงอาจเป็นสัญญาณว่าร่างกายขาดน้ำได้ วิธีนี้เป็นการเช็กในระดับเบื้องต้น ควรต้องประเมินร่วมกับวิธีอื่น ๆ เพราะมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น อุณหภูมิสิ่งแวดล้อม ความสว่างของแสงไฟ ตำแหน่งและแรงที่กด 

4. สังเกตสัญญาณอื่นๆ

หากร่างกายขาดน้ำนอกจากอาการอ่อนเพลีย เวียนหัว ปัสสาวะสีเข้ม ฯลฯ อาจมีสัญญาณอื่น ๆ ที่เราสังเกตได้ เช่น มีกลิ่นปาก เนื่องเมื่อเกิดภาวะขาดน้ำจะทำให้ร่างกายผลิตน้ำลายซึ่งช่วยต้านแบคทีเรียลดลง ส่งผลให้เกิดกลิ่นปาก ซึ่งคล้ายกับช่วงเวลาตื่นนอนที่เรามักมีกลิ่นปากเพราะเวลากลางคืนร่างกายจะผลิตน้ำลายช้าลง ดังนั้นหากมีอาการปากแห้งและมีกลิ่นปากมากกว่าปกติ อาจเป็นสัญญาณเตือนภาวะขาดน้ำ รวมถึงอาการปวดศีรษะหรือไมเกรนก็อาจเกิดจากการขาดน้ำได้เช่นกัน 

ดื่มน้ำสะอาดไม่เพียงพอ อันตรายกว่าที่คิด

น้ำในร่างกายมีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งช่วยรักษาอุณหภูมิ ช่วยสร้างสมดุลแร่ธาตุ ช่วยนำสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วยให้ผิวพรรณมีความยืดหยุ่น รวมไปถึงเป็นส่วนประกอบที่ช่วยหล่อลื่นข้อต่อ ถ้าหากดื่มน้ำเพียงพอยังมีผลดีช่วยส่งเสริมความจำ การทำงานของสมอง และอารมณ์ด้วย แต่ถ้าร่างกายขาดน้ำหรือดื่มน้ำไม่สะอาด คุณภาพน้ำไม่ดี อาจเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคและอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น 

1. โรคลมแดดหรือโรคลมร้อน เพราะเมื่อร่างกายเสียน้ำมาก เลือดของเราจะหนืดและข้นขึ้น กระทบต่อระบบไหลเวียนเลือดทั่วร่างกายมีผลต่อหัวใจ ระบบประสาท สมอง อาจเกิดอาการสับสน เพ้อ ชักเกร็ง หมดสติ รวมถึงส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกายและมีอันตรายถึงชีวิตได้ 

2. โรคท้องร่วงหรือท้องเสีย หมายถึงการถ่ายเหลวเกิน 3 ครั้งขึ้นไป อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดบิดในท้อง อาเจียน ท้องอืด คลื่นไส้ จะมีโอกาสเกิดสูงจากน้ำหรืออาหารที่ไม่สะอาด หรือบูดเสีย ซึ่งถ้าท้องร่วงจะทำให้เกิดภาวะขาดน้ำหรือเกลือแร่ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการ อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ปวดศีรษะ วิงเวียน 

3. โรคนิ่วในไต ถ้าร่างกายขาดน้ำบ่อย ๆ อาจจะทำให้เกิดนิ่วในไตและท่อไตได้ ซึ่งก้อนนิ่วคือการตกตะกอนหรือตกผลึกของหินปูนหรือเกลือแร่ต่าง ๆ ในไต หรือในปัสสาวะ มีลักษณะคล้ายก้อนกรวด ซึ่งส่งผลให้ผู้ที่เป็นมีอาการปวดรุนแรง ปวดแสบขณะที่ปัสสาวะ คลื่นไส้ อาเจียน และมีไข้

4. ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมอง จากรายงานวิจัยของทีมนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งจอร์เจีย (GIT) ของสหรัฐฯ พบว่า หากร่างกายขาดน้ำเล็กน้อย เพียง 2% ของดัชนีมวลกาย หรือเทียบเท่ากับการเสียเหงื่อประมาณ 1 ลิตร ซึ่งการขาดน้ำระดับนี้ไม่ได้ทำให้คนรู้สึกกระหาย แต่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมองได้ลดลง การสร้างสมาธิ และการประสานงานของระบบประสาทสั่งการที่ควบคุมให้ร่างกายเคลื่อนไหวแล้ว

5 ทริกดื่มน้ำสุดเวิร์ก อากาศร้อนแค่ไหน ก็ห่างไกลภาวะขาดน้ำ

ความต้องการน้ำของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสุขภาพ อายุ ส่วนสูงและน้ำหนัก รวมถึงกิจกรรมในแต่ละวัน ประเภทของงานที่ทำ และสภาพอากาศในบริเวณที่อยู่ เราสามารถคำนวณปริมาณน้ำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน ได้โดยใช้เพียงแค่น้ำหนักตัวของเราเท่านั้นเอง สูตรคือ น้ำหนัก (กิโลกรัม) คูณด้วย 2.2 คูณด้วย 30 หารด้วย 2 จะได้เป็นปริมาณน้ำเป็นมิลลิลิตรที่เราควรดื่มใน 1 วัน ยกตัวอย่างเช่น น้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม × 2.2 × 30 / 2 จะเท่ากับ 1,650 มิลลิลิตร หรือหากไม่ต้องการคำนวณ สำหรับคนทั่วไปแล้วแนะนำให้ดื่มน้ำอย่างน้อย 2 ลิตร หรือ 8 แก้วต่อวัน ดังนั้น เราจึงมีทริกง่าย ๆ ที่จะช่วยให้ทุกคนดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการต่อวัน คือ 

5 ทริกดื่มน้ำสุดเวิร์ก

1. สร้างนิสัยการดื่มน้ำเปล่าตามช่วงเวลา 

ในผู้ใหญ่ควรดื่มน้ำให้ได้ประมาณ 2 ลิตร หรือประมาณ 8 แก้วต่อวัน และอาจดื่มให้มากขึ้นเมื่อต้องสูญเสียน้ำเพิ่ม เช่น เล่นกีฬา มีไข้ ท้องเสีย ฯลฯ เราจึงมีเทคนิคง่าย ๆ ในการดื่มน้ำให้ครบ 8 แก้วต่อวัน ด้วย สูตร 1 3 3 1 โดย 

  • ตื่นนอน ดื่มน้ำเปล่า 1 แก้ว
  • ก่อนอาหาร 3 มื้อ ดื่มน้ำเปล่า 1 แก้ว
  • หลังอาหาร 3 มื้อ ดื่มน้ำเปล่า 1 แก้ว
  • ก่อนนอน ดื่มน้ำเปล่า 1 แก้ว 

รวมถึงการเตรียมน้ำดื่มใส่ภาชนะที่คุณสามารถพกติดตัวได้ ที่สามารถจิบน้ำได้ตลอดทั้งวัน โดยไม่ต้องรอให้รู้สึกกระหายน้ำ อาจเลือกกระติกน้ำที่บอกเวลาและปริมาณน้ำเอาไว้ เพราะยิ่งทำให้เรามีแรงผลักดันที่จะดื่มน้ำให้หมดขวดได้ง่ายขึ้น หรือใช้ขวดน้ำขนาดเล็กลงมา ขนาด 600 มล. แต่หมั่นเติมอย่างน้อยสัก 3 ครั้ง / วัน นอกเหนือจากนี้เราควรเลือกน้ำดื่มที่มั่นใจในความสะอาด ไม่มีรสไม่มีกลิ่น เพื่อป้องกันสิ่งเจือปนหรือสิ่งสกปรกที่เป็นอันตราย จะช่วยที่ทำให้เซลล์ต่าง ๆ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีระบบไหลเวียนเลือดที่ดีขึ้น และควรเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม ฯลฯ เพราะจะทำให้ได้รับพลังงานและน้ำตาลเกินได้ 

2. กินผักผลไม้ที่มีน้ำเยอะ

เพื่อให้ร่างกายรับน้ำได้มากขึ้น โดยเลือกกินผักและผลไม้ที่มีน้ำเยอะ รสชาติหวานน้อย เช่น แตงกวา มะเขือเทศ บวบ แตงโม มะละกอ คะน้า สตรอเบอร์รี เป็นต้น น้ำในผักผลไม้ช่วยทดแทนน้ำที่ร่างกายสูญเสียไปจากอากาศร้อน แถมผักผลไม้ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดการอักเสบผิวที่ถูกแสงแดดเผา 

3. เลือกช่วงเวลาทำกิจกรรมนอกบ้าน

หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งในช่วงเวลาที่แดดจัดตั้งแต่ 10.00 – 15.00 น. ควรการอยู่ในบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้ดี เลี่ยงการอยู่ในที่ร้อนอบอ้าว เป็นเวลานาน เพราะร่างกายสูญเสียน้ำในปริมาณมากอย่างรวดเร็ว อาจทำให้เป็นลมแดดหรือลมร้อนได้  

4. พักจิบน้ำระหว่างออกกำลังกาย

เมื่อต้องออกกำลังกายกลางแจ้งหรือใช้ชีวิตกลางแจ้ง ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่อึดอัด ระบายอากาศได้ดี ไม่ควรออกกำลังกายอย่างหักโหมเกินไปเพราะจะทำให้ร่างกายระบายความร้อนออกทางผิวหนังอย่างรวดเร็ว และดื่มน้ำตามคำแนะนำ ดังนี้ 

  • ก่อนออกกำลังกาย 30 นาที ควรดื่มน้ำให้ร่างกาย 1 – 2 แก้ว
  • ขณะออกกำลังกาย ทุก ๆ 30 นาที หมั่นจิบน้ำประมาณ 1.25 แก้ว หรือ น้ำดื่ม 1 ขวดเล็ก
  • หลังออกกำลังกาย อาจจะเลือกดื่มน้ำเย็น ที่ช่วยให้รู้สึกสดชื่นและอุณหภูมิลดลงเป็นปกติได้โดยเร็ว เพราะเมื่อเราอยู่ในสถานที่อุณหภูมิสูงหรืออากาศร้อนอบอ้าวมากกว่าปกติ การดื่มน้ำเย็นจะช่วยป้องกันตัวเราจากการเป็นลมแดดได้ 

5. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ / ลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน จะทำให้หลอดเลือดขยายตัว ส่งผลให้กลไกในร่างกายจะขับน้ำออกเร็วขึ้น ร่างกายจึงมีเหงื่อออกมากกว่าปกติและปัสสาวะบ่อยขึ้น จนอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้

จะเห็นได้ว่าการดื่มน้ำเปล่ามีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าที่คิด ดังนั้นควรหมั่นดื่มน้ำตลอดวันตามทริกที่เรานำมาฝาก โดยไม่ต้องรอให้รู้สึกกระหายน้ำเสียก่อน และควรเลือกน้ำดื่มที่มั่นใจในความสะอาดอย่างเนสท์เล่ เพียวไลฟ์ ที่ผ่านกระบวนการผลิตมาตรฐานเนสท์เล่ที่มีการควบคุมคุณภาพ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ร่างกายมีสมดุลน้ำและแร่ธาตุ ลดความเสี่ยงจากภาวะขาดน้ำ รวมถึงควรดูแลสุขภาพให้ครบทุกด้านทั้งการกิน อ.อาหาร ที่มีประโยชน์ อ.ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ และดูแล อ.อารมณ์ ให้แจ่มใส ซึ่งทุกคนสามารถดูเคล็ดลับใส่ใจสุขภาพที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน #3อ.MEสไตล์ คลิก ที่สามารถเริ่มต้นทำได้ทันทีเพื่อร่างกายแข็งแรงตั้งแต่วันนี้

การขาดน้ำจะส่งผลให้เกิดอาการใด

เมื่อร่างกายขาดน้ำจะทำให้เซลล์เนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ รวมถึงอาจกระตุ้นให้เกินภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้ เช่น ตะคริวแดด ลมแดด สมองบวมเนื่องจากสมองจะดึงน้ำเข้าเซลล์จำนวนมาก และยังส่งผลกระทบถึงไตและระบบทางเดินปัสสาวะได้ เช่น การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต หรือไตวาย และหากเกิดภาวะขาดน้ำ ...

ร่างกายขาดน้ำทำอย่างไร

การรักษา สามารถทำได้ด้วยการเพิ่มหรือชดเชยปริมาณของเหลวในร่างกาย โดยการดื่มน้ำที่มีส่วนผสมของเกลือแร่ หรือดื่มควบคู่กับน้ำเปล่า แพทย์อาจให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะขาดน้ำจากอาการอาเจียนและท้องเสียที่ไม่สามารถดื่มน้ำผสมเกลือแร่ได้ และควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ ...

การขาดน้ำ (Dehydration) ทำให้เกิดลักษณะอย่างไร

ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) คือ ภาวะที่สูญเสียน้ำในร่างกายมากกว่าที่ได้รับ ร่างกายจึงมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น มักจะมีอาการคอแห้ง หิวน้ำ และปัสสาวะออกมาเป็นสีเข้ม สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัย แต่ผู้ที่ควรระมัดระวัง และต้องคอยดูแลอย่างเป็นพิเศษคือ ผู้สูงอายุวัยชรา และเด็กที่ยังอายุน้อยๆ หรือทารก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูร้อนแบบนี้ ...

เหตุการณ์ใดบ้างที่ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ

การที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไป อยู่ในที่อากาศร้อนเป็นเวลานาน เหงื่ออกมากจากการออกกำลังกายเป็นเวลานาน เหงื่อออกมาในผู้ที่มีไข้สูง หรือมีภาวะติดเชื้อ ปัสสาวะมากผิดปกติในผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่ใช้ยาขับปัสสาวะ ใช้ยาความดันโลหิต รวมถึงผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก