บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม คืออะไร

เมื่อเราต้องเดินทางไปต่างประเทศ เราควรพิจารณาว่าบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต บัตรไหนจะดีกว่ากัน ลองดูข้อแตกต่างของการใช้งานบัตรสองชนิดนี้เวลาเราเดินทางไปต่างประเทศกันครับ

ประการแรกเลย คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าบัตรเอทีเอ็มของคุณเป็นแค่บัตรเอทีเอ็มธรรมดา กดเงินจากตู้ได้อย่างเดียว หรือบัตรเดบิต ที่สามารถใช้งานรูดได้เหมือนบัตรเครดิต แต่จะเป็นการหักเงินจากบัญชีโดยตรงแทนการใช้เครดิต?

(หากยังไม่แน่ใจความแตกต่างระหว่างบัตรเครดิตและบัตรเดบิต อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่)

สังเกตได้ง่าย ๆ คือ ดูหน้าบัตรว่าบัตรของคุณมีโลโก้ Visa หรือ PLUS หรือ MasterCard หรือไม่ ถ้ามีบัตรของคุณสามารถใช้ได้กับตู้เอทีเอ็ม และใช้รูดซื้อของแบบบัตรเครดิตได้เหมือนกัน หากไม่แน่ใจ ลองติดต่อธนาคารผู้ออกบัตรเพื่อสอบถามว่าบัตรของคุณเป็นประเภทไหน และสามารถนำไปใช้ในต่างประเทศได้หรือไม่ จะมีค่าใช้จ่ายอะไร อย่างไรบ้าง

หากคุณพกบัตรเดบิตไปใช้ที่ต่างประเทศ

ส่วนใหญ่แล้วบัตรเดบิตทำงานเหมือนเป็นบัตรเอทีเอ็ม แต่มีวิธีการใช้งานที่พิเศษเพิ่มมาอีกหนึ่งอย่าง คือ สามารถใช้รูดเหมือนบัตรเครดิตได้ แต่แทนที่จะเป็นการใช้เครดิต จะเป็นการหักเงินคงเหลือจากในบัญชีที่ผูกอยู่กับบัตรเดบิตนั้นแทน

ทั้งนี้ มีข้อจำกัดว่าจะสามารถเบิกเงินสดได้สูงสุด 100,000 บาทต่อบัตร/ต่อวัน โดยสามารถเบิกเงินจากตู้เอทีเอ็มได้สูงสุดไม่เกินวันละ 10 ครั้ง และสามารถใช้บัตรเดบิตกดเงินสดทั้งจากตู้เอทีเอ็มของธนาคาร หรือต่างธนาคารก็ได้ ดังนั้นเราสามารถนำบัตรเดบิตไปใช้ในต่างประเทศได้ แต่หากเป็นการกดเงินในต่างประเทศ ทางธนาคารจะทำการลดจำนวนครั้งที่สามารถเบิกถอนเงินสดต่อวันลงเพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยให้เจ้าของบัตรในอีกทางหนึ่ง ส่วนจะเหลือกี่ครั้งต่อวันนั้นจะต้องสอบถามธนาคารที่คุณมีบัญชีอยู่เพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม

ที่สำคัญอย่าลืมถ่ายสำเนาบัตร และช่องทางติดต่อธนาคารเจ้าของบัตรพกติดตัวไว้เผื่อกรณีฉุกเฉินต้องขอความช่วยเหลือ จะได้สะดวกครับ

ส่วนกรณีที่คุณต้องการใช้บัตรเดบิตในการชำระค่าสินค้า ค่าบริการต่าง ๆ ที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศ คุณจะถูกคิดค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงินเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงฯ ในการใช้บัตร ส่วนอัตราการคิดค่าความเสี่ยงจะต้องติดต่อสอบถามธนาคารเจ้าของบัตรเพื่อขอข้อมูลส่วนนี้เพิ่มเติมอีกครั้งครับ

หากคุณเลือกใช้บัตรเครดิตที่ต่างประเทศ

จะไปเที่ยวต่างประเทศทั้งทีจะพกเงินสดอย่างเดียวก็เสียวไส้ ยังไงก็ต้องพกบัตรเครดิตติดตัวไปด้วย แต่เราไม่ควรห่วงเที่ยวจนลืมใส่ใจเรื่องความปลอดภัย และการใช้งานบัตรเครดิตกันนะครับ

เมื่อเราจะเดินทางไปต่างประเทศแล้วนำบัตรเครดิตไปใช้ชำระค่าสินค้า หรือค่าบริการต่าง ๆ หากเราไม่ได้แจ้งบริษัทผู้ออกบัตรเครดิตให้เราไว้ เราอาจโดนระงับบัตรโดยไม่รู้ตัว เพราะบริษัทอาจคิดว่าบัตรถูกขโมย เนื่องจากอยู่ ๆ ก็มีการนำไปใช้ที่ต่างประเทศนั่นเอง ดังนั้นอย่าลืมแจ้งบริษัทก่อนนะครับว่าจะเดินทางไปเที่ยวที่ไหน ไม่อย่างนั้นจะหมดสนุกเอาได้ง่าย ๆ

การนำเอาบัตรเครดิตไปใช้ต่างประเทศอาจจะมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติมขึ้นมา เพราะบัตรเครดิตของแต่ละบริษัทก็มีบริการที่ต่างกันไป บางครั้งคุณอาจจะต้องเสียค่าธรรมเนียมไม่เท่ากันระหว่างที่ใช้บัตรในประเทศกับต่างประเทศ ดังนั้นการสอบถามรายละเอียดส่วนนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเช่นกันครับ

อีกเรื่องที่เหมือนกับบัตรเดบิต คือ เราต้องมั่นใจว่าเราสามารถติดต่อธนาคารได้แม้เราจะอยู่ต่างประเทศ และอย่าลืมถ่ายสำเนาบัตรเครดิตพกติดตัวเอาไว้เพื่อความอุ่นใจด้วยนะครับ

การใช้งานบัตรเครดิต บางคนรูดง่าย เซ็นคล่อง ดังนั้นการจดทำรายการการใช้บัตรเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำอีกอย่าง เพื่อที่ว่าเราจะได้เห็นตัวเลขเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเราใช้ไปแค่ไหนแล้ว งบเรามีเท่าไหร่ จะได้ไม่ใช้เงินเกินงบ กลับบ้านมาแทนที่จะสบายใจ จะกลายเป็นหนี้หนักเข้าไปใหญ่นะครับ

ควรพกเงินสดสำรองเผื่อฉุกเฉิน

 

ไม่ว่าคุณจะใช้บัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต แต่เมื่อไปต่างประเทศ บ้านไม่คุ้น เมืองไม่เคย สิ่งสำคัญอีกอย่าง คือ การวางแผนเผื่อเหตุฉุกเฉินนั่นเอง หากบังเอิญบัตรเครดิตถูกขโมยไปจริง ๆ อย่างน้อยเราก็มีเงินสดสำรองเอาไว้ส่วนหนึ่งเพื่อติดตัวไว้ใช้จนกว่าจะได้บัตรใหม่ หรือมีบัตรเดบิตติดตัวไปอีกใบแล้วเอาไว้ใช้ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ หรือใช้บัตรเดบิต แต่ว่ามีบัตรเครดิตเอาไว้เป็นทุนฉุกเฉิน อย่างนี้เป็นต้นครับ

 

อย่าลืมนะครับ บัตรเดบิต และบัตรเครดิตบางใบ ก็ไม่สามารถใช้ได้ในต่างประเทศ ทางที่ดีตรวจสอบกับทางธนาคารตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนจะเดินทางเพื่อความรอบคอบจะดีที่สุดครับ

​ เช่น การออมโดยการหยอดกระปุกออมสิน เพื่อเก็บเงินที่เหลือจากค่าขนม หรือเงินที่ญาติผู้ใหญ่ให้มาไว้เป็นทุนการศึกษา ซึ่งผู้ปกครองอาจพาเด็กไปเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์  หรือสถานศึกษากำหนดให้เปิดบัญชีควบคู่กับการทำบัตรนักเรียนหรือบัตรนักศึกษา ซึ่งในปัจจุบันมักเป็นบัตรที่ออกร่วมกับสถาบันการเงิน เพื่อใช้เป็นบัตรเอทีเอ็ม/บัตรเดบิต หรือบัตร e-Money ในบัตรเดียวกัน สำหรับนักเรียนนักศึกษาที่ต้องการเรียนต่อในชั้นที่สูงขึ้นไปแต่ติดขัดปัญหาทางการเงินก็อย่าเพิ่งย่อท้อต่ออุปสรรค เพราะ

จากบทความที่แล้ว ที่ว่าด้วยเรื่อง "ความแตกต่างระหว่างบัตรเครดิต กับบัตรกดเงินสด" ทำให้หลายๆ คนมีคำถามต่อมาอีกว่า อ้าว! แล้ว "บัตรเครดิต (Credit Card)" กับ "บัตรเดบิต (Debit Card)" ล่ะ ต่างกันยังไง? ถ้าต้องการจะรูดซื้อของสักชิ้น หรือจ่ายค่าบริการอะไรสักอย่าง ควรเลือกใช้อันไหนดี... และเพื่อให้ความกระจ่างกับเพื่อนๆ วันนี้เราก็ได้รวบรวมทุกข้อแตกต่างระหว่างบัตรเครดิตและบัตรเดบิตมาให้ได้ดูกัน งานนี้บอกได้เลยว่าไขข้อข้องใจในทุกคำถามได้อย่างหมดเปลือกเลยทีเดียว

บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม คืออะไร

ภาพตัวอย่างบัตรเครดิต และบัตรเดบิต ของธนาคารออมสิน

1. บัตรเครดิตจ่ายทีหลัง VS บัตรเดบิตตัดเงินเลย

บัตรเครดิต (Credit Card)

บัตรเดบิต (Debit Card)

  • มีวงเงินอยู่ในบัตรฯ ที่เราสามารถใช้ในการรูดซื้อสินค้า หรือผ่อนสินค้า หรือชำระค่าบริการต่างๆ ได้ โดยจะใช้ได้ไม่เกินวงเงินในบัตรเครดิตที่สถาบันการเงินผู้ออกบัตรอนุมัติให้ พูดง่ายๆ คือ เหมือนเป็นการใช้เงินในอนาคต เพราะยังไม่ต้องจ่ายในทันทีที่รูด แต่ต้องตามไปจ่ายทีหลัง ณ วันที่สถาบันการเงินผู้ออกบัตรฯ เรียกเก็บ 
  • เป็นบัตรที่ link กับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ หรือบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน สามารถใช้ในการกดถอนเงินสดออกจากตู้ ATM และยังสามารถใช้ในการรูดซื้อสินค้า หรือชำระค่าบริการต่างๆ ได้ เหมือนเป็นการชำระด้วยเงินสด เพียงแต่ผ่านรูปแบบของการ์ดเท่านั้นเอง เมื่อใดที่เรารูดซื้อของ เงินจะถูกหักจากบัญชีเงินฝากที่เราผูกไว้กับบัตรเดบิตทันที

2. บัตรเครดิตสมัครยาก VS บัตรเดบิตสมัครง่าย

บัตรเครดิต (Credit Card)

บัตรเดบิต (Debit Card)

ในส่วนของการสมัครบัตรเครดิตนั้นบอกได้ว่า "ค่อนข้างยาก" เพราะแบ่งเกณฑ์ของการสมัครออกเป็น 2 แบบคือ

  • แบบที่ใช้เกณฑ์รายได้ประจำในการสมัคร โดยที่ผู้สมัครนั้นจะต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ประจำ หรือเจ้าของกิจการ ซึ่งจะต้องมีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป ต่อเดือน ส่วนจะได้รับการอนุมัติบัตรเครดิตหลังจากยื่นเอกสารไปแล้วหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับข้อมูลทางเครดิตของแต่ละคน รวมถึงข้อกำหนดและเงื่อนไขการพิจารณาของแต่ละสถาบันการเงินอีกด้วย
  • แบบที่ใช้เกณฑ์เงินฝากในการสมัคร กรณีนี้ใช้สำหรับผู้ที่ไม่ได้ทำงานประจำ ที่จะไม่มีเอกสารแสดงรายได้ เป็นการสมัครโดยใช้การค้ำประกันเงินฝาก (Deposit Pledge) โดยผู้สมัครจะต้องมีบัญชีเงินฝากกับธนาคารที่ต้องการสมัครบัตรเครดิตเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป
  • การสมัครบัตรเดบิตนั้น "ง่ายและรวดเร็ว" กว่าการสมัครบัตรเครดิตอยู่มาก เพราะเพียงแค่ผู้สมัครมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ หรือบัญชีเงินฝากกระแสรายวันอยู่กับธนาคาร ก็สามารถยื่นเอกสารแสดงตน (บัตรประจำตัวประชาชน) และสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ก็จะได้รับบัตรเดบิตในทันทีที่ทำการสมัครเสร็จเรียบร้อย

3. บัตรเครดิตกำหนดคุณสมบัติผู้สมัครเยอะ VS บัตรเดบิตแทบไม่มี

บัตรเครดิต (Credit Card)

บัตรเดบิต (Debit Card)

คุณสมบัติขั้นพื้นฐานของผู้ที่ต้องการสมัครบัตรเครดิต มีดังนี้

  • เป็นบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้มีรายได้ประจำ เช่น พนักงานบริษัทเอกชน, ข้าราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะต้องมีฐานรายได้เข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาด้วย ซึ่งกำหนดขั้นต่ำไว้ที่ 15,000 บาทขึ้นไป ต่อเดือน และต้องเป็นพนักงานประจำตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
  • เป็นบุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของกิจการ จะต้องมีรายได้หมุนเวียนของบริษัทในแต่ละเดือนตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป และต้องดำเนินกิจการมาไม่ต่ำกว่า 1 ปี ตามเงื่อนไขที่แต่ละธนาคารกำหนด
  • ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป และต้องมีเงินหมุนเวียนในบัญชีตามเงื่อนไขที่แต่ละธนาคารกำหนด
  • อายุของผู้สมัครบัตรเครดิต
    - ผู้สมัครบัตรหลัก ต้องมีอายุตั้งแต่ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และ
    - ผู้สมัครบัตรเสริม ต้องมีอายุตั้งแต่ 15 - 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
คุณสมบัติขั้นพื้นฐานของผู้ที่ต้องการสมัครบัตรเดบิต มีดังนี้
  • เป็นบุคคลธรรมดา ที่มีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ หรือบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคาร โดยไม่มีการกำหนดรายได้ขั้นต่ำในการสมัครบัตรเดบิต
  • อายุของผู้สมัคร ตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

4. บัตรเครดิตมีบัตรหลักแค่ 1 VS บัตรเดบิตมีได้มากกว่า 1

บัตรเครดิต (Credit Card)

บัตรเดบิต (Debit Card)

  • ผู้ถือบัตรเครดิต สามารถถือบัตรหลักได้เพียง 1 บัตรเท่านั้น ภายใต้ชื่อ - นามสกุล ของตนเอง แต่สามารถมีบัตรเสริมได้ไม่เกิน 4 บัตร หรือบางธนาคารอาจมีได้มากกว่า 4 บัตร โดยวงเงินในบัตรจะรวมกันทั้งบัตรหลักและบัตรเสริม ตามจำนวนบัตรทั้งหมดที่มี
  • บัญชีเงินฝาก 1 บัญชี สามารถทำบัตรเดบิตได้หลายใบ โดย link กับบัญชีเงินฝากนั้นๆ เพียงบัญชีเดียว นั่นหมายความว่า ผู้สมัคร 1 ท่าน สามารถมีบัตรเดบิตกี่ใบก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้ชื่อ - นามสกุล ของเจ้าของบัญชีเพียงชื่อเดียว

5. บัตรเครดิตไม่ค่อยชาร์จค่าธรรมเนียม VS บัตรเดบิตชาร์จเสมอ

บัตรเครดิต (Credit Card)

บัตรเดบิต (Debit Card)

ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตนั้นแบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ

  • ค่าธรรมเนียมแรกเข้า บางธนาคารก็ "ฟรี" แต่อาจมีบางธนาคารที่ไม่ฟรี หรืออาจจะฟรีโดยมีเงื่อนไข เช่น อาจจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์บางอย่าง
  • ค่าธรรมเนียมรายปี บางธนาคารก็ "ฟรี" แบบไม่มีเงื่อนไข ส่วนที่ต้องจ่ายก็มีตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักหมื่น ซึ่งบางธนาคารก็สามารถยกเว้นค่าธรรมเนียมได้ โดยมีเงื่อนไขในการใช้จ่ายผ่านบัตรให้ครบตามจำนวนเงินที่กำหนดต่อปี
ค่าธรรมเนียมบัตรเดบิตก็มี 2 อย่าง เช่นเดียวกับบัตรเครดิต แต่จะต่างกันในเรื่องของการยกเว้นค่าธรรมเนียม ดังนี้
  • ค่าธรรมเนียมแรกเข้า โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้สมัครจะต้องเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้าประมาณ 100 บาท ไม่เกิน 1,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมรายปี ไม่สามารถทำการยกเว้นได้ เพราะถ้าหากไม่จ่ายค่าธรรมเนียมรายปี บัตรเดบิตจะไม่สามารถใช้งานได้ ในการจ่ายค่าธรรมเนียมรายปี ธนาคารจะทำการหักจากบัญชีที่ผูกกับบัตรเดบิตเพื่อชำระอัตโนมัติ

6. บัตรเครดิตดอกเบี้ยแพง VS บัตรเดบิตไม่มีดอกเบี้ย

บัตรเครดิต (Credit Card)

บัตรเดบิต (Debit Card)

  • อัตราดอกเบี้ย : กำหนดสูงสุดให้ไม่เกิน 18 - 20% ต่อปี ซึ่งจะเสียดอกเบี้ยเมื่อผู้ถือบัตรเครดิตทำการผ่อนชำระขั้นต่ำตั้งแต่ 10% ของยอดชำระเต็มจำนวน หรือทำการชำระค่าบัตรเครดิตล่าช้าเกินระยะเวลาที่ธนาคารกำหนด
  • ค่าธรรมเนียมในการกดเงินสด : กรณีทำการถอนเงินสดออกจากตู้ ATM หรือ เครื่องรูดบัตร EDC ที่สาขาธนาคาร จะเสียค่าธรรมเนียม 3% ของยอดเงินที่กดหรือรูดออกมา พร้อมเสียค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อีก 7%
  • อัตราดอกเบี้ย : บัตรเดบิตไม่มีอัตราดอกเบี้ย ทั้งในการถอนเงินสด และในการรูดซื้อสินค้า
  • ค่าธรรมเนียมในการกดเงินสด : ในการเบิกถอนเงินสดจากตู้ ATM นั้นจะแบ่งการคิดค่าธรรมเนียมออกเป็น 4 กรณี ดังนี้
    - หากเบิกถอนที่ตู้ ATM ของธนาคารเจ้าของบัตร ภายในเขตสำนักหักบัญชีเดียวกัน (ภายในเขตจังหวัดเดียวกัน) จะ "ฟรี" ค่าธรรมเนียม โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งในการกดเงิน
    - หากเบิกถอนที่ตู้ ATM ของธนาคารเจ้าของบัตร แต่อยู่นอกเขตสำนักหักบัญชีเดียวกัน (ต่างจังหวัด) จะเสียค่าธรรมเนียม โดยมีอัตราการคิดตามเงื่อนไขที่แต่ละธนาคารกำหนด
    - หากเบิกถอนที่ตู้ ATM ของต่างธนาคาร ภายในเขตสำนักหักบัญชีเดียวกัน (ภายในเขตจังหวัดเดียวกัน) จะ "ฟรี" ค่าธรรมเนียมในการกดเพียง 4 ครั้ง/ เดือนเท่านั้น และตั้งแต่ครั้งที่ 5 เป็นต้นไป จะเสียค่าธรรมเนียมตามเงื่อนไขที่แต่ละธนาคารกำหนด
    - หากเบิกถอนที่ตู้ ATM ต่างธนาคาร และอยู่นอกเขตสำนักหักบัญชีเดียวกัน (ต่างจังหวัด) จะเสียค่าธรรมเนียมการเบิกถอนตามเงื่อนไขที่แต่ละธนาคารกำหนดเช่นกัน

7. บัตรเครดิตมีโครงข่ายชำระเงินมากกว่า VS บัตรเดบิตน้อยกว่า

บัตรเครดิต (Credit Card)
บัตรเดบิต (Debit Card)

  • โครงข่ายชำระเงินของบัตรเครดิต จะแบ่งออกเป็น 6 ประเภท คือ Visa Card, MasterCard, JCB, Unionpay, American Express และ Virtual
    ทั้งนี้ บัตรเครดิตจะเป็นบัตรประเภทใด ขึ้นอยู่กับการร่วมกันระหว่างสถาบันการเงินผู้ออกบัตรเครดิต กับบริษัทโครงข่ายการชำระเงินของบัตรเครดิตนั้นๆ 
  • โครงข่ายชำระเงินของบัตรเดบิต ในปัจจุบันจะมีเพียง 3 ประเภท คือ Visa Card, MasterCard ที่นิยมใช้กันมาก และ Unionpay จะมีเพียงบางธนาคารเท่านั้น จะเห็นว่าโครงข่ายชำระเงินของบัตรเดบิตนั้นมีน้อยกว่าบัตรเครดิต และในเรื่องของการนำไปใช้งาน ณ ร้านค้าต่างๆ ก็อาจจะยังไม่ครอบคลุมเท่าบัตรเครดิต

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้... จะทำให้เห็นข้อแตกต่างของทั้งสองบัตรได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการใช้งาน และองค์ประกอบโดยรวมที่แตกต่างกัน และขอแนะนำว่าใครที่คิดจะมีบัตรเครดิต ก็คงต้องคิดให้ดีก่อนนิดนึงนะคะ เพราะค่อนข้างอันตรายกว่าการใช้บัตรเดบิตอยู่มาก แต่ถ้าหากรู้จักเลือกใช้บัตรเครดิตอย่างระมัดระวัง รู้จักควบคุมและประมาณตน ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากทีเดียว และสำหรับใครที่คิดว่ายังไม่พร้อมที่จะมีบัตรเครดิต ก็ลองเลือกใช้บัตรเดบิตดูก่อนค่ะ อันตรายน้อยกว่า แต่ช่วยอำนวยความสะดวกได้เกือบพอๆ กับบัตรเครดิตเลยทีเดียว และสุดท้าย ทางทีมงาน CheckRaka.com ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเพื่อนๆ คงจะเลือกใช้บัตรทั้งสองแบบนี้ใด้ตรงตามความต้องการ และที่สำคัญ "เหมาะสม" กับตัวคุณเองนะคะ

บัตรเครดิต กับ บัตรเอทีเอ็ม ต่างกันยังไง

เนื่องจากบัตรเครดิตเป็นบัตรที่อนุญาตให้เราใช้จ่ายล่วงหน้าจากเครดิตวงเงิน ทำให้มีเงื่อนไขการสมัครเยอะกว่าบัตรอื่นๆ ขณะเดียวกันบัตรนี้ก็ให้สิทธิประโยชน์ก็มากกว่าบัตรอื่นๆ เช่นกัน นอกจากจะสามารถรูดใช้จ่ายได้แล้ว ยังสามารถกดเงินสดได้เหมือนบัตรกดเงินสด แต่ต่างจากบัตรกดเงินสดตรงที่เงินด่วนจากบัตรเครดิตต้องเสียทั้งดอกเบี้ยและ ...

บัตรเอทีเอ็มคือบัตรเดบิตใช่ไหม

บัตรเดบิต คือ บัตรที่ผูกไว้กับบัญชีเงินฝากของผู้ถือบัตร เพื่อใช้ทำรายการที่เครื่อง ATM ไม่ว่าจะเป็นการถอนเงิน โอนเงิน สอบถามยอด และชำระค่า​สินค้าและบริการ (ซึ่งเป็นคุณสมบัติของบัตร ATM) และใช้ทำรายการชำระค่าสินค้าและบริการที่ร้านค้า รวมถึงการซื้อสินค้าออนไลน์ได้ โดยจะเป็นการหักเงินออกจากบัญชีเงินฝากทันที (หรือที่เรียก ...

บัตร ATM ต่าง จาก บัตร เดบิต ต่างกันยังไง

บัตรเดบิตสามารถพกพาไปใช้ที่ต่างประเทศได้ ไม่ว่าจะกดเงินสดหรือรูดซื้อสินค้า แต่ในขณะที่บัตรเอทีเอ็มทำได้เพียงแค่กดเงินสดที่ตู้ภายในประเทศเท่านั้น

บัตรเดบิตกับบัตรเอทีเอ็มอันเดียวกันไหม

ส่วนใหญ่แล้วบัตรเดบิตทำงานเหมือนเป็นบัตรเอทีเอ็ม แต่มีวิธีการใช้งานที่พิเศษเพิ่มมาอีกหนึ่งอย่าง คือ สามารถใช้รูดเหมือนบัตรเครดิตได้ แต่แทนที่จะเป็นการใช้เครดิต จะเป็นการหักเงินคงเหลือจากในบัญชีที่ผูกอยู่กับบัตรเดบิตนั้นแทน