ธุรกิจที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ มีอะไรบ้าง

หน่วยที่ 3

ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม

ผู้ประกอบการ (Entrepreneurหมายถึง  ผู้ที่คิดริเริ่มดำเนินธุรกิจขึ้นมาเป็นของตนเองมีการวางแผนการดำเนินงาน และดำเนินธุรกิจทุกด้านด้วยตนเอง โดยยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพื่อมุ่งหวังผลกำไรที่เกิดจากผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดย่อมของตนเอง

คุณลักษณะพื้นฐานของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม (Characteristic) มีดังนี้

1.  เน้นการใช้นวัตกรรม (Innovation) เป็นการนำเอาแนวความคิดใหม่หรือการนำประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แต่เดิมมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือการทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของนวัตกรรมได้ดังนี้

1.1  นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation)

1.2  นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product  Innovation)

2.  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity)

3.  เน้นการพัฒนาทักษะความชำนาญ (Skill Based)

4.  มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ (High Potential)

คุณสมบัติของผู้ประกอบการ

การที่จะเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องพิจารณาคุณสมบัติดังนี้

1.             มีความมุ่งมั่นที่จะประสบความสำเร็จ (Willingness to Succeed)

2.             มีความมั่นใจในตนเอง (Self-Confidence)

3.             มีแนวคิดเกี่ยวกับธุรกิจของตนเองอย่างชัดเจน (A Clear Business Idea)

4.             มีแผนงานที่เป็นระบบ (The Business Plan)

5.             มีความสามารถบริหารการเงิน (Exact Control of Finances)

6.             มีความสามารถทางการตลาด (Targeted Marketing)

7.             มีความสามารถในการแข่งขันได้ (A Step Ahead of The Competition)

8.             มีแหล่งสนับสนุนที่ดี (Management Support)

9.             มีทักษะประสานงาน (Cooperation)

10.      มีการจัดองค์กรที่เหมาะสม (Clear Company Structure)

กระบวนการสร้างผู้ประกอบการใหม่

การสร้างผู้ประกอบการและธุรกิจ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เกิดขึ้นจากการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานที่ทำหน้าที่พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม โดยแยกโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่มาอยู่รวมกันในหน่วยงานนี้ โดยยังคงใช้เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรมเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมตามโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการแห่งชาติ (NEC) และปรับแผนงบประมาณจากงบกระตุ้นเศรษฐกิจมาเป็นงบปกติโดยร่วมกับหน่วยปฏิบัติ สถาบันการศึกษา  องค์กรเอกชนให้การฝึกอบรมปรึกษา แนะนำสร้างผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม

แนวคิดในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้เป้าหมายไปสู่ผู้บริโภคมีดังนี้

1.             ยึดมั่นหลักการความต้องการผู้บริโภค (Consumer Command)

2.             ศึกษากลุ่มสินค้าในตลาดที่มียอดจำหน่ายไม่มากและมีคู่แข่งขันน้อย เพื่อสร้างตลาดเฉพาะ

3.             คัดเลือกและพัฒนาสินค้าที่ให้โอกาสกับผู้บริโภคและมีตำแหน่งทางการตลาดที่ดี

4.             พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าตามเงื่อนไขของหน่วยงานราชการและมาตรฐานระหว่างประเทศ

5.             การใช้ความรู้ทางวิชาการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างต่อเนื่อง

โครงการระบบพี่เลี้ยง หมายถึง การจัดส่งเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงเข้าไปให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประกอบการ เพื่อให้ได้ดำเนินงานตามแผนธุรกิจที่วางไว้ โดยพี่เลี้ยงจะให้คำปรึกษาด้านการเงิน บัญชี การตลาด การผลิต และการบริหารจัดการ

วัตถุประสงค์ของโครงการระบบพี่เลี้ยง

1.             เพื่อกำกับดูแล และให้คำปรึกษาแนะนำ ตลอดจนให้ข้อคิดเห็นต่าง ๆ กับผู้ประกอบการ

2.             เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยงการร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการ

3.                         เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับโอกาสในการเข้าถึงความช่วยเหลือ การสนับสนุน และการส่งเสริมจากสถาบันการเงิน หน่วยวานรัฐ หรือเอกชนที่เกี่ยวข้อง และก่อให้เกิดการเชื่อมโยง

4.                         เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าสู่หลักการบริหารจักการที่ดี มีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้

ประโยชน์ของโครงการระบบพี่เลี้ยง

1.             มีพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ ให้คำแนะนำความช่วยเหลือในหลายด้าน

2.  มีโอกาสและช่องทางการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยประสานและเชื่อมโยงความร่วมมือกับหน่วยงานราชการและเอกชนภายนอก

3.  การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจ

4.  มีความเป็นบรรษัทภิบาลที่ดี การดำเนินงานมีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ มีมาตรฐานและความเป็นมืออาชีพ มีความเป็นบรรษัทภิบาลที่ดี

การวิเคราะห์สภาพปัญหาของผู้ประกอบการใหม่

ผู้ประกอบการใหม่ (New Entrepreneurมีความสำคัญในการเพิ่มความเข้มแข็งในระบบเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลได้สนับสนุนให้ผู้ประกอบการใช้ความรู้ เทคโนโลยี ทักษะและฝีมือ ในการประกอบธุรกิจมากขึ้น แต่ก็ยังประสบกับปัญหาและอุปสรรคอีกมาก

ปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบการใหม่ ประกอบด้วย

1.             ขาดความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการประกอบกิจการ

2.             ปัญหาการขาดแคลนเงินทุน

3.             ปัญหาด้านการตลาด

4.             ปัญหาด้านเทคโนโลยี

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของธุรกิจขนาดย่อม (SWOT Anlysis)

โดยการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเอกสารผลงานวิจัยต่าง ๆ รวมทั้งการระดมความคิดจากภาครัฐ เอกชน และผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม โดยสรุปดังนี้

จุดแข็ง (Strength)

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย มีความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจ มีความสามารถในการปรับตัวสูง ภายใต้สภาวะทางธุรกิจที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการลงทุนและใช้เทคโนโลยีในการผลิตและการจัดการไม่สูงนักแต่มีจุดเด่น ได้แก่ ความรู้ความสามารถและทักษะด้านช่างฝีมือและศิลปวัฒนธรรมมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ

จุดอ่อน (Weakness)

ความสามารถในการแข่งขันที่ผ่านมาอาศัยการได้เปรียบด้านแรงงานและทรัพยากรมากกว่าความเข้มแข็งทางเทคโนโลยีและคุณภาพบุคลากร ในปัจจุบันธุรกิจของไทยต้องเผชิญกันภาวะแรงกดดันสองทาง (Nut-Crackers Effect) คืออยู่ตรงกลางระหว่างประเทศที่มีความได้เปรียบด้านต้นทุนต่ำ ปัญหาการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจขนาดย่อมมีดังนี้

1.             ความสามารถเชิงเทคโนโลยีและนวัตกรรม

2.             ความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

3.             ความสามารถทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

4.             ความสามารถในการดำเนินกิจกรรมการตลาด

5.             ศักยภาพของแรงงานและทรัพยากรมนุษย์

6.             ข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

7.             ข้อจำกัดด้านธรรมาภิบาล

โอกาส (Opportunity)

1.  กระบวนทัศน์ในการทำธุรกิจสมัยใหม่เอื้อต่อการประกอบการของธุรกิจขนาดย่อมโดยแนวโน้มของการประกอบธุรกิจหลายรูปแบบ

2.  การขยายตัวของตลาดส่งออกจากการทำข้อตกลงการค้าเสรี ทั้งจากการค้าภายในกลุ่มข้อตกลง และกับกลุ่มเศรษฐกิจอื่นที่ให้ความสำคัญของตลาดไทยมากขึ้นในฐานะเป็นประเทศ ผู้ขับเคลื่อนที่สำคัญสู่ตลาดเอเชีย โดยเฉพาะกับประเทศจีนและอินเดีย ที่เป็นตลาดใหญ่ทั้งด้านการค้า การบริการ และการลงทุน

3.  โอกาสในการทำธุรกิจใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับภูมิปัญญาไทยมากขึ้น  อันมีผลจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของโลก การเปลี่ยนแปลงรสนิยมและรูปแบบของการบริโภคโดยเฉพาะธุรกิจขนาดย่อมของไทยที่โดยพื้นฐานผลิตสินค้าและบริการที่ใช้ภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรมรวมทั้งลักษณะความเป็นไทย ที่เน้นเรื่องของสุขภาพและความงาม การตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคด้านจิตใจ  ตลอดจนบริการทางดานสันทนาการเป็นสำคัญ

4.  ช่องทางในการระดมทุนของภาคธุรกิจมีมากขึ้น  และต้นทุนที่ต่ำลง จากการเปิดเสรีทางการเงินและการรวมตัวทางด้านการเงินที่ทำให้การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นสนับสนุนให้เกิดการใช้แหล่งทุนร่วมกัน ซึ่งนอกเหนือจากการช่วยสนับสนุนด้านเงินทุนแล้ว ยังช่วยสนับสนุนการยกระดับด้านวิทยาการและทักษะของธุรกิจไทยด้วย

5.  นโยบายรัฐให้ความสำคัญและสนับสนุนธุรกิจขนาดย่อม เนื่องจากจำนวนธุรกิจขนาดย่อมคิดเป็นร้อยละ 99 ของทั้งหมด และยังมีบทบาทที่สำคัญต่อการจ้างงาน การสร้างรายได้ และการส่งออกของประเทศที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ

อุปสรรค (Threat)

1.                         การเข้าสู่ระบบตลาดของกลุ่มประเทศเติบโตใหม่ (Emerging  Economies)  ที่มีความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ทำให้เป็นแหล่งผลิตสินค้าราคาถูกป้อนตลาดทั่วโลก

2.                         ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจลดลง เนื่องจากการมีข้อตกลงทางการค้าในทุกระดับเพิ่มขึ้น ทำให้ระบบการค้าโลกมีความซับซ้อนมากขึ้น สาเหตุจากความแตกต่างกันของข้อตกลงและกฎเกณฑ์ของแต่ละประเทศ ทำให้ธุรกิจเอกชนต้องปรับตัวและเข้าถึงฐานข้อมูลที่ครบถ้วนโดยการสนับสนุนของภาครัฐ

3.                         เพิ่มภาระผู้ประกอบการในการให้ความสำคัญกับการผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการดำรงชีวิตมนุษย์จากปัญหาสิ่งแวดล้อมและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติทำให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการต้องใส่ใจและตระหนักต่อการนำแนวคิดของการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเข้ามาร่วมด้วย ทำให้เกิดภาระต้นทุนเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของการปรับปรุงกระบวนการผลิต และในส่วนของการวิจัยและพัฒนา

4.                         ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์โลกและภายในประเทศ ทั้งความผันผวนของราคาน้ำมัน แนวโน้มเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยและภาวะเงินเฟ้อ สถานการณ์ความอ่อนไหวหรือความผันผวนทางการเมือง และการเปิดเสรีด้านการค้าการลงทุนตามข้อตกลงการค้าเสรี

5.                         การบริหารจัดการของรัฐในการส่งเสริมธุรกิจขนาดย่อม ที่ผ่านมาขาดการจัดการที่เป็นระบบ ขาดการประสานงาน ไม่มีการกำหนดแผนส่งเสริมเพื่อใช้เป็นกรอบทิศทางหลักที่เป็นเอกภาพขาดหน่วยงานแกนกลางที่เข้มแข็งและเป็นที่ยอมรับทั้งด้านการจัดทำแผนและการประสานหน่วยปฏิบัติ การดำเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจึงมีลักษณะต่างหน่วยต่างคิดต่างทำ

แนวทางในการเริ่มต้นธุรกิจ

การดำเนินธุรกิจขนาดย่อม (SMEs)  เป็นสิ่งที่ทุกคนมองว่าเป็นเรื่องยากต่อการเริ่มต้นเพราะไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นจากตรงจุดไหนก่อน แล้วทำอย่างไรต่อไป ธุรกิจจึงจะประสบความสำเร็จได้ในที่สุด ดังนั้น แนวทางในการเริ่มต้นธุรกิจควรเริ่มจากการหาข้อมูลใน 3 ด้าน คือ กำลังของตนเอง ตลาดลูกค้าและคู่แข่ง จากนั้นจึงไปสู่การจัดตั้งองค์กร ซึ่งในแต่ละด้านมีรายละเอียดดังนี้

1.  รู้จักตน  โดยประเมินว่าตนเองมีคุณสมบัติที่จะทำธุรกิจนั้นหรือไม่ และที่สำคัญต้องหนักแน่น จริงจัง และกล้าตัดสินใจ เช่น

1.1  การเลือกประเภทธุรกิจที่เหมาะสมกับตนเอง

1.2  สำรวจฐานะทางการเงิน

1.3  ทำเลที่ตั้ง

2.  รู้ข้อมูลของลูกค้า  ผู้เริ่มต้นธุรกิจควรสำรวจความต้องการสินค้าหรือบริการ ว่ามีมากน้อยเพียงใด เหมาะกับลูกค้ากลุ่มใด เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการผลิตต่อไป

3.  รู้ข้อมูลของคู่แข่ง  ธุรกิจในปัจจุบันมีจำนวนมาก จำเป็นต้องทราบว่าคู่แข่งใครบ้าง อยู่ที่ไหน กำลังทำอะไรอยู่ ธุรกิจจะแข่งขันอย่างไรเพื่อชัยชนะ จะผลิตสินค้าหรือให้บริการอย่างไรเพื่อเป็นจุดขายที่เด่นกว่าของคู่แข่ง

4.  รู้นโยบายส่งเสริมจากภาครัฐบาล  หาข้อมูลหรือแหล่งที่ให้การส่งเสริมการค้า ให้เงินทุนหรือให้บริการเพื่อสนับสนุนธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะกระทรวง ทบวง กรม สถาบันการศึกษาใดก็ตาม

5.  วางแผนการเงินในระยะยาว  ปัญหาทางการเงินเป็นสาเหตุที่ทำให้การดำเนินธุรกิจผิดพลาด เนื่องจากกิจการขนาดเล็กจะขอเงินกู้ได้ยากกว่ากิจการขนาดใหญ่  เจ้าของกิจการที่ขอกู้เงินน้อยเกินไปอาจจะปิดกิจการเร็วเพราะว่าไม่มีเงินทุนในการดำเนินกิจการ ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มธุรกิจจึงมีความจำเป็นที่ต้องวางแผนว่าต้องการเงินเท่าไร

6.  การทำบัญชี  ผู้ประกอบการจะต้องสนใจ งบดุล ในการดำเนินกิจการหรือบริหารงานต่าง ๆ จำเป็นจะต้องใช้ตัวเลขให้เป็น และไม่สามารถทำธุรกิจได้ถ้าไม่มีระบบบัญชีที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหาร

7.  การบริหารที่มีประสิทธิภาพ  ประกอบด้วยการวางแผน การจัดองค์กร การควบคุมและการนำธุรกิจที่ไม่ประสบความสำเร็จเกิดจากการบริหารผิดพลาด หลักการบริหารธุรกิจขนาดย่อมคือการรู้ว่ากำลังยืนอยู่ตรงจุดไหนอยู่ตลอดเวลา

8.  ขายสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพ  คุณภาพของสินค้าหรือบริการเป็นสิ่งที่รักษาความสำเร็จของบริษัทให้อยู่ตลอดไป ถ้าทำกลยุทธ์การตลาดที่ดีอาจจะดึงดูดลูกค้าได้ แต่ถ้าสินค้าไม่เป็นที่พอใจของลูกค้า ลูกค้าก็ไม่มาซื้อสินค้าอีก แล้วจะทำให้ธุรกิจเสียหาย ดังนั้น จะต้องรู้ข้อดีและข้อเสียของสินค้าหรือบริการ ดังนั้นต้องเข้าใจลูกค้าและให้ความสำคัญแก่ลูกค้าให้มาก

9.  จ้างบุคลากรที่เหมาะสม  บุคลากรที่ดีมีประสิทธิภาพอาจนำไปสู่ความสำเร็จได้

10.  เลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมกับสินค้าหรือบริการ  การเลือกทำเลที่ตั้งก็เป็นปัจจัยสำคัญไปสู่ความสำเร็จได้ ดังนั้นควรจะตัดสินใจไว้ล่วงหน้าว่าจะเลือกสถานที่ตามชนิดของสินค้าหรือบริการและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นหลักมากกว่าความสะดวกสบายส่วนตัว ถ้าเป็นกิจการค้าปลีกทำเลที่ตั้งก็ควรจะเป็นสถานที่ชุมชน และมีสถานที่จอดรถด้วย

การตัดสินใจเลือกวิธีการเริ่มต้นธุรกิจขนาดย่อม

การตัดสินใจเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม ความพร้อม ความรู้ความสามารถ เงินทุน และโอกาส โดยการตัดสินใจได้ 4 วิธี คือ

1.  ธุรกิจขนาดย่อมที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ การเริ่มต้นธุรกิจใหม่ เป็นวิธีการที่ผู้ประกอบการจะต้องใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กล้าเสี่ยง กล้าตัดสินใจและความพยายามที่จะก่อตั้งธุรกิจขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด  เพราะมีอิสระในการเลือกองค์ประกอบของธุรกิจขนาดย่อมให้เป็นไปตามแนวคิดของตนเองได้ ซึ่งอาจทำได้โดยการนำผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่และวางขายในตลาดอื่นอยู่แล้วเข้ามาสู่ตลาดใหม่ (New Market) ลูกค้ากลุ่มใหม่ หรือการนำผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมใหม่ ที่ไม่เคยมีวางจำหน่ายที่ไหนมาก่อนเข้าสู่ตลาด หรืออาจนำผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมที่มีอยู่เดิมมาปรับปรุงให้มีคุณภาพดีกว่าเดิมเข้ามาขายในตลาดเดิม

2.  ธุรกิจขนาดย่อมที่ซื้อต่อจากผู้ประกอบการอื่น การประกอบธุรกิจในลักษณะนี้อาจจะทำให้สูญเสียความเป็นผู้ประกอบการที่แท้จริงไปส่วนหนึ่ง เนื่องจากต้องซื้อกิจการต่อจากบุคคลอื่นโดยไม่ได้คิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยตนเอง แต่ก็จะลดความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ และจะมีต้นทุนในการเริ่มต้นธุรกิจต่ำกว่าธุรกิจที่สร้างขึ้นมาใหม่

3.  ธุรกิจขนาดย่อมที่มีอยู่เดิมของครอบครัว เป็นธุรกิจที่มีผู้ประกอบการ และพนักงานทั้งหมดเป็นบุคคลที่มาจากครอบครัวเดียวกัน ซึ่งการดำเนินธุรกิจมักจะเป็นมรดกตกทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ความสัมพันธ์อาจจะมีความสัมพันธ์ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งอาจเกิดความขัดแย้งและไม่เข้าใจกัน เพราะกิจการต้องยึดประโยชน์และความอยู่รอดของตนเอง

4.  การขอรับสิทธิทางการค้าจากเจ้าของสิทธิหรือธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นกิจการที่ผู้ใช้สิทธิ ได้มอบสิทธิทางการค้าให้แก่ผู้รับสิทธิ ซึ่งผู้ใช้สิทธิจะได้รับค่าสิทธิทางการค้าตอบแทนการช่วยเหลือผู้รับสิทธิทางการค้าในการดำเนินงาน เลือกทำเลที่ตั้ง อบรมวิธีการปฏิบัติงาน สร้างระบบการเงินช่วยเหลือในการจัดตั้งธุรกิจ แนะนำนโยบายการบริหารธุรกิจการโฆษณา ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขาย ช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น การร่วมงานกันของผู้ใช้สิทธิและผู้รับสิทธิจะเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน สัญญาสิทธิทางการค้าจัดทำและตกลงกันตามกฎหมาย ก่อนตัดสินใจซื้อสิทธิทางการค้า จึงควรศึกษาข้อมูลตามสัญญาให้รอบคอบก่อนการตัดสินใจ

ประเภทของธุรกิจแฟรนไชส์

1.  รับสิทธิทางการค้าโดยใช้สินค้าและชื่อทางการค้า ผู้รับสิทธิจะมีฐานะคล้ายตัวแทนจำหน่ายของผู้ให้สิทธิ

2.  รับสิทธิทางการค้าโดยใช้รูปแบบธุรกิจ ผู้รับสิทธิจะได้รับสิทธิในการขายสินค้าและบริการภายใต้เครื่องหมายการค้าของผู้ให้สิทธิ

สรุป

การเป็นผู้ประกอบการจะต้องมีคุณลักษณะ คุณสมบัติ และทักษะของผู้ประกอบการที่ควรมีความรู้พื้นฐานอันเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจขนาดย่อมก่อนการเริ่มต้นธุรกิจ รวมถึงข้อมูลด้านธุรกิจที่มีผลอิทธิพลต่อการตัดสินใจดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ยังต้องมีความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมเพื่อผู้ประกอบการเป็นความรู้ที่ผู้ประกอบการสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจของตนเองสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น

แบบฝึกหัด

          1 ปัจจัยสำคัญของการจัดการมีอยู่ 4 ประการ ยกเว้น ข้อใด

             กำไร

             เงิน

             วัตถุสิ่งของ

             การจัดการ                 

     2 การประเมินผลเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการจัดการ สามารถแบ่งออกได้เป็นกี่ระยะ

            ก 2ระยะ

            ข 3 ระยะ

             4ระยะ

             5 ระยะ

             3 ปัจจัยสำคัญในการกำหนดวิถีชีวิตของคนเราขึ้นอยู่กับเรื่องใด

         ทรัพย์สิน

         ความสะดวกสบาย

         ศีลธรรมและศาสนา

         การเลือกอาชีพและรายได้

    4. บทบาทของผู้บริหารคือข้อใด

      ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

     จัดให้มีการศึกษาและการฝึกอบรมแก่พนักงาน

     ตั้งเป้าหมายปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการอย่างสม่ำเสมอ

    ง ถูกทุกข้อ

              5ส่วนประสมทางการตลาด หรือ 4 P’s คือข้อใด

         Product, Price, Place, People

        Product, Price, Place, Promotion

        Perfect, Price, Playful, Phone

         Profect, People, Place, Promotion

          6 ข้อใดคือสหกรณ์ออมทรัพย์

         กลุ่มแม่บ้านผลิตน้ำพริกขาย

        ข กลุ่มเกษตรเพื่อการยังชีพ

        ค สหกรณ์ออมทรัพย์ครู

         สหกรณ์การเกษตร

            7ห้างหุ้นส่วน มีลักษณะของกิจการเป็นแบบใด

            ก มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมลงทุนกัน โดยมีความประสงค์จะแบ่งกำไรร่วมกัน

             มีบุคคลตั้งแต่ 3คนขึ้นไป ร่วมลงทุนกัน โดยมีความประสงค์จะแบ่งกำไรร่วมกัน

             มีบุคคลตั้งแต่ 4คนขึ้นไป ร่วมลงทุนกัน โดยมีความประสงค์จะแบ่งกำไรร่วมกัน

             มีบุคคลตั้งแต่ 5คนขึ้นไป ร่วมลงทุนกัน โดยมีความประสงค์จะแบ่งกำไรร่วมกัน

             8 คุณลักษณะของนักธุรกิจที่จะสามารถประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจการคือข้อใด

             ก แต่งกายตามความพอใจของตนเอง

           ข มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าคิด กล้าทำ และกล้าตัดสินใจอย่างมีเหตุผล

            ค ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้ลุล่วงไปได้ ซึ่งอาจเกิดความเสียหาย

            ง การใช้อำนาจหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว

                 9 ข้อใดคือการใช้คอมพิวเตอร์ในภารกิจหลักของธุรกิจ

         การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในธุรกิจค้าปลีก

         การใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานกลุ่มร่วมกัน

         การประยุกต์ใช้กับธุรกิจการเงินและการธนาคาร

        ง ถูกทั้งข้อ ก และ ค

              10 เจ้าของกิจการร้านเช่าหนังสือ ควรมีคุณสมบัติเฉพาะตัวในด้านใด

             รักการอ่าน

             มีความละเอียดรอบคอบ

             ให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ

           ง ควรให้ความสนใจลูกค้าเท่ากันหมด