ระบบปฏิบัติการ operating system มีอะไรบ้าง

ระบบปฏิบัติการ operating system มีอะไรบ้าง

บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ

ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และแหล่งซอฟต์แวร์และบริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลาย ๆ ตัวทำงานพร้อม ๆ กัน

ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น

ระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทุกวันนี้ ได้แก่ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ แมคโอเอส และลินุกซ์ นอกจากนี้ ยังมีระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ ซึ่งได้รับความนิยมในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้กันในหน่วยงาน ระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดี เอไอเอกซ์ และโซลาริส และรวมถึงลินุกซ์ซึ่งพัฒนาโดยอาศัยหลักการเดียวกันกับยูนิกซ์ ระบบปฏิบัติการบางตัว ถูกออกแบบมาสำหรับการเรียนการสอนวิชาระบบปฏิบัติการโดยเฉพาะ เช่น มินิกซ์ ซินู หรือ พินโทส

ในอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ก็อาจมีระบบปฏิบัติการเช่นกัน เช่น ไอโอเอส แอนดรอยด์ หรือ ซิมเบียน ในโทรศัพท์มือถือ หรือระบบปฏิบัติการ TRON ในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้าน

อ้างอิง

  • Deitel, Harvey M.; Deitel, Paul; Choffnes, David. Operating Systems. Pearson/Prentice Hall. ISBN 978-0-13-092641-8.

ดูเพิ่ม

  • ระบบปฏิบัติการแบบเวลาจริง

แหล่งข้อมูลอื่น

  • ความสำคัญของระบบปฏิบัติการ
  • จำนวนผู้ใช้ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์รุ่นต่างๆ
  • จำนวนผู้ใช้ระบบปฏิบัติการบนแทปเล็ตรุ่นต่างๆ
ระบบปฏิบัติการ operating system มีอะไรบ้าง
บทความเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่าง ๆ หรือเครือข่ายนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล
ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เทคโนโลยีสารสนเทศ

ระบบปฏิบัติการ OS

ระบบปฏิบัติการ OS (Operating System)

  • ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์ (Hardware) กับ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปซึ่งทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้อีกที โดยจะทำหน้าที่ควบคุมการแสดงผล การทำงานของฮาร์ดแวร์ ให้บริการกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปในการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ และจัดสรรการใช้ทรัพยากรระบบ (Resources) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยทั่วไประบบปฏิบัติการนั้นไม่ได้มีแต่เฉพาะในคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่มีอยู่ในอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์หลายชนิดเช่นโทรศัพท์มือถือคอมพิวเตอร์พกพาพีดีเอแท็บเล็ตต่างๆโดยจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานขออุปกรณ์ต่างๆ และติดต่อกับผู้ใช้ผ่านโปรแกรมประยุกต์(Application) ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการในคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Windows,Linux, Mac OS, Solaris, Ubuntu ส่วนตัวอย่างของระบบปฏิบัติการใช้มือถือได้แก่ Windows Mobile, iOS, Android เป็นต้น

โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

  • Software OS เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่อง OS โดยส่วนใหญ่จะเป็น Software OS เนื่องจากสามารถปรับปรุง แก้ไข พัฒนาได้ง่ายที่สุด
  • Firmware OS เป็นโปรแกรมส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็คือ ไมโครโปรแกรม (Microprogram) ซึ่งเกิดจากชุดคำสั่งที่ต่ำที่สุดของระบบควบคุมการทำงานของ CPU หลายๆ คำสั่งรวมกัน การแก้ไข พัฒนา ทำได้ค่อนข้างยากและเสียค่าใช้จ่ายสูง
  • Hardware OS เป็น OS ที่สร้างจากอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ ทำหน้าที่เหมือน Software OS แต่เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของฮาร์ดแวร์ ทำให้การปรับปรุงแก้ไขทำได้ยาก และมีราคาแพง

หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ

  • 1. ติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface)
    เนื่องจาก OS ถูกสร้างขึ้นด้วยจุดประสงค์หลัก คือ เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานแก่ผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ ไม่จำเป็นต้องทราบการทำงานของฮาร์ดแวร์ ก็สามารถทำงานได้โดยง่าย ดังนั้น จึงต้องมีส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ ในลักษณะที่ง่ายต่อการใช้งาน

2. ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
OS เป็นตัวกลางที่เชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับฮาร์ดแวร์ โดยผู้ใช้ ไม่จำเป็นต้องเข้าใจในการทำงานของฮาร์ดแวร์ ดังนั้น OS จึงต้องมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ต่างๆ เหล่านั้นแทนผู้ใช้ โดยจะมีส่วนประกอบเป็นรูทีนต่างๆ ซึ่งจะควบคุมอุปกรณ์แต่ละชนิด

3. จัดสรรทรัพยากรในระบบ
ในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรต่างๆ เข้าช่วย เช่น CPU หน่วยความจำ เป็นต้น และทรัพยากรเหล่านี้มีจำกัด จึงจำเป็นต้องมีการจัดสรรการใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และทำให้การประมวลผลดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวแปลภาษา

  • การพัฒนาซอฟแวร์ต้องอาศัยซอฟแวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงเพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องภาษาระดับสูงมีหลายภาษาซึ่งสร้างขึ้นเพื่ให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ และเพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟแวร์ในภายหลังได้ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นทุกภาษาต้องมีตัวแปลภาษา  ซึ่งภาษาระดับสูงได้แก่ ภาษาBasic,Pascal,C และภาษาโลโก เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมาก ได้แก่ Fortran . Cobol , และภาษาอาร์พีจี

OS คืออะไร แล้วทำไม

ต้องมีกันนะ ??

แรกเริ่มเดิมทีนั้นกว่าจะใช้โปรแกรมอะไรแต่ละที เราก็ต้องมาจัดการเครื่อง บริหารทรัพยากรต่างๆในเครื่องด้วยตัวเอง ทำให้กว่าจะใช้แต่ละโปรแกรมได้นั้นต้องใช้เวลานาน และไม่สะดวกกับการนำไปใช้ตามบ้านเรือน

(แถมเครื่องยังค่อนข้างใหญ่อีกด้วย)

ต่อมาก็ได้เริ่มพัฒนา OS ในรูปแบบที่ใช้ตัวอักษร หรือที่เรียกว่าแบบcommand line ขึ้นมาใช้งาน อย่าเช่นเหล่าตระกูล UNIX, DOS แบบต่างๆ ซึ่งทั้งสองตัวนี้ได้กลายเป็นบรรพบุรุษให้กับ OS อีกหลายๆตัว อย่างเช่นพวก MS-DOS, IBM-DOS และ? Linux ต่างๆ

แต่ทั้งนี้ก็ยังเกิดความไม่สะดวกในการใช้งานสำหรับผู้ใช้ทั่วไป เพราะบางครั้งก็ลืมคำสั่งกันบ้าง หรือขี้เกียจจะพิมพ์บ้าง จึงได้มีการพัฒนา OS ที่มีหน้าตากราฟิกแบบเต็มตัวขึ้นมา (เรียกกราฟิกเหล่านั้นว่า GUI นะครับ) ทำให้เราสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น แต่ก็ต้องการเครื่องที่มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน ตัวอย่าง OS ประเภทนี้ก็อย่างเช่น Mac OS, Windows, Linux สายพันธุ์ต่างๆ


หน้าที่ของ OS

1. จัดการทรัพยากรของเครื่องให้

เนื่องด้วยการที่จะให้โปรแกรมต่างๆทำหน้าที่จัดการบริหารทรัพยากรต่างๆในเครื่อง เช่นแรม, ระยะเวลาการเข้าใช้งาน CPU หรือการขอใช้งานบัสเพื่อส่งข้อมูลด้วยตัวเองนั้น จะทำให้เกิดความยุ่งยากและสับสนเป็นอย่างยิ่ง เพราะในเวลาเดียวกันนั้นก็มีโปรแกรมหลายๆตัวทำงานอยู่ ลองคิดดูนะครับ ถ้าเราเป็นคนรับจ้างซ่อมคอม แล้วมีลูกค้าอยู่หน้าร้าน 10 คน แต่ละคนก็จะมาขอให้ซ่อมเครื่องตนก่อน แย่งกัน ตีกันเกิดปัญหามากมายแต่ถ้าเรามีผู้ช่วยมาจัดการคิวลูกค้า เราก็จะทำงานง่ายขึ้น ลูกค้าก็ไม่เกิดปัญหาอีกด้วย

2. เป็นตัวกลางระหว่างโปรแกรมกับเครื่อง และป้องกันอันตรายแก่ hardware

การที่จะให้แต่ละโปรแกรมทำการเข้าใช้งาน hardware เอง อาจจะมีปัญหาต่างๆตามมา เช่นความเข้ากันได้ของทั้งสองอย่าง หรืออาจจะเจอมัลแวร์อย่างเช่นไวรัสเข้าไปทำอันตรายหรือทำให้เครื่องทำงานผิดปกติได้โดยง่าย ทำให้ต้องมี OS มาเป็นตัวกลางของทั้งคู่ครับ นั่นคือก่อนที่โปรแกรมจะกระทำการใดๆ อย่างเช่นการประมวลผลก็จะต้องผ่าน OS ไปก่อนนั่นเอง

3. ตระเตรียมโปรแกรมอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้

โปรแกรมเหล่านี้เรียกว่าเป็นพวก utility ครับ หน้าที่ของโปรแกรมประเภทนีคือช่วยบำรุงดูแลรักษาเครื่อง ตัวอย่างก็อย่างเช่น Disk cleanup และ Disk defragmenter ซึ่ง OS ในปัจจุบันนี้มักจะเตรียมไว้ให้เรียบร้อย ซึ่งถ้า hardware สุขภาพดี ก็จะทำให้การทำงานของเครื่องดีด้วย

4. สร้าง GUI Interface ให้กับผู้ใช้

สิ่งนี้นับว่ากลายมาเป็นหน้าที่สำคัญให้กับ OS ในปัจจุบันไปแล้วนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่เรื่องของหน้าตาเป็นเรื่องสำคัญไปซะแล้ว ทำให้หลายๆ OS ต้องแข่งกันในเรื่องของหน้าตามากขึ้น แต่ก็ยังต้องทำให้ระบบมีประสิทธิภาพที่ดีเช่นเคย

คุณสมบัติการทำงาน 

ระบบปฏิบัติการโดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติในการทำงานแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • การทำงานแบบ Multi – Tasking คือ ความสามารถในการทำงานได้หลาย ๆ งาน หรือหลาย ๆ โปรแกรมในเวลาเดียวกัน เช่น พิมพ์รายงานควบคู่ไปกับการท่องเว็บ ซึ่งในสมัยก่อนการทำงานของระบบปฏิบัติการจะอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า single-tasking ซึ่งจะทำงานทีละโปรแกรมคำสั่ง ผู้ใช้ไม่สามารถที่จะสลับงานไระหว่างโปรแกรมหรือทำงานควบคู่กันได้ แต่สำหรับในปัจจุบันจะพบเห็นลักษณะการทำงานแบบนี้มากขึ้น เช่น ในระบบปฏิบัติการ Windows รุ่มใหม่ ๆ ซึ่งทำให้การใช้งานได้สะดวกและทำงานได้หลาย ๆ โปรแกรม

การทำงานแบบ Multi – User ในระบบการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกันแบบเครือข่าย ระบบปฏิบัติการที่ทำหน้าที่ควบคุมจะมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่เรียกว่า multi-user หรือความสามารถในการทำงานกับผู้ใช้ได้หลาย ๆ คน ขณะที่มีการประมวลผลของงานพร้อม ๆ กัน ทำให้กระจายการใช้ได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

จัดทำโดย

นางสาว นัฏจนันท์ จันทร์ปรุง

ปวส 2/1 เลขที่ 15

สาขา คอมพิวเตอร์ธรุกิจ

โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) มีอะไรบ้าง

ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) คือ ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ (OS- Operating System) เช่น MS-DOS, UNIX, OS/2, Windows, Linux, Ubuntu เป็นต้น

ระบบปฏิบัติการ (Operating System)มีความหมายอย่างไร

โปรแกรมระบบปฏิบัติการ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า OS (Operating System) เป็นโปรแกรม ควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ควบคุมการทำงานต่าง ๆ เช่น การแสดงผล ข้อมูลการติดต่อกับผู้ใช้ โดยทําหน้าที่เป็นสื่อกลาง ระหว่างผู้ใช้กับเครื่องให้สามารถสื่อสารกันได้ควบคุมและจัดสรรทรัพยากรให้กับโปรแกรมต่าง ๆ

ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หรือ OS เป็นซอฟต์แวร์ประเภทใด

เป็นโปรแกรมที่ทำงานเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้เครื่องและฮาร์ดแวร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้ใช้ระบบสามารถปฏิบัติงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยจะเอื้ออำนวยการพัฒนาและการใช้โปรแกรมต่างๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปรแกรมประยุกต์

ประเภทของระบบปฏิบัติการมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ระบบปฏิบัติการสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่แบบ "งานเดี่ยว" (single-tasking) และแบบ "หลายงาน" (multi-tasking) ระบบแบบงานเดี่ยวเป็นระบบที่ยอมให้มีผู้ใช้เพียงหนึ่งคนเท่านั้นในการใช้่แต่ละครั้ง และเมื่อมีผู้ใช้หนึ่งคนก็จะสามารถใช้โปรแกรมได้เพียงหนึี่งโปรแกรมเท่านั้น