Blockchain คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

เทคโนโลยีอีกหนึ่งอย่างที่เริ่มมีคนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงเทคโนโลยีพูดถึงกันแล้ว เราก็มักจะพูดถึงคำว่า Blockchain ที่แรกเริ่มนั้นจะเข้ามามีบทบาทในแง่ของการจัดเก็บข้อมูล แต่ด้วยเรื่อง Blockchain นั้น ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนไทย รวมไปถึงเป็นเรื่องเฉพาะทางที่มีศัพท์เทคนิคค่อนข้างเยอะ จึงทำให้คนไทยอาจจะเข้าใจเนื้อหาเรื่อง Blockchain ยากหน่อย ซึ่งวันนี้ trueID รวบรวมข้อมูลประโยชน์ของเทคโนโลยี Blockchain มาให้แล้ว

ทำความรู้จักกับ Blockchain คืออะไร

Blockchain คือเทคโนโลยีว่าด้วยระบบการเก็บข้อมูล (Data Structure) ซึ่งไม่มีตัวกลาง แต่ข้อมูลที่ได้รับการปกป้องจะถูกแชร์และจัดเก็บเป็นสำเนาไว้ในเครื่องของทุกคนที่ใช้ฐานข้อมูลเดียวกันเสมือนห่วงโซ่ (Chain) โดยทุกคนจะรับทราบร่วมกัน ว่าใครเป็นเจ้าของและมีสิทธิในข้อมูลตัวจริง เมื่อมีการอัปเดตข้อมูลใด ๆ สำเนาข้อมูลในฐานเดียวกันก็จะอัปเดตตามไปด้วยทันที

ทำให้การปลอมแปลงข้อมูลไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะทุกคนต้องรับทราบและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลร่วมกันได้ อีกทั้งไม่มีระบบล่ม และภัยใด ๆ ก็ไม่อาจทำลายอุปกรณ์ในระบบได้พร้อมกัน เช่นเดียวกับการถูกแฮ็กข้อมูล ซึ่งต้องทำการแฮ็กทุกเครื่องในฐานเดียวกันพร้อม ๆ กัน หรืออย่างน้อยต้องแฮ็กเครื่องที่ถือสำเนาให้ได้มากกว่า 51% จึงจะแฮ็กได้สำเร็จ

เทคโนโลยี Blockchain จึงนับว่ายอดเยี่ยมในแง่ของเครดิต นอกจากนี้ ยังเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามารองรับการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล เช่น บิทคอยน์ (Bitcoin) ฯลฯ ให้มีความปลอดภัยด้านข้อมูลมากยิ่งขึ้นด้วย

ทำไมถึงมีความน่าเชื่อถือ

การทำงานของ Blockchain นั้น จะเป็นรูปแบบการจัดเก็บข้อมูล (Data Structure) รูปแบบหนึ่ง ที่ทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ในระบบของแต่ละคนสามารถแชร์ไปยังทุก ๆ คนได้ 

เปรียบเสมือนเป็นห่วงโซ่ (Chain) ที่ทำให้บล็อกของข้อมูลสามารถลิ้งก์ต่อไปยังทุก ๆ คนได้ เปรียบเสมือนทุกคนในระบบที่ถือเอกสารชุดเดียวกัน และชุดเอกสารนั้น ๆ จะต้องถูกอัปเดตพร้อมกัน

โดยมีชุดข้อมูลอัปเดตที่เหมือนกันทุกคน เรียกว่าเป็นระบบที่เก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ส่วนกลางของคนทั่วไป ทำให้ระบบเครือข่ายข้อมูลเป็นแบบ Decentralized (ระบบการกระจายศูนย์ข้อมูล)

ระบบล้มเหลวได้ยาก เพราะต้องต้องเจาะข้อมูลเครือข่ายในระบบทุกเครื่อง ซึ่งต่างจากระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบศูนย์กลางเพียงเครื่องเดียวอย่างระบบ Centralized ที่เมื่อศูนย์กลางข้อมูลถูกเจาะเครือข่ายข้อมูลเพียงเครื่องเดียวก็จะสามารถทำให้เครือข่ายล้มเหลวทั้งระบบได้ 

จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ Blockchain มีความน่าเชื่อถือที่สูงมาก เพราะไม่สามารถเจาะข้อมูลระบบได้โดยง่าย และสามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้เป็นอย่างมากด้วยคนหลายคน ที่ถือชุดข้อมูลที่ตรงกัน และอัปเดตพร้อมกันอีกด้วย

ประโยชน์ของเทคโนโลยี Blockchain ที่เราเอามาใช้ได้

การชำระเงินทั่วโลกด้วย Peer-to-peer

สิ่งที่เรามักจะเห็นในเทคโนโลยี Blockchain เลยก็คือการชำระเงินในรูปแบบ Peer-to-peer โดยใช้เทคโนโลยีบัญชีแยกประเภท เราสามาาถส่ง Bitcoin ไปทั่วทุกมุมโลกโดยใช้เวลาไม่กี่นาทีโดยไม่มีข้อจำกัด

ปัจจุบันเรายังใช้การชำระเงินในรูปแบบ Centralized และบางประเทศยังมีค่าบริการการโอนเงินที่ค่อรข้างสูงอีกด้วย Paypal ถือว่าเป็นผู้ให้บริการชำระเงินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและขึ้นชื่อว่าค่าธรรมเนียมโหดด้วยเช่นกัน เทคโนโลยี DLT จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเหตุผลนี้นั่นเอง

ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว

ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวถือว่าเป็นอันดับหนึ่งของการให้บริการในธุรกิจต่าง ๆ ระบบแบบ Centralized ล้มเหลวในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพราะว่าพวกเขาเป็นแบบรวมศูนย์ คือมีข้อมูลของผู้ใช้งานทุกคน จะแอบเข้าไปดูตอนไหนก็ได้

อย่างเช่นกรณีที่ Huawei โดน Google แบนนั้นทาง Google ได้อ้างถึงประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวและข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ใช้งาน ว่าทาง Huawei สามารถแอบดูและดักจับได้

ปัญหาหลักของระบบรวมศูนย์คือผู้มีอำนาจสามารถกุมข้อมูลของทุกคนได้เพียงคนเดียว สามารถเอาข้อมูลของผู้ใช้งานไปทำไรก็ได้ และอาจขโมยข้อมูลไปด้วยก็ได้

และด้วย Blockchain จะไม่มีการไปยุ่งเกี่ยวกับบุคคลที่สาม (Third Party) ข้อมูลจะถูกเก็บบน DLT ซึ่งจะมีการ encrypted ข้อมูล

โปร่งใส

อย่างที่รู้กัน ข้อมูลจะถูกเก็บอยู่บน DLT ถูกคนสามารถเห็นข้อมูลชุดเดียวกันนี้ และข้อมูลต่าง ๆ จะไม่มีการด้รับการ Upload ถ้าไม่มีการ Consensus กัน

แปลว่าข้อมูลที่ถูกแชร์ลงบนเครือข่ายนั้นจะต้องได้รับการยอมรับจากทุกคน หากมีการเข้าไปแก้ไข เขาจำเป็นต้องไปเปลี่ยนข้อมูลทั้งหมดบนเครือข่ายให้ได้ ซึ่งทำได้ยากมาก ๆ

ประสิทธิภาพและความเร็ว

Blockchain ยังคงให้ทั้งความรวดเร็วและประสิทธิภาพในเรื่องของความโปร่งใสในการจัดเก็บข้อมูลอีกด้วยการประมวลผลข้อมูลและการทำธุรกรรมทั้งหมดจะดำเนินการในระบบแบบ Decentralized ผู้ใช้สามารถส่งหรือรับการชำระเงินได้ตลอดเวลา

นอกจากนี้ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลที่สามใด ๆ สิ่งที่คุณต้องมีก็คือคอมพิวเตอร์และกระเป๋าเงินดิจิทัลเพื่อทำธุรกรรมเท่านั้น

หลาย ๆ ที่กำลังสร้างแพลตฟอร์ม Blockchain เพื่อพัฒนาองค์กรหรือบริษัทของตัวเอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและภายในองค์กรนั่นเอง

จะใช้งานระบบ Blockchain ต้องทำยังไง?

การนำ Blockchain ไปใช้งาน จึงจำเป็นจะต้องมีการพัฒนา Application ขึ้นมาทำงานกับ Blockchain อีกที เพื่อทำให้การจัดเก็บข้อมูลที่เราต้องการมีความน่าเชื่อถือและมีความโปร่งใส และเพื่อการเปิดให้ผู้อื่นเข้าถึงข้อมูลและใช้งาน Blockchain ได้อย่างง่ายดายอีกด้วย

ตัวอย่างการนำ Blockchain ไปใช้งานที่เกิดขึ้นจริงแล้ว มีดังนี้

1. การใช้งาน Blockchain ในด้านธุรกรรม

เราสามารถใช้งาน Blockchain ได้ในธุรกิจที่มีการทำธุรกรรม หรือการทำสัญญาเป็นหลัก เช่น การทำประกัน การสมัครสมาชิกต่าง ๆ เช่น ฟิตเนส โดยเราสามารถใช้งานแทนเอกสารในรูปแบบเดิม ๆ ได้ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนด้านการจัดเก็บเอกสาร และยังสามารถลดการใช้งานกระดาษได้อีกด้วย

2. การใช้งาน Blockchain ในงานการกุศล

งานการกุศลต่าง ๆ เช่น การเปิดรับบริจาค จะเป็นสิ่งที่ต้องการความโปร่งใส ซึ่งระบบ Blockchain ก็จะทำให้มั่นใจได้ว่าเงินนั้นที่เราบริจาคนั้น จะไปถึงปลายทาง รวมไปถึงการนำไปใช้ทำอะไรด้วยอีกอย่างแน่นอน 

3. การใช้งาน Blockchain ในการติดตามกระบวนการโลจิสติกส์

คนเราเวลาส่งของหรือรอรับพัสดุต่าง ๆ จากขนส่ง แน่นอนว่าต้องเคยมีความกังวลอยู่บ้างแน่นอน ว่าของที่เราสั่งไปนั้นจะถึงตัวเรารึเปล่า แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป เพราะเราสามารถนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในการติดตามเส้นทางการขนส่งสินค้าต่าง ๆ ได้ ว่าสินค้าถูกส่งมาจากที่ไหน เวลาใด มีกระบวนการการขนส่งและการคัดแยกอย่างไรบ้าง จะถึงมือผู้รับได้เมื่อไหร่ และถ้าหากว่าเกิดปัญหากับพัสดุชื้นนั้น ๆ ขึ้นมา เราก็สามารถตรวจสอบย้อนหลังไปถึงต้นเหตุได้อีกด้วยเช่นกัน

4. การใช้งาน Blockchain ในการ Backup ข้อมูล

เราเองก็สามารถใช้ Blockchain ในการสำรองข้อมูลต่าง ๆ ย้อนหลังได้อีกด้วย โดยเฉพาะข้อมูลที่สำคัญมาก เช่น ในระบบราชการ เราก็สามารถนำ Blockchain ไปใช้ในการจัดเก็บฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ได้ หรือสามารถนำ Blockchain ไปใช้สำหรับการจัดเก็บข้อมูลการนับคะแนนเลือกตั้ง เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในกระบวนการก็ได้ด้วยเช่นกัน

ภาพโดย mmi9 จาก Pixabay 

ข้อมูล : krungsri , Condonewb

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

  • โทเคน กับ สกุลเงินดิจิทัลต่างกันอย่างไร?
  • ย้อนดูราคา "บิทคอยน์" ราชาแห่ง cryptocurrency
  • รวม ราคาน้ำมัน⬆ ราคาทอง⬇ ราคาบิตคอยน์ (ฺBitcoin)⬆ ตลาดหุ้น⬇ อัตราแลกเปลียนค่าเงิน ล่าสุด
  • 'บิตคอยน์' หรือสกุลเงินดิจิทัลคืออะไร
  • altcoin คืออะไร! cryptocurrency ที่มีมากกว่า บิตคอยน์
  • ทำความรู้จัก CBDC สกุลเงินดิจิทัลที่ธนาคารกลางหลายประเทศเริ่มใช้กัน
  • ลงทุนใน Bitcoin ทำได้อย่างไร?
  • โทเคน กับ สกุลเงินดิจิทัลต่างกันอย่างไร?
  • บิทคอยน์ : ทำความรู้จัก Staking การลงทุนเพื่อสร้าง Passive income แบบใหม่
  • ทำไมเราต้องถือครอง bitcoin ไว้บ้าง?
  • Passive vs. Active ลงทุนแบบไหนดีกว่ากัน

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

Blockchain คืออะไร และ มีประโยชน์ อย่างไร..?

Blockchain คือ ระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเครือข่ายใยแมงมุมที่เก็บสถิติการทำธุรกรรมทางการเงินและสินทรัพย์ชนิดอื่นๆในอนาคต โดยไม่มีตัวกลางคือสถาบันการเงินหรือสำนักชำระบัญชี นั่นก็คือระบบ Blockchain จะไม่มีตัวกลางอย่างที่เคยเป็นมานั่นเอง จึงเท่ากับว่า Blockchain เป็นระบบโครงข่ายในการทำ ...

ข้อใดถือเป็นประโยชน์ของบล็อกเชน

เนื่องจากว่าบล็อกเชนคือคลังของเครือข่ายการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายอำนาจ ไม่ได้กระจุกอยู่เพียงจุดเดียว ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงการทำธุรกรรมทางการเงินได้มากขึ้นและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ยิ่งสำหรับประเทศและพื้นที่อยู่ห่างไกลหรือประเทศที่มีปัญหาขาดแคลนทรัพยากรทางด้านนี้ ก็จะได้ผลประโยชน์กับเทคโนโลยีบล็อกเชนนี้ด้วย เพราะ ...

Blockchain มีอะไร

Blockchain คือวิธีการเก็บข้อมูลบัญชีรูปแบบหนึ่ง นึกภาพง่าย ๆ ว่า พอมีธุรกรรม Transaction ใหม่ ๆ เข้ามา มันก็จะถูกกองรวม ๆ กันไว้ พอได้จำนวนหนึ่งเราก็จะจัดบรรจุธุรกรรมเหล่านั้นลงกล่องบัญชี (Block) และทำการปิดกล่อง พอเราปิดกล่องเสร็จ เราก็จะได้กล่องใหม่หรือ Block ใหม่ขึ้นมานั้นเอง

ทำไมถึงเรียกว่า Blockchain

บล็อกเชน (อังกฤษ: blockchain) หรือว่า ห่วงโซ่บล็อก มีคำอังกฤษดั้งเดิมเป็นคำสองคำคือ block chain เป็นรายการระเบียน/บันทึก (record) ที่เพิ่มขึ้น/ยาวขึ้นเรื่อย ๆ โดยแต่ละรายการเรียกว่า บล็อก ซึ่งนำมาเชื่อมต่อเป็นลูกโซ่ (เชน) และตรวจสอบความถูกต้องและรับประกันความปลอดภัยด้วยวิทยาการเข้ารหัสลับ บล็อกแต่ละบล็อกปกติจะมีค่าแฮช ...