Breakdown Maintenance มีอะไรบ้าง


เทคนิคการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลในอุตสาหกรรม

1. การบำรุงรักษาหลังเกิดเหตุขัดข้อง (Breakdown Maintenance)

เป็นการบำรุงรักษาเมื่อเครื่องจักรเกิดการชำรุดและหยุดการทำงานโดยฉุกเฉิน กล่าวได้ว่าเป็นวิธีดั้งเดิมในการบำรุงรักษา แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะใช้วิธีนี้ เพราะสามารถเกิดเหตุขัดข้องกับเครื่องจักรได้ตลอดเวลา แม้ว่าจะมีการบำรุงรักษาเชิงป้องกันที่ดีเยี่ยมสักเพียงใดก็ตาม

2. การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM)

เป็นการบำรุงรักษาเพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพการเกิดเหตุขัดข้อง หรือการหยุดทำงานของเครื่องจักรโดยฉุกเฉิน โดยอาศัยการตรวจสภาพเครื่องจักร การทำความสะอาด ขันน็อตสกรูให้แน่น และหล่อลื่นอย่างถูกวิธี มีการปรับแต่งเครื่องจักร รวมถึงการบำรุงและเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยการบำรุงรักษาชนิดนี้

สามารถแบ่งย่อยได้ 2 แบบ คือ การบำรุงรักษาตามระยะเวลา (Periodic Maintenance หรือ Time Based Maintenance: TBM) คือ การดำเนินการอยู่เป็นระยะ ๆ ผ่านการตรวจสอบ ทำความสะอาดอุปกรณ์ และเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่เพื่อป้องกันความเสียหายอย่างฉับพลัน หรือเกิดปัญหาต่อกระบวนการผลิต
       การบำรุงรักษาแบบคาดการณ์ (Predictive Maintenance) คือ การให้ความสำคัญและใส่ใจกับชิ้นส่วนที่สำคัญของเครื่องจักร เป็นการคาดการณ์ผ่านการตรวจสอบ หรือวินิจฉัย เพื่อที่จะให้ชิ้นส่วนนั้น ๆ สามารถใช้งานได้ครบอายุการใช้งานจริง ๆ กล่าวได้ว่าเป็นการบริหารจัดการแนวโน้มของคุณค่า (Trend Values) โดยอาศัยการตรวจวัดและการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเสื่อมสภาพ และสามารถกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็น การบำรุงรักษาตามสภาพ (Condition Based Maintenance: CBM) ด้วย โดยมากแล้วจะใช้อุปกรณ์วิเคราะห์การสั่น (Vibration Analysers) และมีระบบเฝ้าติดตาม (Surveillance System) เพื่อตรวจสอบสภาพผ่านระบบออนไลน์ (On–line System)

3.  การบำรุงรักษาเชิงแก้ไขปรับปรุง (Corrective Maintenance)

เป็นการดัดแปลง ปรับปรุงแก้ไขเครื่องจักรหรือชิ้นส่วนของเครื่องจักร เพื่อขจัดเหตุขัดข้องเรื้อรังของเครื่องจักรให้หมดไปโดยสิ้นเชิง และปรับปรุงสภาพของเครื่องจักรให้สามารถผลิตได้ด้วยคุณภาพและปริมาณที่สูงขึ้น โดยเป็นการพัฒนาความน่าเชื่อถือและง่ายต่อการบำรุงรักษา

4. การป้องกันเพื่อบำรุงรักษา (Maintenance Prevention)

เป็นการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งเครื่องจักรที่ไม่ต้องมีการบำรุงรักษา หรือบำรุงรักษาให้น้อยที่สุด โดยอาศัยการออกแบบเครื่องจักรให้มีความแข็งแรง ทนทาน บำรุงรักษาได้ง่าย มีการใช้เทคนิคและวัสดุที่จะทำให้เครื่องจักรมีความน่าเชื่อถือ (Reliability) สูง รวมถึงเลือกซื้อเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพ ทนทาน ซ่อมง่ายและสมราคา

5. การบำรุงรักษาทวีผล (Productive Maintenance)

เป็นการบำรุงรักษาที่นำเอาการบำรุงรักษาที่กล่าวมาข้างต้นมาประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อส่งเสริมการผลิตให้เกิดผลสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้

6. การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม

(Total Productive Maintenance: TPM)

เป็นการบำรุงรักษาที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกคน ทั้งพนักงานปฏิบัติการในสายการผลิต (Operators) และพนักงานฝ่ายซ่อมบำรุง (Maintenance group) ซึ่งจะรับผิดชอบในการบำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องจักรต่าง ๆ ร่วมกัน

การบำรุงรักษานั้นต้องมีการวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรวัตถุประสงค์ของการบำรุงรักษา คือ สามารถที่จะรักษาสมรรถนะความพร้อมในการใช้งานของเครื่องจักร  รักษาประสิทธิผลของเครื่องจักร เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามแผนที่วางไว้  มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด รวมถึงการบำรุงรักษาเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานเครื่องจักรอีกด้วย


เมื่อผมเข้าโรงงานใหม่ ด้วยความคาดหวังจะสร้างโรงงานที่ใช้เครื่องมือบริหาร TPM สร้างกำไร

แต่คำถามแรกที่ได้รับหลังจากทำงานไปสักระยะคือ เครื่องจักร Failure จะทำอย่างไรดี ซึ่งเป็นคำถามจากผู้จัดการผลิต  ผมเองก็ตอบไปตรงๆว่า  “ไม่รู้ครับ”

แต่ผมมีจุด Check point เพื่อช่วยตรวจสอบว่าระบบป้องกันการเกิด Breakdown ยังใช้งานได้อยู่หรือไม่

หากพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ การตรวจว่าคุณได้ทำคู่มือการทำงาน ทำตามเงื่อนไขการผลิตหรือทำตามแผน PM หรือไม่ หากคุณละเลยการดำเนินการก็จะมีแนวโน้มที่คุณจะเจอ เครื่องจักร Breakdown แน่นอนรายการที่คุณต้องไปตรวจสอบมีดังต่อไปนี้

  1. การจัดเตรียมเงื่อนไขพื้นฐาน

เงื่อนไขพื้นฐาน คือ การทำความสะอาด ขันแน่น หล่อลื่น และตรวจสอบ. Failure นั้นเกิดจากการเสื่อมสภาพ กลไกจะค่อยๆ เสื่อมที่ละน้อยตามเวลาที่ผ่านไป และไม่ได้มีการดำเนินการในเงื่อนไขพื้นฐานทั้ง 4 อย่าง

  1. การปฎิบัติตามเงื่อนไข

เครื่องจักรแะอุปกรณ์ มีเงื่อนไขการใช้งานที่กำหนดไว้ ซึ่งหากเราดำเนินการตามเงื่อนไขนั้นแล้ว คงจะไม่เกิด failure ขึ้นง่ายๆ

  1. การฟื้นฟูความเสื่อมสภาพ

ต้องทำการตรวจสอบอย่างถูกต้อง พร้อมกับการซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน เพื่อฟื้นฟูสภาพเครื่องจักรให้กลับไปสู่สภาพเดิมที่ถูกต้อง หรือ Basic condition

  1. ไคเซ็นจุดด้อยจากการออกแบบ

แม้เราจะดูและเครื่องจักรเป็นอย่างดี แต่เครื่องจักรเหล่านี้ในขั้นตอนการออกแบบ การผลิตเครื่องจักรและการติดตั้ง มักจะมีจุดด้อยที่เป็นผลมาจากเทคนิคไม่เพียงพอ ดังนั้นเราต้องจึงต้องทำการวิเคราะห์ failure ให้ถูกต้อง สำหรับการทำไคเซ็นจุดด้อยนั้น ทำให้เครื่องจักรนั้นดีขึ้นกว่าเดิม

  1. เพิ่มทักษะ

แม้เราจะทำตามมาตรฐานหรือไคเซ็น ตามทั้ง 4 ข้อ แต่ทั้งหมดนั้นล้วนแล้วแต่ใช้คนเป็นผู้ดำเนินการ ดังนั้นคนจึงเป็นต้องมีทักษะ เพราะว่าอุตส่าห์ดำเนินการตามมาตรการทั้ง 4 ข้อแล้ว แต่ความผิดพลาดในการควบคุมหรือซ่อมเครื่องจักรก็อาจจะทำให้เครื่องจักรเสียได้ ซึ่งถือเป็นปัญหาที่ใหญ่มาก ดังนั้น failure นั้น สามารถป้องกันได้นั้น ก็ต้องให้ฝ่ายผลิตและฝ่ายซ่อมบำรุง เพิ่มทักษะเฉพาะด้านของตนเองให้สูงขึ้นด้วย

เน้นการดำเนินการข้อ 1-3 อย่างจริงจังก่อนนะครับ จากนั้นค่อยขยับทำข้อ 4-5

อยากได้ผลลัพธ์ ต้องลงมือทำ อย่ารอให้พร้อมแล้วค่อยลงทำ

“Formal education will make you a living; self-education will make you a fortune.”

การศึกษาในระบบจะทำให้คุณเลี้ยงชีวิต การศึกษาด้วยตัวเองจะทำให้คุณสร้างอนาคต

😀😀😀

#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ

#HozenKaizen

Breakdown Maintenance หมายถึงอะไร พร้อมอธิบาย

การซ่อมบำรุงรักษาหลังเหตุขัดข้อง (Break down Maintenance) คือการบำรุงรักษาเมื่อเครื่องจักรเกิดชำรุดและหยุดโดยฉุกเฉิน วิธีการนี้ แม้ว่าจะเป็นวิธีการดั้งเดิมในการบำรุงรักษา แต่ยังจำเป็นต้องนำมาใช้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ข้อดีของการทำ Breakdown Maintenance คืออะไร

เมื่ออุปกรณ์ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ซ่อมแซมได้ หรืออยู่ในบริเวณที่ไม่สามารถซ่อมได้ เมื่ออุปกรณ์ไม่มีความสำคัญ ในการผลิตและสามารถซ่อมแซมหรือเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วปลอดภัย รวมถึงราคาไม่แพง เมื่ออุปกรณ์ หรืออะไหล่ ได้รับการออกแบบมาให้เปลี่ยนเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน เช่น หลอดไฟ ไส้กรองบางชนิด

การบํารุงรักษา มีอะไรบ้าง

ประเภทของการบำรุงรักษา Breakdown Maintenance (การบำรุงรักษาโดยการซ่อมแซมส่วนที่เสีย) Planned/Preventive maintenance (การบำรุงรักษาตามแผน) Predictive maintenance (การบำรุงรักษาโดยการคาดคะเน) Proactive maintenance (เป็นแนวคิดใหม่ในวงการบำรุงรักษา โดยการแก้ที่สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา)

Reactive Maintenance คือ อะไร

การบำรุงรักษาเชิงรับ (Reactive Maintenance) เป็นการ “รอ” เครื่องจักรให้มีอาการพัง ถึงทำการซ่อมแซมให้กลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง การทำงานประเภทนี้จะมีค่าเสียโอกาสและค่าซ่อมที่สูงมากเนื่องจากหากผ่านไปนานๆ เครื่องจักรที่ไม่ได้มีการบำรุงรักษาจะมีโอกาสพังพร้อมกันสูง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ