ความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นเช่นใด

ความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นเช่นใด

สังคมพหุวัฒนธรรม (Multicultural society) ก็เป็นเหมือนกับทุกเรื่อง มันมี “ด้านที่ดี” และ “ด้านที่ไม่ดี” มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะพบสถานที่ๆ มีเพียงวัฒนธรรมที่แตกต่างกันเพียงไม่กี่ชนิด โลกเสรีที่เราอาศัยอยู่ทำให้เรามีทางเลือกมายในการใช้ชีวิต ซึ่งมีประโยชน์มากมาย แต่มีข้อเสียเช่นกัน บางอย่างก็อาจเพิ่มคุณค่าชีวิตของเรา ในขณะที่บางอย่างก็อาจทำให้เราอยู่ในความเสี่ยง

ข้อดีของสังคมแบบพหุวัฒนธรรม

ความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นเช่นใด
อยู่สังคมร่วมกันอย่างมีความสุข

1.นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลาย ผู้อพยพจากประเทศต่างๆ จะนำแหล่งความรู้ประสบการณ์ที่หลากหลายเข้ามาเผยแพร่ พวกเขาช่วยปรับปรุงการค้า นำความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมมาสู่ประเทศ

2.การเติบโตทางเศรษฐกิจ การทำธุรกิจกับผู้คนต่างวัฒนธรรม เช่น ผู้อพยพ อาจเป็นสิ่งที่นำทักษะใหม่มาใช้ในธุรกิจ สิ่งนี้จะช่วยให้ธุรกิจเข้าสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ

3.เข้าใจผู้คนมากขึ้น ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ช่วยให้เข้าใจวัฒนธรรมต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น มันช่วยให้เราทราบวิธีที่จะโต้ตอบกับผู้คนจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

4.การซึมซับวัฒนธรรม เราจะได้เห็นประเพณีใหม่ๆ ที่มีความงดงาม มีความหมายต่อผู้คน เป็นโอกาสที่จะเฝ้าดูเพื่อนำมาปรับใช้ร่วมกับวัฒนธรรมของประเทศ

5.เรียนรู้ภาษาที่แตกต่าง คุณสามารถเป็นเพื่อนกับผู้คนจากประเทศต่างๆ เมื่อได้สนทนากับพวกเขา คุณจะมีโอกาสที่จะเรียนรู้ภาษาของพวกเขาด้วย

6.แรงงานข้ามชาติที่มีทักษะ ประเทศที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ เป็นบ้านของผู้อพยพที่ส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่มีทักษะสูง พวกเขาเหล่านี้มีความสามารถที่จะมาเป็นแรงงานที่ดีให้แก่ประเทศ หรือเป็นผู้สอนบุคคลากรที่ดี

7.โอกาสทางการศึกษา ถือเป็นเรื่องที่ดีเมื่อเด็กๆ จะได้เรียนรู้ถึงความแตกต่างของผู้คน ช่วยให้มองเห็นมุมมองที่ต่างกันออกไป ลดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ

8.ได้รู้จักประเพณีใหม่ๆ สังคมพหุวัฒนธรรมช่วยให้เราได้มีส่วนร่วมกับประเพณีใหม่ วัฒนธรรมใหม่ ได้เข้าถึงวิถีชีวิตของคนต่างถิ่น

ข้อเสียของสังคมแบบพหุวัฒนธรรม

1.ความขัดแย้งทางศาสนา ด้วยความเชื่อทางศาสนาที่แตกต่างกัน นำมาซึ่งความขัดแย้งมากมายภายในชุมชน จากตัวอย่างที่เห็นมากมายในประวัติศาสตร์

2.อุปสรรคทางภาษา ผู้คนที่มาจากต่างวัฒนธรรม ย่อมมีภาษาท้องถิ่นเป็นของตัวเอง บางครั้งก็เป็นอุปสรรคสำคัญในการสื่อสารให้เข้าใจ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถพูดภาษาต่างถิ่นได้

3.วัฒนธรรมที่แตกต่าง เป็นเรื่องยากที่คนทั่วไปจะรับมือกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม เพื่อที่จะทำทำความเข้าใจความเชื่อและบรรทัดฐานของพวกเขา

4.ความเสี่ยงจากความขัดแย้งทางสังคม อาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากหลักความเชื่อที่ต่างกัน วิถีชีวิตบางอย่างอาจทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างคนสองกลุ่ม

5.นำความแตกต่างมาสู่สังคม คนจากต่างถิ่นมักจะนำข้าวของจากบ้านเกิดมาด้วย มีแนวโน้มที่คนท้องถิ่นจะไม่พอใจกับสิ่งเหล่านี้

6.การจัดการแรงงานที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นเรื่องยาก มันเป็นเรื่องที่ท้าทายที่จะควบคุมแรงงานจากต่างถิ่น โดยเฉพาะผู้ที่มีความเชื่อแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องยากที่จะให้แรงงานทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มันเป็นเรื่องที่ดีที่ผู้คนจะได้พบเจอกับความหลากหลาย ทำให้พวกเขาได้มีมุมมองที่แตกต่างออกไป แต่บ้างครั้งหลายคนก็เกิดความกลัวว่า วัฒนธรรมดั้งเดิมของพวกเขาจะถูกกลืนกินหรือเปล่า แม้ว่าทุกวันนี้เราจะเห็นผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนาอยู่ร่วมกัน แต่ในความคิดของพวกเขาก็ยังคงมีความแตกต่างตามหลักคำสอนของแต่ละวัฒนธรรม มีเพียงสิ่งเดียวที่ทุกคนมีร่วมกัน คือ “ความเป็นเพื่อนมนุษย์ที่ดีต่อกัน” ที่ทุกสังคมและศาสนาสอนให้เป็น สมัคร betflix

Post navigation

09 Aug

ความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นเช่นใด

โดย รศ.ดร. ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์

ในเมื่อคนเรามีความแตกต่างหลากหลาย สังคมประชาธิปไตยควรมีหน้าตาแบบไหนจึงจะทำให้เราอยู่ต่อไปด้วยกันได้?

อคติในสังคมทำให้เราให้คุณค่าของ “ความแตกต่าง” ไม่เท่ากัน เราอดทนอดกลั้นกับความแตกต่างไม่ได้ และผลักให้คนที่คิดต่างและไม่เหมือนเราอยู่ในขั้วตรงข้ามเสมอ การตีตราประณาม กีดกัน และบังคับให้เกิดการหลอมรวมนำมาซึ่งความทุกข์ ความรุนแรงและความแตกแยกในสังคม ยกตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมในโรงเรียนที่เน้นการบังคับหลอมรวมให้นักเรียนทุกคนมีลักษณะเหมือน ๆ กัน ความกดดันเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในสังคมโรงเรียน ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นและยอมรับความแตกต่างที่แต่ละปัจเจกบุคคลพึงมีได้

ประชาธิปไตยในลักษณะการยึดเสียงข้างมากเป็นหลัก 1คน1เสียง ใช้ระบบตัวแทน และเน้นการเลือกตั้ง อาจไม่ได้เป็นทางออกเสมอไป ประชาธิปไตยลักษณะนี้อาจตายไปแล้ว เพราะในที่สุดแล้ววิธีและระบบการเลือกตั้งทำให้เกิดช่องโหว่ ก่อให้เกิดปัญหาว่าด้วยเรื่องเสียงข้างมาก (adversarial democracy) สร้างความรู้สึกความเป็นผู้ชนะและผู้แพ้ และภาวะความเป็นศัตรูกัน

หากกล่าวถึง ประชาธิปไตยในฐานะวิถีชีวิต คือการร่วมกันคิด ให้เหตุผล ชักจูงโน้มน้าว เคารพซึ่งกันแลกัน การพยายามหาจุดที่ทุกฝ่ายรับได้ และที่สำคัญคือการมีความอดทนอดกลั้น เป็นสิ่งจำเป็นในการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างหลากหลาย สังคมที่ให้ค่านิยมกับเสรีภาพนั้นต้องมีความอดทนอดกลั้นอยู่คู่กันด้วย ความอดทนอดกลั้นจะเป็นหลักประกันที่ช่วยให้เราอยู่ในสังคมที่มีความหลากหลายได้มากขึ้น

มากไปกว่านั้น เราควรสำรวจความคิดและการกระทำของเราอยู่ตลอดเวลา ว่าเรากำลังรักษาฐานของการให้คุณค่าที่ไม่เท่าเทียมกันไว้อยู่ด้วยหรือไม่? เรากำลังหล่อเลี้ยงความเหลื่อมล้ำบางประการอยู่หรือไม่? หากเราสามารถให้คุณค่าประชาธิปไตยในฐานะวิถีชีวิตเช่นนี้ได้ มองเห็นคุณค่าของกันและกันจากทั้งมิติของความเหมือนและความต่าง เราจะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขมากขึ้น

ดาวน์โหลด pdf

จดบันทึกแบบภาพ โดย ชลิพา จาก Inskru -พื้นที่แบ่งปันไอเดียการสอน

จดบันทึกโดย นพวรรณ เลิศธารากุล