นโยบายการเงินแบบขยายตัว มีอะไรบ้าง

ธนาคารกลางก็จะใช้เครื่องมือเหล่านี้ ในการปรับลดความร้อนแรงนั้นลง เช่น การถอนสภาพคล่องออกจากระบบ, การขึ้นอัตราดอกเบี้ย, การปรับเพิ่มสัดส่วนเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์

ซึ่งเราจะเรียกนโยบายนี้ว่า Contractionary Monetary Policy หรือ “นโยบายการเงินแบบหดตัว”
ยกตัวอย่างการใช้นโยบายการเงินแบบหดตัว เช่น

- ธนาคารกลางทำการสั่งให้ธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องมี Reserve Requirement ในสัดส่วนที่สูงขึ้น
เพราะการมีสัดส่วนเงินสำรองที่มากขึ้น จะทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยกู้ได้ในปริมาณที่น้อยลง

โดยทั่วไปแล้วนโยบายเหล่านี้ ก็จะส่งผลให้เงินในระบบมีปริมาณลดลง ซึ่งก็จะช่วยลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจลงได้

กลับกัน ในช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะถดถอย เช่น ในช่วงที่ GDP ติดลบติดต่อกันหลายไตรมาส

ธนาคารกลางก็จะใช้เครื่องมือเหล่านี้ ในการกระตุ้นให้เศรษฐกิจมีการขยายตัว เช่น การอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ, การลดอัตราดอกเบี้ย, การปรับลดสัดส่วนเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์

ซึ่งเราจะเรียกนโยบายนี้ว่า Expansion Policy หรือ “นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย”
ยกตัวอย่างการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เช่น

- ธนาคารกลางทำการเข้าซื้อพันธบัตรจากธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินสำรองที่สามารถนำไปปล่อยกู้ได้มากขึ้น

    1. ประเภทของนโยบายการคลัง  จำแนกตามลักษณะปัญหาเศรษฐกิจ
  1. นโยบายการคลังแบบขยายตัว (Expansionary Fiscal Policy) คือ นโยบายการคลังโดยเพิ่มงบประมาณรายจ่ายและลดภาษี หรือการตั้งนโยบายขาดดุล การดำเนินนโยบายการคลังดังกล่าว ทำให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัว การจ้างงานและรายได้ประชาชาติจะเพิ่มสูงขึ้น รัฐบาลจะใช้นโยบายดังกล่าวในช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รายจ่ายมวลรวมของระบบเศรษฐกิจมีไม่เพียงพอ ที่จะทำให้เกิดภาวการณ์จ้างงานเต็มที่ได้
  2. นโยบายการคลังแบบหดตัว (Contractionary Fiscal Policy) คือ นโยบายการคลังที่ลดงบประมาณรายจ่ายและเพิ่มภาษี หรือการตั้งงบประมาณเกินดุล เพื่อให้ความต้องการใช้จ่ายมวลรวมลดลง อันจะนำไปสู่การลดปัญหาภาวะเงินเฟ้อ
    1. การใช้นโยบายการคลังในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ

การใช้นโยบายการคลังที่ใช้ขจัดช่วงห่างเงินเฟ้อ

นโยบายการเงินแบบขยายตัว มีอะไรบ้าง
นโยบายการเงินแบบขยายตัว มีอะไรบ้าง

นโยบายการคลังที่ใช้ในการแก้ปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น คือ การลดการใช้จ่ายของรัฐบาล / การเพิ่มอัตราภาษี  ซึ่งมาตรการทั้งสองประการที่นำมาใช้ จะส่งกระทบต่อความต้องการใช้จ่ายมวลรวม  (DAE) แตกต่างกัน พิจารณาได้ ดังนี้

นโยบายการเงินแบบขยายตัว มีอะไรบ้าง


นโยบายการเงินแบบขยายตัว มีอะไรบ้าง


นโยบายการเงินแบบขยายตัว มีอะไรบ้าง

นโยบายการเงินแบบขยายตัว มีอะไรบ้าง

นโยบายการเงินแบบขยายตัว มีอะไรบ้าง

นโยบายการเงินแบบขยายตัว มีอะไรบ้าง


นโยบายการเงิน (Monetary policy) กับนโยบายการคลัง (Fiscal policy) คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร จำเป็นต้องไปในแนวทางเดียวกันหรือไม่

          หลายคนอาจสงสัยว่านโยบายการเงิน หรือ Monetary policy กับนโยบายการคลัง ที่เรียกว่า Fiscal policy นั้นแตกต่างกันอย่างไร เมื่อไรถึงจะเรียว่านโยบายการเงิน และเมื่อไรถึงจะเรียกว่านโยบายการคลัง และจำเป็นต้องดำเนินไปในทิศทางที่สอดคล้องกันหรือไม่

          นโยบายการเงิน (Monetary policy)
          นโยบายการเงินคือ นโยบายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงิน ได้แก่ ปริมาณเงิน (Money supply) อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate) และอัตราดอกเบี้ย (Interest rate) ทำโดยการปรับลด-เพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจที่จะมีผลต่อการกำหนดทิศทางของอัตราแลกเปลี่ยนให้แข็งค่าหรืออ่อนค่า และการปรับลด-เพิ่มของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นหน้าที่ของธนาคารกลาง หรือธนาคารแห่งประเทศไทยในการกำหนดทิศทางของการดำเนินนโยบายการเงิน

          ทำไมต้องมีนโยบายการเงิน
          เช่นเดียวกับธนาคารกลางทั่วโลกที่ต่างก็ดำเนินนโยบายการเงินโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน กล่าวคือ ในยามที่เศรษฐกิจขาลง หรือตกต่ำ มีคนว่างงานจำนวนมาก การดำเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัว ก็จะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นได้ ขณะที่หากเกิดภาวะเงินเฟ้อสูง ๆ อันเนื่องมาจากขยายตัวของเศรษฐกิจที่สูงเกินไป จนการผลิตมีมากกว่าความต้องการบริโภคที่แท้จริง ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจได้ในอนาคต เพราะสินค้าที่ผลิตมากเกิน อาจจะขายไม่ออกในเวลาต่อมา นโยบายการเงินก็จะดำเนินไปในแนวทางที่ตึงตัวขึ้นหรือหดตัว เพื่อลดความร้อนแรงของภาวะเศรษฐกิจดังกล่าว

          นโยบายการเงินแบบขยายตัว (Expansionary monetary policy) สามารถทำได้หลายวิธีได้แก่

          • การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสดสำรองที่ต้องดำรง (Reserve ratio) ของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งหมายถึง เงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ต้องฝากไว้กับธนาคารกลาง ซึ่งอาจกำหนดไว้ที่ร้อยละ 6 ซึ่งหมายถึงว่าหากธนาคารพาณิชย์รับเงินฝากจากประชาชนมา 100 บาท ธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องฝากเงินสดสำรอง (Required reserve) ไว้ที่ธนาคารกลาง 6 บาท และเหลือเงินสดสำรองส่วนเกิน (Excess reserve) เพื่อปล่อยกู้ หรือลงทุนแสวงหากำไรอีก 94 บาท เป็นต้น ซึ่งหากมีการปรับลดอัตราเงินสดสำรองเหลือร้อยละ 3 ก็จะทำให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินสดสำรองส่วนเกินเพื่อปล่อยกู้ให้กับประชาชนเพิ่มขึ้นเป็น 97 บาท เป็นต้น (เป็นเพียงตัวอย่างเพื่อสร้างความเข้าใจง่ายๆ ซึ่งจริงๆ แล้ว เงินสดสำรองส่วนเกินดังกล่าวยังจะต้องผ่านกระบวนการสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์อีกกระบวนการหนึ่ง โดยจะได้กล่าวถึงโดยละเอียดในบทความต่อๆ ไป เมื่อมีโอกาส) ซึ่งเมื่อธนาคารพาณิชย์มีเงินสดสำรองส่วนเกินมากขึ้น และกลไกการปล่อยสินเชื่อทำได้เต็มที่ จะทำให้การบริโภคและการลงทุนปรับสูงขึ้น การจ้างงานก็ปรับสูงขึ้น และทำให้เศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวได้
          • การซื้อขายหลักทรัพย์ หรือพันธบัตรของธนาคารกลางกับภาคเอกชน (Open market operation) การดำเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัว ธนาคารกลางจะซื้อหลักทรัพย์จากภาคเอกชน เพื่อปล่อยเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีมากขึ้น ซึ่งจะสนับสนุนให้เกิดการบริโภค การลงทุนและทำให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไป
          • การเปลี่ยนแปลงอัตราซื้อลด (Discount rate) คือ การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารกลางคิดจากธนาคารพาณิชย์ การดำเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัวจะทำโดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ซึ่งจะมีผลทำให้เงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น และทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
          • การขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตาม (Moral suasion) เช่น การขอให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อให้กับกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางประเภทที่มีความสำคัญ เช่น ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) เป็นต้น
          นโยบายการเงินแบบหดตัว (Contractionary monetary policy) ทำได้โดยการลดปริมาณเงิน ผ่านช่องทางการเพิ่มอัตราเงินสดสำรอง การขายหลักทรัพย์ให้แก่ภาคเอกชน และการเพิ่มอัตราซื้อลด ซึ่งจะเป็นการดูดเงินออกจากระบบเศรษฐกิจ ซึ่งธนาคารกลางมักจะเลือกทำในยามที่ประเมินว่าเศรษฐกิจอาจจะร้อนแรงเกินไปจนอาจเกิดผลเสียตามมาในภายหลัง เช่นในช่วงที่เกิดฟองสบู่ในตลาดที่อยู่อาศัย หรือในช่วงที่เกิดภาวะเงินเฟ้อสูงๆ ในประเทศ เป็นต้น

          นโยบายการคลัง (Fiscal policy)
          นโยบายการคลังคือ นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดหารายได้และการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยในการจัดหารายได้ของรัฐบาลจะมาจากการจัดเก็บภาษีประเภทต่างๆ จากทั้งผู้ผลิต เช่น ภาษีนิติบุคคล ที่เก็บจากบริษัทห้างร้านต่างๆ หรือการจัดเก็บจากผู้บริโภค เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่เราเรียกกันว่า VAT หรือจัดเก็บจากผู้มีรายได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นอกจากนี้ ยังมีภาษีอีกหลายประเภท เช่น ภาษีสรรพสามิต ที่จัดเก็บกับสินค้าฟุ่มเฟือย อาทิ บุหรี่ สุรา ไพ่ หรือภาษีนำเข้าเก็บจากสินค้านำเข้า เช่น ภาษีรถยนต์ น้ำหอม นาฬิกา และเครื่องสำอางค์ เป็นต้น

          เก็บภาษีได้แล้วเอาเงินไปไหน

          ภาษีที่จัดเก็บได้ รัฐบาลจะนำไปใช้จ่ายเพื่อการอุปโภค และการลงทุน ตามงบประมาณที่ตั้งไว้ในแต่ละปี โดยปกติจะใช้จ่ายผ่านส่วนงานราชการ กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ เช่น การสร้างถนน การจัดซื้ออาวุธ งบกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ เป็นต้น โดยรัฐมักจะนำเงินภาษีไปใช้ในการสร้างปัจจัยพื้นฐานให้กับระบบเศรษฐกิจ หรือใช้ในการผลิตสินค้าและบริการที่เอกชนไม่ผลิต หรือที่เรียกว่า สินค้าสาธารณะ (Public goods) อาทิ การทหาร การสร้างถนนหนทาง สวนสาธารณะ สะพานลอย

          ทำไมต้องมีนโยบายการคลัง
          โดยหลักแล้ว นโยบายการคลังของรัฐบาล ถือเป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ ในยามที่เศรษฐกิจดี ภาษีที่รัฐจัดเก็บจะมีมากตามไปด้วยโดยอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคสินค้าและบริการร้อยละ 7 ของมูลค่าสินค้าและบริการ ซึ่งหากเศรษฐกิจเจริญเติบโตดี เงินภาษีที่รัฐจัดเก็บได้ก็จะสูงตามไปด้วย แต่หากเศรษฐกิจไม่ดี รัฐก็สามารถนำเงินภาษีมาใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ซึ่งถือเป็นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไปในตัว กล่าวคือ ยามที่เศรษฐกิจดี หรือหากเปรียบเป็นรถที่วิ่งเร็ว การเก็บภาษีจะเป็นเสมือนการแตะเบรกไม่ให้รถวิ่งเร็วจนเกินไปจนอาจเป็นอันตรายได้ ขณะที่ยามที่รถวิ่งช้ามาก หรือเศรษฐกิจไม่ดี มีคนตกงานเยอะ รัฐจะนำเงินภาษีมาใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้รถวิ่งได้เร็วขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ดี หากรัฐนำเงินภาษีไปใช้ในทางที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจหรือไม่ได้ช่วยสร้างเสริมความสามารถในการผลิตที่เรียกว่า Productivity ในที่สุดแล้ว เงินภาษีที่ใช้จ่ายออกมา อาจเป็นประโยชน์ต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงในระยะสั้น ๆ แต่ในระยะยาวแล้ว เศรษฐกิจจะไม่ได้อะไร

          การดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัว (Expansionary fiscal policy) คือ การที่รัฐบาลใช้จ่ายมากกว่ารายได้ภาษีที่จัดเก็บได้ หรือที่เรียกว่า งบประมาณขาดดุล ซึ่งอาจเลือกใช้ในยามที่เกิดปัญหาเงินฝืด หรือเศรษฐกิจถดถอย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเมื่อรัฐบาลใช้จ่ายมากขึ้นกว่าภาษีที่จัดเก็บ ก็เป็นเสมือนการอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ เช่น การปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 7 ก็ทำให้คนมีเงินเหลือเพื่อจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เป็นต้น
          การดำเนินนโยบายการคลังแบบหดตัว (Contractionary fiscal policy) คือ การที่รัฐบาลใช้จ่ายน้อยกว่ารายได้ภาษีที่จัดเก็บได้ หรือที่เรียกว่า งบประมาณเกินดุล ซึ่งอาจจะเลือกใช้ในยามที่เกิดปัญหาเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเมื่อรัฐบาลใช้จ่ายน้อยลง แต่เก็บภาษีมากขึ้น ก็เป็นเสมือนการดูดเงินออกจากระบบเศรษฐกิจ ก็ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวน้อยลงหรือหดตัว ก็จะช่วยให้เงินเฟ้อปรับลดลงได้
         
          นโยบายการเงินและนโยบายการคลังควรจะดำเนินไปในแนวทางที่สอดคล้องกันหรือไม่
          คำตอบคือ ควรเป็นอย่างยิ่ง ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าไม่ว่าจะเป็นการดำเนินนโยบายการเงินหรือการคลัง ต่างก็มีวัตถุประสงค์เดียวกันคือ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน คอยแตะเบรกเวลาที่เศรษฐกิจร้อนแรงเกินไป หรือคอยเสริมในเวลาที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาลง ดังนั้น หากไม่สอดคล้องกัน เช่น นโยบายการเงินตึงตัว ขณะที่นโยบายการคลังขยายตัว ผลที่ได้ต่อเศรษฐกิจย่อมจะถูกหักล้างกันเอง นอกจากนี้ ยังอาจทำให้ประชาชนเกิดความสับสนและคาดเดาผลที่จะมีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ยาก ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการบริโภคและการลงทุนและเป็นผลเสียต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในที่สุด
          ทั้งนี้ การมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินนโยบายทั้งการเงินและการคลัง จะช่วยให้เราประเมินได้ว่า ในภาวะเศรษฐกิจแบบใด นโยบายการเงินและการคลังควรจะดำเนินไปอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถประเมินได้ว่าทิศทางของภาวะเศรษฐกิจในอนาคตจะเป็นอย่างไร เพื่อประโยชน์ในการปรับตัวของเราทั้งในการวางแผนเพื่อการบริโภคและการลงทุนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในภาวะเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที  

นโยบายการคลังแบบขยายตัว มีอะไรบ้าง

1) นโยบายการคลังแบบขยายตัว (expansionary fiscal policy) คือ นโยบายการคลังที่เพิ่มรายจ่ายของภาครัฐบาล และลดอัตรา ภาษี (ใช้งบประมาณแบบขาดดุล) ใช้เมื่อภาวะเศรษฐกิจตกต ่า สินค้า และบริการของผู้ผลิตขายไม่ออก ระดับการว่างงานภายในประเทศสูง

นโยบาย การเงิน มีความสําคัญอย่างไร

นโยบายการเงินส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและราคาสินค้าและบริการ การปรับขึ้นลงของราคาสินค้าและบริการเรียกว่าอัตราเงินเฟ้อ โดยอัตราเงินเฟ้อที่ไม่สูงหรือต่ำเกินไปจะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ธปท. จึงดำเนินนโยบายการเงินเพื่อให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่เหมาะสม พร้อมกับดูแลให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ และระบบการเงินมี ...

เงินเฟ้อใช้นโยบายการคลังแบบใด

นโยบายการคลังกับปัญหาเงินเฟ้อ จ่ายหรือโดยการลดอุปสงค์รวม ได้แก่ ลดการใช้จ่ายของภาครัฐบาล ( Government Expenditure) ● การเพิ่มภาษีอากร ( Taxation) โดยอาจเพิ่มทั้งภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม – ในทางปฏิบัติการเพิ่มภาษีทางอ้อม เช่น – การเพิ่มภาษีการค้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต

นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย มีอะไรบ้าง

ความหมายของนโยบายการเงิน ส่วนอีกลักษณะหนึ่งคือ นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (easy monetary policy) เป็นลักษณะของนโยบายการเงินที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการฟื้นตัวโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ทางการเงิน เพื่อทำให้ปริมาณเงินมีขนาดใหญ่ขึ้นและมักใช้ในภาวะเศรษฐกิจซบเซา ซึ่งมีการลงทุน การผลิตและการใช้จ่ายของประชาชนอยู่ในระดับต่ำ