เสรีภาพในการแสดงออก คือข้อใด

‘เสรีภาพในการพูด’ หรือ ‘Freedom of speech’ คือ สิทธิทางการเมือง ในการสื่อสารคำพูดของบุคคล ทั้งพูด, แสดงออกถึงท่าทาง, สื่อสารด้วยตัวหนังสือ ทั้งกระดาษและในโลกออนไลน์ รวมทั้งรูปแบบอื่นๆ เช่น เสียงเพลง, ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น โดยสิทธิเสรีภาพในการพูด ไม่ได้มีในทุกประเทศ

สำหรับสิทธิเสรีภาพในการพูด จัดเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชน ข้อ 19 แห่งปฏิญญาสากลเรื่องสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการได้รับความยอมรับในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  คือ มนุษย์ทุกคนย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการพูด โดยสิทธินี้รวมไปถึงเสรีภาพค้นหา, ได้รับ และส่งต่อข้อมูลต่างๆ อย่างเสรี ตลอดจนความคิดในทุกรูปแบบ โดยไม่จำกัดขอบเขต ทั้ง พูด, เขียน, พิมพ์ ในรูปแบบของศิลปะ หรือผ่านสื่อต่างๆ ที่เป็นทางเลือกของเขา แต่ถึงกระนั้นก็ตามการใช้สิทธิเหล่านี้มีก็ต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบบางข้อ ด้วยเหตุนี้จึงต้องถูกจำกัดบ้าง โดยต้องคำนึงถึงความเคารพต่อสิทธิของผู้อื่น หรือเพื่อปกครองความมั่นคงของชาติตลอดจนรักษาความสงบสุขเรียบร้อย รวมทั้งไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีงาม

ระดับบุคคลธรรมดา เสรีภาพในการพูดทำให้มนุษย์แต่ละคนสามารถแสดงตัวตน ทำให้เกิดความแตกต่างจากผู้อื่น ไม่ว่าจะผ่านการพูดออกจากปาก, การเขียน Status บน Facebook หรือสื่อโซเชี่ยวอื่นๆ รวมถึง การแสดงออกในรูปแบบอื่นๆ  โดยปัจจัยที่สำคัญ ณ ปัจจุบันนี้ก็คือ เมื่อคุณต้องเผชิญหน้ากับความไม่เป็นธรรมที่ไม่อาจนำผู้กระทำผิดมารับผิดชอบได้ เช่น ถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐข่มขู่ บุคคลนั้นก็มีเสรีภาพ ที่จะโพสเรื่องราวเหล่านั้นลงสื่อสังคมออนไลน์เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ตนได้

สำหรับในระดับชุมชน – สังคมระดับประเทศที่มีขนาดใหญ่ เสรีภาพในการพูด ก็จัดเป็นเครื่องมือสำคัญที่มีไว้ให้คนในชุมชนหรือประชาชนในประเทศ ใช้เพื่อสื่อสารกับรัฐในการสะท้อนปัญหาต่างๆ ออกมาอย่างตรงจุด เพื่อให้เกิดการปรับปรุงต่อไปในอนาคต ขอยกตัวอย่างจากเหตุการณ์จริง คือ ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดเลย ได้รับผลกระทบจากเหมืองแร่ พวกเขาจึงสร้าง Facebook ขึ้น เพื่อเผยแพร่เรื่องราวเหล่านี้ต่อสาธารณะชน ซึ่งสามารถกระทำได้ นอกจากนี้เสรีภาพการพูด ยังเป็นปัจจัยสำคัญซึ่งผลักดันให้โลกของเรา พัฒนาในทุกๆ ด้าน ทั้งทางด้านวิชาการรวมทั้งผลประโยชน์โดยทั่วไป เนื่องจากการที่มีบุคคลหลากหลายฝ่ายนำความคิดเห็นอันแตกต่างกันมาอภิปรายอย่างเสรีแล้ว เป็นการนำไปสู่ทางเลือกในการแก้ปัญหา รวมทั้งหาทางพัฒนาที่กว้างไกลและมีประสิทธิภาพมากกว่าในอดีต  ดังนั้นคุณจะเห็นได้ว่า ถ้ามีการปิดกั้นเสรีภาพในการพูดแล้ว ก็จะทำให้ความคิดบางอย่างถูกปิดกั้นตามไปด้วย แต่พลเมืองไม่อาจรับรู้ได้ เพราะไม่มีเสรีภาพนั่นเอง

ความคิดเห็นที่หลากหลายเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาประเทศและสังคมให้รุ่งเรืองและมีความสุข แต่ปัจจุบัน พื้นที่เสรีภาพในการแสดงออกของคนทั่วโลกกำลังลดลงอย่างมาก กฎหมายหลายฉบับออกมาเพื่อปิดกั้นเสรีภาพที่จะคิด พูด พิมพ์ หรือเขียน แม่บ้านถูกตั้งข้อหาเพราะโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก นักศึกษาถูกจับเพราะยืนชูป้ายนิ่งๆ นักข่าวติดคุกเพราะเขียนบทความวิจารณ์รัฐบาล จนดูเหมือนว่าเสรีภาพในการแสดงออกกำลังอยู่ในช่วงขาลง ทั้งในไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลก

รัฐบาลทั่วโลกมีหน้าที่ต้องคุ้มครองเสรีภาพของประชาชน และสร้างบทบัญญัติกฎหมายเพื่อคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก แต่ในทางปฏิบัติ เป็นที่ชัดเจนว่าไม่เป็นเช่นนั้น ประชาชนทั่วโลกหลายต่อหลายคนถูกโยนเข้าคุกเพราะแสดงความเห็นที่ไม่เข้าหูผู้มีอำนาจ

เราอาจเคยชินกับการเซ็นเซอร์ตัวเองในการแสดงความเห็นประเด็นทางสังคมบางประเด็นในพื้นที่สาธารณะหรือบนโลกดิจิทัล โดยอาจไม่เคยเอะใจ ว่าการเซ็นเซอร์การแสดงออกของตัวเองเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เราควรจะยอมรับหรือไม่ เราอาจจะพอทนกับการเซ็นเซอร์ตัวเองในขณะนี้ แต่ในอนาคต เพื่อนบ้านของเรา เพื่อน หรือบุคคลที่เรารัก อาจจะตกอยู่ในอันตรายจากการถูกจับกุมหรือถูกตั้งข้อหาเพียงเพราะการแสดงออกอย่างสงบก็เป็นได้ แล้วเราจะมีหนทางเปลี่ยนวิถีที่ไม่ควรจะถูกต้องเหล่านี้อย่างไร


สิทธิของบุคคลทุกคนที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และการแสดงความคิดเห็น เป็นสิทธิในระดับสากลที่ได้รับการรับรองตามกฎหมายระหว่างประเทศ เสรีภาพในการแสดงออกเป็นพื้นฐานของความเจริญของสังคมและความงอกงามของปัจเจกบุคคล คุณภาพการศึกษา การสร้างและพัฒนาเทคโนโลยี ความก้าวหน้าของภาคธุรกิจ และการเข้าถึงความยุติธรรม ล้วนมีพื้นฐานจากการที่บุคคลทุกคนในสังคมมีเสรีภาพที่จะพูด เขียน แลกเปลี่ยน หรือถกเถียงความคิดความเห็นต่างๆ ในพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้ความคิดเหล่านั้นพัฒนาต่อยอดนำไปสู่ความรุ่งเรืองของสังคม

เจ้าหน้าที่และสมาชิกของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ต่างทำงานและทำกิจกรรมทั่วโลก เพื่อให้มั่นใจว่า เสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนจะได้รับการคุ้มครอง พวกเราทำแคมเปญเพื่อปลดปล่อยนักโทษทางความคิดทั่วโลก ที่ถูกจำคุกเพียงเพราะแสดงออกอย่างสงบในสิ่งที่พวกเขาเชื่อหรือพิทักษ์ พวกเราทำงานกับนักข่าว อาจารย์ ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่รัฐบาล นักศึกษา และนักกิจกรรมทั่วโลก เพื่อให้มั่นใจว่า พวกเขาจะสามารถพูด คิด และเขียน เพื่อธำรงความถูกต้อง ความยุติธรรม เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน

เสรีภาพในการแสดงออก คือข้อใด

ปัญหา

ประชาชนที่แสดงออกอย่างสงบเพื่อปกป้องเสรีภาพ ความยุติธรรม หรือสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะทำอาชีพอะไร หรือที่เราเรียกว่า “นักปกป้องสิทธิมนุษยชน” อาจตกเป็นเป้าหมายของกระบวนการหรือการกระทำต่างๆ เพื่อปิดปากพวกเขา ไม่ว่าจะโดยรัฐบาล ฝ่ายความมั่นคง กองทัพ ผู้นำศาสนา บรรษัทธุรกิจ หรือแม้กระทั่งโดยสมาชิกในชุมชนของพวกเขาเอง พวกเขาอาจถูกตั้งข้อหา ลอบทำร้าย ทรมาน อุ้มหาย หรือลอบสังหาร อันเป็นแนวโน้มล่าสุดในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ที่รัฐบาลต่างๆ ในทวีปเอเชียต่างใช้วิธีการทางกฎหมายหรือนอกกฎหมายอันพิสดาร เพื่อจำกัดการแสดงออกของประชาชน ข้อหาทางกฎหมายที่เป็นที่นิยมในหลายๆ ประเทศเพื่อจำกัดเสรีภาพการแสดงออกของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ส่วนใหญ่เป็นข้อหาด้านความมั่นคงแห่งชาติ และข้อหายอดนิยมอื่นๆ เช่น หากการแสดงออกนำไปสู่การ “ยุยงปลุกปั่น” ทำให้เกิดความแตกแยก เป็น “อาชญากรรมคอมพิวเตอร์” หรือเป็นการ ”หมิ่นประมาท” ต่อบุคคลหรือสถาบันสำคัญของประเทศ

 

โดนตั้งข้อหาจากการทำข่าว

 “เหมือนกับรัฐบาลตั้งใจให้ผมเป็นเหยื่อ เพื่อให้นักข่าวคนอื่น ๆ เห็นว่า จะเกิดอะไรขึ้นหากพวกเขารายงานประเด็นทางการเมือง เหมือนสุภาษิตไทยที่ว่า “เชือดไก่ให้ลิงดู” แต่ปรากฏว่า หลังจากมีการฟ้องคดีผม สื่อมวลชนกลับรายงานข่าวมากขึ้นเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติ”

ทวีศักดิ์ เกิดโภคา นักข่าว สัมภาษณ์โดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเดือนกันยายนปี 2559

ทวีศักดิ์ เกิดโภคา เป็นนักข่าวประจำสำนักข่าวประชาไท นักข่าวประชาไทได้รับรางวัลระดับโลกจากการทำข่าวระดับมืออาชีพในประเด็นสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน ทวีศักดิ์เป็นนักข่าวสายสิ่งแวดล้อมและชุมชน โดยเขามักตระเวนไปตามพื้นที่ชุมชนที่มีปัญหา เพื่อเขียนสกู๊ปข่าวจากพื้นที่ ทวีศักดิ์ถูกตั้งข้อหาเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2559 หลังจากที่เขาเดินทางไปจังหวัดราชบุรี เพื่อทำสกู๊ปข่าวเกี่ยวกับกลุ่มชาวบ้านที่พยายามทำกิจกรรมตรวจสอบการออกเสียงประชามติ โดยเขาและนักกิจกรรมเยาวชนอีกสามคน ถูกตั้งข้อหาพร้อมกันฐานละเมิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ

ทวีศักดิ์ตระหนักดีถึงบทบาทการเป็นนักข่าวของตัวเอง เขาเชื่อว่าสังคมจำเป็นต้องมีนักข่าวที่รายงานข่าวการเมืองและข่าวจากพื้นที่ด้วยข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำ เพื่อให้ประชาชนตระหนักในประเด็นทางสังคมและการเมืองอย่างลึกซึ้งขึ้น

แอมเนสตี้เรียกร้องอะไร

  • นักโทษทางความคิดทุกคนต้องได้รับการปล่อยตัวโดยทันที และไม่มีเงื่อนไขการปล่อยตัวผูกพันพวกเขา
  • กฎหมายทุกฉบับที่กำหนดบทลงโทษทางอาญาต่อบุคคล เนื่องจากการแสดงออกหรือชุมนุมอย่างสงบ ต้องได้รับการแก้ไขหรือยกเลิก
  • บุคคลทุกคนต้องมีเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร

การรวมตัวและการชุมนุมอย่างสงบ


เสรีภาพการแสดงออกมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับเสรีภาพในการรวมตัว สมาคม และชุมนุมอย่างสงบ บุคคลทุกคนมี “เสรีภาพที่จะรวมตัวและสมาคม” ไม่ว่าจะเป็นการเข้าเป็นสมาชิกชมรม กลุ่ม หรือสหภาพ เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์บางประการ และ “เสรีภาพในชุมนุมอย่างสงบ” หรือเข้าร่วมที่ประชุมต่างๆ กฎหมายใดๆ ที่ปิดกั้นหรือทำให้เสรีภาพดังกล่าวไม่อาจเกิดขึ้นได้อาจขัดต่อพันธกรณีของไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศ


การแสดงออกบนโลกออนไลน์


ข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูลคืออำนาจ ประชาชนกว่าพันล้านคนทั่วโลกสามารถเข้าถึงข้อมูลบนโลกดิจิทัลได้อย่างง่ายดาย แล็ปท็อปและสมาร์ทโฟนที่เชื่อมต่อเรากับโลกอินเตอร์เน็ตสร้างความเปลี่ยนแปลงกับชีวิตผู้คน ประชาชนสามารถแสดงออก เข้าถึงข้อมูล เผยแพร่ภาพผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ และระดมรายชื่อออนไลน์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงได้เพียงปลายนิ้ว


อย่างไรก็ดี ผู้ที่อยู่ในอำนาจต่างตระหนักดีถึงพลังของเสรีภาพและการแสดงออกบนโลกดิจิทัล รัฐบาลหลายประเทศพยายามปิดกั้นการสื่อสารและการเข้าถึงข้อมูลบนโลกดิจิทัลของประชาชน รัฐบาลจีนและเวียดนามได้พัฒนาระบบไฟร์วอลล์ขนาดมหึมาเพื่อปิดกั้นช่องทางการเข้าถึงข้อมูลดิจิทัล รัฐบาลประจำรัฐแคชเมียร์ของอินเดียสามารถตัดการสื่อสารทางโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ตตามเหตุจำเป็นของรัฐบาล หรือความพยายามของรัฐบาลไทยในการผ่านร่างพระราชบัญญัติความมั่นคงไซเบอร์ และการผ่านร่างแก้ไขพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เมื่อเดือนธันวาคมปี 2559 ที่สามารถปิดกั้นข้อมูลบนโลกดิจิทัลตามที่รัฐบาลเห็นสมควร