กราฟิกตามคำศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถานเรียกว่าอะไร

เพื่อนำเสนอเนื้อหาที่ดีและมีประสิทธิภาพให้กับท่านมากยิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตและยอมรับให้มีการใช้คุกกี้ตามนโยบายการใช้คุกกี้ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา. อ่านเพิ่มเติม ตกลง

------------------------------------------------------------------------------------------------------

ศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แก้ไขเพิ่มเติม พิมพ์ครั้งที่ ๕ พ.ศ.๒๕๔๓ ซึ่งเสร็จเรียบร้อยออกมาได้จริงๆ ในปลายปี ๒๕๔๔


access denied ข้อความห้ามเข้าถึง

accessor ตัวเข้าถึง

ActiveX แอ็กทิฟเอกซ์

ADSL (asymmetric digital subscriber line) เอดีเอสแอล (สายผู้เช่าดิจิทัลแบบอสมมาตร)

aggregation ภาพรวมกลุ่ม

anonymous FTP เอฟทีพีแบบนิรนาม

API (application program interface) เอพีไอ (ส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์)

APPC (advanced program to program communications) เอพีพีซี (การสื่อสารระดับสูงระหว่างโปรแกรม)

ASIC (application specific integrated circuit) เอสิก (วงจรรวมเฉพาะงาน)

ASPI (advanced SCSI program interface) เอเอสพีไอ (ส่วนต่อประสานโปรแกรมสกัสซีระดับสูง)


ส่วนที่แก้ไขเพิ่มเดิม ก็มี เช่น

animation ๑.การทำให้เคลื่อนไหว ๒.การทำภาพเคลื่อนไหว ๓.ภาพเคลื่อนไหว

application ๑.การประยุกต์ ๒.โปรแกรมประยุกต์ ๓.ระบบประยุกต์ ๔.งานประยุกต์

asynchronous ไม่ประสานเวลา, อสมวาร, อะซิงโครนัส

ที่มา : //www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1907

------------------------------------------------------------------------------------------------------

ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พิมพ์ครั้งที่ ๖ พ.ศ.๒๕๔๖

กราฟพล็อตเตอร์ = graph plotter

กรุ๊ปแวร์ = groupware

กิกะไบต์, จิกะไบต์ = gigabyte

เกตเวย์ = gateway


อย่างไรก็ตาม ศัพท์ที่สามารถใช้คำไทยสื่อได้อย่างชัดเจนก็บัญญัติไว้เป็นภาษาไทย เช่น

กดลง = push down

กระดานข่าว = bulletin board

กระเป๋าหิ้ว = portable

กับดัก = trap

ก้านควบคุม = joy stick

เก็บ; หน่วยเก็บ = store


ศัพท์บางคำก็ให้ไว้ทั้งศัพท์บัญญัติและคำทับศัพท์ เพื่อให้ผู้ใช้มีทางเลือกตามความเหมาะสม เช่น


analog; analogue = -เชิงอุปมาน, -แอนะล็อก


asynchronous = -ไม่ประสานเวลา, -อสมวาร, -อะซิงโครนัส


bridge = ๑. บริดจ์ ๒. เชื่อมโยง


ศัพท์บางคำก็มีทั้งศัพท์ภาษาไทยและคำทับศัพท์ผสมกันเพื่อความกระจ่าง เช่น


กราฟเชื่อมต่อ = connected graph

การจัดพิมพ์เว็บ = web publishing

การศึกษาออนไลน์ = online education


ศัพท์บางศัพท์ก็นำศัพท์บัญญัติเก่า ซึ่งผู้ที่อยู่ในวงการนั้นๆ เข้าใจกันอยู่แล้ว เช่น


กฤตศิลป์ = clip art

การยศาสตร์ = ergonomics

ที่มา : //www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1906


หรือถ้าอยากรู้คำศพท์มากกว่านี้ ก็สามารถไปค้นหาได้ที่ //rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php

20 คำทับศัพท์ด้านไอที ที่มักเขียนผิด



ศัพท์ที่ไม่นิยมใช้ศัพท์บัญญัติ แต่ใช้ทับศัพท์
      คำศัพท์บางคำที่ทางราชบัณฑิตยสถานบัญญัติขึ้นมา ไม่เป็นที่นิยมใช้ เนื่องจากผู้ใช้คิดว่าคำที่บัญญัติขึ้นมานั้นไม่สามารถสื่อความหมายทำความ เข้าใจได้ดีเท่ารูปศัพท์เดิม จึงนิยมใช้คำศัพท์มากกว่าคำที่บัญญัติขึ้นมา เช่น

     •  Plotter ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติไว้ว่า เครื่องวาด แต่นิยมใช้คำทับศัพท์ว่า พล็อตเตอร์ Transponder ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติไว้ว่า ช่องรับส่งผ่านสัญญาณ แต่นิยมใช้คำทับศัพท์ว่า ทรานสพอนเดอร์

     •  Compiler ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติไว้ว่า ตัวแปลโปรแกรมและโปรแกรมแปลโปรแกรม แต่นิยมใช้คำทับศัพท์ว่า คอมไพเลอร์

     •  Scanner ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติไว้ว่า เครื่องกวาดตรวจ แต่นิยมใช้คำทับศัพท์มากกว่า

     •  Smart card ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติไว้ว่า บัตรเก่ง แต่นิยมใช้คำทับศัพท์ว่า สมาร์ตคาร์ด

     •  Icon ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติไว้ว่า สัญรูป แต่นิยมใช้คำทับศัพท์ว่า ไอคอน

     •  Protocol ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติไว้ว่า เกณฑ์วิธี แต่นิยมใช้คำทับศัพท์ว่า โพรโทคอล

คำที่แปลผิดความหมาย

      คำศัพท์บางคำผู้แปลแปลขึ้นมาโดยเข้าใจว่า เป็นคำแปลที่ถูกต้อง จึงเผยแพร่จนเกิดการนิยมใช้อย่างแพร่หลาย แต่ปรากฎว่าเป็นคำแปลที่ผิด สื่อความหมายที่ผิดเพี้ยนไปจากรูปศัพท์เดิมอย่างสิ้นเชิง การแก้ไขก็ทำได้ค่อนข้างยาก เพราะมีการใช้กันในวงกว้างจนกลายเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป เช่น

    •  graph กราฟ หรือที่ใช้ในวงวิชาการว่า แผนสถิติ แต่ปรากฎว่าในโปรแกรม Microsoft Office กลับใช้คำว่า แผนภูมิ ซึ่งเป็นความหมายของคำว่า chart ไม่ใช่ graph

     •  virtual realityความเป็นจริงเสมือน (หมายถึงการที่ผู้ใช้ใส่ถุงมือสัมผัสและจอภาพสวมศรีษะแล้วจะเสมือนเข้าไป อยู่ในความจริงของสิ่งแวดล้อมที่คอมพิวเตอร์สร้างขึ้น) แต่เรามักจะพบว่ามีการแปลคำว่า virtual reality ว่า ความจริงเสมือน ซึ่งหากจะใช้คำว่าความจริงแล้วรากศัพท์ต้องมาจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษคำว่า truth

คำที่ไม่ได้บัญญัติแต่คนเข้าใจผิดคิดว่าบัญญัติ
      มีคำศัพท์หลาย ๆ คำที่ใช้คำแปลก ๆ ที่เรา ๆ ท่าน ๆ เคยได้ยินกันมา และหลายคนก็เข้าใจว่าเป็นคำที่ทางราชบัณฑิตยสถานเป็นผู้บัญญัติขึ้นมา แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ คำศัพท์เหล่านี้เป็นคำศัพท์ที่นักวิชาการท่านหนึ่ง แปลความหมายขึ้นมาอย่างตรงตัว (เกินไป) แต่เป็นคำที่อ่านแล้วแปลก ตลก จึงทำให้คนจำได้แม่นยำและนำไปพูดต่อ ๆ กันไป เช่น

     •  Intelligence คำ ๆ นี้มีความหมายหลายอย่าง อาจจะหมายถึง ข่าวกรอง หรือความฉลาด ก็ได้ แต่เมื่อนำคำนี้มาใช้ในแวดวงคอมพิวเตอร์ คณะกรรมการผู้บัญญัติศัพท์ได้เลือกบัญญัติศัพท์ต่างกันตามบริบท เช่น Intelligent building ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติไว้ว่า อาคารอัจฉริยะ artificial intelligence ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติไว้ว่า ปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นคำที่ใช้กันอยู่แล้วก่อนที่จะบัญญัติ

คำที่ไม่ได้บัญญัติแต่คนเข้าใจผิดคิดว่าบัญญัติ
      มีคำศัพท์หลาย ๆ คำที่ใช้คำแปลก ๆ ที่เรา ๆ ท่าน ๆ เคยได้ยินกันมาและหลายคนก็เข้าใจว่าเป็นคำที่ทางราชบัณฑิตยสถานเป็นผู้ บัญญัติขึ้นมา แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่คำศัพท์เหล่านี้เป็นคำศัพท์ที่นักวิชาการท่านหนึ่งแปลความหมาย ขึ้นมาอย่างตรงตัว (เกินไป) แต่เป็นคำที่อ่านแล้วแปลก ตลก จึงทำให้คนได้แม่นยำและนำไปพูดต่อ ๆ กันไป เช่น 

     •  hardware คนเข้าใจผิดว่าราชบัณฑิตสถานบัญญัติว่า กระด้างภัณฑ์ แต่ศัพท์บัญญัติที่ถูกต้องคือ 1. ส่วนเครื่อง , ฮาร์ดแวร์ 2. ส่วนอุปกรณ์, ฮาร์ดแวร์

     •  software คนเข้าใจผิดว่าราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่า ละมุนภัณฑ์ แต่ศัพท์บัญญัติที่ถูกต้องคือ ส่วนชุดคำสั่ง , ซอฟต์แวร์

     •  joystick คนเข้าใจผิดว่าราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่า แท่งหรรษา แต่ศัพท์บัญญัติที่ถูกต้อง คือ ก้านควบคุม

     •  pop-up menu คนเข้าใจผิดว่าราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่า เมนูโผล่ แต่ศัพท์บัญญัติที่ถูกต้อง คือ รายการเลือกแบบผุดขึ้น

     •  pop-up windowคนเข้าใจผิดว่าราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่า หน้าต่างโผล่ แต่ศัพท์บัญญัติที่ถูกต้อง คือ หน้าต่างแบบผุดขึ้น วินโดว์แบบผุด

     •  Windows คนเข้าใจผิดว่าราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่า พหุบัญชร แต่ศัพท์บัญญัติที่ถูกต้อง คือ วินโดวส์ แต่ถ้า ไม่เติม s จะใช้คำว่า หน้าต่าง วินโดว์

      ที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการใช้ศัพท์คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ ปัญหาดังกล่าวหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ก็จะกลายเป็นความเคยชิน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ